Saturday, October 10, 2009

ถนนเรียบมหาสมุทร (Great Ocean Road)

ถนนเรียบมหาสมุทร (Great Ocean Road)

From Wikipedia, the free encyclopedia

Great Ocean Road
Surfcoast Highway

Australian Alphanumeric State Route B100.svg


The Great Ocean Road from Teddys Lookout in Lorne
Formerly Australian State Route 100.png

ความยาว
Length

241 กิโลเมตร (Km)

ทิศทาง
General direction

วิ่งโดยทั่วไประหว่างตะว้นออก ตะว้นตก
runs generally in an east west direction

จาก
From

Australian Alphanumeric State Route B100.svgSurfcoast Highway,
Torquay, Victoria

ผ่าน
via

Anglesea, Aireys Inlet, Lorne, Wye River, Kennet River, Apollo Bay,Lavers Hill, Port Campbell, Peterborough

ไปยัง
To

Australian Alphanumeric State Route A1.svgPrinces Highway,
Allansford, Victoria

ก่อสร้างเมื่อปี ค.ศ. Established

1932

ผมได้มีโอกาสไปใช้วันพักผ่อนที่เมืองเมลเบอร์น (Melbourne) ประเทศออสเตรเลีย (Australia) และในการนี้ได้ใช้บริการท่องเที่ยว เดินทางไปตาม Package Tour ไปทัศนศึกษาในหลายๆสถานที่ ทั้งนี้โดยเดินทางด้วยรถโดยสาร (Coach) ปรับอากาศขนาดความจุ 30 ที่นั่ง มีห้องสุขาอยู่ด้านท้าย ในการเดินทางไปท่องเที่ยวนี้ มีอยู่วันหนึ่งที่ไปเที่ยวตามเส้นทางที่เขาเรียกว่า The Great Ocean Road หากจะแปลเป็นไทยที่พอจะได้ความตรงกับสภาพเป็นจริง คือ ถนนเรียบมหาสมุทรอันยิ่งใหญ่


ถนนมีความยาวทั้งสิ้น 243 กิโลเมตรเรียบไปตามชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศออสเตรเลีย ระหว่างเมืองในรัฐวิคตอเรีย (the Victorian cities) ชื่อ เมืองทอร์คีย์ (Torquay ) และเมืองวาร์นัมบูล (Warrnambool) ลักษณะถนนมีความกว้างประมาณ 2 ข่องทาง ไปหนึ่งมาหนึ่ง ไม่กว้างนักพอสวนกันได้ มีการขยายช่องทางให้มีเป็นทางสำรองอีก 1 เป็นช่วงๆ เพื่อให้รถช้าได้เปิดโอกาสให้รถเร็วกว่าได้แซงขึ้นไป ไม่ต้องมารอติดขัดกันเป็นแถวยาย และเวลาใช้จริง เราจะพบว่าเขามีวัฒนธรรมเปิดช่องให้รถช้าและรถเร็วได้ใช้ร่วมกันได้อย่างอะลุ้มอล่วยกัน


หากถนนดังกล่าวเป็นการสร้างในเวลาปัจจุบัน ก็คงจะเป็นเรื่องไม่ยากอะไรนัก แต่เมื่อคิดถึงในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งใหม่ๆ ต้องใช้แรงงานทหารผ่านศึกจำนวน 3000 คน เป็นแกนหลักในการสร้างถนนแล้ว ก็นับว่าเป็นความพยายามที่ยิ่งใหญ่ เพราะเครื่องจักรในการทำถนนสมัยนั้นยังไม่ดีเท่าในปัจจุบัน


ถนนเกิดจาการสร้างงานเพื่อให้ทหารที่กลับจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และเพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารที่ได้เสียชีวิตจากการเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งแรกนี้ ถนนสายนี้มีภาพระหว่างทางที่สวยงามมากมายตลอดการขับผ่านสองข้างทาง ซึ่งจะมีจุดที่ให้นักท่องเทียวได้แวะชมและถ่ายภาพ


หากใครได้ไปเที่ยวเมืองเมลเบอร์น ประเทศออสเตรเลียแล้ว คงต้องหาเวลาว่างสักวัน ใช้บริการท่องเที่ยวของเขา ออกเดินทางไปตั้งแต่เช้า 7:30 น กลับถึงที่พักราวสัก 20:30 น. ไม่เกิน หากจะเดินทางไปด้วยรถยนต์เช่าก็ได้ ต้องมีสัก 4-7 คน เลือกขนาดรถเช่าให้พอเหมาะ แต่ควรใช้เวลาสัก 2-3 วัน หาสถานที่พักกลางทาง ใช้ระบบนำทางด้วย GPS ระหว่างทางแวะรับประทานอาหารที่เป็นแบบพื้นเมือง คือพวกปลา และอาหารทะเล แต่ถ้าสังเป็นขนม เช่น พวก cakes, pies, ไอศกรีม อาจพบว่า เขาต้องส่งผ่านระบบเครือข่ายเมืองใหญ่อย่างเมลเบอร์น


ผมเลือกรับประทานร้านอาหารระหว่างทาง สั่งจานสเต๊กปลา ซึ่งเป็นปลาดาบ (Marlin) คล้ายกับปลาอินทรีย์ เนื้อแน่น ขนาดประมาณ 300 กรัม เป็นขนาดจานใหญ่ มีสลัดผักปลอดสารพิษอย่างที่มีปลูกในประเทศไทย มีพวกข้าวหรือ Carbohydrate ให้เลือก ซึ่งก็จะเป็นพวกมันเป็นหัวอบ หรือมันทอด (French fries) หรือข้าวโพด อาหารในสไตล์นี้ ก็คล้ายๆกับร้านอาหารทั่วไปในอเมริกา ผมกินอย่างเต็มคราบ แล้วสั่งของหวาน พวก Pie และกาแฟมารับประทานปิดท้าย


สิ่งที่จะได้จากการท่องเที่ยวนอกจากชมวิว ถ่ายภาพ รับประทานอาหารตามใจชอบแล้ว อีกประการหนึ่งคือบรรยากาศที่หนาวเย็นพอเหมาะ ในช่วงเวลาที่บ้านเรามีอุณหภูมินอกบ้านที่ประมาณ 30-32 องศาเซลเซียส เราไปเที่ยวในช่วงเดือนกันยายน อุณหภูมิทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 10-15 องศาเซลเซียส ดูสบายๆ เวลารับลมทะเลเย็นๆแล้วทำให้ร่างกายตื่นตัว แต่ต้องระวังใส่เสื้อผ้าหนาพอ เผื่อลมที่แรง และทำให้อากาศเย็นจัดขึ้นไปอีก เขาเรียกว่า Wind Shield Factors อากาศที่ดูจะเย็นสักหน่อย ทำให้ร่างกายตื่นตัว ใช้พลังงานไปต่อต้านความหนาว ทำให้เราหิวเร็ว และจะรับประทานอะไรก็จะดูอร่อยไปเสียทั้งหมด สำหรับคนที่เป็นห่วงสุขภาพ เวลาท่องเที่ยวขมวิว ก็ต้องออกไปเดินชมวิวถ่ายภาพ อย่างเอาแต่กลัวหนาวหลบอยู่แต่ในรถ การได้เดินขยับแข้งขยับขา จะทำให้เราสดชื่น อีกประการหนึ่งที่ต้องระวังก็คือ ไปในทางสถานที่ท่องเที่ยว คนมีนับเป็นหลายๆร้อยคน แต่เขากลับไม่มีห้องน้ำให้เราใช้สะดวก เพราะประการหนึ่ง คือการหาน้ำจืดไว้คอยล้างห้องน้ำ ทำความสะอาดในบางช่วงทื่น้ำขาดแคลนนั้น เป็นปัญหา ดังนั้น จึงต้องประสานงานกับคนขับรถที่เขาจะจอดพักตามสถานที่ๆมีห้องสุขาบริการ หากจะใช้วิธีการแบบบ้านเรา คือปล่อยไป ยิงนกยิงกระต่าย หรือปล่อยปัสสาวะ หรืออุจาระกันตามใจชอบข้างทางนั้น เราคงอายเขา และไม่ใช่วัฒนธรรมท่องเที่ยวแบบฝรั่ง

No comments:

Post a Comment