Thursday, October 29, 2009
รถลูกประสมแบบใช้ไฟฟ้าบ้าน (PHEVs) จะเพิ่มปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือไม่
My Dirty, Coal-Powered Plug-in Prius?
By Bill Moore
OPPD's Coal-fired North Omaha power plant provides 58% of the electricity that powers LIVN GRN, our plug-in Prius.
ในประเทศสหรัฐอเมริกาพลังงานไฟฟ้าร้อยละเกือบ 58 มาจากถ่านหินที่เขาเห็นว่าสกปรกต่อสิ่งแวดล้อม และอีกร้อยละ 25-27 มาจากก๊าสธรรมชาติ มีไม่ถึงร้อยละ 10-15 ที่มาจากพลังงานจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จากพลังลม (Wind Turbine)
ในประเทศไทยก็มีสภาพไม่ต่างกัน พลังไฟฟ้า (Electricity) ก็คือพลังงานที่มาจากพลังงานเผาไหม้น้ำมันและก๊าสธรรมชาติ ส่วนพลังไฟฟ้าจากเขื่อนนั้นไม่มีแหล่งผลิตไฟฟ้าในประเทศเหลืออีกมากนักแล้ว
เมื่อเป็นเช่นนี้ เมื่อเราเปลี่ยนรถยนต์ไปเป็นรถใช้ไฟฟ้าบ้านร่วมกับน้ำมันเชื้อเพลิง (Gasoline) ซึ่งด้วยวิธีการดังนี้ สามารถลดการใช้น้ำมันที่ต้องเติมรถลง เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงให้กลายเป็น 1 แกลลอนต่อ 100 ไมล์ ในขณะที่ปัจจุบันใช้น้ำมัน 1 แกลลอนต่อ 32 ไมล์ ก็นับว่าดีพอใช้แล้ว แต่ปัญหาก็คือ การหันไปเติมไฟฟ้าแบบใช้ตามบ้านได้นี้ แล้วมันไม่ไปเพิ่มการใช้พลังงานที่ท้ายสุด ก็ต้องมาทำให้ใช้พลังงานที่ก็ต้องนำถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม หรือก๊าสธรรมชาติมากยิ่งขึ้นไปอีกหรือไม่
อยากรู้ลองไปอ่านบทความของ Bill Moore ตีพิมพ์ใน EV World ลงตีพิมพ์ออนไลน์เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2009 ชื่อ “My Dirty, Coal-Powered Plug-in Prius?”
ในบทความชื่อ “EV World, Published: 22-Oct-2009
การปรับแต่งรถให้เป็นรถใช้ไฟฟ้าบ้านร่วมกับเครื่องยนต์
ในสหรัฐอเมริกา การที่มีรถยนต์ในแบบเดิม คือใช้น้ำมันเชื้อเพลิง (Gasoline Engine) แต่เมื่อถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติม ก็ต้องมีการปรับแต่ง ซึ่งจะเรียกว่า Conversion หรือ Modification ก็แล้วแต่ และเทคนิคอย่างนี้ เขาต้องเรียนรู้กัน และพัฒนานักเทคนิควิทยาท้องถิ่นที่จะดำเนินการได้
จะทำอย่างไร และทำได้อย่างไร โปรดติดตาม
เป็น รถขนาดกลางค่อนข้างเล็ก เป็น Hatchback 5 ประตู
ประกอบ คุปรัตน์
ศึกษาและเรียบเรียง
Updated: Thursday, October 29, 2009
ในยุคต่อไปนี้ ราคาน้ำมันคงจะไม่ถูกลง แต่จะแพงขึ้นและแพงขึ้นจนถึงระดับ USD 5 หรือเป็นในประเทศไทยที่ปล่อยราคาน้ำมันตามตลาด จะตกที่ประมาณลิตรละ 45-50 บาท มันเป็นเรื่องของเวลา และสภาพแวดล้อม เพราะเราไม่สามารถพึ่งพาน้ำมันหรือแม้แต่แก๊สปิโตรเลียมต่อไปได้อีกนานนัก
และเมื่อนั้น รถไฟฟ้า (Electric Cars) จะมีคุณค่าประหยัดพลังงานและประหยัดทรัพย์ให้กับเจ้าของอย่างแท้จริง โดยรัฐบาลไม่ต้องไปจ่ายเงินสนับสนุน ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ในสหรัฐอเมริกา รัฐบาลประธานาธิบดีโอบามาเน้นการสนับสนุนมหาวิทยาลัยไปในเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก และยานพาหนะทางเลือก ดังเช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์, โรงฟ้าพลังลม (Wine Turbine), พลังงานแสงอาทิตย์, รถยนต์ไฟฟ้า ยานพาหนะไฟฟ้า (Electric Cars/Vehicles), แบตเตอรี่พลังงานสูง สำหรับใช้ในยานพาหนะไฟฟ้า อย่างรถยนต์ รถโดยสาร รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานทางเลือกเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดปัญหาการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และเพื่อลดปัญหาวิกฤติโลกร้อนที่มนุษย์เราเผาผลาญพลังงานในรูปคาร์บอนด์ (Carbon) อย่างมาก และรวดเร็วเกินกว่าที่ธรรมชาติจะรองรับได้
แต่สำหรับประชาชนคนทั่วไป ยานพาหนะจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ และเงินในกระเป๋า
เมื่อราคาและโครงสร้างพลังงานที่เปลี่ยนไป การใช้รถไฟฟ้าสามารถประหยัดเงินในกระเป๋าได้จริง คนใช้รถก็ต้องหาทางปรับเปลี่ยนไปสู่พลังงานทางเลือกใหม่มากขึ้น ในการนี้ ลองอ่านบทความ
“A Plug In Hybrid Conversion: Step By Step” โดย Bill Moore ตีพิมพ์ออนไลน์ใน EV World ในวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2009 (11-Oct-2009)
แนะนำการปรับเปลี่ยนรถยนต์ลูกประสม (Hybrid Cars) อย่างรถ Toyota Prius ที่ใช้พลังงานหลัก คือน้ำมันเชื้อเพลิง (Gasolene) แล้วใช้วิธีการประหยัดพลังงาน โดยปรับเปลี่ยนพลังงานส่วนเหลือไปเป็นไฟฟ้า เพื่อใช้เสริมไปกับพลังงานรถยนต์ ซึ่งก็ประหยัดน้ำมันไปได้ประมาณร้อยละ 40-50
Toyota Prius
ในประเทศญี่ปุ่น จีน และ ยุโรป Prius รุ่นที่สอง ผลิตในช่วงปี ค.ศ 2004–จนถึงปัจจุบัน (Japan, China, Europe)
ในประเทศญี่ปุ่น ฐานโรงานผลิต (Assembly) อยู่ที่ Tsutsumi, ประเทศญี่ปุ่น หรือที่เรียกกันว่า Toyota City, ที่ Kariya, Aichi, ประเทศญี่ปุ่น (Fujimatsu)
ในประเทศจีน ผลิตที่ Chengdu, Sichuan เป็นการผลิตเพื่อตลาดประเทศจีนเท่านั้น (Chinese domestic market only)
Prius จัดเป็นรถขนาดกลาง (Class, Midsize car) ขนาดอยู่ใหญ่กว่า Corolla เล็กน้อย และเล็กกว่า Toyota Camry ซึ่งเป็นรถที่มีการใช้กันมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา
รูปทรงของรถ (Body styles) เป็นแบบ 5 ประตู ท้ายตัด (5-door hatchback) ซึ่งมีความสะดวกสำหรับผู้นั่งและบรรทุกของได้สะดวก
เครื่องยนต์ที่ใช้ (Engine) เป็นแบบ Toyota Hybrid System II เป็นการใช้พลังร่วมระหว่างระบบเครื่องยนต์ที่เป็นพลังงานหลัก และมีระบบจัดการด้วยคอมพิวเตอร์และอิเลคโทรนิกส์ที่ทำให้จัดการพลังงานส่วนเกินได้กลับไปจัดเก็บเป็นพลังงานใช้เพิ่มเติมแทน หรือร่วมกับพลังงานเครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานจากปิโตรเลียม
ในระบบเครื่องยนต์ เป็นแบบใช้น้ำมันชื้อเพลิง (Gasoline/Petrol) ขนาดเครื่องยนต์ 1.5 L 1NZ-FXE DOHC I4 VVT-i ขนาดเท่าๆกับเครื่องยนต์ของรถ Toyota Vios หรือ Honda City ที่มีวิ่งในประเทศไทย
ใช้พลังงาน 57 kW ให้พลังงาน 76 hp ที่ระดับรอบ 5000 rpm, 115 N•m (85 lb•ft) @ 4200 rpm
ระบบพลังงานไฟฟ้า (Electric) ขนาด 500 V, ในระบบใช้มอเตอร์ไฟฟ้า (Electric motor) ให้พลังงาน (Power) เท่ากับ 80 แรงม้า, มีแรงบิด (Torque) 153 lb-ft
ระบบพลังงานรวมทั้งสองระบบ (Hybrid system net horsepower) เท่ากับ 110 แรงม้า (hp, หรือ 82 kW) แต่ถ้าเป็น Prius รุ่น 3 (Third Generation) ใช้เครื่องยนต์ที่โตกว่า คือ 1800 cc. ให้พลังงานรวมที่สูงขึ้นเป็น 134 แรงม้า แต่ยังให้การประหยัดพลังงานที่สูงขึ้นไปอีกเล็กน้อย คือที่ประมาณ 48-50 ไมล์ต่อแกลลอน หรือประมาณ 21 กิโลเมตรต่อลิตร ทั้งในเมืองและบนทางหลวง (Highway)
ระบบเกียร์ (Transmission(s) เป็นแบบ 1-speed planetary gear
ในขนาดของรถ ฐานล้อห่างกัน (Wheelbase) 2,700 mm (106.3 in), ความยาวของตัวถัง (Length) 4,450 mm (175.2 in), ความกว้าง (Width) 1,725 mm (67.9 in), ความสูง (Height) 1,490 mm (58.7 in), น้ำหนักรถ (Curb weight) 1,317 kg (2,900 lb) โดยขนาดแล้ว ออกแบบมาให้สำหรับฝรั่งตัวใหญ่ๆ นั่งได้ 4 คนสบายๆ หรือผู้ใหญ่ 2 คนข้างหน้า อันอาจเป็นพ่อแม่ และเด็กๆ 3 คนด้านหลัง
รถ Toyota Prius เป็นรถที่ครองตลาดและนำหน้าด้านรถลูกประสม (Hybrid) ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่เมื่อโลกมีเทคโนโลยีและความจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานทางเลือก โดยโอกาสการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีสายเครือข่ายทั่วประเทศแล้ว จึงต้องมองหาทางปรับ
แต่ถ้ามีการปรับแต่งอย่างที่บ้านเราเรียกว่า Modify ไปเป็นรถยนต์แบบ PHEVs หรือ Plug-in Electric Hybrid Vehicles คือใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่มาจากไฟฟ้าในบ้าน แล้วเสียบปลั๊กอัดไฟใส่แบตเตอรี่ที่ติดตั้ง และใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อการขับเคลื่อนรถยนต์เป็นหลัก และเสริมด้วยพลังงานจากเครื่องยนต์ อย่างที่เขาเรียกว่า Extender งานแบบนี้เป็นเรื่องสนถกและท้าทายสำหรับนักศึกษาด้านเทคโนโลยีอย่างใน “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล” หรือ “วิทยาลัยเทคนิค” จะได้ลองทำเป็นโครงการพัฒนาขึ้น เพื่อการเรียนรู้ และเตรียมความพร้อมสำหรับประเทศที่จะต้องมีคำตอบด้านพลังงานที่จำเป็นในอนาคตที่ไม่นานนี้
ในทัศนะของผม เมื่อน้ำมันแพงขึ้น และการใช้แก๊สธรรมชาติ ก็ไม่ช่วยอะไร เพราะราคาแท้จริงต้องอ้างอิงกับตลาดโลก เมื่อต้องการหาทางใช้พลังงานทางเลือก รถยนต์ หรือยานพาหนะธรรมดาที่พอปรับเปลี่ยนไปใช้เป็นยานพาหนะไฟฟ้า (Electric Vehicles – EVs) ก็ต้องวิ่งกันไปหาทางปรับแต่ง ในอนาคตไม่นานนี้ จะมีแบตเตอรี่ และระบบจัดการพลังไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ที่น่าจะมีขายในตลาดเสรี ไม่จำเป็นต้องไปซื้อรถทั้งคัน ระบบเหล่านี้อาจมาจากประเทศจีน หรืออินเดีย สำหรับคนไทยเรา อย่างน้อยก็ต้องลองหาทางพัฒนาปรับระบบรถหรือยานพาหนะ เพื่อให้ใช้กับระบบใหม่ได้
ลองศึกษาการปรับแต่ง
คนไทยมีความสามารถในการประยุกต์ใช้ หรือปรับแต่งอยู่แล้ว ลองศึกษาเรื่องปรับแต่งให้รถยนต์ได้กลายเป็นรถใช้ไฟฟ้าบ้านอัดเสริมกับระบบเครื่องยนต์ดูบ้าง เรียกว่า PHEVs หรือ Plug-in Hybrid Electric Vehicles
ลองดูบทความที่เขาได้ไปศึกษา และทำการติดตั้งระบบใหม่ โดยอาศัยเป็นโครงการสำหรับวิทยาลัยได้ทดลองดำเนินการ โดย การใช้บริการของวิทยาลัยชุมชนเมืองโอมาฮา (Omaha’s Metropolitan Community College – MCC) ใช้ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีรถยนต์ ซึ่งกระบวนการปรับเปลี่ยนใช้เวลาประมาณ 2 วันทำงาน 1 วันสำหรับถอดและใส่ชิ้นส่วนใหม่ และอีก 1 วันสำหรับการทดลองขับขี่ ตรวจสอบ และปรับการใช้งาน
สำหรับขั้นตอนการทำงานจริง คงจะต้องให้คนมีความรู้เรื่องช่างดีพอ และมีความเข้าใจในรถยนต์ Toyota Prius อยู่บ้างแล้ว เป็นคนศึกษาและนำร่อง
แนวทางการพัฒนา
รถ Toyota Prius หรือรถลูกประสม (Hybrid Cars) อื่นๆ ยังเป็นของใหม่ในบ้านเรา จึงน่าจะลองนำรถขนาดเล็กเก่าๆ ที่ตัวถังยังดี แล้วนำมาดัดแปลงเป็นรถไฟฟ้า หรือรถไฟฟ้าลูกประสมแบบ PHEVs ที่ใช้ไฟฟ้าบ้านเสียบเติมพลังงานได้
เป็นยานพาหนะที่ใช้แรงคนถีบ ร่วมกับไฟฟ้า ใช้ตามบ้าน แต่ยังไม่สามารถนำมาแทนรถตุ๊กตุ๊กได้
ในปัจจุบันใช้วิ่งตามสนามกอล์ฟต่างๆ ปรับใช้ในศูนย์การค้าขนาดใหญ่เพื่อช่วยผู้โดยสารสูงอายุ แต่ยังไม่เหมาะสำหรับมาแทนรถตุ๊กตุ๊ก ที่ใช้รับส่งผู้โดยสาร
ลองปรับเป็นแนวคิดรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า
ทางเลือกสำหรับทำโครงการวิจัยและพัฒนาสำหรับนักศึกษา
ลองทดลองทำเป็นรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า (Electric Tuk Tuk) หรือรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าลูกประสม (PHEVs) ผมจะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ประสานงานหาผู้สนับสนุนให้
เฉพาะที่จังหวัดสุรินทร์ ผมไปเก็บข้อมูลจากบรรดาผู้มีอาชีพด้านรถตุ๊กตุ๊ก พบว่า เฉพาะที่ตัวอำเภอเมืองสุรินทร์ มีรถตุ๊กตุ๊กอยู่ 200 คัน ยังไม่มีการเพิ่ม แต่รถสามล้อถีบ น่าจะมีสัก 500 คัน เป็นแบบเก่าแก่ น่าจะเก็บไว้เป็นอนุสรณ์ แล้วปรับสร้างรถรุ่นใหม่ที่ประหยัดพลังงาน ขับขึ่ได้ในระยะทางที่ไกลขึ้น เพราะสามล้อคนถีบนี้ ถีบได้สัก 1-2 กิโลเมตร คนถีบก็หมดแรงแล้ว
ในประเทศไทยมีอำเภอหรือเมืองที่มีขนาดสัก 40,000 คนดังที่เมืองสุรินทร์นี้อีกหลายร้อยแห่ง ยานพาหนะทางเลือกแบบพื้นบ้านลูกประสมนี้ น่าจะเป็นสิ่งที่เราพอจะทำได้ เพียงแต่ต้องช่วยกันหาเจ้าภาพมาริเริ่ม และให้แรงจูงใจทั้งกับผู้รับจ้างขับขี่ และผู้ประกอบการอื่นๆที่ได้ผลประโยชน์ร่วม
ขันตอนการ Modify รถ Prius
การปรับเปลี่ยนรถ Toyota Prius รุ่นแรกๆ เป็น PHEVs
ภาพ Prius รุ่นที่ 1
เป็นรถที่เป็นลักษณะ 5 ประตู Hatchback ด้านหลังเปิดเป็นบานกว้าง บรรทุกของได้สะดวก
ลองอ่านขั้นตอนการทำงานของเขา ในการปรับเปลี่ยนรถ Toyota Prius จากที่เป็นรถยนต์ลูกประสม (Hybrid Electric Car) เป็น PHEVs ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษไปก่อน ใครมีความสามารถในการแปล ก็อนุเคราะห์เข้ามาแปลแล้วนำเสนอ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาด้านเทคนิคของเรา ได้ไปทดลองศึกษาเป็นโครงการ (Project Based Learning) ได้ครับ
Remove the rear cargo panels, including fenders and cargo deck, exposing the spare tire well and stock battery pack.
Remove rear seat and remove spare tire carrier, exposing spare tire well. This is where the new battery pack will be installed.
Remove plastic cover over battery cooling intact duct.
Remove battery master circuit breaker, disabling the battery.
Wait or use ohmmeter to discharge static charge in stock battery terminals.
Remove battery case covering and disconnect battery terminals.
Remove the battery air flow duct.
Unscrew and remove stock NiMH battery pack which weighs about 70 lbs. (31.7 kg).
Remove stock Toyota battery control board.
Unscrew and remove NiMH battery modules from stock battery tray. Tray will be reused.
Raise car with hydraulic lift and replace stock Toyota Prius coil springs on rear wheel suspension. No compression tools are needed to install stronger coils to cope with added weight of battery.
Hoist replacement battery and position in vacated spare tire well. Mark holes to be drilled. Remove battery and drill holes into body.
Re-hoist and position battery into well. Bolt pack into place.
Screw stock battery tray back into its original position.
Install small fan in now empty stock battery tray
Install Battery Tender charger to keep stock Toyota accessory battery charged.
Install Brusa programmable 1 kW charger
Run battery charger cable to rear fender. Cut hole in fender and install 110V plug.
Route and wire tie spaghetti of power and data cables.
Install custom battery air duct connecting stock Toyota system to PICC battery pack.
Position and tape in place cooling duct thermistor at battery tray air intake.
Begin connecting cables and plugs.
Place PICC custom-made battery tray cover and screw in place.
Re-bolt stock battery tray braces.
Replace and lock in place stock Toyota battery pack circuit breaker. Pack is now live.
Start car to check that system is working. If error code(s) result, begin debugging. If no error codes develop, it's almost Miller time.
Replace rear seats, air intake cover, cargo area fender covers, and cargo deck lid.
It should be noted that because the battery pack is located within the car's crumple zone, any rear-end collision, depending on its severity, will likely damage the pack. Make sure you maintain adequate spacing between the cars in front and behind you to reduce the risk of collision. PICC is planning to conduct crash safety tests as its business develops to insure the pack does not enter the passenger area. Also, because the modules don't use any liquid electrolyte, there is little risk of chemical burns. PICC deliberately engineered its kit to make maximum use of Toyota's safety system, so in the event of a crash, the battery will automatically disconnect, as it does in the stock Prius.
For a personal account of how the conversion of our own Prius went this past week, be sure to read The Conversion of LIVN GRN.
________________________________________
Published: 11-Oct-2009 | Page Views: 2580
Tuesday, October 27, 2009
ประเทศมาเลเซียมีนายกรัฐมนตรี 6 คนตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ
E-mail: pracob@sb4af.org
Updated: Wednesday, October 28, 2009
Keywords: Malaysia, การเมือง, การบริหาร, ความเป็นผู้นำ
ความนำ
ในขณะที่ประเทศไทยซึ่งมีสภาพการพัฒนาที่หยุดชะงักในช่วงประมาณ 15 ปีที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความชะงักงันอันเกิดจากปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง มีการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้น 2 ครั้ง ที่อาจกล่าวได้ว่า ไม่น่าจะเกิดขึ้น ในขณะที่การเมืองไทยเข้าสู่ยุคธนาธิปไตย มีการใช้เงินปูทางสู่อำนาจทางการเมือง และนำมาซึ่งโอกาสในการสร้างสมกำลังเงินและเครือข่ายที่จะครอบงำทางการเมือง และผูกขาดกันทางเศรษฐกิจของประเทศ
ใน ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยโดยรอบเริ่มมีความมั่นคง มีเสถียรภาพทางการเมือง แม้แต่ในประเทศกัมพูชา เวียตนาม ลาว แต่ประเทศไทยยังอยู่ในวังวนของการเมืองที่สับสน ที่ต้องแสวงหาทางออก
มาเลเซีย เป็นประเทศที่น่าสนใจในการพัฒนาที่ต่อเนื่อง แม้ความจริงเขาประสบปัญหาทางด้านความขัดแย้งทางเชื่อชาติ แต่ช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง จนทำให้เศรษฐกิจของเขาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ใกล้ความเป็นประเทศพัฒนาสามารถแข่งขันกับประเทศตะวันตกได้
ประเทศมาเลเซีย
มีนายกรัฐมนตรี 6 คนในช่วงเวลา 52 ปี
ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) มีเมืองหลวง (Capital) คือเมืองกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) หรือเรียกย่อๆว่า KL และก็จัดเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
มาเลเซียเป็นประเทศเพื่อนบ้านทางตอนใต้ของประเทศไทย
มาเลเซียมีภาษาทางการ (Official languages) คือภาษามาเลย์ (Malay) ซึ่ง ใช้ตัวเขียนเป็นอักษรโรมัน หรืออังกฤษ คนที่อ่านภาษาอังกฤษออก จะเข้าใจคำศัพท์หรือภาษามาเลย์ หรืออินโดนีเซียได้อย่างไม่ยาก เมื่อเทียบกับภาษาไทย คนมาเลย์จัดว่ามีความรู้ที่จะใช้ภาษาอังกฤษได้ดี เพราะได้รับพื้นฐานด้านการศึกษาจังอังกฤษในระหว่างที่เป็นประเทศเมืองขึ้น
ชาวมาเลเซีย ประกอบด้วยชนกลุ่มต่างๆ (Ethnic groups) ร้อยละ 54 เป็นเชื้อสายมาเลย์ (Malay), ร้อยละ 25 เป็นเชื้อสายจีน (Chinese), ร้อยละ 7.5 เป็นเชื้อสายอินเดีย (Indian), ร้อยละ 11.8 เป็นเชื้อสายภูมิบุตรอื่นๆ (other Bumiputera), ร้อยละ 1.7 เป็นพวกอื่นๆ
เราเรียกประชาชนของประเทศ (Demonym) ในภาษาอังกฤษว่า Malaysian
ประเทศมาเลเซียมีการปกครอง (Government) ในระบบสหพันธรัฐ โดยมีกษัตริย์ที่มาจากการเลือกตั้ง และมีรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตย (Federal constitutional elective monarchy and Parliamentary democracy) มาเลเซีย แม้จะได้ก่อตั้งประเทศมาได้ในช่วงเวลาที่ไม่ยาวนาน มีปัญหาเปราะบางด้านเชื้อชาติ แต่ก็สามารถรักษาและใช้ระบอบประชาธิปไตยได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เคยมีการทำปฏิวัติรัฐประหารเลย
กษัตริย์ หรือพระประมุขของมาเลเซียเรียกว่า Yang di-Pertuan Agong ซึ่งองค์ปัจจุบัน คือ Mizan Zainal Abidin ซึ่งคล้ายกับของประเทศไทย ที่มีพระนามที่ยาวซึ่งบันทึกไว้ดังนี้ Duli Yang Maha Mulia Al-Wathiqu Billah Tuanku Sultan Mizan Zainal Abidin Ibni Al-Marhum Sultan Mahmud Al-Muktafi Billah Shah เป็นสุลต่านองค์ที่ 16 ของรัฐ Terengganu ใน ประเทศมาเลเซีย และเป็นประมุของประเทศมาเลเซีย อันเป็นตำแหน่งมาจากการเวียนเลือกจากประมุขของรัฐต่างๆในประเทศมาเลเซีย และดำรงตำแหน่งโดยมีวาระอันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญของประเทศ
ในด้านการบริหารประเทศ มีผู้นำฝ่ายบริหาร คือ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) คนปัจจุบัน คือ Najib Tun Razak
ประเทศมาเลเซียเคยเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร และประกาศอิสรภาพ (Independence) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957
ประเทศมาเลเซียมีพื้นที่รวม (Area) 329,845 ตารางกิโลเมตร (km2) จัดเป็นประเทศมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 66 ของโลก มีประชากร (Population, 2009) 28,310,000 คนจัดเป็นอันดับที่ 43 ของโลก มีความหนาแน่นของประชากร (Density) ต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตรเท่ากับ 85.8 คน จัดเป็นอันดับที่ 114 ของโลก
มีรายได้ประชากรต่อหัว (GDP, PPP) เท่ากับ USD 14,081 หรือ หากคิดเป้น GDP, Nominal เท่ากับ 8,118 ซึ่งสูงกว่าประเทศไทยร้อยละ 50 มาเลเซียจัดมีพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง มีกำลังคนที่แม้ไม่มาก แต่มีพื้นฐานการศึกษาที่ดี มีระบบดึงดูดต่างชาติมาลงทุน
การเมือง
ประเทศมาเลเซียมีระบบพรรคการเมืองหลายพรรค แต่ในประวัติตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ มีพรรคการเมืองครองอำนาจหลักพรรคเดียว คือ พรรค UMNO แต่โดยโครงสร้างเป็นพรรคประสม พรรค UMNO ช่วงแรกที่ใช้ชื่อว่า United Malays National Organisation-Alliance Party/National Front (UMNO-AP—BN) และในช่วงหลัง มีชื่อเป็น United Malays National Organisation/National Front (UMNO—BN) พรรคลักษณะประสมของ UMNO นั้น เพื่อรวบรวมความหลากหลายของภูมิภาค และเชื้อชาติต่างๆเข้าด้วยกัน การเมืองในแบบมาเลเซียนั้นมีสไตล์แบบเฉียบขาด จนได้รับคำวิจารณ์ด้านสิทธิมนุษยชน และมีการจำกัดด้านเสรีภาพการแสดงออก แต่ในระยะหลัง แนวทางการเมืองของมาเลเซียเริ่มมีฝ่ายค้านที่มีบทบาทมากขี้น
โดย ทางธรรมชาติแล้ว มาเลเซียมีพื้นที่มากเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรที่มีไม่มากนัก มาเลเซียมีทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ในขณะที่ประเทศไทยไม่มีมากในระดับของเขา นอกจากนี้ มาเลเซียมีสภาพอากาศที่ร้อนชื้น สามารถเพาะปลูกพืชอย่างปาล์มน้ำมัน ยางพาราได้ดี ในขณะที่ไทยมีความชื่นไปตามฤดูกาล สามารถปลูกพวกข้าวได้ดีกว่ามาเลเซีย
มาเลเซีย เคยมีความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างชนหลายเชื้อชาติ ทั้งมาเลย์ จีน อินเดีย และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ รวมถึงไทยด้วย แต่สภาพความขัดแย้งดังกล่าวลดลงเป็นลดำดับแม้ยังคงมีอยู่ ปัญหาที่ทำให้ควบคุมได้นี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ และการแก้ปัญหาด้านปากท้องของประชากรเขาเป็นไปอย่างทั่วถึง
แต่ ในทางการเมือง มาเลเซียเคยมีความขัดแย้งในระหว่างชาวจีนชนกลุ่มน้อย กับมาเลย์ระดับเกือบจะเป็นสงครามกลางเมือง มีการจราจลที่ขยายวงกว้างขวาง แต่ก็สงบลงได้ แต่ที่แน่นอนคือไม่เคยมีการปฏิว้ติรัฐประหาร ในประวัติศาสตร์ เกาะสิงค์โปร์จัดเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาเลย์ แต่ที่ต้องแยกออกไปส่วนหนึ่งเพราะความกังวลที่หากรวมกัน จะทำให้มีประชากรจีนในอัตราส่วนที่สูงเกินไป ซึ่งอาจทำให้ชนชาวมาเลย์ถูกครอบงำโดยทางเศรษฐกิจโดยกลุ่มเชื้อสายจีน
นายกรัฐมนตรี
ในช่วงการประกาศเอกราช และเป็นประเทศมาเลเซียในยุคใหม่ ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 เป็นต้นมา นับเป็นเวลา 52 ปี ประเทศมาเลเซียมีนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้นำฝ่ายบริหารรวม 6 คน หรือคิดเป็นเฉลี่ยต่อคนที่ 8.7 ปี ทั้งหมดมาจากพรรคการเมืองเดียวกัน ในช่วงเวลาดังกล่าว นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 คือ Mahathir Mohamad ครองตำแหน่งยาวนานที่สุด คือ 22 ปี
Abdul Rahman ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 จนถึงวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1970 ดำรงตำแหน่ง 3 วาระ
Abdul Rahman มีชื่อเต็มว่า Tunku Abdul Rahman Putra Al-Haj ibni Almarhum Sultan Abdul Hamid Halim Shah, AC, CH เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1903 ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1990 มีชื่อสถานะว่า Tunku หรือ “เจ้าชาย” ในมาเลเซีย และมีฉายาอีกว่า “Bapa Kemerdekaan” หรือ “บิดาแห่งอิสรภาพ” (Father of Independence) หรือ “Bapa Malaysia” หรือ “บิดาแห่งมาเลเซีย” (Father of Malaysia) เขาเคยดำรงตำแหน่งเป็น Chief Minister แห่งสหพันธรัฐมาลาลา (the Federation of Malaya) จากปี ค.ศ. 1955 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมตรีคนแรกของประเทศเมื่อประกาศอิสรภาพในปี ค.ศ. 1957 และคงดำรงตำแหน่งเมื่อมีรัฐ Sabah, Sarawak, และรัฐ Singapore เข้าร่วมในสหพันธรัฐ และกลายเป็นประเทศมาเลเซีย
ภาพ Abdul Razak
Abdul Razak เขารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1970 จนถึงวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1976 ดำรงตำแหน่ง 6 ปีติดต่อกัน ท่านผู้นี้คือบิดาของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ Najib Razak
Abdul Razak หรือที่มีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า Tun Abd Razak bin Hussein Al-Haj และเรียกโดยทั่วไปว่า Tun Razak เขาเกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1992 ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1972 เป็นผู้ที่รับผิดชอบในการจัดตั้ง Barisan Nasional ซึ่งเป็นการรวมพรรคการเมืองเพื่อให้เกิดเอกภาพทางการเมืองของประเทศ และทำให้พรรคที่ได้ก่อตั้งได้มีอำนาจในมาเลเซียตราบจนปัจจุบัน เขาเป็นคนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ของมาเลเซีย (Malaysian New Economic Policy - MNEP)
Hussein Onn เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม คงศ. 1978 และดำรงตำแหน่งต่อกันจนถึงวันที่ 16 กรกฎาคม คงศ. 1981 รวมเป็นเวลา 3 ปี
เขามีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Tun Hussein bin Dato' Onn เขาเกิดที่ Johor Bahru, ในรัฐ Johor เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1922 และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1990 มีเชื้อสาย 3 ใน 4 เป็นมาเลย์ และอีก 1 ใน 4 เชื้อสายจากชาวยุโรป คือ Circassian เขาได้รับการยกย่องว่าเป็น “soubriquet Bapa Perpaduan” หรือ “บิดาแห่งเอกภาพ” บิดาและมารดาของเขา คือ Dato Onn Jaafar และ Datin Halimah Hussein.
Mahathir Mohamad เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 และดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 6 สมัยและสละตำแหน่งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2003 นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของมาเลเซีย คือดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 22 ปี
Tun Mahathir bin Mohamad เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1925 ปัจจุบันได้ลาจากวงการเมือง ระหว่างการดำรงตำแหน่ง เขาได้รับยกย่องว่าเป็นผู้นำให้มาเลเซียได้ก้าวหน้านำประเทศสู่ความทันสมัย Mahathir ได้ชื่อว่าเป็นผู้วิจารณ์ตะวันตกและประเทศพัฒนาแล้วอย่างกร้าวแข็งและไม่ เกรงใจ และการบริหารงานของเขา ทำให้เขาได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำที่ทรงอิทธิพลคนหนึ่งของเอเซีย
Abdullah Ahmad Badawi ซึ่งจัดได้ว่าเป็นทายาททางการเมืองของ Mahathir Mohamad เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2003 และดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2009 รวมเป็นเวลา 6 ปี
Tun Abdullah bin Haji Ahmad Badawi เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 เป็นนักการเมืองมาเลเซียที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงปี ค.ศ. 2003 จนถึง 2009 และเป็นประธานพรรค the United Malays National Organisation (UMNO) ซึ่งเป็นพรรคใหญ่สุดของมาเลเซีย และเป็นผู้นำพรรคผสม Barisan Nasional parliamentary coalition ในช่วงที่อำนาจของพรรครัฐบาลต้องอ่อนแอลงอย่างมาก เขาได้รับฉายาอย่างไม่เป็นทางการว่า Pak Lah หรือ “คุณลุง” Lah เป็นคำเรียกย่อๆของชื่อเขา คือ Abdullah
หลังจากที่นายก Dr. Mahathir bin Mohamad ได้ปลด Anwar Ibrahim ออกจากตำแหน่ง และได้แต่งตั้ง Abdullah เป็นรองนายกรัฐมนตรี (Deputy Prime Minister) และในที่สุด เขาได้เข้ารับตำแหน่งสืบต่อจาก Mahathir ในปี ค.ศ. 2003 ใน ช่วงที่เขาดำรงตำแหน่ง สถานะทางการเมืองของเขาอ่อนแอลง และเขาเองก็ได้รับแรงกดดันจากทั้งภายในและภายนอกพรรคของเขาสูง ในที่สุด ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2009 เขาจึงได้สละตำแหน่ง และ Najib Tun Razak ได้สืบอำนาจเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
Najib Razak เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2009 จนถึงปัจจุบัน
Najib Razak มีชื่อสถานะว่า Dato' Seri Mohd. Najib bin Tun Haji Abdul Razak เกิดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1953 เป็นนายกรัฐมตรีคนที่ 6 ของประเทศมาเลเซีย โดยตำแหน่งเดิมเขาคือ รองนายกรัฐมนตรี เป็นการสืบตำแหน่งต่อจาก Tun Abdullah Ahmad Badawi เขาเป็นสมาชิกพรรค UMNO และเป็นผู้นำพรรค เขาเป็นบุตรชายของอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่สองของมาเลเซีย คือ Tun Abdul Razak
Sunday, October 25, 2009
มารู้จัก Chindia หรือ China + India
ประกอบ คุปรัตน์
E-mail: pracob@surindra.org
Updated: Monday, October 26, 2009
Chindia เป็นคำประสม (portmanteau) ของคำว่า China หรือประเทศจีน และคำว่า India หรือประเทศอินเดีย โดยทั้งนี้เน้นไปที่เศรษฐกิจเป็นหลัก คนที่ได้ใช้คำนี้เป็นคนแรก คือ Jairam Ramesh ซึ่งเป็นนักการเมืองชาวอินเดีย ประเทศจีนและอินเดียมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ในลักษณะใกล้เคียงกัน มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (growing major economies) มากของโลก โดยรวมแล้ว สองประเทศรวมกันจะมีขนาดทางเศรษฐกิจที่เติบโตและมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างมาก และมีคนทำนายว่าทั้งสองประเทศจะมีศักยภาพที่จะเติบโตมากที่สุดในช่วง 50 ปีต่อไปนี้ ทั้งนี้เป็นรายงานของ BRIC
การเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศนี้มีส่วนเสริมกัน โดยจีนมีความเข้มแข็งด้านการผลิต (manufacturing) และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ในขณะที่อินดียถูกมองว่ามีความแข็งแกร่งทางด้านธุรกิจบริการ (services) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) จีนแข็งแกร่งทางด้านฮาร์ดแวร์ (hardware) อินเดียมีความแข็งแกร่งทางด้านซอฟต์แวร์ (software) จีนมีความแข็งแกร่งทางด้านการตลาด (physical markets) อินเดียมีความแข็งแกร่งทางด้านการตลาดด้านการเงิน (financial markets) ประเทศทั้งสองมีประวัติที่มีสัมพันธ์ต่อกัน ทีการเผยแพร่ของพุทธศาสนา (Buddhism) แลกเปลี่ยนระหว่างอินเดียกับจีน และมีการค้ามานาน โดยผ่านทางเส้นทางสายไหม (Silk route) are famous examples.
แม้ทั้งสองประเทศจะมีความแตกต่างกัน และมีความเหมือนและสัมพันธ์ต่อกัน แต่โดยประวัติศาสตร์แล้ว เคยมีการประทะกระทบกระทั่งต่อกัน ดังสงครามจีนและอินเดียที่เรียกว่า Sino-Indian War ในช่วงปี ค.ศ. 1962 ซึ่งทำให้การพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างสองประเทศค่อนข้างจะระมัดระวังและเป็นไปอย่างช้าๆ
ในทางการเมืองแล้ว จีนมีการปกครองในแบบพรรคการเมืองเดี่ยว คือ พรรคคอมมิวนิสต์จีนในลักษณะเผด็จการ ในอินเดียมีการปกครองแบบประชาธิปไตย มีพรรคต่างๆหลายร้อยพรรค มีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย (pluralism) ในขณะที่จีนมีลักษณะประชากรที่มีเชื้อชาติเดี่ยวเป็นหลัก (ethnically homogenous population)
เมื่อทั้งสองประเทศเติบโตทางเศรษฐกิจ ก็ต้องดำเนินนโยบายด้านการทูตที่รุกมากขึ้น มีการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในระดับระหว่างสองชาติหรือทวิภาคี (Bilateral) แบบทวิภาค (Multi-lateral) ประเทศไทยในฐานะประเทศเล็กๆทางตอนใต้ของจีน มีความสัมพันธ์ก้นมาช้านาน และในทางสายเลือดก็แยกกันไม่ออก ในอีกด้านหนึ่ง ประเทศอินเดียนั้นก็มีสัมพันธ์กันมาทางด้านวัฒนาธรรม ด้วยศาสนา คือพุทธศาสนา ในปัจจุบันจะไม่มีชาวพุทธเหลืออยู่มากนักในประเทศอินเดีย ในทางวัฒนธรรม ภาษาไทยนั้นมีฐานมาจากภาษาอินเดีย คำศัพท์หลายคำมีพื้นมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
ในขณะที่โลกกำลังหันสู่ตะว้นออก เราคงต้องเรียนรู้ เตรียมรองรับทั้งปัญหาและโอกาสใหม่ๆ อย่างตื่นตัวและตั้งใจ
REVAi รถยนต์ไฟฟ้าใช้แบตเตอรี่ที่ขายดีที่สุดในโลก
REVAi รถยนต์ไฟฟ้าใช้แบตเตอรี่ที่ขายดีที่สุดในโลกประกอบ คุปรัตน์
ศึกษาและเรียบเรียงจากข้อมูลใน Wikipedia
รถไฟฟ้า ชื่อ REVAi หรือที่รู้จักกันในชื่อรุ่น G-Wiz I จัดเป็นรถไฟฟ้าใช้แบตเตอรี่ที่ขายดีที่สุดในโลก
มีผู้ทำนายว่ารถในอนาคตจะเป็นรถไฟฟ้า (Electric Cars) และบริษัทผู้ผลิตรถเหล่านี้จะเป้นบริษัทขนาดเล็ก เริ่มต้นด้วยมีวัตถุประสงค์โดยตรงเพื่อการผลิตรถทางเลือก โดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับรถยนต์ในแบบเดิม และที่สำคัญรถต้องสามารถผลิตแข่งขันได้ในราคาที่ถูกเพียงพอ มีความเชื่อถือได้ด้านเทคโนโลยี ใช้ได้จริง ไม่ใช่เหมือนรถของเล่น หรือรถตุ๊กตา รถไฟฟ้า ชื่อ REVAi เป็นอีกส่วนของนวตกรรมที่น่าสนใจ และสำหรับการผลิตสินค้าที่มีราคาถูกแล้ว ก็ต้องห้นไปดูที่จีน และอีกประเทศหนึ่งก็คือ อินเดียนี้แหละ
บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ (Manufacturer) คือ REVA Electric Car Company ซึ่งเรียกว่า REVA G-Wiz i
บริษัท REVA Electric Car Company (RECC) เป็นบริษัทของอินเดีย มีฐานอยู่ที่เมือง Bangalore มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและผลิต (designing and manufacturing) รถยนต์ไฟฟ้า (electric cars) เป็นหลัก บริษัทเกิดขึ้นด้วยการลงทุนร่วมระหว่าง Maini Group ของอินเดีย แบะบริษัท AEV LLC ที่มีฐานอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย (California) และเป็นการลงทุนร่วมที่ได้รับการสนับสนุนโดยกลุ่มทุนสหรัฐ ชื่อ Global Environment Fund และ Draper Fischer Jurvetson
รถ REVAi ได้เริ่มสายการผลิต (Production) ในปี ค.ศ. 2001 และยังผลิตอยู่จนในปัจจุบัน โดยมีโรงงานประกอบรถยนต์ (Assembly) อยู่ ณ เมือง Bangalore, ในประเทศอินเดีย (India) รถยนต์นี้จัดอยู่ในประเภทรถไฟฟ้า (Electric), จัดเป็นรถขนาดจิ๋ว (microcar)
แบบของรถ (Body style(s) เป็นประเภทรถ 3 ประตู (3-door hatchback) เปิดประตูด้านข้างได้ 2 และมีประตูด้านหลัง รถสามารถจุผู้โดยสารผู้ใหญ่ได้ 2 คนในที่นั่งตอนหน้า และเด็กได้ 2 คนในตอนหลัง ที่นั่งหลังสามารถพับลงเพื่อใช้บรรทุกของ น้ำหนักบรรทุกผู้โดยสารและสิ่งของรวม 270 กิโลกรัม
ลักษณะแบบ (Layout) มีเครื่องอยู่ในส่วนท้าย (Rear engine), ขับเคลื่อนด้วยล้อหลัง (Rear wheel drive) ขนาดความยาว (Length 2.6 เมตร หรือประมาณ 100 นิ้ว ความกว้าง (Width) 1.3 เมตร (51 in) ความสูง (Height) 1.5 เมตร (59 in) ความจุพลังงาน (Fuel capacity) 200 A·h หรือ 9.6 kWh หากดูจากภาพแล้วไม่สะสวยหวือหวา มีขนาดเล็กที่สะดวกวิ่งในเมืองที่มีการจราจรติดขัด อย่างเมืองกรุงเทพฯนี้ ก็อาจจะเหมาะ
ระยะทางในการวิ่ง (Electric range) 80 กิโลเมตร (50 miles) ต่อการชาร์ตไฟหนึ่งครั้ง และใช้เวลาในการชาร์ตไฟ 8 ชั่วโมง ซึ่งเหมาะสำหรับการเสียบปลั๊กชาร์ตไฟในตอนกลางคืน
REVA เจตนาเพื่อเป็นรถเดินทางในเมือง โดยเฉพาะในเมืองที่มีการจราจรติดขัด รถได้จดทะเบียนในยุโรปในฐานะ “ยานพาหนะสี่ล้อ” หรือ heavy quadricycle (category L7) สามารถนำเข้าในสหรัฐได้ โดยเป็นรถวิ่งจำกัดความเร็วไม่เกิน 25 ไมล์ต่อชั่วโมง เป็นยานพาหนะเหมาะวิ่งภายในชุมชนหมู่บ้าน Neighborhood Electric Vehicle - NEV) เหมาะแก่การเป็นรถแม่บ้าน รถคันที่สองไว้สำหรับจับจ่ายใช้สอยในระยะทางวิ่งสั้นๆ
REVA ได้มีการผลิตออกมา 3 รูปแบบ คือ REVA ซึ่งได้เลิกผลิตไปแล้ว, REVAi ใช้แบตเตอรี่แบบตะกั่วและกรด (lead-acid batteries) และ REVA L-ion ซึ่งใช้แบตเตอรี่แบบ lithium-ion batteries ส่วนอีกสองแบบที่จะเปิดตัว คือ รุ่น NXR และ รุ่น NXG ซึ่งได้ประกาศตัวแล้วว่าจะนำไปแสดงที่งานแสดงรถยนต์ ณ เมือง แฟรงเฟอร์ต (Frankfurt Motor Show) ประเทศเยอรมันนี
ในด้านราคา ได้มีการขายที่ราคาคันละ £8,495 สำหรับรุ่นมาตรฐาน หรือ £15,795 สำหรับรุ่น L-Ion model ใช้แบตเตอรี่แบบ Lithium Ion รถนี้ได้รับการยกเว้นที่จะวิ่งในเขตควบคุมการจราจรหนาแน่น (CCZ) ในกรุงลอนดอน เพราะความที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า รถมีขายที่ประเทศทางยุโรป รวมถึงประเทศสเปน (Spain) และนอร์เวย์ (Norway) ในทวีปอเมริกาใต้ ที่ Costa Rica ได้มีการเปิดตัวรถรุ่น REVAi ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 และเสนอขายที่ราคา US$13,000.[12] ในประเทศชีลี (Chilean market) จะขายกันที่ราคา US$ 12,000.[13] ในราคาระดับนี้จัดว่าไม่แพง สามารถแข่งกับรถยนต์ทั่วไปได้
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ศูนย์การค้าแห่งหนึ่ง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ศูนย์การค้าแห่งหนึ่ง
ผมได้รับเรื่องจดหมายเวียน จาก คุณ Paankwan C.
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ศูนย์การค้าแห่งนี้ อาจเกิดขึ้นที่ในลักษณะเดียวกันในแห่งอื่นๆ
ประกอบ คุปรัตน์
(Pracob Cooparat)
E-mail: pracob@sb4af.org
Paankwan C.
|
รัฐมนตรีศึกษฯประเทศไทย 11 ปี 14 คน
ประกอบ คุปรัตน์
ศึกษาและเรียบเรียง
เวลาและความต่อเนื่อง
การศึกษาเหมือนกับการปลูกต้นไม้ ต้องใช้เวลา เราไม่สามารถปั๊มคนออกมาดุจดังเครื่องจักรอัดพลาสติกออกมาจากแม่พิมพ์ได้ การสร้างคนแต่ละคนต้องใช้เวลา เด็กคนหนึ่งกว่าจะเรียนจบอนุบาลต้องใช้เวลา 2 ปี เรียนต่ออีก 6 ปีจึงจะจบประถมศึกษา และเรียนต่ออีก 6 ปีจึงจะจบมัธยมศึกษาบริบูรณ์ และหากศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอีก 4 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี รวมเขาต้องใช้เวลาในระบบการศึกษา 18 ปี
การบริหารการศึกษาไม่ว่าจะเป็นระดับใด ก็ต้องใช้เวลา ต้องให้เวลาแก่ฝ่ายบริหารที่จะมีเวลาศึกษา คิด และวางแผน และทำไปตามแผนงาน การบริหารการศึกษาต้องปล่อยให้มีความต่อเนื่อง การเร่งร้อน กดดัน มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องมากๆ จนทำให้มีการโยกย้ายกันจนไม่เป็นส่ำ ดังนี้ก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่อการบริหาร และกระทบต่อการดำเนินการด้านการศึกษา
การบริหารราชการแผ่นดินที่ดีประการหนึ่งคือความต่อเนื่อง ในหลายๆงานเขาจึงต้องให้มีวาระการดำรงตำแหน่ง และให้ได้มีเวลาทำงานเป็นระยะเวลายาวนานพอ เช่นให้เป็นสมัยละ 4 ปี และดำรงต่ำแหน่งติดต่อกันได้อีก 1 สมัย รวมแล้ว 8 ปี นับว่านานพอที่จะทำอะไรให้เป็นมักเป็นผล
Charles William Eliot เกิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1834 เสียชีวิตวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1926 เป็นนักการศึกษา ผู้นำการศึกษาคนหนึ่งของอเมริกัน ได้รับเลือกเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University, Boston, Massachusett, USA) ในปี ค.ศ. 1869 และได้ดำรงตำแหน่งอย่างต่อเนื่องจนถึงปี ค.ศ. 1909 และเขาได้เปลี่ยนมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดจากความเป็นมหาวิทยาลัยท้องถิ่นแห่งหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ ให้กลายเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่โดดเด่นของอเมริกัน อธิการบดี Eliot จัดได้ว่าเป็นอธิการบดีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติการอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา
ในการบริหารการศึกษาไม่ว่าจะในระดับใด ต้องมีระยะเวลาที่ให้ผู้บริหารทำงาน อธิการบดี Charles Eliot มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งนานถึง 39-40 ปี ระหว่งการดำรงตำแหน่งในช่วงแรก ไม่มีอะไรราบรื่น ต้องต่อสู้ ท้าทายความคิด ทั้งกับคณาจารย์ที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของเขา และคนหัวเก่า แต่เพราะการต่อสู้ทางความคิด และไม่ย่นย่อ จนในที่สุดหลายความคิดของเขาได้กลายเป็นที่ยอมรับ ทำให้มีผลงานก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง และสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับมหาวิทยาลัย และผลกระทบโดยรวมต่อระบบการศึกษาของประเทศสหรัฐ อย่างต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2458 จนถึงปี พ.ศ. 2469 หรือประมาณ 11 ปี นานเท่ากับรัฐมนตรี 14 คนในช่วงปี พ.ศ. 2540 ถึงปี พ.ศ. 2552 บริหารราชการรวมกัน
มหาเสวกเอก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (1 ม.ค. 2419 - 1 ก.พ. 2486) นามเดิม สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา เสนาบดีกระทรวงธรรมการ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) ผู้วางรากฐานการศึกษาภาคบังคับพื้นฐานและการอาชีวศึกษา ผู้ร่วมดำริให้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้ประกอบกิจการทางการศึกษาอันเป็นคุณูปการไว้ แก่ประเทศไว้มากมาย โดยเฉพาะในการวางรากฐานอย่างสมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่การเป็นครู ผู้ตรวจการศึกษา เป็นเจ้ากรมราชบัณฑิต เจ้ากรมตรวจ ปลัดทูลฉลองจนถึงเสนาบดี โดยเริ่มนำเอาความรู้แผนใหม่เข้ามาในวงการครู เริ่มพัฒนาด้านพุทธิศึกษาอย่างจริงจัง เขียนตำรา เริ่มตั้งแต่ด้านการสุขาภิบาลและสุขศึกษาสำหรับครอบครัว รวมทั้งเน้นด้านปลูกฝังธรรมจรรยาอย่างแท้จริง อบรมสั่งสอนให้คนมีคุณธรรมและจรรยามรรยาท จัดทำแบบสอน-อ่าน-เขียนด้านธรรมจริยาขึ้นใช้ในโรงเรียนทั่วประเทศ นำพลศึกษาและการกีฬาเข้ามาในโรงเรียนเพื่อสร้างลักษณะนิสัยให้เยาวชนรู้จักรู้แพ้ รู้ชนะ รู้จักอภัยซึ่งกันและกัน
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้จัดให้มีการศึกษาภาคบังคับ เพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาทั่วถึงกันโดยท่านเชื่อว่า เมื่อให้มวลชนได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางแล้ว บุคคลที่มีความสามารถก็จะปรากฏขึ้นมาให้เห็นเอง ได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นทั่วประเทศรวมทั้งโรงเรียนประชาบาลเพื่อรองรับการจัดการศึกษาภาคบังคับ มีการเริ่มงานด้านหัตถศึกษา คือ นำเอาวิชาอาชีพต่างๆ เข้ามาสอนในโรงเรียน เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทั้งด้านวิชาความรู้เพื่อไปรับราชการ และทางด้านวิชาชีพสำหรับผู้ที่ต้องการนำไปประกอบอาชีพทั่วไป
- นำวิธีการจัดการศึกษาของต่างประเทศ ทั้งในยุโรปและเอเชียบางประเทศมาใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาของประเทศไทย
- เป็นผู้ดำเนินการเพื่อให้ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. โรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2461
- เป็นผู้ดำเนินการเพื่อห้ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. ประถมศึกษา พ.ศ. 2464
- ริเริ่มให้มีการฝึกหัดเล่นฟุตบอลในโรงเรียนและให้มีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างโรงเรียน
- ริเริ่มส่งเสริมวิชาช่างและหัตถกรรมเพื่อส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของการช่างสาขาต่างๆ และจัดตั้งโรงเรียนเพาะช่างขึ้นเพื่อรองรับและเพาะขยายศิลปะและการช่าง ซึ่งต่อมาได้แตกออกไปเป็นโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในภายหลัง
- ริเริ่มการศึกษาด้านเกษตรกรรมโดยการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแห่งแรก ขึ้นที่บริเวณหอวังหรือบ้านสวนหลวง สระปทุมเมื่อ พ.ศ. 2460 ได้จัดส่งนักเรียนทุนไปศึกษาเกษตรกรรมต่างประเทศและได้กลับมาเป็น “สามเสือเกษตร" เป็นฉายาที่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ใช้เรียกแทน บุคคลทั้ง ๓ คือหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ หลวงอิงคศรีกสิการ และพระช่วงเกษตรศิลปการ ภายหลังท่านเหล่านี้ล้วนมีคุณูปการต่อวงการเกษตร
- ด้านการค้าได้ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนพาณิชยการขึ้นที่วัดมหาพฤฒาราม
การมีท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอย่างท่านเจ้าพระยาธรรมศักดิิ์มนตรีเพียงสัก 1 คนในช่วงเวลา 1 ทศวรรษ ก็ดีกว่าที่จะนำคน 14 คนเข้าสู่ตำแหน่ง แล้วทำงานไม่ต่อเนื่องกัน ดังที่ได้เกิดขึ้นในช่วง 11-12 ปีที่ผ่านมา ประเทศขาติได้เสียหายไปกับความไม่ต่อเนื่อง สับสอน และทำลายขวัญและกำลังใจคนทำงาน และแก่ครูอาจารย์ทั่วประเทศ
ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา เฉลี่ยแล้ว รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ 1 คนมีเวลาบริหาราชการแผ่นดินน้อยกว่า 1 ปี และดูรายนามแล้วเป็นอันมากไม่มีพื้นฐานด้านการบริหารการศึกษามาก่อน จีงต้องมีเวลาในการเรียนงาน ต้องใช้เวลาในการจับประเด็นการศึกษา กว่าจะต้องมาคิดเรื่องการใช้ทรัพยากร เงิน การวางระเบียบกฎหมาย นโยบาย ฯลฯ ก็ไม่ทันได้ทำอะไรให้เป็นเรื่องเป็นราว แล้วก็ต้องจากกระทรวงไป
ในระหว่างนั้น บรรดาข้าราชการประจำในระดับสูงก็ไม่ต้องไปทำอะไรมาก ประคับประคองตนเองไปให้ได้ เดี๋ยวท่านก็ต้องย้ายไปแล้ว หากเข้าไปยุ่งมากๆ อยากจะทำนั่นทำนี่ เดี่ยวท่านนักการเมืองจะผิดใจกัน หรือไม่รัฐมนตรีคนถัดไปเข้าสู่ตำแหน่ง พรรคพวกที่เขาไม่พอใจก็จะฟ้องเจ้านายใหม่เอา เปลืองตัวเปล่าๆ ดังนี้ เขาจึงอยู่อย่างเข้าเกียร์ว่าง คือไม่ต้องทำอะไรให้เป็นเรื่องเป็นราว อยู่กันไปวันๆ และนี่คือระบบการเมือง กับการบริหารราชการแผ่นดินในประเทศไทย โดยมีกรณีศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการนี้
แล้วจะให้ประชาชนหวังอะไรกับการเมือง การปกครองประเทศ และระบบการศึกษาของชาติที่ดันต้องไปผูกกับการบริหารงานส่วนกลางอย่างมากๆ
11 ปี 14 รัฐมนตรี
รายนามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน
1. นายชิงชัย มงคลธรรม พ.ศ. 2540
2. นายชุมพล ศิลปอาชา พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2541
3. นายปัญจะ เกสรทอง พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542
4. นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2544
5. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย พ.ศ. 2544
6. พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร พ.ศ. 2544
7. นายสุวิทย์ คุณกิตติ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545
8. นายปองพล อดิเรกสาร 8 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2546
9. ดร.อดิศัย โพธารามิก 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548
10. นายจาตุรนต์ ฉายแสง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549
11. ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
12. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 255 - 1 9 กันยายน พ.ศ. 2551
13. นายศรีเมือง เจริญศิริ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
14. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน
แล้วจะทำอย่างไร
ผมไม่โทษท่านรัฐมนตรีที่มีชื่อ 14 ท่านนี้ เพราะท่านก็เป็นผลพลอยของระบบราชการไทย และการเมืองไทยที่ไร้เสถียรภาพในช่วงเวลา 10-15 ปีที่ผ่านมานี้ และผมก็เชื่อว่าในช่วงต่อไปนี้อีกยาวนาน ที่การเมืองจะยังไม่นิ่ง และเมื่อไม่นิ่ง การเมืองและระบบราชการจะทรุดโทรมลงไปทุกที แล้วเราจะทำกันอย่างไร
ผมไม่ได้สิ้นหวัง ยังมีความหวัง และเห็นว่ามีวิธีการที่จะพัฒนาการศึกษาไทยในสภาพแบบนี้ได้ หรือใครมีความเห็นอย่างไรก็เข้ามาเสนอได้ครับ
สำหรับบทความนี้เป็นเพียงเริ่มต้นของ "บันทึกการศึกษา" ที่ผมจะเขียนเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ และแลกเปลี่ยนกับทุกท่านที่ทั้งเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย จะได้ทีการนำเสนอ เพื่อให้เกิดทางเลือกใหม่ในวงการศึกษาไทย
ผู้นำด้านผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอาจเป็นจีน
ผู้นำด้านผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอาจเป็นจีน
Warren Buffett hasn't just seen the car of the future, he's sitting in the driver's seat. Why he's banking on an obscure Chinese electric car company and a CEO who - no joke - drinks his own battery fluid.
Warren Buffett takes charge
ข้อมูลได้มาจาก Marc Gunther
Last Updated: April 13, 2009: 9:29 AM ET
ประกอบ คุปรัตน์
ศึกษาและเรียบเรียง
Updated: Sunday, October 25, 2009
Keywords: รถยนต์ไฟฟ้า, เทคโนโลยี, พลังงาน, อุตสาหกรรม
ในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้ากำลังเป็นที่จับตามองในฐานะรถยนต์แห่งอนาคต หลายคนมองไปที่ค่ายรถยนต์ใหญ่ของโลก ทั้งในสหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรป แต่เหล่านี้อาจไม่ใช่ประเทศผู้นำการผลิตรถไฟฟ้า ประเทศที่จะกลายเป็นผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุด และประเทศที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลก อาจอยู่ที่จีน
จีนมีนโยบายที่พยายามแสดงออกว่า สามารถผลิตสินค้าที่ “คุณภาพสู้ได้ในราคาที่ต่ำกว่า” ในด้านกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า จีนไม่ใช่ผู้นำทางด้านเทคโนโลยีใหม่นี้ แต่อยู่ในเกณฑ์ตามทัน หรือตามมาอย่างใกล้ๆ แต่จีนมีความได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิต คือด้านแรงงาน อะไรที่ต้องใช้ผลิตด้วยเครื่อง คนจีนสามารถใช้คนช่วยในบางส่วนได้ หากทำให้ราคาต้นทุนต่ำกว่า
Warren Buffett ได้ให้ความสนใจในการลงทุนในบริษัท BYD ของประเทศจีน BYD เป็นบริษัทที่คนในตะวันตกไม่รู้จัก แต่ทำไมเจ้าพ่อมหาเศรษฐีของโลกอย่าง Buffett จึงได้กล่าไปลงทุนในจีน ต่อไปนี้เป็นข้อมูลเบื้องหลังที่ Marc Guntner ได้นำเสนอ และผมได้นำมาเล่าต่อให้ฟัง
ในอีกด้านหนึ่ง จีนคือศักยภาพในฐานะผู้บริโภคสินค้ารายใหญ่ จีนมีประชากร 1300 ล้านคน ที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดของโลก มีชนชั้นกลางที่มีอำนาจซื้อได้ทันที 300 ล้านคน และจะเติบโตขยายฐานไปอีกอย่างรวดเร็ว ในข่วงที่เศรษฐกิจโลกตกต่ำ กิจการผลิตรถยนต์ในสหรัฐอเมริกา และเครือข่ายการผลิตที่มีอยูทั่วโลกของญี่ปุ่นเองก็มีปัญหา ในยุโรปก็หยุดชะงัก แต่จีนได้หันการผลิตสู่ตลาดภายนอก ให้ผลิตเพื่อตลาดภายในประเทศ เพียงทำให้เกิดแรงจูงใจใหม่ขึ้น รถยนต์ที่ผลิตได้ก็กลับเพิ่มเข้าสู่ท้องถนนในประเทศจีนเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 45
รถยนต์ไฟฟ้าเหมาะแก่ตลาดที่ต้องการใช้เพื่อความประหยัดอย่างจริงจัง ไม่ใช่ใช้เพียงเพื่อแสดงความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม โดยยอมจ่ายค่าซื้อรถไฟฟ้า หรือรถยนต์ลูกประสมที่มีราคาแพง ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้ว รถไฟฟ้า หรือรถลูกประสมต้องสามาราถประหยัดพลังงานที่คำนวณออกเป็นตัวเลขจริงๆ ต้องสามารถใช้ได้อย่างประหยัดจริงอย่างพิสูจน์ได้
รถยนต์ไฟฟ้า เหมาะสำหรับรถยนต์คันที่สองสำหรับในอเมริกาเหนือ และยุโรป ราคาต้องไม่แพง ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ผ่านมา ปัญหาใหญ่คือด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะในยุคแรกๆที่ยังเป็นข้อจำกัด ทำให้มีระยะทางวิ่งหลังจากซาร์ตไฟหนึ่งครั้งที่ยังไปได้อย่างจำกัด แต่นั้นเป็นเทคโนโลยีเก่าที่เราเห็นใช้กับรถวิ่งในสนามกอล์ฟ ที่แบตเตอรี่ยังเป็นแบบตะกั่วและน้ำกรดเดิม ที่มีประสิทธิภาพการให้เก็บและให้พลังงานต่ำ และมีน้ำหนักแบตเตอรี่มาก
แต่ปัญหาด้านเทคโนโลยีได้เปลี่ยนไป เนื่องจากพัฒนาการของแบตเตอรี่ที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือและเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาและกระเป๋าหิ้ว ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อเพื่อใช้กับรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ประกอบกับวิทยาการด้านวัสดุศาสตร์ใหม่ที่อาจได้วัสดุที่มีราคาไม่แพง และมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บพลังงานได้ดียิ่งขึ้นไปอีก
เทคโนโลยีในการผลิตแบตเตอรี่เพื่อใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนระบบอื่นๆ ยังเป็นในระดับเริ่มต้นในทุกประเทศ เกือบทั้งหมดเพิ่งเริ่มในระดับใกล้เคียงกัน และไม่ได้มาจากบริษัทผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในแบบเดิม แต่มาจากบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาทางด้านไฟฟ้า อิเลคโทรนิกส์ และผู้ผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งเทคโนโลยีแบตเตอรี่นี้ใกล้เคียงกับแบตเตอรี่ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจีนได้เป็นผู้นำในการผลิตอยู่แล้ว
เมื่อแบตเตอรี่ราคาถูกลง น้ำหนักเบาลง ประสิทธิภาพสูงขึ้น ระบบผลิตพลังงานที่เป็นพลังงานทางเลือก อย่างไฟฟ้าพลังน้ำ พลังจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กังหันลม พลังแสงอาทิตย์ เหล่านี้เมื่อมีเครือข่ายการจ่ายพลังงานที่ทั่วถึงในทุกที่ รถไฟฟ้าก็จะมีขีดความสามารถในการใช้งานที่สูงขึ้น
ในกรณีที่จะเล่านี้สัญญาณที่จะดูได้จากตลาดเงิน ตลาดทุน
คือ เพื่อนของ Warren Buffett ที่คบและเป็นหุ้นส่วนธุรกิจกันมายาวนาน Berkshire Hathaway (BRKB), โดย Charlie Munger ได้เสนอในปีที่ผ่านมาให้ลงทุนในบริษัทอย่าง BYD ในประเทศจีน โดย Charlie Munger ได้ชี้ให้เห็นลักษณะของผู้บริหารบริษัท BYD ที่น่าสนใจ
Munger ผู้มีอายุ 85 ปี รองประธานของบริษัท Berkshire Hathaway ได้บรรยายลักษณะผู้บริหารของ BYD คือ Wang Chuan-Fu ว่ามีลักษณะเป็นลูกประสมระหว่าง Edison (นักประดิษฐด้านอุปกรณ์ไฟฟ้าและอื่นๆอีกมาก) ที่สามารถมีความรู้ทางแก้ปัญหาด้านเทคนิค และบางส่วนเหมือน Jack Welch (นักบริหารมือเยี่ยม) ที่สามารถทำให้สิ่งต่างๆบรรลุผลได้ในทางการจัดการ
Munger เพื่อนของ Buffett ปัจจบันอายุ 85 เป็นรองประธานกรรมการของบริษัท Berkshire Hathaway
ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีที่ผ่านมา Berkshire Hathaway ได้ซื้อหุ้นร้อยละ10 ของบริษัท BYD ซึ่งเป็นมูลค่าประมาณ USD 230 ล้าน หรือประมาณ 8,050 ล้านบาท เงินระดับนี้ในสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นการลงทุนที่ไม่มาก แต่สำหรับในประเทศจีน สามารถนำไปทำให้เกิดการดำเนินการได้อย่างมากมาย การดำเนินการเหลือเพียงการรอได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลจีน ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้มีคนสังเกตเห็น
Munger คิดว่าบริษัท BYD ในประเทศจีน มีโอกาสที่จะเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้โดยขายเพียงรถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars) และการเป็นผู้นำในกิจการด้านพลังงานแสงอาทิตย์
ภาพ Wang Chuan-Fu
ผู้บริหารของ BYD
Wang Chuan-Fu เริ่มกิจการของ BYD ในปี ค.ศ. 1995 ด้วยการระดมเงินจากญาติๆ และเช่าพื้นที่ประมาณ 2000 ตารางเมตร และเริ่มกิจการผลิตแบตเตอรี่ชาร์ตไฟได้ (Rechargeable batteries) ทั้งนี้เพื่อเป็นการแข่งขันกับสินค้านำเข้าอย่าง Sony และ Sanyo เพียงในปี ค.ศ. 2000 BYD ได้กลายเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลังจากนั้น บริษัทได้เข้าสู่กิจการออกแบบและผลิตโทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วนให้กับ Motorola (MOT, Fortune 500), Nokia (NOK), Sony Ericsson, และ Samsung.
Wang ได้เข้าสู่วงการรถยนต์ในปี ค.ศ. 2003 โดยซื้อบริษัทที่รัฐบาลจีนเป็นเจ้าของที่ต้องใกล้ปิดกิจการ เขามีความรู้ไม่มากนักเกี่ยวกับกิจการผลิตรถยนต์ แต่ก็พิสูจน์ได้ว่าเขาเรียนรู้เร็ว ในเดือนตุลาคม BYD Sedan รถยนต์นั่งที่เรียกว่า F3 ได้กลายเป็นรถยนต์ขายดีที่สุดในประเทศจีน นำหน้าบริษัทมีชื่ออย่าง Volkswagen Jetta และ Toyota (TM) Corolla.
BYD ได้เริ่มขยายกิจการสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่มีระบบเครื่องยนต์ใช้น้ำมันสนับสนุน (plug-in electric car) การเคลื่อนไหวนี้นับว่านำหน้าบริษัทอย่าง GM ของสหรัฐอเมริกา, Nissan, และ Toyota ของประเทศญี่ปุ่น ระบบรถของ BYD เป็นแบบ Plug-in ที่เรียกว่า F3DM ซึ่งเรียกว่า Dual Mode คือมีสองระบบ สามารถไปได้ไกลกว่าบริษัทอื่นๆถึง 62 ไมล์ด้วยการชาร์ตไฟเพียงครั้งเดียว ในขณะที่ราคาที่ขายจะอยู่ที่ USD 22,000 ซึ่งราคาถูกกว่า Prius รถยนต์ลูกประสมของ Toyota ที่ขายดีเป็นที่หนึ่งในสหรัฐอเมริกา และถูกกว่า Chevy Volt ซึ่งรถของ BYD นี้คาดว่าจะออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 2010 การเข้าสู่ตลาดนี้ จะทำให้เลยหน้าคู่แข่งที่ใหญ่กว่า และทำให้สามารถผลิตและขายรถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาถูกพอในระดับคนทั่วไปซื้อหามาใช้ได้ ปัจจุบัน BYD มีคนทำงาน 130,000 คน มีโรงงานแยกย่อยออกไป 11 แห่ง 8 แห่งอยู่ในประเทศจีน และประเทศละหนึ่งแห่งในประเทศอินเดีย ฮังการี่ และโรเมเนีย
การเข้ามาดำเนินกิจการในสหรัฐนับว่ายังเล็กน้อย มีคนทำงานเพียง 20 คนมีที่ทำงานอยู่ ณ เมือง Elk Grove Village ในรํฐอิลลินอยส์ (Ill) และอีก 20 ทำงานอยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก ไม่ห่างจากบริษัท Apple ไปมากนัก BYD เป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือให้กับ Motorola RAZR กว่าร้อยละ 80 และผลิตแบตเตอรี่ให้กับ iPods และ iPhones และผลิตคอมพิวเตอร์ราคาถูกให้กับโครงการ “1 คอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก 1 คน” ในโครงการแบบไม่แสวงกำไรให้กับ Nicholas Negroponte กิจการของบริษัทได้เติบโตร้อยละ 45 ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และมียอดสูงถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี ค.ศ. 2008
ความจริงการเข้าถือหุ้นใน BYD ของ Buffett นับว่าผิดจากกฎของเขาเอง “ผมไม่รู้อะไรเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ หรือแบตเตอรี่” เขายอมรับ “และผมก็ไม่รู้ว่ารถยนต์มันทำงานอย่างไร” ในที่นี้ เขาหมายถึงรถยนต์ไฟฟ้า เขาเสริม “แต่ Charlie Munger และ Dave Sokol เป็นคนฉลาด และเขาเข้าใจในเรื่องที่ทำอยู่ และนอกจากนี้มันเป็นเรื่องที่ไม่มีคำถามใดๆเลยเกี่ยวกับความสำเร็จของ BYD ที่ได้เริ่มต้นมาจากปี ค.ศ. 1995 ซึ่งได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงมากๆ”
อีกข้อหนึ่งที่เป็นการยืนยันแก่ Buffett คือในครั้งแรก Charlie Munger and Dave Sokol ตั้งใจจะซื้อหุ้น BYD ในสัดส่วนร้อยละ 25 แต่ Wang ไม่รับข้อเสนอ และเขาบอกว่าต้องการทำธุรกิจกับ Buffett เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าของ Brand และเป็นการไปเปิดตลาดในสหรัฐอเมริกา Buffett กล่าวว่านั่นเป็นเรื่องที่ดี Wang ไม่ต้องการขายบริษัทของเขา “นั่นเป็นสัญญาณที่ดี”
สำหรับประเทศไทยที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับที่ 12-14 ของโลก แต่ต้องเข้าใจว่า เราไม่มีเทคโนโลยีที่เป็นของเราเอง ในขณะที่จีนและอินเดียมีเทคโนโลยีของเขาเอง มีระบบวิจัยและพัฒนาที่จะก้าวต่อไปแข่งขันกับประเทศตะวันตกได้
ประเทศไทยกำลังก้าวไปในทิศทางใด ในโลกที่น้ำมันปิโตรเลียมแพงขึ้นเป็นลำดับ เราคิดอย่างไรบ้างกับระบบคมนาคมและขนส่ง เราคิดอย่างไรบ้างกับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ หรือจะเพียงรอบริษัทผู้ผลิตยักษ์ใหญ่ที่มีอยู่เป็นฝ่ายกำหนดเพียงอย่างเดียว