โลกที่ช่างน่าพิสมัย (What A Wonderful
World) โดย Louis Armstrong
ศึกษาและเรียบเรียง
ดนตรีโดย Louis
Armstrong
เนื้อร้องโดย (Lyrics
for) Bob Thiele และ George David Weiss
What a Wonderful World
จาก
Wikipedia, the free encyclopedia
ภาพ หลุยส์ อาร์มสตรอง (Louis Armstrong)
"What a Wonderful
World" เขียนและแต่งเพลงโดย Bob Thiele และ
George David Weiss, และแสดงเป็นครั้งแรกโดยศิลปินผิวดำ ชื่อ
Louis Armstrong, และออกสู่ตลาดเป็นเพลงเดี่ยวในฤดูใบไม้ร่วงปี
ค.ศ. 1967. โดยวัตถุประสงค์เป็นการออกมาเพื่อลดบรรยากาศของความขัดแย้งรุนแรงในยุคที่บรรยากาศทั่วไปเต็มไปด้วยการแบ่งแยกผิวและการเมืองที่รุนแรงในสหรัฐอเมริกา
เพลงเขียนเฉพาะสำหรับ Louis Armstrong ผู้เป็นศิลปินที่ได้รับความนิยมกว้างขวางทั่วไป
เพลงเป็นลักษณะให้ผู้ร้องได้แสดงความสดใสและชื่นชมกับชีวิตในแต่ละวัน
เพลงเป็นลักษณะให้ความหวัง ให้ความเชื่อมั่นในอนาคต
มีการกล่าวถึงเด็กที่เกิดขึ้นมาในโลก และมีสิ่งดีๆ ที่จะได้คิดถึง
เพลงเมื่อเริ่มนั้นไม่ได้รับความนิยมในสหรัฐมากนัก ขายได้น้อยกว่า 1,000 แห่ง แต่เป็นความสำเร็จอย่างมากในประเทศอังกฤษ และได้ติดอันดับ 1 ในประเภทเพลงเดี่ยวของประเทศอังกฤษ
"What a Wonderful World" was written by songwriters
Bob Thiele and George David Weiss, first performed by Louis Armstrong, and
released as a single in early fall 1967. Intended as an antidote for the
increasingly racially and politically charged climate in the U.S. (and written
specifically for Armstrong, who had broad crossover appeal), the song details
the singer's delight in the simple enjoyment of everyday life. The song also
has a hopeful, optimistic tone with regard to the future, with reference to
babies being born into the world and having much to which to look forward. The
song was not initially a hit in the States, where it sold less than 1,000
copies, but was a major success in the UK, reaching number one in the UK
singles chart.
เนื้อร้องของเพลง
เมื่อแปลความเป็นไทยได้ดังต่อไปนี้
I see trees of green, red
roses too
I see them bloom for me and
you
And I think to myself, what a
wonderful world
ฉันเห็นต้นไม้สีเขียว
ดอกกุหลาบสีแดง
ฉันเห็นมันบาน
เพื่อฉัน และท่าน
ฉ้นคิดกับตัวเอง
โลกช่างน่าพิสมัยเหลือเกิน
I see skies of blue and clouds
of white
The bright blessed day, the
dark sacred night
And I think to myself, what a
wonderful world
ฉันเห็นท้องฟ้าสีคราม
และเมฆสีขาว
วันที่สว่างและสดใส
กลางคืนที่ดูศักดิ์สิทธิ
ฉันคิดกับตัวเอง
โลกช่างน่าพิสมัยเหลือเกิน
The colours of the rainbow, so
pretty in the sky
Are also on the faces of
people going by
I see friends shakin' hands,
sayin' "How do you do?"
They're really saying "I
love you"
สีของสายรุ้ง
ช่างสวยเหลือเกินในท้องฟ้า
เช่นเดียวกับหน้าของผู้คนที่ผ่านไปมา
ฉันเห็นเพื่อนที่จับมือกันและกล่าวสวัสดี
เขาแสดงออกดังเขาจะพูดว่า
“ฉันรักเธอ/ท่าน”
I hear babies cryin', I watch
them grow
They'll learn much more than
I'll ever know
And I think to myself, what a
wonderful world
Yes, I think to myself, what a
wonderful world
ฉันได้ยินเสียงเด็กร้อง
ฉันได้เห็นเขาเติบโต
เขาได้เรียนรู้มากมาย
มากกว่าที่ฉันได้เคยรู้
และฉันคิดกับตัวเอง
โลกช่างน่าพิสมัยเหลือเกิน
ใช่แล้ว
ฉันคิดกับตัวเอง โลกช่างน่าพิสมัยเหลือเกิน
เพลงมีเนื้อร้องที่สั้นๆ
แต่ให้ความหมายที่ดี เป็นลักษณะการมองโลกที่สดใสอย่างที่เขาเรียกว่า Positive
Thinking เพราะในโลกนั้น
การมองเห็นสิ่งเดียวกันกับที่เขาเล่าให้ฟังนั้น
มันก็เป็นภาพโลกที่ทุกคนได้พบประสบมาเกือบจะโดยทั่วไป
คนๆหนึ่ง
เมื่อเห็นต้นไม้สีเขียว เห็นดอกกุหลาบสีแดง มันก็ทั่วๆ ไป
แต่คนบางคนมองเห็นมันเป็นความเติบโต เห็นสีแดงเป็นความสวยงาม
คนๆหนึ่ง
เห็นท้องฟ้าสีคราม เมฆสีขาว ใครๆ ก็เห็นเช่นนั้น บางคนอาจเห็นเป็นความอ้างว้าง
เห็นกลางคืนเป็นความมืดมิดที่น่ากลัว แต่คนๆ หนึ่งมองเห็นมันกลางวันก็สดใส กลางคืนเป็นความเงียบสงบ
ก็ดูดีงาม
คนๆหนึ่ง
เห็นสายรุ้ง เห็นและรับในความหลากหลาย หลายๆ สีคือความสวยงาม
บางคนอาจมองหลายสีของสรรพสิ่งอย่างเป็นเรื่องไม่คุ้นเคยและไม่ยอมรับ
แต่ความหลากหลายของสีรุ้งนั้นก็เหมือนสีผิวของคน คนมีขาว มีดำ มีสีเหลือง น้ำตาล
ความแตกต่างของคนต่างเผ่าพันธุ์ที่อยู่รวมกัน มันคือความสวยงาม
คนๆหนึ่ง
ได้ยินเสียงเด็กร้อง บางคนอาจได้ยินด้วยความรำคาญ
แต่คนบางคนได้เห็นสัญญาณของมนุษย์ที่กำลังเติบโต
และเชื่อมั่นว่าเขาจะได้เรียนรู้อีกมากมาย
คนบางคนมองโลกด้วยความหดหู่
แต่บางคนมองโลกใบเดียวกันนี้ด้วยความรู้สึกที่สดใส ทุกสิ่งงทุกอย่างสามารถมองเป็นแง่บวก
และมองอย่างสวยงามได้ทั้งสิ้น
No comments:
Post a Comment