ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
Pracob@sb4af.org
Keywords: CW105, ประวัติศาสตร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจ การเมือง
แปลและเรียบเรียง
(Expansionists and Progressives)
ช่วงเวลา 12 ปี คือ ค.ศ. 1901 – 1921 เป็นช่วงที่ประเทศสหรัฐอเมริกาผ่านเข้าสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน มีอุตสาหกรรมหลายๆ อย่างที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้บุกเบิก เช่นในกิจการด้านการรถไฟ โทรศัพท์ รถยนตร์และการผลิตรถยนต์ในจำนวนมากด้วยระบบสายพาน และในขณะเดียวกันในโลกทางยุโรปเริ่มมีการเคลื่อนไหวในแนวทางสังคมนิยมและการเริ่มเติบโตของพรรคคอมมิวนิสต์ในหลายประเทศ ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกากำล้งเติบโตจากความเป็นประเทศใหม่ มีโอกาสใหม่ มีการขยายอาณาเขตของประเทศออกไปนอกเหนือจากในทวีปอเมริกาเหนือ มีการซื้อและการเข้าครอบครองดินแดนภายนอกประเทศเพิ่มเติม
ในยุโรปได้มีความขัดแย้งจนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 แม้สงครามจะยุติลง แต่ความขัดแย้งก็ยังครุกรุ่นอยู่
ในประเทศสหรัฐ ด้านระบบแรงงานในอุตสาหกรรม มีการวางกฎเกณฑ์เพื่อการดำรงอยู่ของทั้งฝ่ายนายจ้าง และคนงาน แต่เป็นในระยะเริ่มต้น เริ่มให้ความสนใจในวิธีการค้าในแบบที่เป็นการผูกขาดของฝ่ายนายทุน และการนำไปสู่การมี Anti-Trust Law
William McKinley | 1897-1901 |
Theodore Roosevelt | 1901-1909 |
William Howard Taft | 1909-1913 |
Woodrow Wilson | 1913-1921 |
การขยายดินแดน
ในช่วงทศวรรษที่ 1890 ได้เกิดคลื่นแห่งการขยายดินแดนในนโยบายการต่างประเทศ ในปี ค.ศ. 1867 สหรัฐได้ซื้อรัฐ Alaska มีการเข้าไปจับจองที่ดินในดินแดน Oklahoma มีการมุ่งไปลงทุนในดินแดนด้านแปซิฟิก และทะเลแคริเบียน ได้เข้าไปยึดครองในหมู่เกาะฮาวายในปี ค.ศ. 1898 ทำให้สหรัฐต้องเข้าสู่สงครามกับสเปน ที่เรียกว่า Spanish-American War ทำให้สหรัฐได้ดินแดน Puerto Rico, หมู่เกาะ the Philippine Islands, และ Guam, และได้มีอิทธพลกึ่งคุ้มครองเหนือดินแดนเกาะ Cuba ทางตอนใต้
ลัทธิขยายดินแดนได้ทำให้อเมริกาได้เขาไปยึดครองฟิลิปปินส์ มีการใช้กำลังทหารเข้าปราบชนพื้นเมือง เมื่อชาวพื้นเมืองตระหนักว่าสหรัฐจะไม่ยอมรับในอิสรภาพของประเทศใหม่นี้ จึงเกิดการลุกฮือขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1899-1901 ซึ่งในช่วงดังกล่าว สหรัฐสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าในสงครามกับสเปน ในการแสวงหาประโยชน์ระหว่างประเทศ สหรัฐได้พัฒนานโยบาย “เปิดประตู” ในราวปี ค.ศ. 1900 ซึ่งมีการแสดงความสนใจในการติดต่อค้าขายกับจีน เป็นการเชื่อมโยงสองมหาสมุทรเข้าด้วยกัน ในทวีปอเมริกาเอง ได้มีการเข้าแทรกแซงปานามาแล้วผลักดันให้ก่อสร้างคลองเชื่อมมหาสมุทรที่เรียกว่า
การเคลื่อนไหวด้านความคิดก้าวหน้า
การเริ่มต้นของแนวคิดก้าวหน้าด้านสังคม และการศึกษาใหม่
ในช่วงของการแผ่ขยายในสมัยของ Roosevelt ในปี ค.ศ. 1901-9 ขณะนั้นเองในสหรัฐก็ได้มีการเคลื่อนไหวด้านความคิดก้าวหน้า (Progressivism) อันเป็นความคิดทางการศึกษาที่มีอิทธิพลจาก John Dewey ดังเช่นคำขวัญที่ว่า Learning by Doing หรือการเรียนรู้คู่การปฏิบัติ แทนที่การเรียนในสมัยก่อนหน้านี้ที่เน้นการท่องจำ การเน้นวินัยและการสร้างกฎเกณฑ์ ในทางสังคม ได้มีกลุ่มที่รณรงค์เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม การขุดคุ้ยตีแผ่การทำไม่ดีที่มีอยู่ในระบบราชการและสังคม การเมืองในยุคนี้ได้เป็นรูปเป็นร่างด้วยคนอย่าง R. M. La Follette และคนอื่นๆ ที่มีการนำแนวคิดแบบประชานิยมประสมประสานกับสังคมเมืองยุคใหม่ มีการมองสังคมแบบมุ่งไปข้างหน้า ในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่มีความพยายามเรื่องการต่อต้านเรื่องฉ้อราษฎร์บังหลวง และการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรม มีการจัดการให้มีระบบแรงงานและค่าตอบแทนที่เป็นธรรม แต่ในอีกทางหนึ่ง Roosevelt เองก็มีการปรับเปลี่ยนไปอย่างระมัดระวัง เขาทำลายระบบผูกขาดบางส่วน มีการส่งเสริมการค้าข้ามรัฐ และการเปิดให้มีบัญญัติควบคุมอาหารและยา (the Pure Food and Drug Act) ขึ้นในปี ค.ศ. 1906 และในเริ่มมีนิติบัญญัติด้านการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้น
การวางกฎเกณฑ์ในสังคม
ธุรกิจในสหรัฐอเมริกายุคแรกยังเป็นยุคที่ไม่มีกฎเกณฑ์ และเต็มไปด้วยโอกาสสำหรับคนที่จะลงทุนและแสวงหาความร่ำรวยได้ภายในช่วงเวลาสั้นๆ ขณะเดียวกัน สังคมเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องวางกฎเกณฑ์เพื่อการค้ามีความเป็นธรรม การดูแลสวัสดิภาพของคนทำงาน และการทำให้ประเทศมีเสถียรภาพทางการเงินและการคลัง
ในช่วงหลัง Roosevelt ได้เลือกเสนอผู้รับตำแหน่งต่อ คือ William H. Taft ที่ได้เข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อไป เพื่อสืบเนื่องการปฏิรูป แต่นโยบายด้านการต่างประเทศและทิศทางการเมืองก็ยังเป็นแบบเอื้อต่อธุรกิจขนาดใหญ่ ดังกรณี Payne-Aldrich Tariff Act นโยบายอนุรักษ์ของ Taft สร้างความขุ่นเคืองให้กับ Roosevelt ซึ่งได้เลือกที่จะแยกออกจากพรรค Republican แล้วในปี ค.ศ. 1912 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งในนาม Progressive Party แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ตำแหน่งประธานาธิบดีตกเป็นของฝ่าย Democrat ที่ได้มี Woodrow Wilson ที่ประกาศนโยบาย “เสรีภาพใหม่” (New Freedom) ที่ได้มีการนำแนวคิดพวก Progressivism เข้าสู่การเป็นร่างกฏหมาย ในยุคนี้มีการจัดตั้งกองทุนการเงินสำรอง (Federal Reserve System) คณะกรรมการการค้า (Federal Trade Commission) แม้พวก Progressive จะไม่ได้เป็นประธานาธิบดี แต่แนวทางของกลุ่มนี้ได้มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคมอเมริกันไปมาก ในทางการศึกษาได้มีการขยายโอกาสการศึกษา การทำให้ระบบการเลือกตั้งเป็นประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น ในทางการต่างประเทศ Wilson ไม่ได้หยุดยั้งแนวทางของฝ่ายต้องการขยายดินแดนมากนัก กองทัพของสหรัฐยังคงมีการส่งไปในสงคราม เช่นที่ Nicaragua และการจัดการกับปัญหาขบถที่นำโดย Francisco (Pancho) Vila
การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1914–1919 โดยมีแนวรบอยู่ในแถบยุโรป เป็นส่วนใหญ่ และมีการรบในส่วนอื่นๆ เช่น Africa, Pacific, Atlantic, Indian Ocean, และ Middle East ในการรบและความขัดแย้งใหม่ที่มีหลายชาติเกี่ยวข้อง ความขัดแย้งมีฐานรากในยุโรป ซึ่งแบ่งออกเป็นสองฝ่าย
ฝ่ายอำนาจกลาง (The Central Powers) หรือฝ่ายที่เข้ากับเยอรมัน (German: Mittelmächte) อันมีชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมในสงครามในวาระและเวลาที่ต่างกัน อันได้แก่
ส่วนฝ่ายพันธมิตรที่เรียกว่า Entente Forces ประกอบด้วยชาติที่เข้าร่วมในเวลาที่ต่างกัน ได้แก่ ฝรั่งเศส (
ในการรบนี้นับเป็นความเสียหายที่ยิ่งใหญ่แห่งยุค มีทหารเสียชีวิตกว่า 9 ล้านคน พลเรือนอีก 7 ล้านคน และที่สำคัญในช่วงเวลาดังกล่าวและต่อเนื่องหลังจากนั้นได้เกิดโรคระบาดใหญ่ที่แพร่หลายในหมู่ทหาร และทหารเองเป็นพาหะนำโรคกลับไปยังประเทศของตน คือ โรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งในระยะหลังสันนิฐานว่าเป็นเชื้อไข้หวัดนก ดังที่เป็นความกังวลของนักระบาดวิทยาและวงการแพทย์และสาธารณสุขปัจจุบัน การเกิดการระบาดใหญ่ไปทั่วโลกครั้งนั้นมีคนเสียชีวิตประมาณ 50 ล้านคน
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I)
การยุติของสงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่ได้นำมาซึ่งสันติภาพได้อย่างถาวร ฝ่ายชนะได้เรียกร้องค่าเสียหายของสงครามจากฝ่ายแพ้ ซึ่งได้แก่ฝ่ายเยอรมันและประเทศใกล้เคียงเป็นหลัก
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สหรัฐได้ให้ความสนใจในเรื่องสันติภาพของโลก โดยได้แสดงออกในการประชุมที่กรุง Haque (Haque Conference) และเมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้เกิดขึ้น วิลสันได้พยยายามทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นกลาง ในปี ค.ศ. 1916 เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีอีกครั้งด้วยนโยบายสร้างสันติภาพ แต่อเมริกันขณะนั้นได้มีจิตใจที่จะเข้ากับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศส ทั้งๆที่ทั้งอังกฤษและเยอรมันต่างก็มีส่วนละเมิดสิทธิในน่านน้ำในฐานะประเทศเป็นกลาง เรือดำน้ำเยอรมันโจมตีครั้งสำคัญในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1917 สหรัฐจึงได้เข้าสู่สงครามโดยร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร (Allies) และได้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนด้านกำลังทัพและกำลังบำรุงจนนำไปสู่ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ประธานาธิบดีวิลสันได้เสนอหลักประกันสันติภาพ 14 ข้อ ซึ่งถูกใจฝ่ายยุโรปและได้ทำให้เยอรมันยอมหย่าศึก อย่างไรก็ตามในการประชุมสันติภาพหลังสงครามทีกรุงปารีส วิลสันได้ถูกกีดกันจากการดำเนินการตามหลักประกัน 14 ข้อของเขานี้
ในสหรัฐอเมริกา มีกลุ่มที่ไม่ต้องการเข้าร่วมในกิจกรรมของ Leaque of Nations ซึ่งในระยะต่อมาก็คือการเกิดสหประชาชาติ (The United Nations) ในการประชุมและเกิดสนธิสัญญาแวซาย (Treaty of Versailles) วุฒิสมาชิก William Borah และฝ่ายไม่ต้องการประนีประนอม อันเป็นพวกจากวุฒิสมาชิกพรรค Republican นำโดย Henry Cabot Lodge ได้เสนอที่จะแก้ไขเพื่อคงความเป็นอธิปไตยของสหรัฐ แต่วิลสันได้ต่อสู้ที่จะให้คงแนวทางตามร่างเดิมที่เขาเสนอ ซึ่งก็ได้รับการปฏิเสธ ซึ่งทำให้ฝ่ายที่ไม่ต้องการเข้ายุ่งเกี่ยวในกิจการนอกประเทศ (Isolationist) ได้รับชัยชนะ ข้อตกลงเพื่อสันติภาพที่ถาวรจึงไม่เป็นรูปเป็นร่าง ฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรปเอง ก็ต้องการเรียกร้องจากฝ่ายแพ้สงครามจนนำไปสู่ความบาดหมางต่อไป ในขณะนั้นสหรัฐได้มีบทบาทในการประชุมด้านนาวี (The Naval Conferences) เพื่อการลดอาวุธและการสร้างกลุ่มที่เรียกว่า Kellogg-Briand Pact ซึ่งทำให้การทำสงครามเป็นสิ่งผิดกฎหมาย การที่สหรัฐไม่ได้ให้ความสนใจในกิจการระหว่างประเทศแสดงออกให้เห็นในอย่างชัดเจนในเรื่องการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ และการเรียกร้องหนี้สินสงครามจากประเทศผู้แพ้ ดังในข้อเขียนในนิติบัญญัติ Hawley-Smoot Tariff Act
No comments:
Post a Comment