Friday, May 1, 2009

หน่วยที่ 18. บทสรุปการแก้ปัญหาไข้หวัดนก

ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat)
ศึกษาและเรียบเรียง

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: ไข้หวัดนก, Bird Flu

หน่วยที่ 18. บทสรุปการแก้ปัญหาไข้หวัดนก

โรคไข้หวัดนกจะเป็นประเด็นของโลกและประเทศไทยอีกนาน

โรคได้ระบาดในระดับที่พบเชื้อโรคในสัตว์ปีกทั่วไปแล้ว สัตว์ปีก เช่น นก ไก่ เป็ด มีภูมิต้านทานมากขึ้นแม้มีเชื้อโรคอยู่ในตัว ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือการระบาดสู่สัตว์ชนิดอื่นๆ และระบาดได้ในหมู่สัตว์นั้น เช่น สุกร สุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงในบ้าน และที่สำคัญคือการระบาดสู่มนุษย์และมนุษย์สู่มนุษย์ และเกิดเป็นการระบาดใหญ่ที่เรียกว่า Pandemic หรือระบาดทั่วโลก

การระบาดในปัจจุบันกลายเป็นการระบาดที่มาจากเอเชียเป็นหลัก และใกล้ที่สุดคือจีนและเวียดนาม ประเทศไทยเองมีการเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อการบริโภคและการส่งออกมาก มีการเลี้ยงสัตว์ปีกเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้าน เช่นนกสวยงาม และไก่ชน ก็มีอยู่ทั่วไป โอกาสการแพร่ระบาดทั่วไปก็จะมีอย่างสูง

สิ่งที่ประชาชนจะทำได้ในขณะนี้ คือ

การเรียนรู้ รับข้อมูลข่าวสารอย่างตื่นตัวอยู่เสมอ เพียงแต่ว่าต้องไม่ใช่ตื่นตระหนกอย่างเกินเหตุ
การต้องมีกิจนิสัยที่ไม่เสี่ยงโดยไม่จำเป็น เช่น การเลี้ยงสัตว์ปีกที่เสี่ยงเช่นไก่ชน แล้วยังมีพฤติกรรมเสี่ยง ดูดเสมหะจากปากไก่ด้วยปากคน หรือ การฆ่าสัตว์ปีกเพื่อการบริโภค ก็ต้องรู้ว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะปลอดภัย จะกินสัตว์ปีก จะกินอย่างไรด้วยอุณหภูมิทำให้สุกระดับใด จึงจะปลอดภัย

สำหรับนักวิชาการด้านสาธารณสุข การดูแลป้องกันโรคระบาด ก็ต้องมีการต้องศึกษาและหาต้นแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุด การสื่อสารที่ต้องเป็นมากกว่าทางเดียว และเป็นมากกว่า Mass Communication เท่าที่มีอยู่ มิฉะนั้นการแก้ปัญหาจะยังเป็นข้อจำกัด

โรคไข้หวัดนกเป็นเพียงกรณีศึกษาหนึ่งของปัญหาโรคระบาด และปัญหาด้านการเฝ้าระวังโรคและการดูแลสุขภาพ แต่ปัญหาโรคอื่นๆ เช่น SARS โรคเอดส์ โรคมาลาเรีย และอื่นๆ มีแนวโน้มที่ปัญหาจะเดินรอยตามในลักษณะเดียวกัน การสื่อสารและให้การศึกษาแก่ประชาชนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง

No comments:

Post a Comment