Friday, October 9, 2009

วัฒนธรรมเปรียบเทียบ (Cultural relativism)

วัฒนธรรมเปรียบเทียบ (Cultural relativism)
ประกอบ คุปรัตน์
E-mail: pracob@surindra.org

แปลเละเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia
Updated: Saturday, October 10, 2009

Keywords: ค่านิยม, ความเชื่อ, ทัศนคติ, สังคมวิทยา, มานุษยวิทยา

Cultural relativism เป็นหลักการที่ถือว่า ความเชื่อ (Beliefs) และกิจกรรม (Activities) ของมนุษย์ ควรเป็นการทำความเข้าใจบนพื้นฐานทางวัฒนธรรมของคนที่เกี่ยวข้อง หลักการนี้ได้กำหนดโดย หลักการคือความจริงที่ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ (axiomatic) จากการวิจัยทางมานุษยวิทยา (Anthropological research) โดยฟรานซ์ โบแอส (Franz Boas) ในช่วงทศวรรษแรกๆของศตวรรษที่ 20 และต่อมาโดยนักศึกษาในแนวทางของ Franz Boas โดย Boas ได้เสนอความคิดของเขานี้ในปี ค.ศ. 1887 เขากล่าวว่า อารยธรรมไม่ใช่เป็นเรื่องที่ตายตัว (Not absolute) แต่มีลักษณะเป็นเชิงเปรียบเทียบ และความคิดของเรา (ideas) และแนวคิดของเรา (Conceptions) จะเป็นจริงเพียงในช่วงของอารยธรรมนั้นๆ ด้วยแนวคิดดังกล่าวจึงได้กำเนิดคำว่า วัฒนธรรมเปรียบเทียบ หรือ Cultural Relativism คำนี้เป็นที่รู้จักและเข้าใจกันในหมู่นักมานุษยวิทยา (Anthropologists) หลังการเสียชีวิตของ Boas ในปี ค.ศ. 1942 เพื่อเป็นการแสดงบทสังเคราะห์ความคิดจำนวนหนึ่งที่ Boas ได้พัฒนาขึ้น จึงได้มีการจัดตีพิมพ์ในนิตยสารทางวิชาการด้านมานุษยวิทยา ชื่อว่า journal American Anthropologist ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1948


วัฒนธรรมเปรียบเทียบเกี่ยวข้องกับทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้และวิธีการที่อ้างอิง ส่วนเรื่องที่จะมีการอ้างถึงความเป็นรากฐานทางศีลธรรม (Ethical stance) เป็นเรื่องที่โต้เถียงกัน และเข้าใจได้ หลักการนี้ต้องไม่สับสนกับคำว่า ศีลธรรมเชิงเปรียบเทียบ (Moral relativism)


ตัวอย่างที่มีการโต้เถียงกัน คือ เมื่อผู้เผยแพร่คริสตศาสนาขาวยุโรป ได้เดินทางทางทะเลเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในซีกโลกตะวันออก มีตั้งแต่การเผยแพร่ศาสนาและตามด้วยวัฒนธรรมและวิทยาการต่างๆแก่ชาวพื้นเมือง


ในแนวทางการเผยแพร่ศาสนา ความเชื่อของชนพื้นเมืองที่เคยมีมา กลายเป็นสิ่งผิด เป็นบาปที่ต้องเลิกปฏิบัติโดยนักสอนศาสนา แต่ในอีกด้านหนึ่ง สิ่งที่เผยแพร่ ทั้งการนับถือศาสนาใหม่ และการเปลี่ยนวิถีชีวิตไปเป็นแบบตะวันตกนั้น ก็เป็นสิ่งที่รับไม่ได้ และได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรง

นักสอนศาสนา (Missionaries) ในยุคการขยายอาณานิคม ได้ไปเผยแพร่ศาสนา ถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่อ้นยิ่งใหญ่ ได้เปลี่ยนคนที่ไร้อารยธรรมให้มีอารยธรรมดังเช่นชาวตะวันตก ส่วนผู้ปกครองประเทศในตะวันตกก็พึงพอใจในการออกไปเผยแพร่ศาสนา และผนวกเป็นส่วนหนึ่งของการขยายอาณานิคม การขยายเขตการค้าขายทางทะเล ส่วนชนพื้นเมืองที่เขารู้สึกว่าความเชื่อและวิถีชีวิตของเขาได้รับการคุกคาม ก็ไม่พอใจ และเห็นว่าการต่อต้าน และต่อสู้จนถึงที่สุดนั้นเป็นสิ่งที่พึงกระทำ และต้องกระทำ


ในสหรัฐอเมริกา คนผิวขาวที่อพยพมาจากยุโรป มีความเชื่อและมีวิถีชีวิตที่ปฏิบัติในแบบผัวเดียวเมียเดียว เมื่อแต่งงานกันแล้วต่อหน้านักบวช ได้สัญญาว่าจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในยามสุขและยามทุกข์ และตลอดไป ในอีกด้านหนึ่ง ในวิถีชีวิตของชาวอินเดียนแดง ผู้ชายจะมีภรรยาได้มากกว่าหนึ่ง และในบางกรณีมีภรรยาถึง 4-5 คน ค่านิยมที่ยอมรับกันคือ ตราบเท่าที่สามารถดูแลเลี้ยงดูสตรีให้ไดมีกินมีสุขได้ ขนพื้นเมือง (American natives) หรือเราเรียกันว่า อินเดียนแดง ด้วยคิดว่าเขาเป็นชาวอินเดียที่มีผิวสีแดงหรือน้ำตาล คนพื้นเมืองนั้นผู้ชายมีอายุสั้นด้วยการต้องล่าสัตว์ รบกันเอง และรวมถึงระยะหลังคือต้องรบกันพวกผิวขาว ผู้ชายต้องเสียชีวิตไปเป็นอันมาก พวกผู้ชายที่เหลืออยู่คือต้องมีหน้าที่ดูแลสตรีที่ต้องเป็นหม้ายและเด็กกำพร้าพ่อที่ไม่มึคนเลี้ยงดู

1 comment:

  1. ในประเทศสหรัฐอเมริกา สมัยหนึ่งเขาเรียกว่า "การทำให้เป็นอเมริกัน" (Americanization) ด้วยชนกระแสหลักเป็นคนผิวขาวที่อพยพไปจากยุโรป ขนผิวดำเป็นพวกชาวอัฟริกันที่ถูกลักพาตัวไปเป็นทาสในไร่นา คนเชื่อสายอื่นๆ เช่นชาวเอเซียจากจีนไปเดินทางไปหาชีวิตที่หวังว่าจะดีกว่า ไปเป็นแรงงานด้านต่างๆในประเทศ ตั้งแต่ การทำงานในเหมืองแร่ การซักรีดเสื้อผ้า การทำอาหาร ฯลฯ

    การยอมรับคนไปอยู่ใหม่ ก็มีโดยไม่รู้ตัว เช่น การเปลี่ยนชื่อให้เป็นคริสเตียน เช่น ชื่อประกอบ ก็หาความใกล้เคียงเป็น Patrick หรือ Pat ที่เขาเรียกได้ง่ายๆ หากไปอยู่นานๆ เขาชวนไปโบสถ์ชาวคริสต์ เราไปร่วมแล้วเขาจะรู้สึกว่าได้ทำกุศลอันยิ่งใหญ่ การไปรับการศึกษา รับเทคโนโลยีและวิถีชีวิตอย่างคนผิวขาว หากเราเล่าเรียนได้ มีความสามารถแข่งขันกับเขาได้ เขาก็จะยอมรับ เขาชอบคนขยันขันแข็งสู้งาน แต่กระนั้น การที่เขาสงวนงานระดับสูงเอาไว้สำหรับคนผิวขาว ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ และปฏิบัติอยู่โดยทั่วไป

    ReplyDelete