ศึกษาและเรียบเรียง
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com
Keywords: ไข้หวัดนก, Bird Flu
หน่วยที่ 12. การดูแลป้องกันตนเองจากไข้หวัดนก
ตนเป็นที่พึงแห่งตน
คนทุกคนมีหน้าที่ในการดูแลป้องกันโรคไข้หวัดนกด้วยตนเอง
เด็กๆ และเยาวชนอายุตั้งแต่เริ่มอ่านออกเขียนได้ พึงมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะเรียนรู้
- เริ่มตั้งแต่เด็กอนุบาลและเด็กประถมศึกษา ควรได้รับการศึกษาในระดับที่ทำให้เขาไม่เข้าไปอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงติดโรคโดยไม่จำเป็น (Contacting Disease)
- นักเรียนระดับมัธยมศึกษาก็สามารถมีส่วนในการเฝ้าระวัง (Surveillance) นอกเหนือไปจากการดูแลตนเองแล้ว การนำข้อมูลข่าวสารสื่อไปยังบุคคลในครอบครัวก็จะเป็นประโยชน์ด้วย
- คนทำงานที่ต้องอยู่ในสภาพเสี่ยงต่อการติดโรค ก็ต้องเข้าใจวิธีการที่จะลดความเสี่ยง และมีมาตรการป้องกันตนเองตามสมควร และเมื่อมีอาการที่น่าสงสัยว่าจะติดโรค หรือเกิดโรคระบาดก็สามารถได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที
- การป้องกันโรคดีกว่าการรักษา หากต้องทำงานในอาชีพที่เสี่ยงต่อการติดโรค เช่นอาชีพเลี้ยงสัตว์ปีก การฆ่าสัตว์ปีก การต้องประกอบอาหารที่เกี่ยวกับสัตว์ปีก คนในอาชีพเหล่านี้ ก็ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรค
- การช่วยกันดูแล ลดปัญหาจากโรคระบาด โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ ถ้าป่วยก็ต้องให้หยุดพักรักษาตัว ต้องได้พักผ่อน ถ้าอาการป่วยมีความรุนแรง ไม่แน่ใจว่าจะเป็นหรือไม่ ก็ต้องไปหาแพทย์ และได้รับการตรวจทางด้านห้องทดลองให้แน่ใจว่าได้รับเชื้อประเภทใด
- การไม่ให้การป่วยด้านโรคทางเดินหายใจไม่แพร่ไปสู่ผู้อื่น ถ้ามีอาการไอ หรือจาม ก็ต้องมีผ้าปิดปากเพื่อป้องกันการฟุ้งของละอองน้ำลาย หลีกเลี่ยงการต้องอยู่ในที่อับ ห้องปรับอากาศที่ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น จำนวนมาก
- การลดการติดเชื้ออีกประการหนึ่งคือ การล้างมือฟอกสบู่ เป็นระยะๆ เพื่อลดการติดเชื้อที่จะแพร่ไปสู่ผู้อื่นๆ ได้
- เด็กนักเรียนเมื่อป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หลอดลมอักเสบ ซึ่งอาจกลายเป็นโรคไข้หวัดนก หรือโรคทางเดินหายใจที่ระบาดได้และรุนแรง ก็งดการต้องไปโรงเรียนเสีย และดูแลรักษาพยาบาลตามความเหมาะสม
No comments:
Post a Comment