Saturday, October 10, 2009

6 แนวทางการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า (Electric car)

6 แนวทางการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า (Electric car)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@surindra.org

แปลและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: พลังงานทางเลือก, เทคโนโลยี, การเดินทางขนส่ง, รถไฟฟ้า

Sustainable energy

Renewable energy

Anaerobic digestion

Hydroelectricity · Geothermal

Microgeneration · Solar

Tidal · Wave · Wind

Energy conservation

Cogeneration · Energy efficiency

Geothermal heat pump

Green building · Passive Solar

Sustainable transport

Biofuels · Electric vehicles

v d e

รถยนต์ไฟฟ้า (electric car) เป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือก (alternative fuel automobile) ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า (electric motors) ตัวควบคุมการทำงานของมอร์เตอร์ (motor controllers) เพื่อไปใช้เป็นพลังงานหมุน (propulsion) เพื่อทดอแทนพลังหมุนอันเป็นวิธีการที่ใช้โดยทั่วไปในรถยนต์ใช้พลังงานเผาไหม้ (internal combustion engine - ICE) รถยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในยานพาหนะที่ใช้ไฟฟ้า ( electric vehicle) ที่เจตนาใช้เพื่ดการขับเคลื่อนเดินทางบนถนน เหมือนกับรถยนต์ที่ใช้กันมากในปัจจุบัน รถไฟฟ้าโดยทั่วไปจะมีแผงแบตเตอรี่ ดังนั้นจึงเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า battery electric vehiclesหรือเรียกย่อๆว่า BEVs ส่วนวิธีการจัดเก็บพลังงานที่คาดว่าจะนำมาใช้ในอนาคตอื่นๆอาจได้แก่ ultracapacitors, fuel cells, และระบบ spinning flywheel ซึ่งมีการจัดเก็บพลังงานในรูปของ kinetic energy.

รถยนต์ไฟฟ้า จะมีการพัฒนาไปข้างหน้าได้ด้วยพัฒนาการต่อไปนี้

1. การทำให้น้ำหน้กรวมของรถยนต์มีขนาดเบา โดยเลือกใช้วัสดุประกอบรถยนต์ที่เบา แต่คงทนเมื่อเทียบกับน้ำหนัก ทำให้รถยนต์มีความสะดวกสบายในการนั่ง แต่ยังคงความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสาร

2. การค้นคว้าและพัฒนาระบบจัดเก็บพลังงานไฟฟ้า ซึ่งทั่วไปเรียกว่า Battery แต่ในต่อๆไป เทคโนโลยีจัดเก็บอาจทำให้มีชื่อเรียกเพื่อให้เข้าใจในเทคโนโลยีที่ไม่สับสนอื่นๆ ซึ่งทิศทางของมันคือ การให้พลังงานทีหนาแน่น ใช้ได้เป็นระยะเวลายาวนาน มีพลังงานสม่ำเสมอ มีความปลอดภัยในการใช้ สามารถอัดไฟ (Charging) ได้รวดเร็ว

3. การวางระบบเครือข่ายไฟฟ้า (Electric Grids) ที่ทำให้ผู้ใช้รถไฟฟ้าสามารถเติมพลังงานไฟฟ้าได้จากที่ต่างๆกว้างขวาง เหมือนที่เรามีปั๊มน้ำมัน (Gas Stations) ในปัจจุบัน สถานที่เติมพลังไฟฟ้าส่วนหนึ่งคือที่บ้าน หรือโรงแรมที่พักคนเดินทาง ที่ทำงานที่เมื่อไปทำงานแล้ว จอดรถเป็นเวลานานแล้วสามารถเติมพลังงานไปได้ ศูนย์การค้า ซึ่งอาจมีกิจกรรมอื่นๆร่วมไปด้วย เช่น ร้านอาหาร บริการเสริมสวย ตัดผม ดัดผม ฯลฯ

4. การพัฒนาระบบพลังงานไฟฟ้าที่ไม่ใช้คาร์บอนด์ให้มากขึ้น ที่มีอัตราส่วนของการผลิตพลังงานที่ไม่ได้มาจากคาร์บอนด์ เช่น พลังไฟฟ้าจากเขื่อน (Hydro-Powered Electricity), พลังจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (Nuclear-Powered Plants), พลังจากกังหันลม (Wind-Turbines) พลังงานจากแสงอาทิตย์ (Solar-Cells) และลดการพึ่งพาพลังงานจากถ่านหิน น้ำมัปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ หรืออื่นๆที่มีฐานจากคาร์บอนด์

5. การใช้รถไฟฟ้าในลักษณะลูกประสม (Hybrid Cars) คือใช้พลังไฟฟ้าร่วมและประสานกับพลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuels) แต่พลังเชื้อเพลิงเหล่านี้จะเป็นแบบที่ผลิตจากพืชผลการเกษตรที่เป็นของเหลือใช้ หรือผลิตจากวัสดุเหลือใข้ ราคาต่ำ หรือมีประสิทธิภาพในการสร้างพลังงานอย่างสูง เช่น จากสาหร่าย (Algae) ที่สามารถใข้พื้นที่น้ำจืด น้ำทิ้ง นำทะเลชายฝั่ง อัตราวส่วนของการยังใช้พลังงานเชื้อเพลิงนี้ ขึ้นอยู่กับการวางระบบเครือข่ายพลังงานไฟฟ้า (Electric Grids) และการทำให้ต้นทุนพลังงานไฟฟ้านั้นถูกพอ และมาจากแหล่งที่ไม่ใช้คาร์บอนด์ได้มากน้อยเพียงใด ราคาพลังงานอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นตัวแปรที่จะเร่งหรือชะลอการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า

6. การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการอยู่อาศัย ในอีกด้านหนึ่งของการใช้ยานพาหนะเพื่อการเดินทางนั้น จะมีทางเลือกอื่นๆเพิ่มขึ้นมาก คนที่อยู่ในเมืองใหญ่ ส่วนหนึ่งจะเลือกการพักอาศัยอยู่ในที่ๆเดินทางไปทำงานสะดวก เช่น อยู่ในบ้านหรือที่พักในแนวตั้ง (Stacked up) คอนโดมีเนียมที่มีหลายชั้น การเดินทางไกล เป็นอันมาก ก็สามารถเลือกการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งมีความเร็วสูงกว่า เช่น รถไฟความเร็วสูง (High-Speed Trains) หรือใช้เครื่องบิน ดังในกรณีที่ต้องเดินทางเป็นระยะทางกว่า 500 กิโลเมตร แทนที่จะต้องขับรถไป ก็ใช้การเดินทางระบบสาธารณะ แล้วเมื่อถึงปลายทาง ก็จะมีบริการรถเช่า (Car Rentals) ซึ่งจะเป็นการเดินทางภายในเมือง หรือเดินทางระยะสั้นๆ

แต่ด้วยเหตุที่ทุกฝ่ายทราบดีว่า น้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องใช้การขุดเจาะ (Petroleum) นั้นจะหมดไปทุกที รถยนต์ที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีอนาคตอย่างมาก

No comments:

Post a Comment