Sunday, October 25, 2009

ผู้นำด้านผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอาจเป็นจีน

ภาพ รถยนต์ BYD E6
ที่ีเปิดตัวในงานแสดงรถยนต์เร็วนี้

ผู้นำด้านผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอาจเป็นจีน

Warren Buffett hasn't just seen the car of the future, he's sitting in the driver's seat. Why he's banking on an obscure Chinese electric car company and a CEO who - no joke - drinks his own battery fluid.

Warren Buffett takes charge

ข้อมูลได้มาจาก Marc Gunther

Last Updated: April 13, 2009: 9:29 AM ET

ประกอบ คุปรัตน์
ศึกษาและเรียบเรียง

Updated: Sunday, October 25, 2009
Keywords: รถยนต์ไฟฟ้า, เทคโนโลยี, พลังงาน, อุตสาหกรรม

ในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้ากำลังเป็นที่จับตามองในฐานะรถยนต์แห่งอนาคต หลายคนมองไปที่ค่ายรถยนต์ใหญ่ของโลก ทั้งในสหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรป แต่เหล่านี้อาจไม่ใช่ประเทศผู้นำการผลิตรถไฟฟ้า ประเทศที่จะกลายเป็นผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุด และประเทศที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลก อาจอยู่ที่จีน

จีนมีนโยบายที่พยายามแสดงออกว่า สามารถผลิตสินค้าที่ คุณภาพสู้ได้ในราคาที่ต่ำกว่าในด้านกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า จีนไม่ใช่ผู้นำทางด้านเทคโนโลยีใหม่นี้ แต่อยู่ในเกณฑ์ตามทัน หรือตามมาอย่างใกล้ๆ แต่จีนมีความได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิต คือด้านแรงงาน อะไรที่ต้องใช้ผลิตด้วยเครื่อง คนจีนสามารถใช้คนช่วยในบางส่วนได้ หากทำให้ราคาต้นทุนต่ำกว่า

Warren Buffett ได้ให้ความสนใจในการลงทุนในบริษัท BYD ของประเทศจีน BYD เป็นบริษัทที่คนในตะวันตกไม่รู้จัก แต่ทำไมเจ้าพ่อมหาเศรษฐีของโลกอย่าง Buffett จึงได้กล่าไปลงทุนในจีน ต่อไปนี้เป็นข้อมูลเบื้องหลังที่ Marc Guntner ได้นำเสนอ และผมได้นำมาเล่าต่อให้ฟัง

ในอีกด้านหนึ่ง จีนคือศักยภาพในฐานะผู้บริโภคสินค้ารายใหญ่ จีนมีประชากร 1300 ล้านคน ที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดของโลก มีชนชั้นกลางที่มีอำนาจซื้อได้ทันที 300 ล้านคน และจะเติบโตขยายฐานไปอีกอย่างรวดเร็ว ในข่วงที่เศรษฐกิจโลกตกต่ำ กิจการผลิตรถยนต์ในสหรัฐอเมริกา และเครือข่ายการผลิตที่มีอยูทั่วโลกของญี่ปุ่นเองก็มีปัญหา ในยุโรปก็หยุดชะงัก แต่จีนได้หันการผลิตสู่ตลาดภายนอก ให้ผลิตเพื่อตลาดภายในประเทศ เพียงทำให้เกิดแรงจูงใจใหม่ขึ้น รถยนต์ที่ผลิตได้ก็กลับเพิ่มเข้าสู่ท้องถนนในประเทศจีนเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 45

รถยนต์ไฟฟ้าเหมาะแก่ตลาดที่ต้องการใช้เพื่อความประหยัดอย่างจริงจัง ไม่ใช่ใช้เพียงเพื่อแสดงความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม โดยยอมจ่ายค่าซื้อรถไฟฟ้า หรือรถยนต์ลูกประสมที่มีราคาแพง ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้ว รถไฟฟ้า หรือรถลูกประสมต้องสามาราถประหยัดพลังงานที่คำนวณออกเป็นตัวเลขจริงๆ ต้องสามารถใช้ได้อย่างประหยัดจริงอย่างพิสูจน์ได้

รถยนต์ไฟฟ้า เหมาะสำหรับรถยนต์คันที่สองสำหรับในอเมริกาเหนือ และยุโรป ราคาต้องไม่แพง ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ผ่านมา ปัญหาใหญ่คือด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะในยุคแรกๆที่ยังเป็นข้อจำกัด ทำให้มีระยะทางวิ่งหลังจากซาร์ตไฟหนึ่งครั้งที่ยังไปได้อย่างจำกัด แต่นั้นเป็นเทคโนโลยีเก่าที่เราเห็นใช้กับรถวิ่งในสนามกอล์ฟ ที่แบตเตอรี่ยังเป็นแบบตะกั่วและน้ำกรดเดิม ที่มีประสิทธิภาพการให้เก็บและให้พลังงานต่ำ และมีน้ำหนักแบตเตอรี่มาก

แต่ปัญหาด้านเทคโนโลยีได้เปลี่ยนไป เนื่องจากพัฒนาการของแบตเตอรี่ที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือและเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาและกระเป๋าหิ้ว ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อเพื่อใช้กับรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ประกอบกับวิทยาการด้านวัสดุศาสตร์ใหม่ที่อาจได้วัสดุที่มีราคาไม่แพง และมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บพลังงานได้ดียิ่งขึ้นไปอีก

เทคโนโลยีในการผลิตแบตเตอรี่เพื่อใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนระบบอื่นๆ ยังเป็นในระดับเริ่มต้นในทุกประเทศ เกือบทั้งหมดเพิ่งเริ่มในระดับใกล้เคียงกัน และไม่ได้มาจากบริษัทผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในแบบเดิม แต่มาจากบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาทางด้านไฟฟ้า อิเลคโทรนิกส์ และผู้ผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งเทคโนโลยีแบตเตอรี่นี้ใกล้เคียงกับแบตเตอรี่ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจีนได้เป็นผู้นำในการผลิตอยู่แล้ว

เมื่อแบตเตอรี่ราคาถูกลง น้ำหนักเบาลง ประสิทธิภาพสูงขึ้น ระบบผลิตพลังงานที่เป็นพลังงานทางเลือก อย่างไฟฟ้าพลังน้ำ พลังจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กังหันลม พลังแสงอาทิตย์ เหล่านี้เมื่อมีเครือข่ายการจ่ายพลังงานที่ทั่วถึงในทุกที่ รถไฟฟ้าก็จะมีขีดความสามารถในการใช้งานที่สูงขึ้น

ในกรณีที่จะเล่านี้สัญญาณที่จะดูได้จากตลาดเงิน ตลาดทุน

คือ เพื่อนของ Warren Buffett ที่คบและเป็นหุ้นส่วนธุรกิจกันมายาวนาน Berkshire Hathaway (BRKB), โดย Charlie Munger ได้เสนอในปีที่ผ่านมาให้ลงทุนในบริษัทอย่าง BYD ในประเทศจีน โดย Charlie Munger ได้ชี้ให้เห็นลักษณะของผู้บริหารบริษัท BYD ที่น่าสนใจ

Munger ผู้มีอายุ 85 ปี รองประธานของบริษัท Berkshire Hathaway ได้บรรยายลักษณะผู้บริหารของ BYD คือ Wang Chuan-Fu ว่ามีลักษณะเป็นลูกประสมระหว่าง Edison (นักประดิษฐด้านอุปกรณ์ไฟฟ้าและอื่นๆอีกมาก) ที่สามารถมีความรู้ทางแก้ปัญหาด้านเทคนิค และบางส่วนเหมือน Jack Welch (นักบริหารมือเยี่ยม) ที่สามารถทำให้สิ่งต่างๆบรรลุผลได้ในทางการจัดการ

Munger เพื่อนของ Buffett ปัจจบันอายุ 85 เป็นรองประธานกรรมการของบริษัท Berkshire Hathaway

ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีที่ผ่านมา Berkshire Hathaway ได้ซื้อหุ้นร้อยละ10 ของบริษัท BYD ซึ่งเป็นมูลค่าประมาณ USD 230 ล้าน หรือประมาณ 8,050 ล้านบาท เงินระดับนี้ในสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นการลงทุนที่ไม่มาก แต่สำหรับในประเทศจีน สามารถนำไปทำให้เกิดการดำเนินการได้อย่างมากมาย การดำเนินการเหลือเพียงการรอได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลจีน ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้มีคนสังเกตเห็น

Munger คิดว่าบริษัท BYD ในประเทศจีน มีโอกาสที่จะเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้โดยขายเพียงรถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars) และการเป็นผู้นำในกิจการด้านพลังงานแสงอาทิตย์

ภาพ Wang Chuan-Fu
ผู้บริหารของ BYD

Wang Chuan-Fu เริ่มกิจการของ BYD ในปี ค.ศ. 1995 ด้วยการระดมเงินจากญาติๆ และเช่าพื้นที่ประมาณ 2000 ตารางเมตร และเริ่มกิจการผลิตแบตเตอรี่ชาร์ตไฟได้ (Rechargeable batteries) ทั้งนี้เพื่อเป็นการแข่งขันกับสินค้านำเข้าอย่าง Sony และ Sanyo เพียงในปี ค.ศ. 2000 BYD ได้กลายเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลังจากนั้น บริษัทได้เข้าสู่กิจการออกแบบและผลิตโทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วนให้กับ Motorola (MOT, Fortune 500), Nokia (NOK), Sony Ericsson, และ Samsung.

Wang ได้เข้าสู่วงการรถยนต์ในปี ค.ศ. 2003 โดยซื้อบริษัทที่รัฐบาลจีนเป็นเจ้าของที่ต้องใกล้ปิดกิจการ เขามีความรู้ไม่มากนักเกี่ยวกับกิจการผลิตรถยนต์ แต่ก็พิสูจน์ได้ว่าเขาเรียนรู้เร็ว ในเดือนตุลาคม BYD Sedan รถยนต์นั่งที่เรียกว่า F3 ได้กลายเป็นรถยนต์ขายดีที่สุดในประเทศจีน นำหน้าบริษัทมีชื่ออย่าง Volkswagen Jetta และ Toyota (TM) Corolla.

BYD ได้เริ่มขยายกิจการสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่มีระบบเครื่องยนต์ใช้น้ำมันสนับสนุน (plug-in electric car) การเคลื่อนไหวนี้นับว่านำหน้าบริษัทอย่าง GM ของสหรัฐอเมริกา, Nissan, และ Toyota ของประเทศญี่ปุ่น ระบบรถของ BYD เป็นแบบ Plug-in ที่เรียกว่า F3DM ซึ่งเรียกว่า Dual Mode คือมีสองระบบ สามารถไปได้ไกลกว่าบริษัทอื่นๆถึง 62 ไมล์ด้วยการชาร์ตไฟเพียงครั้งเดียว ในขณะที่ราคาที่ขายจะอยู่ที่ USD 22,000 ซึ่งราคาถูกกว่า Prius รถยนต์ลูกประสมของ Toyota ที่ขายดีเป็นที่หนึ่งในสหรัฐอเมริกา และถูกกว่า Chevy Volt ซึ่งรถของ BYD นี้คาดว่าจะออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 2010 การเข้าสู่ตลาดนี้ จะทำให้เลยหน้าคู่แข่งที่ใหญ่กว่า และทำให้สามารถผลิตและขายรถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาถูกพอในระดับคนทั่วไปซื้อหามาใช้ได้ ปัจจุบัน BYD มีคนทำงาน 130,000 คน มีโรงงานแยกย่อยออกไป 11 แห่ง 8 แห่งอยู่ในประเทศจีน และประเทศละหนึ่งแห่งในประเทศอินเดีย ฮังการี่ และโรเมเนีย

การเข้ามาดำเนินกิจการในสหรัฐนับว่ายังเล็กน้อย มีคนทำงานเพียง 20 คนมีที่ทำงานอยู่ ณ เมือง Elk Grove Village ในรํฐอิลลินอยส์ (Ill) และอีก 20 ทำงานอยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก ไม่ห่างจากบริษัท Apple ไปมากนัก BYD เป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือให้กับ Motorola RAZR กว่าร้อยละ 80 และผลิตแบตเตอรี่ให้กับ iPods และ iPhones และผลิตคอมพิวเตอร์ราคาถูกให้กับโครงการ “1 คอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก 1 คน ในโครงการแบบไม่แสวงกำไรให้กับ Nicholas Negroponte กิจการของบริษัทได้เติบโตร้อยละ 45 ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และมียอดสูงถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี ค.ศ. 2008

ความจริงการเข้าถือหุ้นใน BYD ของ Buffett นับว่าผิดจากกฎของเขาเอง ผมไม่รู้อะไรเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ หรือแบตเตอรี่ เขายอมรับ และผมก็ไม่รู้ว่ารถยนต์มันทำงานอย่างไร ในที่นี้ เขาหมายถึงรถยนต์ไฟฟ้า เขาเสริม แต่ Charlie Munger และ Dave Sokol เป็นคนฉลาด และเขาเข้าใจในเรื่องที่ทำอยู่ และนอกจากนี้มันเป็นเรื่องที่ไม่มีคำถามใดๆเลยเกี่ยวกับความสำเร็จของ BYD ที่ได้เริ่มต้นมาจากปี ค.ศ. 1995 ซึ่งได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงมากๆ

ภาพ Warren Buffett
อภิมหาเศรษฐี นักลงทุนขาวสหรัฐ

อีกข้อหนึ่งที่เป็นการยืนยันแก่ Buffett คือในครั้งแรก Charlie Munger and Dave Sokol ตั้งใจจะซื้อหุ้น BYD ในสัดส่วนร้อยละ 25 แต่ Wang ไม่รับข้อเสนอ และเขาบอกว่าต้องการทำธุรกิจกับ Buffett เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าของ Brand และเป็นการไปเปิดตลาดในสหรัฐอเมริกา Buffett กล่าวว่านั่นเป็นเรื่องที่ดี Wang ไม่ต้องการขายบริษัทของเขา นั่นเป็นสัญญาณที่ดี

สำหรับประเทศไทยที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับที่ 12-14 ของโลก แต่ต้องเข้าใจว่า เราไม่มีเทคโนโลยีที่เป็นของเราเอง ในขณะที่จีนและอินเดียมีเทคโนโลยีของเขาเอง มีระบบวิจัยและพัฒนาที่จะก้าวต่อไปแข่งขันกับประเทศตะวันตกได้

ประเทศไทยกำลังก้าวไปในทิศทางใด ในโลกที่น้ำมันปิโตรเลียมแพงขึ้นเป็นลำดับ เราคิดอย่างไรบ้างกับระบบคมนาคมและขนส่ง เราคิดอย่างไรบ้างกับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ หรือจะเพียงรอบริษัทผู้ผลิตยักษ์ใหญ่ที่มีอยู่เป็นฝ่ายกำหนดเพียงอย่างเดียว

No comments:

Post a Comment