Friday, May 1, 2009

หน่วยที่ 12. การประหยัดพลังงานในภาคอุตสาหกรรม

หน่วยที่ 12. การประหยัดพลังงานในภาคอุตสาหกรรม
( Industrial sector)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: cw310, พลังงาน, energy, energy, conservation

การประหยัดพลังงานในภาคอุตสาหกรรม ( Industrial sector)

Cogeneration คือการใช้พลังงานที่เกิดขึ้นสองทาง

ในระบบโรงไฟฟ้าทั่วไปในการผลิตไฟฟ้านั้นจะต้องมีหอระบายความร้อน (Cooling Towers) หอระบายความร้อนนี้จะได้ส่วนเกินจากการผลิต คือความร้อน สำหรับในประเทศทางยุโรปเหนือเช่น Scandinavia ก็จะนำความร้อนไปใช้เพื่อสร้างความอบอุ่นโดยตรง แต่สำหรับที่ๆ อากาศร้อนหรืออบอุ่นพอแล้ว ก็จะนำความร้อนไปใช้ในทางอื่นๆ

ตัวอย่างง่ายๆจากระบบรถยนต์ในเมืองหนาว เครื่องยนต์ใช้พลังงานในการขับเคลื่อน แต่ความร้อนที่เหลือ สามารถใช้ในการทำความอบอุ่นในห้องโดยสาร

ในการใช้พลังงานเพื่อผลิตเหล็ก หรือกระดาษ จะสามารถตัดการใช้พลังงานไปได้ร้อยละ 40 การกลั่นน้ำมันหรือผลิตอลูมิเนียม จะลดลงไปได้ร้อยละ 25 ทั้งนี้โดยการนำวัสดุที่ใช้ในการผลิตสร้างความร้อน มาเข้ากระบวนการที่เรียกว่า Cogeneration เพื่อให้ได้ทั้งไฟฟ้า และความร้อน

การดูแลการใช้น้ำ

การประหยัดน้ำ คือการประหยัดพลังงานอย่างหนึ่ง

ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา พลังงานที่เป็นไฟฟ้า และแก๊สธรรมชาติถูกนำไปใช้เพื่อน้ำ การสูบน้ำเพื่อการเกษตรร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานในรัฐทั้งหมด ซึ่งนับว่ามาก ในกรุงเทพฯ พลังงานไฟฟ้าเป็นอันมากเช่นกัน ถูกใช้เพื่อการควบคุมน้ำไม่ให้ท่วมกรุงเทพฯ

ในภาคอีสาน และชุมชนเลี้ยงปลาน้ำจืดจะใช้พลังงานเพื่อการสูบน้ำเข้าหรือออกจากบ่อปลา
ในการทำการเกษตรยุคใหม่ในประเทศไทย ต้องมีการใช้น้ำที่ต้องสูบ กักเก็บและส่งต่อที่ต้องใช้พลังงาน ทั้งเครื่องสูบน้ำด้วยพลังเครื่องยนต์ขนาดเล็ก หรือไฟฟ้า

การใช้พลังลมเพื่อการสูบน้ำ

ดังในประเทศยุโรป ได้มีการใช้พลังลมเพื่อการสูบน้ำ การเลื่อยไม้ การโม่เมล็ดธัญพืช ฯลฯ ได้มีการดำเนินการกันมาหลายร้อยปีแล้ว

การใช้กังหันลม

การใช้กังหันลมเพื่อการวิดน้ำเข้าไร่นา ฟาร์มเลี้ยงปลา หรือนาเกลือ ในปัจจุบันมีการใช้กันน้อยลง ด้วยหันไปใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็กที่เคลื่อนย้ายได้ง่ายมาทดแทน หรือใช้มอเตอร์จากพลังไฟฟ้ามาทดแทน แต่ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายพลังงานที่สูงขึ้น ทำให้ต้องกลับไปคิดหาวิธีใช้พลังทางเลือก ซึ่งพลังลมเป็นส่วนหนึ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ใกล้ทะเล เช่น จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ทางชายฝั่งทะเลตะวันออก ชลบุรี ระยอง ไปจนถึงตราด และทางชายทะเลภาคใต้ ตั้งแต่เพชรบุรี ไปจนถึง ปัตตานี ยะลา

กังหันลมยุคใหม่ (Modern windmill)

กังหันลมยุคใหม่ มีการออกแบบให้สอดคล้องกับอากาศพลศาสตร์มากขึ้น สามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ไปควบคุมการทำงาน เมื่อลมอ่อนตัว หรือลมแรงจัดด้วยพายุ

พลังงานที่ได้อาจนำไปใช้โดยตรง เช่นการสูบน้ำ หรือนำไปปั่นไฟฟ้า แล้วนำไฟฟ้าไปใช้อีกต่อหนึ่ง
ที่ Aalborg, ประเทศ Denmark

ในบริเวณชุมชนที่พักอาศัย ต้องมีการปลูกต้นไม้เพื่อความสวยงามและตามบ้านเรือน แต่เนื่องด้วยไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ จึงใช้น้ำประปา ซึ่งต้องใช้พลังงานในการจัดการกระบวนการกรอง และการจัดส่ง ซึ่งใช้พลังงานไปอย่างมากเช่นกัน และล้วนมีราคา

ในบริเวณที่มีการทำการเกษตรย่านริมฝั่งแม่น้ำโขง จะมีการใช้พลังงานเพื่อสูบน้ำขึ้นมาใช้ในการเกษตร แต่เนื่องจากระดับน้ำอยู่ในที่ต่ำ ต้องสูบขึ้นในที่สูง ดังนี้พลังงานที่ถูกใช้ไปจึงมาก

- Energy crisis
- Energy efficiency
- Energy efficiency in British housing
- Energy use in the United States
- Fuel economy
- Fuel efficiency
- Lighting
- Light pollution
- Oil phase-out in Sweden
- Oil price increases of 2004-2006
- Over-illumination
- Timeline of environmental events
- MIT Design Advisor
- Category:Low-energy building

การอ้างอิง
References

- ^ US Dept. of Energy, "Annual Energy Report" (July 2006), Energy Flow diagram
- ^ US Dept. of Energy, "Annual Energy Outlook" (February 2006), Table A2
- ^ http://www.consumerenergycenter.org/transportation/consumer_tips/speeding_and_mpg.html
- ^ US Dept. of Energy, "Buildings Energy Data Book" (August 2005), sec. 1.2.3
- ^ US Dept. of Energy, "Buildings Energy Data Book" (August 2005), sec. 1.3.3
- ^ Susan L. Burks, Managing your Migraine, Humana Press, New Jersey (1994) ISBN 0-89603-277-9
- ^ Cambridge Handbook of Psychology, Health and Medicine, edited by Andrew Baum, Robert West, John Weinman, Stanton Newman, Chris McManus, Cambridge University Press (1997) ISBN 0-521-43686-9
- ^ L. Pijnenburg, M. Camps and G. Jongmans-Liedekerken, Looking closer at assimilation lighting, Venlo, GGD, Noord-Limburg (1991)
- ^ Igor Knez, Effects of colour of light on nonvisual psychological processes, Journal of Environmental Psychology, Volume 21, Issue 2, June 2001, Pages 201-208
- ^ California Energy Commission, "California's Water-Energy Relationship" (November 2005), p.8
- Scott Davis, Dana K. Mirick, Richard G. Stevens (2001). "Night Shift Work, Light at Night, and Risk of Breast Cancer". Journal of the National Cancer Institute 93 (20): 1557-1562.
- Bain, A., “The Hindenburg Disaster: A Compelling Theory of Probable Cause and Effect,” Procs. NatL Hydr. Assn. 8th Ann. Hydrogen Meeting, Alexandria, Va., March 11-13, pp 125-128 (1997}
- Gary Steffy, Architectural Lighting Design, John Wiley and Sons (2001) ISBN 0-471-38638-3
- Lumina Technologies, Analysis of energy consumption in a San Francisco Bay Area research office complex, for (confidential) owner, Santa Rosa, Ca. May 17, 1996
การเชื่อมโยงสู่ภายนอก
External links
Conservation education:
- MIT Design Advisor
- Kilowatt Ours - a film about energy conservation and renewable energy
- Conservation within Capitalism
- The Home Energy Saver
- Energy Star
- Choosing Energy Efficient Products
- The Energy Saving Trust
- Choosing Energy Efficient Windows
- Energy conservation tips for apartments
- Energy Efficiency: First Things First
Energy Saving Resources for the Home
Dividing heating bill by ten to build for tomorrow(translated from french)
สถิติเกี่ยวกับพลังงานในสหรัฐอเมริกา
U.S. energy statistics:
U.S. Energy Information Administration
Buildings Energy Data - commercial/residential building consumption patterns
International collaborative research:
IEA Energy Conservation in Buildings and Community Systems Programme.
UNEP- Energy Branch:
UNEP- Energy Branch.

No comments:

Post a Comment