Friday, May 1, 2009

หน่วยที่ 5. ธรรมชาติของโรคไข้หวัดนก

ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat)
ศึกษาและเรียบเรียง

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: ไข้หวัดนก, Bird Flu

หน่วยที่ 5. ธรรมชาติของโรค

โรคที่เกิดจากนก

โรคไข้หวัดนก หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Avian influenza, Birf Flu, หรือ Bird Flue จัดเป็นโรคติดต่อได้จากนกหรือสัตว์ปีก เป็นเชื้อไวรัสประเภท Influenza หรือในกลุ่มที่บ้านเราเรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่" ซึ่งโรคดังกล่าวได้มีการค้นพบเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว และเป็นการระบาดไปทั่วโลก

นกทุกชนิดถูกสงสัยว่าเป็นพาหะของการะบาด และเกี่ยวข้องกับโรคไข้หวัดนกได้ แต่นกบางชนิดมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคมากกว่าชนิดอื่นๆ การติดเชื้อจะมีผลอาการที่ต่างกันไป มีตั้งแต่เป็นอาการป่วยเล็กน้อย ไปจนถึงการะบาดล้มตายอย่างกว้างขวาง และกลายตัวเองเป็นโรคระบาดขึ้น ในกรณีที่มีการป่วยในระดับทำให้เสียชีวิตได้อย่างมากๆ นี้ เรียกในภาษาอังกฤษว่า highly pathogenic avian influenza คือได้ค้นพบแล้วและเป็นการป่วยไข้หวัดนกที่ยืนยัน อาจมีการป่วยที่ทำให้ตายได้อย่างรวดเร็ว และการตายอาจสูงถึงเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์

มีถึง 15 สายพันธ์ย่อย (15 Subtypes)

จากการศึกษา มีเชื้อไวรัสในประเภทไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ถึง 15 สายพันธุ์ที่ระบาดในนกหรือสัตว์ปีก ซึ่งทำให้เกิดเป็นแหล่งเพาะเชื้อได้อย่างกว้างขวาง เพราะจำนวนนกทั้งที่มีตามธรรมชาติ และที่เลี้ยงเพื่อการบริโภคและเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง จนถึงปัจจุบันนี้ สายพันธุ์ที่มีการระบาดรุนแรงจัดเป็นสายพันธุ์ย่อย H5 และ H7

การเคลื่อนย้ายของนกเป็ด

การที่สัตว์ปีก สัตว์ปีกที่อาศัยน้ำและอยู่ตามริมน้ำ ซึ่งได้แก่เป็ดและห่านป่า จัดเป็นแหล่งแพร่ไข้หวัดนกที่สำคัญ และนกหรือสัตว์ปีกดังกล่าวจัดเป็นพวกที่มีภูมิต้านทานต่อไข้หวัดนกสูงที่สุด หมายความว่าได้รับโรค แต่ไม่มีอาการป่วยชัดเจน เป็นพาหะนำโรค แต่ตัวเองไม่เป็นอะไร สัตว์ปีกที่เรานำมาเลี้ยง (Domestic Poultry) เช่น ไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ด ห่าน ไก่งวง นับเป็นตัวที่ถูกสงสัยว่านำโรคมาแพร่ต่อและทำให้เกิดโรคระบาดได้อย่างรวดเร็ว

ตัวหนาการที่มีการสัมผัสโดยตรงระหว่างนกป่ากับสัตว์ปีกต่างๆ ที่ได้เลี้ยงไว้ จึงทำให้เกิดการระบาดได้บ่อยครั้ง การซื้อขายสัตว์ปีกที่มีชีวิตตามตลาดสัตว์ปีก ก็นับว่ามีบทบาทต่อการกระจายโรคระบาดเช่นกัน

ธรรมชาติการระบาด

จากการวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่าเชื้อไวรัสที่มีอาการโรคไม่รุนแรง แต่เมื่อมีการแพร่พันธุ์ไปสักระยะในหมู่สัตว์ปีก จะมีการกลายพันธุ์ กลายเป็นไวรัสที่มีอันตราย (highly pathogenic viruses) ปี ค.ศ. 1983 -1984 ได้เกิดโรคระบาดในสหรัฐอเมริกา เป็นสายพันธุ์ H5N2 ที่นับว่าไม่ก่อให้เกิดการตายสูงนักในระยะแรก แต่ในระยะเวลาประมาณ 6 เดือนต่อมา ได้ทำให้เกิดโรคระบาดที่ทำให้เกิดการตายได้ในสัตว์ปีร้อยละ 90 การแพร่ระบาดทำให้ต้องมีการทำลายสัตว์ปีกไปไม่น้อยกว่า 17 ล้านตัว คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ US$ 65 ล้าน

ในช่วงปี ค.ศ. 1999 - 2001 ได้เกิดการระบาดในประเทศอิตาลี จัดเป็นสายพันธุ์ที่ไม่มีความรุนแรง (low pathogenicity) อยู่ในกลุ่ม H5N2 แต่ในช่วงเวลา 9 เดือน ได้กลายพันธุ์ไปสู่สายพันธุ์อันตรายรุนแรง (Highly pathogenic form) ทำให้มีสัตว์ปีกที่ตาย และต้องถูกทำลายสัตว์ปีกที่ติดเชื้อในระดับไม่รุนแรง ไปจนต้องทำลายสัตว์ปีกปกติเพื่อเป็นมาตรการป้องกันไปทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 13 ล้านตัว

No comments:

Post a Comment