Sunday, July 21, 2013

ดีทรอยท์ – 6 หนทางที่หดเมืองเพื่อความอยู่รอด


ดีทรอยท์ – 6 หนทางที่หดเมืองเพื่อความอยู่รอด

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, government, ธรรมาภิบาล, สหรัฐอเมริกา, USA, ชุมชนเมือง, urban, suburban, ดีทรอยท์, มิชิแกน, Detroit, Michigan, Pittsburg, Flint

ศึกษาและเรียบเรียงจาก บทความหลัก “Detroit: Six ways 'shrinking' cities try to survive.” โดย Tom Geoghegan, BBC News, Washington, 21 July 2013 Last updated at 00:22 GMT


ภาพ การล้มละลายของเมืองดีทรอยท์ เป็นผลจากการต้องเสียประชากรไปกว่า 1 ล้านคน แล้วเมืองอื่นๆที่ประสบปัญหาแบบเดียวกันดำรงอยู่ได้อย่างไร

การที่เมืองดีทรอยท์ต้องล้มละลายมีหลายเหตุผล – ดังเช่น ความเสื่อมของอุตสาหกรรม, เงินเบี้ยบำนาญของคนที่เกษียณแล้วสูง, ยืมเงินมากจนเกินตัว, และการจัดการเมืองที่ย่ำแย่ เหล่านี้เป็นเหตุผลบางส่วน

แต่การต้องเสียประชากรไป 1.2 ล้านคนนับแต่ช่วงทศวรรษ 1950s ไม่ว่าเมืองไหนก็ต้องประสบปัญหา เมื่อประชากรผู้พักอาศัยต้องย้ายไปอยู่ที่อื่นๆ เมืองต้องถูกปล่อยให้เผชิญกับเงินภาษีที่เก็บได้ลดลง อัตราของอาชญากรรมยิ่งสูงขึ้น และถนนถูกปล่อยให้ว่างร้าง ขาดคนดูแล

แต่ในขณะเดียวกัน เขตร้างด้วยการเปลี่ยนและย้ายฐานอุตสาหกรรม ที่เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “เขตสนิมเกรอะ” (Rust Belt) ได้เกิดขึ้นในเมืองอื่นๆมาแล้ว และเขาดำเนินการกันอย่างไร

1. ทุบอาคารร้างเสีย

Demolish derelict buildings...


ภาพ การทุบอาคารเก่า ที่ไม่มีคนอยู่อาศัยทิ้ง

บางเมืองได้พัฒนาอุตสาหกรรมการทำลายอาคารที่ถูกทิ้งร้างเสีย (Demolition industry) ไม่ปล่อยให้เป็นที่สร้างความเสื่อมโทรมหนักขึ้นไปอีก ซึ่งก็ยิ่งไปทำลายบรรยากาศของเมืองและชุมชนส่วนที่ยังเหลืออยู่

เมืองยังทาวน์ รัฐโอไฮโอ (Youngstown, Ohio) เสียประชากรไป 120,000 คน นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950s ในปัจจุบันเหลือประชากรเพียง 66,000 คน ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ได้มีการทำลายบ้านไปแล้ว 4,000 หลัง เจเน็ต ทาร์ปเลย์ (Councillor Janet Tarpley) ผู้เป็นคณะกรรมการเมือง ผู้เป็นตัวแทนของ 6 เขต ที่ซึ่งต้องมีอาคารถูกทุบทิ้งมากที่สุด

 “เมื่อทุบทิ้งแล้ว ปัญหาอาชญากรรมในบริเวณนั้นก็ลดลง” เพราะเขตเสื่อมโทรม อาคารร้างได้เป็นที่ๆมีการเก็บซ่อนของที่โจรกรรมมาได้ เป็นแหล่งโสเภณี ค้ายา คนสลัมก็เข้ามาแทนที่ เมื่อมีการทำลายบ้านที่เสื่อมโทรม คุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยในส่วนที่เหลือก็ดีขึ้น”

ในวันนี้ เมืองดูดีกว่าเมื่อปี ค.ศ. 2008 เมื่อเธอเข้ารับตำแหน่ง เจเน็ต ทาร์ปเลย์ มีหน้าที่ไปเคาะประตูบ้าน เตือนเพื่อนบ้านให้ตัดหญ้าหรือดูแลบ้านเรือนของตนเองให้สะอาด หรือไม่ก็จะถูกเชิญไปที่ศาลากลางของเมือง เพื่อเสียค่าตัดหญ้าที่จัดบริการโดยเมือง

แต่การทำลายอาคารอย่างขนานใหญ่ก็ได้รับการวิพากษ์ โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้น เพราะมันมีค่าใช้จ่าย คิดเป็นเงินต่อหลังประมาณ $10,000 หรือประมาณ 300,000 บาท แต่ชาวบ้านบางส่วนบอกว่าการกวาดล้างชุมชนออกไปทำให้นักพัฒนาที่ดินไม่เข้ามาพัฒนา

2. ขายที่ดินไปในราคาถูก

...and sell the land for $25

ลองจินตนาการดู หากมีใครมาเคาะประตู แล้วให้ข้อเสนอซื้อที่ดินในราคา $25 หรือ 750 บาท
เรื่องนี้ได้เกิดขึ้นแล้วที่เมืองฟลินท์ มิชิแกน (Flint, Michigan) เมื่อประชากรของเมืองลดลงกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ในปี ค.ศ. 2002  แดน คิลดี (Dan Kildee) ผู้เกิดที่เมืองนี้ และปัจจุบันเป็นวุฒิสมาชิก เขาดำเนินการโดยพัฒนาระบบที่เรียกว่า “ธนาคารที่ดิน” (Land banks) ซึ่งรับหน้าที่แทนเจ้าของที่ดินที่เป็นเอกชน

 “เมื่อมีบ้านถูกทิ้งร้างหลังหนึ่งในถนน” เขาอธิบาย “เราก็เข้ายึดสมบัติที่เป็นอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วยกฎหมายยึดทรัพย์ (Tax foreclosure) เมื่อเจ้าของบ้านไม่จ่ายภาษี แทนที่จะจัดประมูลสินทรัพย์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เราก็นำที่ดินเข้าใน Land bank”

และเพราะว่ามีบ้านจำนวนมากเหลือเกินที่ได้อยู่ในสภาพที่ดินถูกยึดเพราะการเสียประชากรไป เราต้องทนอด กัดก้อนเกลือกิน ทำลายอาคารที่ถูกทิ้งร้าง เราเคาะประตูเพื่อนบ้านหลังถัดไป แทนที่จะต้องอยู่ถัดจากบ้านที่ถูกทิ้งร้าง ก็ขายที่ดินแก่เขาไปเพียงหน่วยละ $25 แต่ขอให้เขาดูแลมันให้สะอาด แทนที่จะมีบ้านร้างอยู่ถัดไป ก็กลายเป็นพื้นที่ว่าง เป็นสนามหญ้าที่กว้างเพิ่มขึ้น ซึ่งชาวบ้านก็สามารถใช้ประโยชน์ ทำเป็นโรงเก็บรถ เป็นสนามเด็กเล่น หรือทางรถยนต์ นับเป็นการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่มีประโยชน์ยิ่งขึ้น

3. ยอมรับเมืองที่เล็กลง แต่จะดีขึ้น

Accept that smaller can be better

ยอมรับเสียเถิดว่า ทำให้เล็กลง แต่ก็ทำให้ดีขึ้นได้

“นับเป็นเรื่องยากสำหรับคนอเมริกันที่จะทำ คือการมาร่วมหัวกันคิด” แดน คิลดีกล่าว โดยในปี ค.ศ. 2010 เขาได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์พัฒนาชุมชน (Center for Community Progress) เพื่อช่วยพัฒนาชุมชนเมืองขึ้น

 โดยจิตวิทยาคนอเมริกันที่ติดยึดกับการเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก แล้วขยายตัวไปเรื่อยๆ การเติบโตและความมั่งคั่งเป็นสิ่งเดียวกัน
แต่นั่นเป็นเรื่องอธิบายได้ยากสำหรับคนที่อยู่ในเมืองที่สูญเสียประชากรไป แล้วจะไม่มีโอกาสได้คนเหล่านั้นกลับคืนมา เราต้องกลับมาคิดกันใหม่ที่จะอธิบายคำว่า ความมั่งคั่ง”

4. สร้างสถาบันใหม่ขึ้นมา

Build institutions


ภาพ เมืองพิทส์เบอร์ก (Pittsburgh) ได้รับการยกย่องว่าเป็นตำนานความสำเร็จ ที่สามารถเป็นเจ้าภาพการประชุมใหญ่ G20 summit ในปี ค.ศ. 2009 นั่นคือการไปขึ้นเงินจากเช๊คที่ได้เคยเขียนไว้เมื่อ 50 ปีก่อน ศาสตราจารย์ไมเคิล แมดิสัน (Professor Michael Madison) แห่งมหาวิทยาลัยพิทส์เบอร์ก (University of Pittsburgh) กล่าว

ในช่วงทศวรรษที่ 1940s ได้มีการจัดตั้งองค์การชื่อ Allegheny Conference on Community Development (the ACCD) เมื่ออุตสาหกรรมเหล็กชั้นนำได้ร่วมกับเมืองพิทส์เบอร์กและเขตแอลลิเกนี (Allegheny County) เพื่อเรียกร้องให้ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

ในอดีตพิทส์เบอร์กมีปัญหาการคงอยู่ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษ และชุมชนแวดล้อม ที่ทั้งได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศจากการเผาถ่านหิน และในอีกด้านหนึ่งก็ต้องอยู่ท่ามกลางความยากจน

หากจะว่าไปแล้ว หากเราศึกษาประวัติศาสตร์การพัฒนาเมืองพิทส์เบอร์ก และศึกษาอย่างลึกๆพอ เราอาจพบหนทางการแก้ปัญหาในลักษณะคล้ายกันที่เกิดขึ้นที่จังหวัดระยอง โดยเฉพาะเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด – ผู้แปล

ในอดีต โรงถลุงเหล็กตั้งอยู่ในเขตเมือง แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มันได้รับการแก้ไข

ยกตัวอย่าง ในชุมชนเขาการมีกฎหมายใหม่ ต้องเลิกการใช้เตาสร้างความอบอุ่นในบ้าน (Furnaces) ที่ใช้ถ่านหิน ทั้งนี้เพื่อขจัดฝุ่นควัน และในอีกด้านหนึ่ง ก็สร้างองค์การท่าเรือ (Port Authority) ขึ้นมา
ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา “ในสมัยทศวรรษ 1950s เขาเริ่มรู้กันแล้วว่าต้องมีการพัฒนาเมืองขึ้นมาใหม่ (Reinventing itself) แต่เขาไม่รู้ว่าเขาจะเลิกสิ่งที่เขายังได้รับประโยชน์เหล่านี้ในทุกวันได้อย่างไร” แมดิสันกล่าว

ในช่วงของการพัฒนานี้ เมืองพิทส์เบอร์กได้มีการพัฒนามหาวิทยาลัยที่ขึ้นชื่อในระดับโลก 2 แห่ง มีศูนย์การแพทย์ที่ได้รับการสนับสนุนจากเงินตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1950s และ 60s

เมืองอื่นๆควรเรียนรู้จากการจัดตั้งสถาบันขึ้นมาทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงเมือง จากยุคอุตสาหกรรม ไปสู่การมีโครงสร้างใหม่ที่จะนำความมั่งคั่งใหม่สำหรับอนาคต” เขากล่าว

5. อย่าติดกับประวัติศาสตร์




Don't be trapped by history

อดีตพิทส์เบอร์กได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเหล็ก (Steel city) แต่อุตสาหกรรมเหล็กก็เป็นสิ่งเสื่อมถอยไปของเมือง และนั้นเป็นผลกระทบที่รุนแรง พิทส์เบอร์กจะเป็นเมืองอย่างที่เคยเป็นในอดีตไปเรื่อยๆกระนั้นหรือ

ชุมชนต้องการความสัมพันธ์กับสิ่งที่เคยมีในอดีต ใช้ความแข็งแกร่งที่ได้จากอดีต แต่ไม่ใช่ถูกครอบงำจากอดีต แมดิสันกล่าว

 “พิทส์เบอร์กต้องทำตัวเองให้ห่างออกจากอดีตที่เคยรุ่งเรืองจากความเป็นเมืองเหล็กในศตวรรษที่ 20 ทุกคนรักประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับเหล็ก แต่ก็ต้องยอมรับความจริงว่าสิ่งเหล่านั้นจะไม่หวนกลับมา”


ภาพ ทีมอเมริกันฟุตบอลที่มีชื่อเสียงของเมือง “ชาวเหล็ก” Pittsburgh Steelers”

6. ดึงดูดงานที่เหมาะสม

Entice the right jobs

เมื่ออุตสาหกรรมเหล็ก (Steel industry) ของเมืองต้องล้มลง ผู้นำทางเศรษฐกิจของเมืองพิทส์เบอร์กต่างก็มีสัญชาติญาณรีบหาอุตสาหกรรมอื่นๆมาทดแทน ที่สามารถจ้างงานคนจำนวนมาก แมดิสันกล่าว เป้าหมายก็คือการสร้างโรงงานให้ใหญ่ขึ้น ดังเช่น ผลิตโทรทัศน์หรือรถยนต์ นั่นเป็นเหมือนเป็นการแก้ปัญหาที่ดีเลิศ

แต่อุตสาหกรรมเหล่านี้ต้องแข่งขันกันสูงมาก และหลายอุตสาหกรรมได้ย้ายฐานไปเอเชียที่มีค่าแรงถูกกว่า หรือแม้แต่ไปยังส่วนอื่นๆที่โดยรวมค่าใช้จ่ายถูกกว่า

พิทส์เบอร์กใช้เวลาอยู่สักระยะหนึ่งที่จะตระหนักกว่า ยุทธศาสตร์ที่ยึดตามแนวเดิมนี้มีแต่ทำให้เสียหายหนักขึ้น แมดิสันกล่าว ดังนั้นจึงหันมาสู่อุตสาหกรรมบริการ (Service industries) ดังเช่น มหาวิทยาลัย ศูนย์การแพทย์ และธุรกิจไฮเทค และสร้างงานให้เกิดขึ้นในชุมชน แทนที่จะส่งออกงานไปยังต่างประเทศ

No comments:

Post a Comment