Tuesday, February 28, 2012

แนวคิดการมีที่พักอาศัย – คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก

แนวคิดการมีที่พักอาศัย คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: ที่พักอาศัย, Habitation, mansion, คฤหาสน์, Vanderbilt,

ผมได้เสนอความหมายของ “คฤหาสน์” Mansion ตามกิจการอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา ว่าจะใช้เรียกบ้านที่มีพื้นที่กว่า 8,000 ตารางฟุต หรือ 740 ตารางเมตรขึ้นไป ซึ่งบ้านขนาดนี้ หากเทียบกับห้องชุดคอนโดมิเนียม หรือ Apartment ขนาดประหยัดหน่วยหนึ่งประมาณ 30 ตารางเมตร พักได้ 2 คน และอาจมีลูกเล็กๆได้ 1-2 คน เขาเรียกว่าแบบ Studio ราคาค่าเช่าอยู่ที่ 3,500-7,000 บาท/เดือน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หนึ่งคฤหาสน์เทียบได้เท่ากับ 24 หน่วยห้องชุดขนาดประหยัด

ในปัจจุบัน คนที่เป็นคนร่ำรวยอย่างไร หากจะต้องสร้างบ้านขนาดพื้นที่ 740 ตารางเมตรขึ้นไป ราคาก่อสร้างอย่างหรู ตารางเมตรละ 25,000 บาท คิดเป็นเงินเท่ากับ 18.5 ล้านบาท หากคิดพื้นที่ขนาด 2 ไร่ หรือประมาณ 800 ตารางวาๆละ 50,000 บาท ในราคาที่ดินชานเมืองของกรุงเทพฯ คิดเป็นเงิน 40 ล้านบาท รวมมูลค่าบ้านหลังใหญ่ประมาณ 58.5 ล้านบาท เป็นราคาซื้อขายกัน 60-100 ล้านบาท

บ้านใหญ่ขนาดนี้จะมีคนอยู่กันกี่คน เพราะในครอบครัวยุคใหม่ มีสมาชิกไม่เกิน 4 คน พ่อ แม่ และลูกไม่เกิน 2 คน สำหรับคนมีฐานะ จะต้องมีคนรับใช้ คนทำอาหาร คนขับรถ และอื่นๆ แล้วจะต้องใช้คนสักกี่คน บ้านในลักษณะดังกล่าวนี้จึงไม่ใช่วิถีชีวิตแม้สำหรับคนมั่งมีในยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย ในกรุงเทพฯ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส หรืออังกฤษ อย่างเมืองลอนดอน

สำหรับคนยุคใหม่ การมีที่พักอาศัยแบบพอตัว ไม่ต้องใหญ่โต แต่อาจมีเครื่องอำนวยความสะดวกพอสมควร ดังนี้จะเป็นประโยชน์กว่า สำหรับคนมีฐานะปานกลาง บ้านขนาดพื้นที่ใช้สอยของที่พักอาศัยขนาด 40-80 ตารางเมตร นับว่าน่าจะเพียงพอแล้ว สำหรับสมาชิกในครอบครัวขนาด 3-4 คน

ผมกำลังจะบอกว่า การมีบ้านหรือที่พักอาศัยขนาดใหญ่เกินความจำเป็น แล้วซื้อหากันด้วยเงินขนาด 50-100 ล้านบาทนั้น ไม่ใช่ทิศทางของอนาคต และประสบการณ์จากอดีต บ้านขนาดใหญ่มากเท่าใด ก็จะยิ่งอยู่กับครอบครัวนั้นๆได้ไม่ยาวนักเท่านั้น คนอยู่บ้านใหญ่ หน้าก็ต้องใหญ่ตาม มันจะมีค่าใช้จ่ายต่างๆที่มากมายตามมา เช่น การจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ การจัดเลี้ยงรับแขกต่างๆ ค่าบำรุงรักษา ค่าพนักงาน คนดูแลบ้าน คนคอยบริการเจ้าของบ้าน ฯลฯ

ดังนั้น ขอให้กลับไปสู่คำสอนของผู้ใหญ่ “นกน้อยสร้างรังน้อยแต่พอตัว”

ภาพ คฤหาสน์แวนเดอร์บิลท์ (Vanderbilt Mansion National Historic Site) เปรียบดังราชวังในประเทศที่ยึดมั่นในประชาธิปไตย และปกครองแบบสาธารณรัฐ (Republic) อย่างสหรัฐอเมริกา

ภาพ บริเวณ คฤหาสน์แวนเดอร์บิลท์ มีพื้นที่ 211 เอเคอร์ หรือ 85 Ha หรือ 531 ไร่ ตั้งอยู่ที่บริเวณ Hyde Park รัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา บ้านตั้งอยู่ริมแม่น้ำฮัดสัน ก่อสร้างโดยมหาเศรษฐีที่รำรวยที่สุดคนหนึ่งของอเมริกา ซึ่งเป็นความร่ำรวยมาจากอุตสาหกรรม ปัจจุบันถูกอนุรักษ์เป็นสถานประวัติศาสตร์ บ้านเปลี่ยนมือมาหลายเจ้าของ จนท้ายสุดได้กลายเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ ดูแลโดยรัฐบาลกลางของสหรัฐ

รถยนต์ไฟฟ้า NIDO EV ออกแบบโดย Pininfarina

ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า NIDO EV ออกแบบโดย Pininfarina

รถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบขนาดเล็ก NIDO EV ออกแบบโดยบริษัทออกแบบที่มีชื่อเสียง Pininfarina ของอิตาลี มีเป้าหมายเพื่อใช้เป็นรถวิ่งในเมือง สามารถวิ่งได้ 128 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่แบบ Zebra (Nickel Sel) technology สามารถวิ่งได้ระยะทาง 144 กิโลเมตรด้วยการชาร์ตไฟครั้งเดียว ระยะเวลาการชาร์ตไฟ 8 ชั่วโมง

รถยนต์ไฟฟ้า Kiira EV ของยูกานดา

ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า Kiira EV รถต้นแบบที่พัฒนาโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยมาเคเรเร่ ก่อนที่จะทดสอบขับในเมืองคัมปาล่า (Kampala) เมืองหลวงของประเทศยูกานดา (Uganda) ในทวีปอัฟริกา สามารถวิ่งได้ระยะทาง 80 กิโลเมตรเมื่อชาร์ตไฟเต็มที่

KIA-EV-Venga รถยนต์ไฟฟ้าใหม่จากค่าย Kia ของเกาหลีใต้

KIA-EV-Venga รถยนต์ไฟฟ้าใหม่จากค่าย Kia ของเกาหลีใต้

Upload at October 3, 2011

ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า KIA-EV-Venga ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่พัฒนาโดยบริษัท KIA แห่งเกาหลีใต้

สามารถวิ่งได้ระยะทาง 140 กิโลเมตรด้วยการชาร์ตไฟครั้งเดียว รถมีพลังงานเทียบเท่า 80 แรงม้า hp (60 kW / 82 PS) ในการชาร์ตไฟแต่ละครั้งใช้เวลาเต็มที่ 6 ชั่วโมง โดยใช้ไฟฟ้าตามบ้านปกติ ในช่วงจากนี้ไป จะมีการผลิตรถไฟฟ้านี้ขึ้นมา 2,000 คัน เพื่อการใช้ทดสอบบนถนนจริง ก่อนเปิดสายการผลิตเต็มที่ในปี ค.ศ. 2013

เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าจากค่าย TATA ของอินเดีย คาดว่าจะออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 2013

เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าจากค่าย TATA ของอินเดีย คาดว่าจะออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 2013

ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า Tata Nano Electric Vehicle (EV)

TATA Motors ได้เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าที่งานแสดงรถยนต์ที่เมือง Geneva โดยใช้โครงร่างรถยนต์ขนาดเล็กของ TATA เรียกว่า Regular 600cc Nano แล้วเรียกรถยนต์ใหม่นี้ว่า Tata Nano Electric Vehicle (EV) เป็นรถยนต์ขนาดเล็กแต่ผู้ใหญ่นั่งได้ 4 คน โดยใช้พลังงานขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่แบบ super polymer lithium ion รถยนต์จะมีสมรรถนะวิ่งได้ระยะทาง 160 กิโลเมตรโดยชาร์ตไฟเพียงครั้งเดียว สามารถเร่งเครื่องได้ 0-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงภายใน 10 วินาที ซึ่งนับได้ว่าจะมีสมรรถนะที่วิ่งบนทางหลวงได้ แม้จะไม่เร็วเท่ากับรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Tesla Roadster แต่ที่แน่ๆคือการประหยัดพลังงาน ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ไฟฟ้า ซึ่งสามารถมีทางเลือกในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าได้จากหลายแหล่งที่ไม่ต้องพึ่งการเผาไหม้ของปิโตรเลียม ซึ่งนับวันยิ่งมีอย่างจำกัดลงไปเรื่อยๆ

Sunday, February 26, 2012

ความสุขคือการมีและชื่นชมในสิ่งที่เรามี

ความสุขคือการมีและชื่นชมในสิ่งที่เรามี

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: Happiness, ความสุข, การใช้ชีวิต, สังคม, ความพอเพียง

We tend to forget that happiness doesn't come as a result of getting something we don't have, but rather of recognizing and appreciating what we do have.

เรามักจะลืมไปว่า “ความสุข” ไม่ได้มาจากการได้บางอย่างที่เราไม่เคยมี แต่มักจะเกิดจากความตระหนักในสิ่งที่เรามี และชื่นชมกับสิ่งที่เราได้มีแล้ว ~ เฟรเดอริค โคนิก ( Frederick Keonig)

เฟรเดอริค กอตลอบ โคนิก (Friedrich Gottlob Koenig) เกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1774 ที่เมืองไอซเลเบน (Eisleben) และเสียชีวิตในวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1833 เป็นนักประดิษฐ์ชาวเยอรมันที่รู้จักกันในฐานะผู้สร้างแท่นพิมพ์ความเร็วสูง ซึ่งร่วมกับผู้ผลิตนาฬิกาชื่อ แอนดรีส ฟริดิช เบาเออร์ (Andreas Friedrich Bauer)

Happiness - ตามพจนานุกรม ความสุขคือสิ่งที่แสดงถึงความมีโชคดี (Luck, fortunate) ความสุขมักหมายถึงความยินดี เพลิดเพลิน ความพึงพอใจ หรือความสนุก และความสุขอาจหมายถึงความเป็นมงคล เหมาะเจาะ (Felicitous)

คนบางคนตลอดชีวิต พยายามแสวงหาสิ่งที่ไม่เคยมี และอยากมีมาตลอดชีวิต เช่นสมัยเด็ก เคยยากจนขาดแคลน พอเมื่อเติบโตมีความสามารถในการทำงาน ทำให้มีเงินทอง สามารถสร้างและสะสมทรัพย์สมบัติต่างๆมากมาย แต่เหมือนยิ่งหาได้มาก กลับยิ่งมีความอยากได้ไม่รู้จักสิ้นสุด แต่ครั้นเมื่อมีอายุมากขึ้น เริ่มเจ็บป่วย สูงวัยขึ้น ก็แสวงหายาอายุวัฒนะ ทำให้ไม่แก่ ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่ไม่มีจริง แล้วเขาก็จะเริ่มตระหนักว่า ไม่ว่าจะมีหรือหามาทรัพย์สิน แก้วแหวนเงินทองมามากเท่าใด แต่ในที่สุด เมื่อเขาเสียชีวิตนั้น ก็จะไม่มีอะไรที่เขาจะหอบติดตัวไปพร้อมกับความตายได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ เราต้องเรียนรู้ที่จะหาคำจำกัดความของ “ความสุข” อย่างที่เป็นจริงได้ ไม่ไปเบียดเบียนซึ่งกันและกัน แย่งชิง เพื่อให้ได้มีในสิ่งที่อยากมี แต่มีแล้วก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความสุขได้จริง ความสุขในความหมายใหม่ จึงต้องเป็นความสุขที่จะรู้จัก “พอเพียง” หากมีมากเกินความจำเป็น ก็ต้องมองถึงการแบ่งปัน และการเฉลี่ยการมีและให้ความสุขแก่คนอื่นๆที่เขาขาดแคลนอย่างแท้จริง

หากเราให้คำจำกัดความของความสุข คือความพอเพียง การแบ่งปัน การไม่ต้องมีมากจนเกินไป ไม่ใช่ปล่อยให้อยากมีจนกลายเป็นความหิวกระหายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนี้ เราเองก็จะสงบขึ้น มองโลกอย่างชื่นชม และใช้ชีวิตอย่างไม่กระวนกระวาย มีความสุขได้ตลอดตามอายุขัย

Friday, February 24, 2012

มารู้จักคำว่าคฤหาสน์ (Mansion)

มารู้จักคำว่าคฤหาสน์ (Mansion)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: Habitation, ที่พักอาศัย, Mansion, คฤหาสน์, บ้านหลังใหญ่

Mansion = คฤหาสน์, บ้านใหญ่, ตึกใหญ่

คำว่าคฤหาสน์ หรือเรียกทับศัพท์ว่า “แมนชั่น” (Mansion) หมายถึงที่พักอาศัยขนาดใหญ่ ในกิจการอสังหาริมทรัพย์ของอเมริกา ให้คำจำกัดความแมนชั่นว่าเป็นที่พักอาศัยขนาด 8,000 ตารางฟุต หรือ 740 ตารางเมตรขึ้นไป ในยุโรปสมัยเดิม คฤหาสน์หมายถึงที่พักอาศัยที่มีห้องโถงใหญ่เพื่องานเต้นรำ (Ball room) และมีหลายห้องนอน (Bedrooms) ในปัจจุบันไม่มีความหมายดังกล่าวแล้ว เพราะเป็นเรื่องที่มักไม่จำเป็นต้องมีห้องเต้นรำขนาดใหญ่ภายในบ้านหนึ่งหลัง แต่ยังหมายความถึงบ้านขนาดใหญ่

คำว่า Mansion มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสโบราณ และภาษาลาตินว่า mansiō แปลว่าการพักอาศัย (Staying) ในยุคอาณาจักรโรมัน Mansio เป็นสถานที่พักอย่างเป็นทางการบนถนนของชาวโรมัน หรือในที่ๆมีเมืองเกิดขึ้นระหว่างข้างทาง เป็นที่ๆเจ้าหน้าที่ปกครองของจังหวัด (Provincial officials) ได้ใช้พักอาศัย

ในภาษาชาวสก๊อต (Scots) คำว่า Manse หมายถึงที่พักอาศัยขนาดใหญ่พอที่พระผู้ดูแลเขตของศาสนานั้นได้พักอาศัย แต่ในปัจจุบัน Mansion ก็ไม่ได้มีความหมายในแบบเดิมดังกล่าวอีกต่อไป

ในภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ คำว่า Mansion block หมายถึงเขตที่พักอาศัยที่เป็นอาคารหลังหนึ่งของห้องชุด (Flats หรือ Apartments) ในหลายๆส่วนของเอเชีย รวมถึงในประเทศไทย ฮ่องกง และญี่ปุ่น คำว่า Mansion มีความหมายถึงกลุ่มอาคารห้องชุด Mansion หนึ่งอาจมีห้องชุดจำนวนนับเป็นร้อยห้องต่อหนึ่งอาคาร

ภาพ คฤหาสน์ Waddesdon Manor, หนึ่งในหลายคฤหาสน์ที่ตระกูล Rothschild ได้สร้างขึ้น เป็นการแสดงสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของเจ้าของ

ภาพ คฤหาสน์ที่เรียกว่า Montacute House ใกล้ Yeovil, Somerset สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1598

ภาพ ในหลายประเทศในเอเชีย และหลายประเทศ ใช้คำว่า Mansion เพื่อเรียก Flat หรือ Apartment ซึ่งเป็นที่พักอาศัยของคนหลายๆครอบครัว มาใช้ที่พักร่วมกัน โดยมีบริการส่วนกลาง

ภาพ อาคาร Flat หรือ Apartment ที่มักนิยมเรียกว่า Mansion ในประเทศไทย เพราะดูให้ความเป็นบ้าน แต่เป็นบ้านขนาดใหญ่ แสดงความหรูหรา แต่มีความเป็นส่วนตัวไปด้วยในตัว แต่เป็นความหมายที่ต่างจากเดิมมาก

Thursday, February 23, 2012

สุภาษิตชาวโปแลนด์: แขกมาเยี่ยม 1 ชั่วโมงมองเห็นมากกว่าเจ้าของบ้านมองเห็นมา 1 ปี

สุภาษิตชาวโปแลนด์: แขกมาเยี่ยม 1 ชั่วโมงมองเห็นมากกว่าเจ้าของบ้านมองเห็นมา 1 ปี

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: สุภาษิต, Proverbs, Polish, โปแลนด์, เส้นผมบังภูเขา, visions, วิสัยทัศน์

มีสุภาษิตชาวโปแลนด์ที่นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษบทหนึ่งกล่าวว่า “A guest sees more in an hour than the host in a year.” แปลเป็นไทยได้ว่า “แขกมาเยี่ยม 1 ชั่วโมงมองเห็นมากกว่าเจ้าของบ้านมองเห็นมา 1 ปี” ~ สุภาษิตโปแลนด์

ลองนำสุภาษิตนี้มาใช้ประยุกต์กับชีวิตและสังคมของเรา

การใช้รถ - คนขับรถทุกวัน บางครั้งสังเกตไม่พบว่ารถของตนที่ใช้ขับอยู่นั้นมีปัญหาอย่างไร จนกระทั่งรถนั้นเสียหายจนวิ่งไม่ได้ จึงจะมองเห็น เหตุที่เขาสังเกตไม่เห็น เพราะความเคยชิน แต่ละวันที่เขาขับอยู่นั้น มันจะมีความเปลี่ยนแปลงไปวันละเล็กวันละน้อย จนเขาสังเกตไม่เห็น โดยเฉพาะคนที่ไม่มีประสบการณ์ด้านช่าง และไม่ใส่ใจในการบำรุงรักษา แต่สำหรับคนที่ทำงานเป็นช่าง เมื่อเรานำรถไปให้เขาตรวจสภาพ เขาจะใช้เวลาไม่กี่นาทีก็จะพบว่า รถนั้นต้องการซ่อมแซมบำรุงรักษาในเรื่องอะไรบ้าง แน่นอนว่าช่างซ่อมรถยนต์นั้น เขามีผลประโยชน์จากการมองหาข้อบกพร่องในรถยนต์ เพราะเขามีรายได้จากการบริการซ่อมรถและบำรุงรักษารถ

ช่างซ่อมรถตามศูนย์นั้น ในแต่ละวัน เขาจะต้องทำการตรวจซ่อมและบำรุงรักษารถหลายๆคันต่อวัน หลายสิบคันต่อเดือน ซึ่งยิ่งมีประสบการณ์การทำงานมานานเท่าใด เขายิ่งมีความแม่นยำในการสังเกตปัญหาของรถยนต์แต่ละคันมากขึ้นเท่านั้น

คนแก่ในบ้านเก่า - ท่านเคยสังเกตไหมว่า เมื่อท่านไปเยี่ยมบ้านญาติผู้ใหญ่บางราย ที่ต้องอยู่ตามลำพัง จะพบว่าบ้านมีการสะสมข้าวของต่างๆมากมาย หลายอย่างควรทิ้งไปได้แล้ว แต่ก็ยังคงเก็บของเหล่านั้นอยู่ ด้วยความเสียดาย ด้วยความระลึกในประวัติศาสตร์ของสิ่งของเหล่านั้น แต่บางครั้งมันก็นำไปสู่การเก็บสะสมที่มากจนเกินเหตุ กลายเป็นความรกรุงรัง เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค แมลงสาป หนู ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่อายุมากขึ้น ภูมิต้านทานก็จะยิ่งลดลง อีกลักษณะหนึ่งที่คนสูงอายุมากขึ้น ก็ยิ่งช่วยตัวเองได้น้อยลง ก็จะใช้ของแล้ววางของเอาไว้ในที่ๆหยิบฉวยได้ง่ายๆใกล้ตัว ยิ่งอ่อนแรงลงเท่าใด ก็จะยิ่งมีของกองสุมรอบๆโต๊ะทำงาน โซฟา เตียงนอน ฯลฯ

วิธีการช่วยคนสูงอายุประการหนึ่ง คือช่วยนำของที่ไม่ใช้แล้ว ขวดเปล่า หนังสือพิมพ์เก่า นิตยสาร นวนิยายเก่า ฯลฯ นำคนรับซื้อของเก่า ให้เขามารับซื้อ แล้วเก็บกวาดบ้านผู้ใหญ่เป็นระยะๆ บ้านช่องก็จะสะอาด น่าอยู่น่าอาศัยมากขึ้น

ในต่างประเทศจึงมีอาชีพหนึ่ง คือการรับซื้อของเก่า โดยคนที่มีประสบการณ์ในการเห็นคุณค่าของเก่า ก็ไปตามบ้านคนสูงอายุที่ต้องการขายของเก่า (Antique) ที่มีเกินความจำเป็น บางอย่างมีคุณค่า เป็นสิ่งหาไม่ได้อีกแล้ว เช่น เครื่องเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ เตียง กรอบภาพ เหล้า พระเครื่อง บ้านเก่าที่เก็บของไว้เต็มจึงสามารถปรับปรุงสภาพ ของที่ขายได้ ก็ให้เก็บเป็นกองทุนสำหรับท่าน ส่วนบ้านก็จะมีความเป็นระเบียบบางเบา และสะดวกขึ้นในการดูแลความสะอาด

ภาพ ตลาดขายดอกไม้และพวงมาลัยในเมืองใหญ่ของประเทศอินเดีย

ภาพ สลัมในเมือง Kolkata เมืองเก่าและเมืองใหญ่ของประเทศอินเดีย

ภาพ ชุมชนในเมืองใหญ่ในอินเดียรุกล้ำเข้าไปในทางรถไฟ เวลารถไฟมา ทุกคนก็หอบของให้พ้นทางรถไฟ

ในเมืองเก่า - ในเมืองที่มีอายุยาวนาน มักจะมีปัญหาประการหนึ่งคือ มันมักจะถูกออกแบบมาสำหรับขนาดประชากรแบบหนึ่ง แต่เมื่อมีประชากรขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมืองขยายตัวตามไม่ทัน ไม่สามารถรองรับประชากรใหม่ที่เพิ่มขึ้น จึงกลายเป็นปัญหาการจราจร การขาดน้ำ ไฟฟ้า ระบบระบายของเสีย ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่จะต้องมาหาวิสัยทัศน์ แล้วพัฒนาแบบของเมืองใหม่ บางส่วนก็เก็บรักษาของเก่าเอาไว้ แต่บางส่วนก็ต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐานใหม่ เพื่อให้รองรับประชากรได้อย่างที่ทำให้คนอยู่อาศัยได้อย่างมีคุณภาพชีวิต

เมืองเก่า กฎระเบียบก็หย่อนล้า สวนสาธารณะอาจถูกยึดครองโดยคนไร้ที่อยู่อาศัย ข้างทางรถไฟมีชาวบ้านบุกรุกทำเป็นที่พักอาศัย เมืองเก่าต่างๆ จึงต้องมีการจัดระเบียบสังคมกันเป็นระยะๆ คูคลองถูกชาวบ้านรุกล้ำที่ทางสร้างบ้านเรือน ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้สะดวก ก็ต้องมีการรื้อถอน โยกย้าย จัดที่อยู่อาศัยใหม่ ขุดลอกคลองใหม่ เหล่านี้มักจะต้องมีคนใหม่ๆสลับเปลี่ยนกันเข้าไปรับผิดชอบ เพื่อให้มองเห็นปัญหา มีวิสัยทัศน์ และพร้อมเสนอความคิดและรูปแบบการทำงานใหม่ๆเข้าไป

ภาพ น้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปลายปี พ.ศ. 2554

น้ำท่วมเราเอาอยู่ - ประเทศไทยในอดีตก่อนน้ำท่วมใหญ่ปีพ.ศ. 2554 คนไทยไม่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่อย่างที่เกิดขึ้นมาก่อน ความจริงระดับน้ำที่มีในปีดังกล่าวไม่ได้มากไปกว่าทุกๆปีมากนัก แต่เพราะความที่ไม่เคยประสบปัญหาดังกล่าวมาก่อน ทำให้คนไทยเกิดความชะล่าใจ ชุมชนต่างๆมีการรุกล้ำแม่น้ำลำคลอง นักการเมืองต้องการสนองตอบต่อภาคการเกษตร โดยไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยในภาคอื่น ดังเช่นภาคอุตสาหกรรม ภาคที่อยู่อาศัย เช่นเขื่อนใหญ่ต้นน้ำ ควรมีน้ำสำรองไว้เพียงไม่เกินร้อยละ 45-50 ส่วนที่พร่องอยู่ต้องสำรองไว้สำหรับเก็บยอดน้ำช่วงน้ำหลาก ช่วยลดการมีน้ำท่วมในพื้นที่ปลายน้ำ แต่เหตุการณ์ก็มิได้เป็นเช่นนั้น เพราะมีการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องทำให้การจัดการน้ำไม่เป็นไปตามหลักวิชา และเมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วมหนักจริง ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ กลายเป็นน้ำท่วมรุนแรง

ความจริง การมีคนภายนอกกรมและกระทรวงที่เกี่ยวกับน้ำ เข้าไปร่วมสังเกตการณ์จะเป็นประโยชน์ เช่น นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำจากต่างประเทศ จากเนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ที่เขามีประสบการณ์น้ำท่วมและการจัดการน้ำมามากกว่าเรา การมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก มิได้หมายความว่าเราจะต้องเชื่อและทำตามเขาทั้งหมด แต่มันจะช่วยทำให้เรามีคนมองสภาพปัญหาในอีกหลายมิติที่ต่างไปจากที่เราเคยมีมา

ภาพ อาคารเรียนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของประเทศไทย

การจัดการศึกษากับความชะล่าใจ – การจัดการศึกษาของไทยในระดับอุดมศึกษามีปัญหา โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียง ก็จะยิ่งมีปัญหาสำคัญ คือ “มีปัญหาแต่จะมองไม่เห็นปัญหา” เหตุเพราะว่าเขามักจะเปรียบเทียบสถาบันแต่ละแห่งกับสถานศึกษาภายในประเทศด้วยกันเอง ซึ่งเปรียบแล้วก็มองไม่เห็น เพราะเกือบทั้งหมดก็มีปัญหาและมาตรฐานในแบบคล้ายๆกัน จึงมองว่าไม่เป็นปัญหา
แต่มองอีกด้านหนึ่ง หากลองเปลี่ยนวิธีการเปรียบเทียบใหม่ โดยลองเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยของไทยที่ว่าดีที่สุด กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่เราเห็นว่าอยากนำมาตั้งเป็นมาตรฐาน เช่น ของญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน ฯลฯ ถ้าเปรียบอย่างนี้ เราก็จะเห็นมาตรฐานที่แตกต่างกัน แม้กับมหาวิทยาลัยที่ว่าดีที่สุดของเรา ก็ยังไม่สามารถเปรียบเทียบได้กับมหาวิทยาลัยของต่างประเทศ การเปรียบในลักษณะนี้ จะทำให้เกิดความตื่นตัว และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้น

ด้วยเหตุดังกล่าว ในทุกกิจการจึงต้องมีผู้ชำนาญการจากภายนอก เอาไว้ทำหน้าที่ในการดูแลบำรุงรักษา ไม่ว่าจะเป็นบ้านพัก โรงงาน รถยนต์ รถไฟ ฯลฯ ดังสุภาษิตชาวโปแลนด์ที่ว่า “แขกมาเยี่ยม 1 ชั่วโมงมองเห็นมากกว่าเจ้าของบ้านมองเห็นมา 1 ปี”

สุภาษิตชาวโปแลนด์: ความหิวทำให้ไม่ต้องใช้ซอสปรุงอาหาร

สุภาษิตชาวโปแลนด์: ความหิวทำให้ไม่ต้องใช้ซอสปรุงอาหาร

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: สุภาษิต, Proverbs, Polish, โปแลนด์, การตลาด, Timing, จังหวะ เวลา

มีสุภาษิตชาวโปแลนด์บทหนึ่งปรากฏในภาษาอังกฤษ กล่าวว่า “A good appetite needs no sauce.” ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “ความหิวทำให้ไม่ต้องใช้ซอสปรุงอาหารหรือ ความหิวเป็นการมีเครื่องชูรสโดยที่ไม่ต้องใช้ซอสปรุง

Appetite = ความอยากอาหาร, ความกระหาย, ความหิว
Sauce = ซอส, น้ำจิ้ม, น้ำซอส, น้ำปรุงรส, เครื่องชูรส, ความทะลึ่ง

คำกล่าวนี้เป็นการให้แง่คิดเกี่ยวกับเรื่องของอาหาร พร้อมไปเรื่องของจังหวะเวลา

ในด้านอาหาร คนจะกินอาหารอร่อย ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าช่วงเวลาดังกล่าวนั้น เขากำลังหิวอยู่หรือไม่ เพราะหากเขาถึงเวลาอาหารและหิวแล้ว อาหารอะไรที่แม้จะดูธรรมดา ก็กลายเป็นอาหารที่อร่อยได้อย่างไม่ยาก แต่เช่นเดียวกัน อาหารอะไรแม้จะอร่อย แต่พอกินไปมากๆ ความอร่อยก็จะลดลง ดังนั้น เขาจึงแนะนำว่าจะกินอาหารให้อร่อย ต้องให้ได้กินกำลังพออิ่ม อย่ากินมากจนเกินไป

ในอีกด้านหนึ่ง สุภาษิตนี้สอนเรื่องเกี่ยวกับจังหวะเวลา (Timing)  เกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ เช่น หากเราจะขายสินค้าหรือบริการใดๆ ก็ต้องเลือกกระทำในช่วงเวลาที่เขามีความต้องการ เป็นจังหวะและช่วงเวลาที่เขาขาดแคลนสินค้านั้นๆ ไม่ใช่ในช่วงเวลาที่สินค้าล้นตลาด

ยกตัวอย่าง ยามที่น้ำมันมีราคาแพง คนจะหันไปหารถยนต์ขนาดเล็กที่ประหยัดน้ำมัน หรือรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีลูกประสมไฟฟ้า (Hybrid cars) รถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars, EV) ที่สามารถประหยัดน้ำมัน ลดการพึ่งพาน้ำมันปิโตรเลียมที่ต้องมีการนำเข้า

ในด้านบ้านที่พัก เมื่อน้ำมันมีราคาแพง และเวลาพักผ่อนของคนทำงานน้อยลง คนจะยอมเลือกที่พักอาศัยที่แม้จะคับแคบ แต่อยู่ใกล้ที่ทำงาน หรือสามารถเดินทางได้ด้วยระบบขนส่งมวลชนที่สะดวก อย่างรถไฟฟ้า แล้วยอมสละรถยนต์ส่วนตัว จะเลือกใช้รถเช่าเป็นครั้งคราว วิถีชีวิตที่ยอมเปลี่ยนผันไปของคนรุ่นใหม่ เพราะมันถึงเวลาแล้วสำหรับคนที่ต้องอาศัยในเมืองใหญ่

สำหรับคนที่เป็นนักวางแผน การที่จะเสนอสิ่งใหม่ใดๆ ก็พึงตระหนักว่า “ความหิวทำให้ไม่ต้องใช้ซอสปรุงอาหาร” เวลาจะเปลี่ยนแปลง ให้รอจังหวะเหมาะๆ ที่คนจะเห็นความสำคัญของสิ่งที่นำเสนอ มากกว่าจะพยายามไปเสนอขายในสิ่งที่เขายังไม่ต้องการ หรือยังไม่เห็นความจำเป็น

สุภาษิตชาวโปแลนด์: การซื้อได้ในราคาถูก เหมือนกับการถูกล้วงกระเป๋าโดยไม่รู้ตัว

สุภาษิตชาวโปแลนด์: การซื้อได้ในราคาถูก เหมือนกับการถูกล้วงกระเป๋าโดยไม่รู้ตัว

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: สุภาษิต, Proverbs, การตลาด, เศรษฐกิจพอเพียง, 

มีสุภาษิตโปแลนด์บทหนึ่งกล่าวว่า “A good bargain is a pick-purse.” ~ Polish proverb

แปลเป็นไทยได้ว่า “การซื้อได้ในราคาถูก เหมือนกับการถูกล้วงกระเป๋าโดยไม่รู้ตัว” ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะในหลายๆครั้งผู้ซื้อเมื่อพบว่าของราคาถูก ก็ซื้อมาโดยไม่ได้ตระหนักว่าซื้อในสิ่งที่ไม่ใช่ความจำเป็นหรือไม่ เพราะคนซื้อของบางคน เดินเข้าไปในร้านค้ายังนึกไม่ออกว่าจะเข้าไปซื้ออะไร มีหลายคนซื้อของเพราะเห็นว่าได้สินค้าหรือบริการนั้นๆมาในราคาถูก หากไม่ซื้อในวันนั้น อาจจะไม่ได้ซื้อสินค้านั้นๆในราคาถูกพิเศษอีกแล้ว คนจำนวนมาก มีการซื้อสินค้าเพราะว่ามีลด แลก แจก หรือแถม เป็นการส่งเสริมการขาย

Pickpocket = นักล้วงกระเป๋า, มือกาว, นักแซ้ง, ขโมยล้วงกระเป๋า
Bargain = การต่อรองราคา, สัญญาซื้อขาย, การซื้อมาโดยราคาถูก

ในอีกด้านหนึ่ง ในฝ่ายผู้ขาย การให้สามารถต่อรองได้ ลดราคาลงได้ เป็นการเอาใจลูกค้า และเท่ากับจะประสบความสำเร็จทางธุรกิจ นับว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่านโยบายไม่ขยับปรับเปลี่ยนด้านราคาเลย สำหรับพ่อค้า การได้ขายของที่จะเก่าค้างสต๊อก นับเป็นนโยบายที่ดี เพราะยิ่งเก็บไว้ ก็ยิ่งเก่า สินค้าตกรุ่น และขายได้ยากขึ้น ดังนั้น การตัดใจขายระบายสินค้าที่กำลังจะหมดความนิยมออกไป เท่ากับเป็นการลดความเสี่ยง เปลี่ยนสินค้าที่จะนิ่ง ไม่มีการขยับ ให้กลายเป็นสินค้าขายได้ อย่างน้อยแม้ไม่ได้กำไร แต่ก็เป็นการเปลี่ยนสินค้าเก่าให้กลายเป็นเงินสด เพื่อไปใช้ในการลงทุนนำสินค้าที่ใหม่กว่ามาขายแทน
นโยบายการต่อรองราคา และทำให้ผู้จะซื้อรู้สึกว่าซื้อได้ในราคาพิเศษนี้ เป็นจิตวิทยาการขายอย่างหนึ่ง สมมุติว่ามีที่ดินแปลงหนึ่งต้องการจะขาย แทนที่จะประกาศราคาขายไปอย่างตายตัว ก็ให้บวกเพิ่มไว้สักร้อยละ 10-20 แล้วเมื่อมีคนสนใจมาซื้อ คนขายก็จะพูดถึงสรรพคุณและสิ่งดีๆของสินค้าหรือบริการนั้นๆ หากผู้ซื้อสนใจจริง ก็มักจะต้องมีการต่อรอง หากท้ายสุด เขาอาจขอต่อรองลดราคาลงไปร้อยละ 25-30 ทางฝ่ายผู้ขายก็จะเจรจาต่อรอง แล้วท้ายสุดตกลงกันได้ในราคาลดลงมาร้อยละ 20 ซึ่งผู้ขายก็ไม่ได้เสียอะไร เพราะพร้อมที่จะขายได้ในราคาลดลงร้อยละ 20-25 อยู่แล้ว ส่วนผู้ซื้อจะรู้สึกว่าได้ซื้อมาในราคาพิเศษ และในทางประเพณีการค้า การที่มีการต่อรองกันแล้ว เขาหมายความว่าจะมีการซื้อขายกันจริง หรือมิฉะนั้นฝ่ายผู้ต้องการซื้อก็มักจะเงียบไป

สุภาษิตอังกฤษ: เงินทำให้เกิดเงิน

สุภาษิตอังกฤษ: เงินทำให้เกิดเงิน

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: สุภาษิต, Proverbs, เงิน, เงินทุน, การบริหาร, การจัดการ

มีสุภาษิตในภาษาอังกฤษสั้นๆว่า “Money begets money.” แปลเป็นไทยได้ว่า “เงินทำให้เกิดเงิน”
หากท่านมีเงินบ้างแล้ว เงินกลับเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดเงินต่อไปได้ไม่ยาก (If you have money you can make more money.) หรือมีความหมายได้ว่า “คนรวยจะยิ่งรวยมากยิ่งขึ้น”

To beget = เกิด, นำมาซึ่ง, ประสูติ, ก่อให้เกิด

ในคำกล่าวของชาวจีนเองมีคำว่า “มีเงินใช้ผีโม้แป้ง” ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกัน

เงินนำมาซึ่งความน่าเชื่อถือทางเศรษฐกิจ (Credibility) คนมีเงินเป็นเศรษฐี ประสบความสำเร็จทางธุรกิจมาแล้ว เมื่อมีโครงการดีๆไปพูดคุยกับธนาคารเพื่อขอการกู้เงินเพื่อการลงทุน จะได้รับความยอมรับมากกว่าคนที่ยังไม่มีอะไรเลย แม้จะเสนอทำโครงการในลักษณะเดียวกัน เพราะเงินเป็นเครื่องสะท้อนความสำเร็จทางธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา

เงินมีความหมายเท่ากับการลงทุน (Investment) และการพร้อมที่จะลงทุน ในประเทศหรือสังคมที่เศรษฐกิจกำลังอ่อนแอ ทุกอย่างอยู่ในสภาพขาลง ไม่มีคนกล้าลงทุน สินค้าของจำเป็นเช่นวัสดุก่อสร้างลดราคา บ้านที่สร้างไว้แล้ว ราคาที่ดิน มีคนอยากขายมากกว่าจะต้องการซื้อ คนที่มีเงินสำรองไว้มากกว่าคนอื่นๆ ก็มีสิทธิที่จะเลือกซื้อที่ดิน สิ่งก่อสร้าง กิจการที่ล้วนมูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริง เมื่อซื้อไว้ในราคาต่ำสุด แล้วรอให้เศรษฐกิจดีขึ้น ค่อยนำออกขาย หรือพัฒนาเป็นกิจการต่อไป คนมีเงินและมีวิสัยทัศน์หลายคนสามารถเลือกเดินสวนกระแส ในขณะที่คนอื่นๆมีลักษณะแตกตื่น แต่คนมีเงินและมีปัญญาสามารถยืนมองอย่างนิ่งๆ แล้วเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้ในแบบที่เขาเรียกว่า “เก็บเปรี้ยวไว้กินหวาน”

คนที่พร้อมจะจ่ายเป็นเงินสด และซื้อของเป็นจำนวนมากๆ จะทำให้ได้รับส่วนลด เพราะคนค้าขาย เขาต้องการใช้เงินของเขาให้สามารถหมุนสร้างเงินและกำไรของเขาต่อไป มากกว่าที่จะปล่อยเงินให้แช่นิ่งไว้โดยไม่ได้รับประโยชน์ ดังนั้นในการทำการค้า คนที่มีเงินมักเสนอจ่ายเงินสด หากได้รับส่วนลดพิเศษ หากสามารถสั่งซื้อในปริมาณที่มากพอ ก็จะได้สินค้าที่ถูกลงไปอีก การซื้อที่ดิน คนมีเงินมักไม่ต้องไปเร่แสวงหาซื้อที่ดิน แต่จะมีคนที่ร้อนเงิน ก็พร้อมที่จะนำที่ดินมาขายฝาก หรือจำนอง คนร้อนเงินจะต่างจากคนมีเงิน คือต้องการขายของที่ตนเองมีในราคาที่ถูก แต่คนมีเงินต้องการซื้อสินค้าหรือบริการในราคาที่ถูกพิเศษ

เงินคือ “สายป่าน” ทำให้เกิดแต้มต่อในการดำเนินการ ในกิจการหลายอย่างมีปัญหาอันเกิดจากการมี “สายป่านที่ยาวไม่พอ” เช่นจะทำโครงการหนึ่งให้ดีถึงระดับหนึ่ง แต่มีเงินทุนไม่เพียงพอ ไม่มีเงินพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยธนาคารต่อไป ในขณะที่รายได้ก็ยังไม่เข้ามาอย่างเพียงพอ ทั้งๆที่คนทำธุรกิจเอง ก็ยังต้องมีเงินเพื่อกินเพื่ออยู่ ครั้งจะไปกู้เงินจากธนาคารเพิ่มเติม ธนาคารก็ไม่มั่นใจที่จะให้กู้เพิ่มอีกแล้ว เพราะกิจการยังไม่อยู่ในฐานะที่ดีพอ สภาพเช่นนี้จะไม่เกิดกับคนที่มีกำลังเงินเข้มแข็งพอ เขาจะยังรักษาธุรกิจของเขาไว้ ในขณะที่กิจการเดียวกันของคนอื่นๆพากันสูญหายตายจาก เรียกว่าอุปทาน (Supplies) ลดลง แต่อุปสงค์คงตัวหรือเพิ่มขึ้นเมื่อสภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป คนมีเงินมีสายป่านยาวพอ ก็จะกลับมาแสวงหาประโยชน์ในช่วงนี้ คือช่วงที่คนอื่นๆพากันล้มไปแบบขาดใจตายไปแล้ว

เงินเป็นอำนาจในการซื้อและการแสวงหา หากเรามีเงิน แต่ขาดความสามารถในการดำเนินการในกิจการหนึ่งกิจการใด เรามีสิทธิเลือกจ้างคนมีความสามารถนั้นๆมาดำเนินการ หากเราขาดวิทยาการใหม่ที่จะใช้ในการดำเนินการ เงินลงทุนสามารถทำให้เราเลือกซื้อเทคโนโลยีที่เหมาะสม คุ้มค่าแก่การลงทุนมาใช้ สร้างความได้เปรียบในการดำเนินการ สำคัญที่เราจะต้องรู้จักเลือกสรรและใช้การจัดการอย่างเหมาะสม

ด้วยคำสอนนี้ จึงแนะนำให้กับผู้ต้องการเริ่มธุรกิจใหม่ว่า จงประหยัดที่สุดในช่วงดำเนินการระยะแรก สะสมเงิน สร้างความสำเร็จอะไรเล็กๆน้อยๆ ใช้สติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ ความอดทน เหล่านี้ เพื่อให้มีเงินทุน มีความน่าเชื่อถือ แล้วในที่สุด ในระยะต่อไป เงินก็จะกลับมาช่วยในการพัฒนาธุรกิจของเราต่อไป

Wednesday, February 22, 2012

สุภาษิตอังกฤษ: เมื่อความยากจนเข้ามาทางประตู ความรักก็ออกไปทางหน้าต่าง

สุภาษิตอังกฤษ: เมื่อความยากจนเข้ามาทางประตู ความรักก็ออกไปทางหน้าต่าง

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: สุภาษิต, Proverbs, ครอบครัว, family

ภาพ ครอบครัวย่อมมีความหมายมากกว่าเพียงชายและหญิง

มีสุภาษิตอังกฤษบทหนึ่งกล่าวว่า “When poverty comes in the door, love goes out the window.” แปลเป็นไทยได้ว่า “เมื่อความยากจนเข้ามาทางประตู ความรักก็ออกไปทางหน้าต่าง

สุภาษิตนี้มิได้มีคำแนะนำสำหรับชายหรือหญิงให้หาคู่ที่มีฐานะมั่นคง สอนให้ชายหาภรรยามีฐานะ สอนให้สตรีแสวงหาชายมีฐานะเป็นคู่ครอง เพราะความรักมิได้ต้องมองเพียงมิติทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่ได้สอนให้คนที่จะรักกัน ต้องคิดกันไกลๆถึงอนาคตของทั้งสองฝ่าย คิดถึงลูกๆที่จะเกิดตามมาด้วย

การที่คนเราจะรักกัน แต่งงานกัน ก็ต้องคิดถึงอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม เราไม่จำเป็นต้องมีอะไรทุกอย่างให้พร้อมก่อนที่จะแต่งงาน เพราะหากรักกันจริง มีความมุ่งมั่น ทั้งสามีและภรรยาช่วยกันทำมาหากิน และในอีกด้านก็ให้รู้จักเก็บหอมรอมริบ ใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่นานก็สามารถสร้างฐานะให้มั่นคงได้

แต่ขณะเดียวกัน ไม่มีความพร้อมอะไรเลย เช่น ฝ่ายชายยังไม่มีงานทำเป็นหลักแหล่ง ไม่มีรายได้แน่นอน หรือเรียนหนังสือยังไม่ทันจบ แต่ก็ชิงสุกก่อนห่าม ฝ่ายหญิงไปมีท้องเสียก่อน ไปมีครอบครัวทั้งๆที่ยังไม่พร้อม ลำพังทั้งคู่ยังนำพาชีวิตไปไม่รอด พอมีลูกเข้าไปอีก มีเป็นอันมาก ฝ่ายชายก็มักจะตีจาก ไม่รับผิดชอบต่อครอบครัว เพราะตัวเองก็ยังอายุน้อย ไม่มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพอะไรเป็นพิเศษ และที่สำคัญก็มักจะเป็นคนที่ยังไม่รู้จักมีความรับผิดชอบ ในกรณีการต้องแต่งงาน หรืออยู่กินกันไปอย่างไม่พร้อม ท้ายสุดมักจะเกิดปัญหา ทะเลาะเบาะแว้ง มีความทุกข์เพิ่มมากขึ้น กินเหล้าเมายา เหล่านี้ทำให้เป็นต้นเหตุของการหย่าร้าง ต้องปล่อยให้แม่เป็นฝ่ายเลี้ยงลูกไปตามลำพัง ดังนี้ก็จะยากที่จะรักษาความรักความสัมพันธ์ให้อยู่ยั่งยืน

ดังนั้น การที่จะมีความรักในวันนี้ ก็ต้องคิดถึงอนาคตในวันหน้า หากยังไม่มั่นใจ ก็คบกันเป็นเพื่อนกันไปก่อน พร้อมเมื่อใดแล้ว ค่อยคิดถึงชีวิตคู่ การแต่งงาน การมีครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบต่อลูกๆที่จะตามมา

สุภาษิตอังกฤษ: ความกังวลทำให้สิ่งเล็กๆนั้นกลายเป็นเงาใหญ่

สุภาษิตอังกฤษ: ความกังวลทำให้สิ่งเล็กๆนั้นกลายเป็นเงาใหญ่

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: สุภาษิต, Proverbs, การตัดสินใจ, decision making, flood, น้ำท่วม, water management

มีสุภาษิตในภาษาอังกฤษบทหนึ่งกล่าวว่า “Worry often gives a small thing a big shadow.” แปลเป็นไทยได้ว่า “ความกังวลทำให้สิ่งเล็กๆนั้นกลายเป็นเงาใหญ่” ~ สุภาษิตอังกฤษ

อันชีวิตมนุษย์นั้น เราต้องมีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา ในเรื่องตั้งแต่เล็กๆไปจนเรื่องใหญ่และสำคัญต่อชีวิตอนาคตของเรา และในทุกการตัดสินใจนั้น ต้องมีเรื่องที่มีข้อผิดพลาด และผลของการตัดสินใจนั้นไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวัง แต่กระนั้นก็ยังต้องมีการตัดสินใจ แต่หลักของการตัดสินใจนั้น มีอยู่ว่า การจะทำการใดนั้น ก่อนตัดสินใจให้ไตร่ตรองให้รอบคอบ มองให้รอบด้าน แล้วคิดกระบวนการในการตัดสินใจ หากเป็นเรื่องใหญ่และสถานการณ์ไม่แน่นอน ก็ให้มีแผนหนึ่ง และแผนสอง (Plan B) รองรับ แต่เมื่อได้ตัดสินใจ และได้ดำเนินการไปแล้ว ก็ต้องเดินหน้าไปอย่างไม่หวั่นไหว ไม่ลังเล ต้องมั่นคงต่อเป้าหมายหลักให้ได้ มีปัญหาเล็กๆน้อยๆ ก็แก้ไขกันไป หากแผนแรกพลาด ก็ให้มีแผนสองรองรับ

ภาพ เปียโนราคาแพงที่ยกจากระดับน้ำท่วมขึ้นไปอีก 1 ฟุต หากน้ำท่วมเข้าบ้านในชั้นแรก

ภาพ น้ำท่วมเข้าภายในบ้านชั้นล่าง ของบ้านคนชั้นกลาง จะเกิดความเสียหายบางส่วน บางส่วนยกไปเก็บไว้ในชั้นที่สอง

ยกตัวอย่าง คนที่บ้านน้ำท่วมในปลายปี พ.ศ. 2554 ทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือนของตนจนดูเหมือนทำให้ชีวิตแตกสลาย เราย้ายกลับเข้าบ้านแล้ว แต่บ้านก็จะยังไม่เป็นบ้าน เพราะมีความวิตกจริตครอบงำอยู่ตลอดเวลา หลายคนตัดสินใจต้องอยู่ต่อในบ้านเดิม จะย้ายไปไหนยังไม่ได้ เพราะได้มีการลงทุนซื้อบ้านหรือสร้างบ้านไปแล้วเป็นมูลค่าหลายล้านบาท แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าในปี พ.ศ. 2555 และทุกปีต่อไปนี้ น้ำจะไม่ท่วมบ้านอีก คำตอบก็คือ ไม่มีใครรู้ เราก็ต้องเตรียมรองรับทั้งแบบน้ำไม่ท่วม คอยรับฟังข้อมูลด้านน้ำเป็นระยะๆ หากน้ำท่วม ก็ให้คิดทางหนีทีไล่ไว้ล่วงหน้า อย่าปล่อยให้เกิดความเสียหายมากอย่างที่เคย ต้องเตรียมแรงหรือคนช่วย สำหรับย้ายของขึ้นที่สูง หากน้ำท่วมมาก ต้องย้ายรถไปหาที่จอดรถที่อื่นๆ ไม่ปล่อยให้รถต้องจมน้ำอย่างที่เคย แต่คงจะไม่นำรถไปจอดตามทางด่วน ถนนลอยฟ้าให้เสียความรู้สึก

ทุกปัญหามีทางออก แต่การที่มีความไม่แน่นอนนี้ ก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจเอาไว้ แต่อย่าไปวิตกให้มากเกินกว่าเหตุ ทำให้กินไม่ได้ นอนไม่หลับ มัวคิดสับสน รีรอ แล้วเกิดอารมณ์ขุ่นมั่วตลอดเวลา

คนที่อยู่ในเขตเสี่ยงน้ำท่วม เพราะได้เคยมีน้ำท่วมมาแล้วในปี พ.ศ. 2554 ก็ให้ทำใจแล้วอยู่อย่างสบายใจว่า น้ำท่วมก็ปรับตัวมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ไม่ท่วมก็ดีไป แต่อย่าไปปล่อยให้สภาพน้ำมีผลต่อชีวิตไปตลอดปี จะไปไหนไกลๆก็กังวล จะอยู่อย่างเหงาๆที่บ้านตลอดไป ก็จะเป็นโรคซึมเศร้า ทำใจให้ได้เถิดครับ แล้วใช้ชีวิตของเราให้มีความสุขไปตามอัตภาพ

ภาพ รถไมโครบัสที่ปล่อยให้น้ำท่วม เพราะไม่สามารถย้ายไปทีื่อื่นๆได้ทัน และไม่สามารถยกขึ้นที่สูงได้ทัน

ลิงก์ภาพ รถยนต์นั่งแบบ Sedan ที่ปล่อยให้น้ำท่วม เพราะไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารเพียงพอ และการป้องกันน้ำท่วมในช่วงปี ค.ศ. 2554 เป็นไปอย่างโกลาหล

สุภาษิตอังกฤษ: การจะให้ฉายาหรือด่าว่าข้าฯอย่างไร จะไม่ทำให้ข้าฯเจ็บปวด

สุภาษิตอังกฤษ: การจะให้ฉายาหรือด่าว่าข้าฯอย่างไร จะไม่ทำให้ข้าฯเจ็บปวด

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: สุภาษิต, Proverbs, สติ, ความโกรธ, การเมือง, การดวลปืน, การท้าทาย

ขออวยพรและให้กำลังใจ แด่ท่านที่เล่นการเมืองทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ที่ต้องมีความอดทน ใช้สติ มีปัญญา และเมตตา

การจะเป็นนักการเมือง หน้าตาเป็นเรื่องสำคัญ จนบางครั้งเมื่อมีการต่อสู้ทางการเมือง จึงมักสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิง และในหลายครั้งเลือดขึ้นหน้า สู้กันด้วยชีวิต

มีสุภาษิตภาษาอังกฤษบทหนึ่งว่า “Sticks and stones will break my bones but names will never hurt me.” ~ English proverb

ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “ใช้ไม้ตีหรือหินขว้าง คงทำให้ข้าฯกระดูกหัก แต่การจะให้ฉายาหรือด่าว่าข้าฯอย่างไร จะไม่ทำให้ข้าฯเจ็บปวด” ~ สุภาษิตอังกฤษ คนจะเล่นการเมือง ต้องท่องคาถานี้ไว้
Sticks and stones เป็นคำที่มีเสียงพ้องกัน Sticks = ตะบอง, ท่อนไม้ และ Stones = ก้อนหิน, หิน ในสมัยโบราณเขามีวิธีการลงโทษคนกระทำผิดด้วยการใช้ไม้ทุบ หรือใช้ก้อนหินขว้าง และขว้างจนให้ถึงตาย ซึ่งเป็นความเจ็บปวดและทรมานมาก มันเป็นโทษเท่ากับประหารชีวิต

To name = การเรียกชื่อ, การให้ฉายา ดังเช่นการเรียกฝ่ายตรงข้ามให้เสียหาย เช่น ไอ้ขี้ขลาด, ไอ้ขี้โกง, ไอ้หน้าตัวเมีย, ไอ้หมาตัวเมีย เป็นต้น

ภาพ การดวลปืนกันระหว่าง Burr กับ Alexander Hamilton ที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1804

ในยุคต่อๆมา บางทีไม่มีความผิดตามกฎหมาย แต่เป็นการมีคุณค่าในสังคมว่า ลูกผู้ชายฆ่าได้ แต่หยามไม่ได้ จึงมีการท้าดวลกันตามยุคตามสมัย จะด้วยอัศวินสองฝ่าย ขี่ม้าพร้อมหอกยาวควบเข้าหากัน หวังให้ฝ่ายตรงกันข้ามถูกหอกที่มจนตกจากหลังม้า ได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือในยุคต่อมา อาจเป็นการดวลกันด้วยดาบ มีดสั้น หรืออาวุธปืน ก่อนจะมีการดวล เขาจะมีคำพูดดูหมิ่น เอาเหล้าสาดหน้า เอาถุงมือตบหน้า หรือมีการส่งคำท้าอย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นการท้าให้คู่ขัดแย้งมาสู้กันด้วยการดวล (Dueling)
ในการดวลดูเหมือนทั้งสองฝ่ายจะมีอาวุธอย่างเท่าเทียมกัน แต่ฝ่ายผู้ท้าดวลมักจะเป็นคนที่ถนัดอาวุธ และได้เปรียบด้วยประสบการณ์ และในทางจิตวิทยา การดวลกันนั้นมักจะทำในที่เปิดเผย ถูกกฎหมาย หากใครหลงไปรับคำท้าเพราะด้วยความโกรธ เสียหน้า หรือต้องปกป้องศักดิ์ศรีของตนเอง บิดามารดา วงศ์ตระกูล หรือคนที่ตนรัก และแล้วก็มักจะลงเอยด้วยการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับบาดเจ็บ หรือจนกระทั่งเสียชีวิต

การดวลครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ที่นักการเมืองสองฝ่ายท้าดวลกัน คือระหว่างรองประธานาธิบดีชื่อ Aaron Burr กับอีกคนหนึ่งเป็นวีรบุรุษจากสงครามประกาศอิสรภาพ และผ่านการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนแรกของสหรัฐ ชื่อ Alexander Hamilton ทั้งสองมีความขัดแย้งกันเป็นการส่วนตัว แต่ท้ายสุดนำมาซึ่งการท้าดวลกันด้วยปืนสั้นในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1804 ในบริเวณชายฝั่งของเกาะแมนฮัตตัน เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน

ผลของการดวล Hamilton ถูกกระสุนปืน ได้บาดเจ็บสาหัส จนทำให้ต้องเสียชีวิตจากพิษบาดแผลในวันต่อมา ส่วน Burr แม้จะชนะการดวล แต่ว่าเขาไม่เคยได้รับชื่อเสียงใดๆ และตรงกันข้าม ชีวิตหลังการดวลของเขามีแต่ตกต่ำในทางการเมือง จนอาจเรียกได้ว่าเป็นจุดจบทางการเมืองของเขา

ในยุคปัจจุบัน เขามีกลยุทธหลอกล่อให้นักการเมืองฝ่ายตรงกันข้ามเสียสมาธิหรือแม้แต่เสียสติด้วยความโกรธ ในบางประเทศโกรธกันขนาดต่อยกันในรัฐสภา หรือเอาเก้าอี้ฟาดกัน เหมือนในเกมส์มวยปล้ำที่ต้องแสดงความรุนแรงตอบสนองต่อคนดู บางครั้งการยั่วกันในสภาฯ มีการออกอากาศ รบกวนจนฝ่ายที่ต้องการนำเสนอหลงประเด็น ขาดสมาธิในการนำเสนอ เสียเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง

อย่างไรก็ตาม คนจะเล่นการเมืองต้องมีสติและต้องใช้ปัญญา ต้องนึกเสมอว่า อย่าไปเสียเวลากับเกมส์การเมือง ต้องรู้จักว่าอะไรคือเรื่องสำคัญ และอะไรคือเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง และไม่ควรไปเสียเวลากับสิ่งที่ไม่เป็นสาระ

Friday, February 17, 2012

I ตัวที่ 4 คือ Internationalization การก้าวสู่ความเป็นนานาชาติ

I ตัวที่ 4 คือ Internationalization การก้าวสู่ความเป็นนานาชาติ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Updated: Saturday, February 18, 2012

Keywords: Higher education, การอุดมศึกษา, Internationalization

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 13:00-16:00 น. ผมได้ไปบรรยายให้ผู้บริหารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฟังในหัวข้อเรื่อง “การสร้างทุนมนุษย์สำหรับมหาวิทยาลัย” ได้พบกับบรรดาอาจารย์รุ่นน้องที่เขาได้ก้าวเข้ามาสู่ตำแหน่งบริหารมหาวิทยาลัย ผมบรรยายตามเอกสารที่ปรากฏใน My Words ดูได้ที่ http://pracob.blogspot.com/2011/07/blog-post_07.html

I3 = AV

ซึ่งแปลความจากสูตรได้ดังนี้

Þ I ตัวแรก คือ Intelligence เป็นเรื่องของ"ปัญญา" ไม่ใช่กำลัง หรือใช้แรงงานเป็นหลัก

Þ I ตัวที่สอง คือ Information หมายถึงการต้องอาศัย"ข้อมูล" ซึ่งต้องเป็นข้อมูลที่ดี ถูกต้อง และทันสมัยที่สุด

Þ I ตัวที่สาม คือ Ideas การต้องมี"ความคิด"ที่จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์และพัฒนาสิ่งใหม่ขึ้นมา

AV หมายถึง "added value in cash or in kind" การ เพิ่มคุณค่าให้กับสิ่งต่างๆเหล่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นมูลค่าในทางเศรษฐกิจที่ประเมินได้ หรือในรูปที่ไม่สามารถให้ผลตอบแทนเป็นตัวเงินได้ แต่อาจเป็นคุณค่าต่อสังคมหรือมนุษย์ทั่วไป

I ตัวที่ 4 คือ Internationalization การก้าวสู่ความเป็นนานาชาติ

ผมได้เสนอ I ตัวที่ 4 สำหรับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ และเป็นมหาวิทยาลัยหลักของประเทศ

การนำพามหาวิทยาลัยก้าวสู่ความเป็นผู้นำระดับสากล (Internationalization) นั้นคือไม่ใช่การบริหารให้จุฬาฯเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีแห่งหนึ่งของประเทศ แต่ต้องเน้นว่า จุฬาฯต้องก้าวไปข้างนอกให้ไกล ด้วยการคิดและนำมหาวิทยาลัยแข่งขันสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งหนึ่งของภูมิภาคและโลก จุฬาฯไม่ควรเป็นมหาวิทยาลัยที่ “เก่งแต่เพียงในบ้าน” เพราะหากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไม่คิดก้าวไปให้ไกล แล้วประเทศไทย ซึ่งต้องอาศัยสติปัญญา และองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัย จะมีที่พึ่งจากที่ไหน

จุฬาฯต้องเป็นศูนย์กลางของความเป็นเลิศในการพัฒนาระดับอุดมศึกษาภายในประเทศ การพัฒนาบุคลากรให้กับสถาบันอุดมศึกษาขนาดเล็กและกลาง มีอาจารย์รุ่นน้องเขาถามว่า จุฬาฯเป็นมหาวิทยาลัยหลักเพียงแห่งเดียวที่มีวิทยาเขตเดียว (One single campus) ในขณะที่มหาวิทยาลัยอื่นๆเขามีหลายวิทยาเขต ตัวอย่าง ธรรมศาสตร์ มหิดล เกษตรศาสตร์ จุฬาฯ ควรเป็นอย่างเขาหรือไม่?

ในทัศนะของผม ไม่แปลกที่จุฬาฯจะมีเพียงวิทยาเขตหลักแห่งเดียว แต่จุฬาฯก็ยังต้องมีกิจกรรมและบริการที่กว้างครอบคลุมไปได้ทั่วทั้งประเทศ โดยเน้นที่กิจกรรมและคุณประโยชน์ ซึ่งบางส่วนก็ได้กระทำอยู่แล้ว เช่น การพัฒนาตำราเรียน การมีการบริหารศูนย์หนังสือ (University Book Centers) ระบบจัดสอบภาษาอังกฤษ อย่าง CU-TEP แต่จุฬาฯอาจทำได้มากกว่านั้น เช่น การมีแผนพัฒนาบุคลากรให้กับมหาวิทยาลัยขนาดเล็กและกลาง ดังเช่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาลัยเทคนิค มหาวิทยาลัยในประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาค ซึ่งสถาบันเหล่านี้มีวิทยาเขตอยู่แล้วในทุกจังหวัดของประเทศ

จุฬาฯ ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันกับนานาชาติ ASEAN, Chindia, BRIC (Brazil, Russia, India, China)

จุฬาฯอาจทำได้มากมาย ด้วยการมีโครงการพัฒนาคณาจารย์ร่วมกัน (Human Resources Development) มีอาจารย์แลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยอื่นๆในต่างประเทศ นอกเหนือจากที่มีอยู่แล้วในยุโรปและอเมริกาเหนือ

โลกวิชาการก็ต้องมีการเปิดตลาดใหม่เช่นกัน จุฬาฯต้องมองไปที่ประเทศกลุ่ม ASEAN ประเทศที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วอย่าง จีน และอินเดีย ซึ่งรวมแล้วมีประชากรกว่าครึ่งโลก การจะทำได้ดังนี้ เราต้องทำให้มีมหาวิทยาลัยมีภาษาเพื่อการสื่อสารการเรียนการสอนที่ใช้ร่วมกันได้ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน การเปิดหลักสูตรที่เป็นนานาชาติ (International programs) ให้มากขึ้น งานวิชาการที่จะนำเสนอ ให้ต้องมีการนำเสนอเป็นภาษาต่างประเทศ แม้ในระยะแรกๆ จะต้องมีการช่วยคณาจารย์และนิสิตในการแปลงานวิจัยกันบ้าง แต่ในระยะยาว ต้องให้คณาจารย์และนิสิตต้องมีทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ทั้งทางด้านการอ่าน พูด การฟัง และการเขียน โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่ทุกคนต้องมีความเข้มแข็งด้วยตัวเองให้ได้ โดยเริ่มจากสาขาวิชาที่เป็นความจำเป็นที่ต้องทำงานร่วมกับนานาชาติก่อน

อีกด้านหนึ่งที่ฝากไปยังอาจารย์รุ่นน้องๆว่า การขยายบริการและคุณประโยชน์ของมหาวิทยาลัยนั้นกระทำได้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT for Education) ที่ใช้เพื่อการสื่อสารและเพื่อการศึกษา ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคโทรทัศน์ดิจิตอล โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม Subscribed TV, ระบบอินเตอร์เน็ตยุค 3G และ 4G ชุดการเรียนการสอน (Courseware) ต่างๆ สามารถแปลงให้เป็นดิจิตอล (Digitization) และขณะเดียวกัน ผู้เรียนและผู้สอนเอง ก็ต้องสามารถใช้หนังสือและแหล่งความรู้จากโลกภายนอกได้ ต้องเข้าใจว่าภาษาไทยที่มีใช้กันในโลกนั้นเป็นเพียงต่ำกว่าร้อยละ 1 ของโลก หากเราจะเน้นการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย สำหรับโลกอุดมศึกษาแล้วคงจะไม่เพียงพอ และช้าเกินไป เราต้องทำให้ระบบการสื่อสารทางวิชาการของเรา ก้าวสู่ความเป็นสากลได้ แลกเปลี่ยนกันได้ในแบบ Real time

ท้ายสุด นักวิชาการไทย ไม่ใช่เพียงต้องรอรับความรู้จากโลกด้านเดียว แต่เราต้องมีขีดความสามารถในการแลกเปลี่ยน และให้ความรู้แก่ภูมิภาคและโลกได้ด้วย

Tuesday, February 14, 2012

รายชื่อศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ รุ่น 04-06

รายชื่อศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ รุ่น 04-06

Updated: August 19, 2012

Keywords: Dhebsirin 04-06, เทพศิรินทร์ 04-06

รายชื่อศิษย์เก่านักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งจบโรงเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 (เทียบเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในปัจจุบัน) ในปีพ.ศ. 2504 จึงเรียกว่ารุ่น 04 และจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในปีการศึกษา 2506 (เทียบเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปัจจุบัน) จึงเรียกว่ารุ่น 06 อายุเฉลี่ยของคนรุ่นนี้จะประมาณ 65-67 ปี เป็นส่วนใหญ่



ภาพที่ 1 การร่วมรับประทานอาหารกลางวันทุกวันพฤหัสบดีที่ 3 ของแต่ละเดือน ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555


ภาพที่ 2 ถ่ายในวันเดียวกัน เมื่อมีการร่วมรับประทานอาหารกลางวัน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ณ สโมสรกองทัพบก (Army Club) ถนนวิภาวดี กรุงเทพมหานคร

ต่อไปนี้เป็นภาพศิษย์เก่าเทพศิรินทร์ รุ่น 04-06 ชุมนุมครบรอบ 50 ปีของการจบการศึกษา ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพฯ วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556


ภาพที่่ 3


ภาพที่่ 4


ภาพที่่ 5


ภาพที่่ 6


ภาพที่่ 7


ภาพที่่ 8


ภาพที่่ 9


ภาพที่่ 10


ภาพที่่ 11


ภาพที่่ 12


ภาพที่่ 13


ภาพที่่ 14


ภาพที่่ 15


ภาพที่่ 16


ภาพที่่ 17


ภาพที่่ 18


ภาพที่่ 19


ภาพที่่ 20


ภาพที่่ 21


ภาพที่่ 23


ภาพที่่ 24


ภาพที่่ 25

ท่านที่อยู่ในรุ่นนี้เป็นส่วนใหญ่ไม่ใช่คนในรุ่น Digital มักไม่ค่อยได้ใช้อินเตอร์เน็ต มีเพียงบางคนที่ใช้ Facebook, Twitter, หรือใช้ E-mail ดังนั้น การสื่อสารกับเพื่อนๆในรุ่นนี้ ก็คงจะต้องฝากลูกหลาน หรือบุคคลใกล้ชิด ช่วยรับและส่งข่าวสารให้แก่ท่านด้วย โดยเฉพาะท่านที่อยู่ห่างไกลในต่างจังหวัด หรือมีสุขภาพไม่แข็งแรงนัก

รายชื่อต่อไปนี้ ได้มาจากอาจารย์ประสิทธิ์ ยามาลี (แขก) หากส่วนใดมีความไม่สมบูรณ์ หรือต้องการแจ้งข่าวสารใดเพิ่มเติม ช่วยฝากข้อความไว้ด้วย จะขอบคุณยิ่ง

คณะบรรณาธิการ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1. ถนอม บุญบุตร
2. ประสงค์ เข็มทอง
3. ธงชัย อัจฉริยานนท์
4. วัฒนา จันทรศร
5. เอื้อวงศ์ วงศ์ทองเหลือ
6. จิรนัย รัตนาจารย์
7. วิชิต ยุกตะทัต
8. วิบูลย์ มีคุณ
9. สันติ จึงแสงสถิตพร
10. พิเชษฐ์ อิสรางพร
11. วิศิษฐ์ นิมิตกุล
12. ไพรัช วานิชกร
13. ประวัติ แห่งตระกูล, และ
14. นิวาต สาราณียวงศ์

รายชื่อเทพศิรินทร์ 04-06

คุณ กรัณย์ วุฒิเมธีกุล (01)
104 ซอยเจริญนคร 14
ถนนเจริญนคร เขตคลองสาน
กรุงเทพฯ 10600

คุณ ก่อเกียรติ รุ่งสุวนิจฉัย (02)
17-23 ซอยโชติวัฒน์
ถนนประชาชื่น เขตบางซื่อ
กรุงเทพฯ 10800

คุณ กุลธร อักษรานุเคราะห์ (03)
145 ซอยภูมิจิตร ถนนพระราม 4
แขวงพระโขนง เขตพระโขนง
กรุงเทพฯ 10110

คุณ แกล้ว วิบูลย์กิจวรกุล (04)
414 ซอยวัดราชสิงขร 2
แขวงพระยาไกร เขตบางคอแหลม
กรุงเทพฯ 10120

คุณ เฉลิมชัย ชุณหะชา (05)
แม่ฮ่องสอนริเวอร์ไซด์โฮเต็ล
165 หมู่3 ต.ผาน่อง อ.เมือง
จ.แม่ฮ่องสอน 58000

คุณ โกวิท เพ็งศรี (06)
70 เสนานิคม 1 ถนนพหลโยธิน 32
แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร
กรุงเทพฯ 10900

พลเอก โกญจนาท จุณณะภาต (07)
237 ถนนสุทธิสาร (ตอนปลาย)
แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง
กรุงเทพฯ 10320

คุณ คุโณดม ธรรมาภรณ์พิลาศ (08)
179/5 ซอยขุมทรัพย์สกุลพร

ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพฯ 10700

คุณ จุมพล อุทัยวัฒน์ (09)
23 อินทรามาระ 24
ถนนสุทธิสาร เขตดินแดง
กรุงเทพฯ 10400

คุณ จุลจักร ภูมิจิตร (10)
165/1 ซอยอินทรามาระ 55
ถนนสิทธิสาร เขตดินแดง
กรุงเทพฯ 10400

คุณ จิรนัย รัตนาจารย์ (11)
100/461 ซอย 14 หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง
ถนนกรุงเทพกรีฑา เขตสะพานสูง
กรุงเทพฯ 10250

คุณ จรัส เสมดี (12)
42/50 ถนนแจ้งวัฒนะ 10
แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
กรุงเทพฯ 10210

คุณ ชุมชัย คุณหิรัญ (13)
99/37 หมู่บ้านธนาสิริ ถนนรัตนาธิเบศร์
ตำบลบางรักใหญ่ อำเภอบางบัวทอง
จังหวัดนนทบุรี 11110

คุณชัยรัตน์ โกวิทมงคล (14)
161-163 ซอยดำรงลัทธพิพัฒน์
ถนนอาจณรงค์ แขวงคลองเตย
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

คุณ ชัยโรจน์ โอฬารประเสริฐ (15)
56/60 ถนนบางกรวย-ไทยน้อย
หมู่บ้านศรีบัณฑิต การ์เด้นวิลล์
อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130

ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ (16)
160/28 ซอย 19 หมู่บ้านปัญญา
ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง
เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

คุณ โชติวุฒิ ธัชศิริกุล (17)
1115/8 ถนนสุขุมวิท 101/1
ซอยวัชระธรรมสาธิต 57 แขวงบางจาก
เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260

คุณ ณรงค์ชัย แดงจำรูญ (18)
301/3 หมู่บ้านเคหะท่าทราย
ถนนประชาชื่น แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

คุณ ตุลย์ อินทรัมพรรย์ (19)
49/32 หมู่ 3 ถนนวิภาวดี-รังสิต (ซอย 64)
แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่
กรุงเทพฯ 10210

ดร.ชินวุฒิ บูรณารมย์ (20)
การไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
175 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง
เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

ทพ.ถนอม บุญบุตร (21)
74/18-20 หมู่บ้านดำรงวิลล่า
ถนนเพชรเกษม ตำบลอ้อมน้อย
อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74130

คุณ ทวี อรรถโยโค (22)
123/92 หมู่บ้านเสริมไทยธานี
ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด
อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

คุณ ธงไชย นวารัตน์ (23)
244/55 หมู่บ้านเธียรสวน
ถนนรามอินทรา เขตบางเขน
กรุงเทพฯ 10220

คุณ ธนู มนัสเสวี (24)
187 หมู่ 7 สุขุมวิท 109
สำโรงเหนือ อำเภอเมือง
จังหวัดสมุทรปราการ 10270

คุณ ธเนศ สุคนธะชาติ (25)
549/495 ซอยจรัลสนิทวงศ์ 37
แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพฯ 10700

คุณ ธนิต สุวรรณพงษ์ (26)
67/122 ซอย 1 อมรพันธ์ 9
เสนานิคม ๑ เขตบางกะปิ
กรุงเทพฯ 10230

คุณ ธนิต ชุษณะโชติ (27)
17 หมู่บ้านพฤกษชาติ (ธนาคาร)
ซอยกัลปพฤกษ์ ถนนรามคำแหง 118
เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10240

พลตรี นเรศวร์ ประเสริฐศิลป์ (28)
76/174 หมุ่บ้านนนท์นคร
ซอยทานสัมฤทธิ์ ถนนติวานนท์
อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

คุณ นภดล พุฒิทานันท์ (29)
54/166 ถนนพัฒนาการ
เขตประเวศน์
กรุงเทพฯ 10250

คุณ นคร สุคัณโธ (30)
53/277 หมู่บ้านกฤษดานคร
ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางตลาด
อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120

คุณ นันทชัย ยุกตานันท์ (31)
224/70 ลาดพร้าว 94
แขวงวังทองหลาง
กรุงเทพฯ 10310

คุณ นัฎฐพงศ์ เตชะเสน (32)
29 ซอยปานทิพย์ 1
ถนนวงศ์สว่าง ตำบลบางซ่อน
เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800

คุณ นรินทร์ พานิชกิจ (33)
74-76 หมู่3 บ้านเมืองเก่า อ.ศรีสัชนาลัย
สุโขทัย 64190

คุณ นิพนธ์ โตสวัสดิ์ (34)
2654 ถนนเดชอุดม ซอย 16
ตำบลในเมือง อำเภอเมือง
จังหวัดนครราชสีมา 30000

คุณ บุญเอก พิทักษ์ดำรงกิจ (35)
140/2 ซอยสหมิตร
ถนนมหาพฤฒาราม
เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

คุณ บุญเทพ วนัสบดีกุล (36)
301/1 ซอยประชาชื่น 37
ถนนประชาชื่น เขตบางซื่อ
กรุงเทพฯ 10300

คุณ บุญชัย วงษ์ทองดี (เสียชีวิตแล้ว) (37)
5/191 เมืองทองธานี ซี 8
ซอยป๊อปปูล่าร์ 5 บางพูด
อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120

คุณ บุญส่ง เล้าสุวรรณ (38)
5/456 ประชานิเวศน์ 2 ระยะ 3 หมู่ 9
บางตลาด อำเภอปากเกร็ด

จังหวัดนนทบุรี 11120

พล.ต.ต.บรรจงศิลป รักสัตย์มั่น (39)
70/66 ซอยโอฬาร 2
ถนนนวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม
เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10240

คุณ ปรีชา ประสพสุข (40)
48 หมู่ 3 ตำบลเสาธง
อำเภอบางปะหัน

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คุณ ประวิทย์ มีศรี (41)
19/209 จรัล 13 ถนนจรัลสนิทวงศ์
แขวงบางแวก เขตภาษีเจริญ
กรุงเทพฯ 10160

คุณ ประกิตต์ บุญญารักษ์ (42)
23/208 ม.กรุงเทพเสริมมิตร
ถนนนวมินทร์ ซอย 48
เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230

คุณ ประวัติ แห่งตระกูล (43)
2001/75 หมู่บ้านสาธิตวิลล่า
ถ.สุขุมวิท 101/1 แขวงบางจาก
เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10250

คุณ ประพัทธ์ นิติเศรษฐโกวิท (44)
1009/26 ชั้น 1 ตึก 21 เคหะบางพลีเมืองใหม่
ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางเสาธง
อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 10540

คุณ ประยุทธ โกญจนาวรรณ (45)
2/55 ซอยปรื้มมณี ถนนรัชดาภิเษก
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
กรุงเทพฯ 10900

คุณ ประสิทธิ์ ยามาลี (46)
102/37 หมู่บ้านลัดดารมย์
ซอยรามคำแหง 118 เขตสะพานสูง
กรุงเทพฯ 10240

ดร.ประกอบ คุปรัตน์ (47)
134 ซอยอารีสัมพันธ์ 5
ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท
กรุงเทพฯ 10400

น.อ.ประทีป ชัยเฉลิมศักดิ์ (48)
88/472 ซอยประชาร่วมใจ
ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน
จังหวัดนครปฐม

ว่าที่ ร้อยตรี ประสงค์ เข็มทอง (49)
513 หมู่บ้านเคหะนคร 3 ซอย 17
ถนนพัฒนาการ เขตสวนหลวง
กรุงเทพฯ 10250

คุณ พรชัย วิริยานนท์ (50)
270 ซอยเอกมัย 18 สุขุมวิท 63
แขวงคลองตัน เขตวัฒนา
กรุงเทพฯ 10110

คุณ ไพโรจน์ นันทนลาภอำรุง (51)
9/15 ถนนพหลโธิน หมู่ที่ 8
แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน
กรุงเทพฯ 10220

คุณ ไพศาล ตันชีวะวงศ์ (52)
34/398 โชคชัย 4 ซอย 38
ถนนลาดพร้าว 53 เขตลาดพร้าว
กรุงเทพฯ 10230

คุณ ไพศาล วรรณประเสริฐ (53)
59 ถนนจรัญสนิทวงศ์ 40
บางยี่ขัน เขตบางพลัด
กรุงเทพฯ 10700

คุณวิศิษฐ์ บูรณาการ (54)
77/662 หมู่บ้านชลลดา สายใหม ซอย 18
แขวงสายใหม เขตสายใหม
กรุงเทพฯ 10220

คุณ ภิมุข มงคลรบ (55)
247/6 ม.สัมมากร
ซอย 25/2 เขตสะพานสูง
กรุงเทพฯ 10240

คุณ มนัส ไชยเสน (56)
61 เมืองทองการ์เด้น พัฒนาการ 65 แยก 4
แขวงประเวศ เขตประเวศ

กรุงเทพฯ 10250

คุณ มานัส มัตติกามัย (57)
102/36 บางขุนเทียนนิเวศน์
ถนนเอกชัย 48 แขวงบางบอน
เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150

คุณ มงคล จิวสิริรุ่ง (58)
33/12 หมู่ 8 ซอยถนนถนอมมิตร (65)
ถนนรามอินทรา ท่าแว้ง

เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10230

คุณ คงรัฐ เก้าคงวุฒิ (59)
34/180 หมู่ที่ 10 ซอยโชคชัย 4
ถนนลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

คุณ ยรรยง คูหะเปรมะ (60)
21/155 ซอยลดาวัลย์ 13/4 หมู่บ้านลดาวัลย์

ถ.บรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา
กรุงเทพฯ 10170

คุณ ยิ่งยศ อเนกบุณย์ (61)
316-318 ลาดพร้าว 109
เขตบางกะปิ
กรุงเทพฯ 10240

คุณ ราเมศ วงศ์สายัณห์ (62)
99/323 หมู่บ้านพฤกษชาติ ซอย 19
ถนนรามคำแหง 118 เขตสะพานสูง

กรุงเทพฯ 10240

คุณ บรรพต ฤชุพันธุ์ (63)
14 ถนนเย็นอากาศ
แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาธร
กรุงเทพฯ 10120

คุณ วันชัย กอนุประพันธ์ (64)
574 ตรอกอาเนียเก็ง
ถนนทรงวาด เขตสัมพันธวงศ์
กรุงเทพฯ 10100

คุณ วันชัย เสริมวิทยากุล (65 )
219 ถ.เสรี 7 ซอย 7 หมู่บ้านเสรี
เขตพระโขนง
กรุงเทพฯ 10250

คุณ วัฒนา จันทรศร (66)
12 ซอยบุญชูศรี
ถนนดินแดง เขตพญาไท
กรุงเทพฯ 10400

คุณ วิม ทยาพัชร (67)
8/42 ซอยท่านผู้หญิงพหล
ถนนงามวงศ์วาน เขตจตุจักร
กรุงเทพฯ 10900

คุณ วิสุทธิ์ สุวัณณสังข์ (68)
80/151 หมู่บ้านทิพวัล 1 ซอย 33 ถ.เทพารักษ์
ตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมือง
จังหวัดสมุทรปราการ 10270

พล.ท.วิวัฒน์ วิสนุวิมล (69)
49 ซอยราชวิถี 2
ถนนราชวิถี เขตพญาไท
กรุงเทพฯ 10400

คุณ วิชัย กระแสสินธุวานนท์ (70)
210/277 หมู่บ้านเมืองทอง 2/2
ถนนพัฒนาการ เขตประเวศน์
กรุงเทพฯ 10250

คุณ วิชัย ภุชชงค์ (71)
54 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 78
ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ
เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700

คุณ วิชิต ยุกตะทัต (72)
69/136 หมู่ 8 ซอยแผ่นดินทอง 55
ถนนติวานนท์ ตำบลบางกระสอ
อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

คุณ วิโรจน์ ศิลป์เสวีกุล (73)
69/6 ซอยร่วมสุข
ถนนเอกชัย เขตบางขุนเทียน
กรุงเทพฯ 10150

คุณ วิทยา ติวยานนท์ (74)
1 ซอยสวนสน 1 หมู่บ้านสวนสน
ถนนรามคำแหง เขตบางกะปิ
กรุงเทพฯ 10240

พลเอก วินิจ บุณยะประภัศร (75)
19 ซอยพระนาง
ถนนราชวิถี เขตพญาไท
กรุงเทพฯ 10400

คุณ วีรเวช กู้ตลาด (76)
489/1 กมลภัณฑ์ 96
ถนนเพชรเกษม บางแคเหนือ
เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160

คุณ ศิวรักษ์ มิลินทางกูร (77)
44/14 ลาดพร้าว 86 แขวงวังทองหลาง
เขตบางกะปิ คลองเตย
กรุงเทพฯ 10310

คุณ สมเกียรติ หลุยเจริญ (78)
844/18 ถ.พัฒนาการ คลองตัน
กรุงเทพฯ 10250

คุณ สมชาย วิมลจันทร์ (79)
2508/901 แฟลต 4 ชั้น 6
ดินแดง เขตพญาไท
กรุงเทพฯ 10400

คุณ สมศักดิ์ นาคเงินทอง (80)
65/100 หมู่บ้านเสนานิเวศน์
ซอยเสนานิคม 1 แขวงลาดพร้าว
เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

คุณ สมเจตน์ นิลเนตรบุตร (81)
137/378 หมู่บ้านบดินทร์เดชา ซอยวัดคู้บอน
ซ.14 ถนนรามอินทรา แขวงท่าแร้ง
เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10230

คุณ สาธิต ศิลปะไชย (82)
100/456 หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง
ถนนกรุงเทพกรีฑา เขตสะพานสูง
กรุงเทพฯ 10250

คุณ สุเทพ วานิชกร (83)
79/17 หมู่ 17 ถนนบรมราชชนนี
แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน
กรุงเทพฯ 10170

คุณ ศักดิ์ณรงค์ มีผลกิจ (84)
8/2 วิภาวดีรังสิต 17
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร

กรุงเทพฯ 10900

คุณ สุรศักดิ์ เปรมจิตต์ (85)
103/44 ซอยลาดพร้าว 26
จตุจักร กรุงเทพฯ 10900

คุณ สุรชัย ประเสริฐสรวย (86)
519 ลาดพร้าว 130
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพฯ 10240

คุณ สุรวุฒิ ศาสตระสิงห์ (87)
31 ถนนพหลโยธิน 14
แขวงสามเสนใน
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

ดร.สุทธิพร จีระพันธุ์ (88)
72/39 ซอยอินทรามาระ 1
ถ.สุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

คุณ เสริมศิริ สุขมงคล (89)
28 ซอยปรีดี 21 ถ.สุขุมวิท 71
แขวงคลองตัน เขตคลองเตย
กรุงเทพฯ 10110

คุณ สงัด อุปเถย์ (90)
84/29 ซอยน้ำใส ถ.พหลโยธิน 59
แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน
กรุงเทพฯ 10220

คุณ ศิริพงษ์ บูรณศิริ (91)
45 หมู่ที่ 1 ตำบลริมใต้
อำเภอแม่ริม
จังหวัดเชียงใหม่

คุณ ธงชัย วงศ์วิริยะ (92)
45/33 ซอย 17/7 หมู่บ้านศรีนคร 1
ถนนสุขาภิบาล 1 แขวงคลองกุ่ม
เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10240

คุณ คงธัช ตันตยานุรักษ์ (93)
เลขที่ 43 ถนนห้วยโป่ง-หนองบอน
ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง
จังหวัดระยอง 21150

คุณ พล อินทุวงศ์ (94)
102/59 ลัดดารมย์ 12
ถ.รัตนาธิเบศร์ อ.เมือง
นนทบุรี 10110

คุณ พิเชษฐ์ อิศรางพร (95)
63/12 ซอยรามคำแหง 21 ถ.รามคำแหง
แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง
กรุงเทพฯ 10240

คุณ ไพฑูรย์ วราภาพงษ์ (96)
118/64 ซอยภักดี 1
กิ่งเพชร ราชเทวี
กรุงเทพฯ 10400

ร.อ.สงวน เหมือดตะคุ (97)
40/55 หมู่ 4 ซอยทหารอากาศ
ถนนพหลโยธิน เขตสายไหม
กรุงเทพฯ 10220

คุณ สุขสวัสดิ์ ศรีรัง (98)
152/12 ซ.โรงเรียนบริหารธุรกิจ
ถนนกสิกรทุ่งสร้าง ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000

พล.ต.สันติสุข วรกิจโภคาทร (99)
144/6 ซอยประชาราษฎร 33
เขตบางซื่อ
กรุงเทพฯ 10800

คุณ เสริมเวช ช่วงยรรยง (100)
65/65 หมู่บ้านเสนานิเวศน์
ถ.พหลโยธิน เขตลาดพร้าว
กรุงเทพฯ 10230

คุณ อัตถสิทธิ์ กลั่นปรีชา (101)
364 เพชรเกษม 4
แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่
กรุงเทพฯ 10600

คุณ เอื้อวงศ์ วงศ์ทองเหลือ (102)
8/27 หมู่ 3 หมู่บ้านเพิ่มพูนวิลเลจ
ถนนลาดพร้าว 71
กรุงเทพฯ 10230

คุณ อนันต์ อยู่เล็ก (103)
135/704 หมู่ 4 ซอยเรวดี 46/3
(หมู่บ้านเรวดี 3) ถนนติวานนท์
ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

คุณ อุดม ศรีภิรมย์ (104)
181/1 หมู่ 6 ซ. กม.25
ถนนพหลโยธิน แขวงสายไหม
เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220

คุณ อุเทศ ลีลาวิวัฒน์ (105)
99/9 ถนนพหลโยธิน 28
ลาดพร้าว เขตจตุจักร
กรุงเทพฯ 10900

คุณ อิศรา เหมศาสตร์ (106)
108 ตรอกวัดวิเศษการ ศิริราช
ถนนพรานนก เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพฯ 10700

พลอากาศตรี อารยะ เจตะสานนท์ (107)
89/286 ซอยสายไหม 55
ถนนสายไหม แขวงสายไหม
เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
(108)

คุณ บุญเลิศ พวงพลอย (109 )
205/291 หมู่บ้นผาสุก
ถนนพัฒนาการ 65 เขตประเวศน์
กรุงเทพฯ 10250

คุณ โสตถิ โสตภิวัฒน์ (110)
18/34 เสียงสนนิเวศน์ สุขุมวิท 68
เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260

คุณ สิน เศรษฐวรวิจิตร (111)
277 โชคชัย 4 ซอย 9 ถ.ลาดพร้าว
เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10230

คุณ อโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ (112)
6/11 หมู่ 9 ต.หนองปรือ
อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20260

คุณ เอกเดช สิงหรัตน์ (113)
94/59 หมู่บ้านฟลอร่าวิล
ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี
เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10320

พล.ต.ต. สมยศ โกเมนธรรมโสภณ (114)
116 หมู่บ้านอมรชัย 3
แขวงศาลาธรรมาสพ เขตทวีวัฒนา
กรุงเทพฯ 10170

ดร.พงษ์ศานติ์ พันธุ์ลาภ (115)
คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ

พล.ต. สัมพันธ์ แจ้งเจนวิทย์ (116)
26/39 ซอยงามวงศ์วาน 19 ถ.งามวงศ์วาน
อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

คุณสงวนศักดิ์ พะวงจินดา (117)
285/39 งามวงศ์วาน 23
อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

พลเอก ประดิษฐ์ บุญเกิด (118)
99/722 ถ.รามคำแหง 150
เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10240

คุณ อาคม นับถือเนตร (119)
48/1 ซ.สันทัด ถ.เศรษฐสิริ แขวง
เขตถนนนครชัยศรี กทม. 10300

คุณ ณรงค์ เตชะยิ่งไพบูลย์ (120)
31/4 ซ.สำราญราษฎร์ เขตพระนคร
กทม.

คุณ อุปฤทธิ์ ศรีจันทร์ (121)
68/47 ประชานิเวศน์ ถ.สามัคคี
อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

คุณ วิฑูรย์ ไชยเพิ่ม (122)
162/55 ม.6 ต.หนองทราย
อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 520510

รายชื่อสมาชิกที่เสียชีวิตแล้ว

1. นายทวีป สุรัสวดี
2. นายศานติ สถาปนสุต
3. พล.ต.สัญชัย รัชตะวรรณ
4. เรืออากาศเอก ชาญ ประดับราช
5. นายพิชัย บำรุงเขต
6. นายยงยุทธ หงส์ศิริ
7. นายวสันต์ ดีสมสุข
8. นายสุธรรม แซ่โง้ว
9. นายณรงค์ สังสุวรรณ
10. นายวิโรจน์ กาญจนพิบูลย์
11. นายสันติ หอมเศรษฐี
12. นายวรรณ สุวรรณสังข์
13. นายพงศ์พันธ์ พงษ์โสภา