มาเรียนรู้จาก GM บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่เคยใหญ่ที่สุด
ประกอบ คุปรัตน์
E-mail: pracob@surindra.org
General Motors Company, หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า จีเอ็ม (GM) เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ (United States) มีฐานอยู่ที่เมืองดีทรอยท์ รัฐมิชิแกน (Detroit, Michigan) ประเทศสหรัฐอเมริกา GM ในปัจจุบันเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 18 ของโลก และเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ซึ่งในอดีตเป็นเวลายาวนานที่เดียวที่เคยเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เคยมีพนักงานบริษัทอยู่เกือบ 1 ล้านคน
ในปี ค.ศ. 2008 ก็ยังเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากบริษัทโตโยต้า (Toyota Motors) ของประเทศญี่ปุ่น GM มีกิจการผลิตรถยนต์ที่เป็นเครือข่ายใน 34 ประเทศทั่วโลก มีคนงานรวม 244,500 คน มีการขายและบริการรถยนต์ใน 140 ประเทศทั่วโลก
แต่ความใหญ่ไม่ใช่คำตอบในโลกของธุรกิจในปัจจุบัน ในช่วงปี ค.ศ. 2008-2009 บริษัทต้องอยู่ในสถานะเกือบล้มละลาย ต้องได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางสหรัฐ และในปัจจุบันต้องจัดว่าหุ้นใหญ่ของ GM คือกระทรวงการคลังของสหรัฐ (United States Treasury) และรัฐบาลของประเทศแคนาดา (Canadian governments)
ในปัจจุบัน หุ้นของบริษัทยังไม่เปิดขายในตลาดหลักทรัพย์ แต่เมื่อมีการปรับโครงสร้างให้เรียบร้อยชัดเจน ก็คงจะมีการน้ำหุ้นขายคืนสู่ตลาดหลักทรัพย์ (initial public stock offering) ซึ่งคาดว่าจะเป็นราวๆปี ค.ศ. 2010
หลังจากปรับโครงสร้างบริษัท มีการขายกิจการหลายๆส่วนออกไป และยังคงชื่อหรือแบรนด์ที่ยังมีความแข็งแกร่ง 4 รายการ อันได้แก่ Chevrolet, Cadillac, Buick, และ GMC ส่วนในยุโรป ชื่อ Opel/Vauxhall ยังคงอยู่ และยังคงต้องมีการพัฒนาโครงสร้างธุรกิจต่อไป และปัจจุบัน GM ยังมีเป็นเจ้าของกิจการอยู่ที่ร้อยละ 35
แม้บริษัทจะไม่ล้มละลาย แต่ก็ยังต้องหาคำตอบให้ได้ว่า บริษัทจะดำรงอยู่อย่างไรในขณะที่การผลิตของบริษัทยังต้องพึ่งกำลังคนในสหรัฐที่มีค่าใช้จ่ายสูง มีปัญหาด้านการเรียกร้องด้านแรงงาน มีเทคโนโลยีการผลิตที่ไม่ก้าวหน้า เทคโนโลยีพลังงานทางเลือกที่ไม่ได้อยู่ในระดับแนวหน้า ไม่มีความถนัดในการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กที่ประหยัดน้ำมัน ดังบริษัทในยุโรปและเอเซียอย่างญี่ปุ่น
ในโลกปัจจุบัน และอนาคต มีผู้กล่าวว่า บริษัทที่จะยิ่งใหญ่ได้ ต้องมีเทคโนโลยีใหม่ที่ให้คำตอบด้านพลังงาน ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ต้องมีความรวดเร็ว และมีการพัฒนาที่ทันกับสภาพแวดล้อมด้านพลังงานที่เปลี่ยนไป คนที่คิดแบบเก่า ดำรงอยู่ได้ด้วยการผูกขาดตลาดให้เป็นไปในทิศทางของตน จะไม่มีที่ยืนอยู่ได้
ในสมัยหนึ่งมีคนเชื่อว่า ใหญ่ที่สุดคือดีที่สุด เพราะความใหญ่ทำให้ต้นทุนกำารผลิตลดลง คิดได้หนึ่ง นำมาผลิตได้ 10 ก็ส่วนหนึ่ง แต่ถ้านำมาผลิตได้ 100, หรือ 1000 ก็จะทำให้ต้นทุนลดลง
ReplyDeleteแต่ความคิดในลักษณะนี้ไม่เป็นจริงเสมอไป เช่น ตัวอย่างจากการผลิตรถยนต์ กระบวนการผลิตรถยนต์อาจประกอบด้วยชิ้นส่วนจำนวนมากมาย ที่แท้จริงแล้ว บริษัทขนาดเล็กและกลาง (SMEs) ทั่วไปสามารถรับงานมาผลิตได้ ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การต้องคิดและทำในสิ่งใหม่ แต่บริษัทขนาดใหญ่กลับล่าข้าในการรับความคิดใหม่ไปสู่การเร่งผลิต แต่กลับไปปิดกั้นความคิด นิ่งเฉย ดังในกรณีต้วอย่า่งการคิดค้นรถยนต์พลังงานทางเลือก อย่างรถยนต์ลูกประสม (Hybrid Cars) รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Cars)
บริษัทขนาดเล็กที่ตั้งขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใหม่ กลับมีความก้าวหน้าไปได้มากกว่าบริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่