Friday, May 1, 2009

หน่วยที่ 2. ใช้พลังงานทุกอย่างให้มีประสิทธิภาพ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: cw310, พลังงาน, energy, energy, conservation

หน่วยที่ 2. ใช้พลังงานทุกอย่างให้มีประสิทธิภาพ
ใช้พลังงานทุกอย่างให้มีประสิทธิภาพ

คนทุกคน ทุกชุมชน และสังคม ต้องมีการใช้พลังงานไม่มากก็น้อย แต่ทำอย่างไรจึงจะใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้แต่น้อย ใช้เท่าที่จำเป็น และใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในประเทศสหรัฐอเมริกานับเป็นประเทศที่ใช้พลังงานมากที่สุดในโลก โดยกระทรวงพลังงานของสหรัฐชื่อว่า U.S. Department of Energy ได้กำหนดให้การใช้พลังงานแบ่งออกเป็น 4 ด้าน กล่าวคือ (1) การใช้เพื่อการขนส่ง – Transportation, (2) การใช้ตามบ้านเรือน – residential (3) การใช้ในเชิงพาณิชย์ – commercial และ (4) การใช้ในอุตสาหกรรม - industrial

การใช้พลังงานเพื่อการขนส่งและการใช้ตามบ้านเรือน โดยผู้ใช้แต่ละคนและครอบครัว จัดเป็นประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมด และเป็นการใช้ที่ควบคุมได้ด้วยการต้องเปลี่ยนวิธีปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าแต่ละคน ส่วนการใช้เชิงพาณิชย์ และการใช้ในอุตสาหกรรมนั้นเป็นรวมเป็นประมาณอีกครึ่งหนึ่ง กำหนดโดยภาคธุรกิจ รัฐบาล และฝ่ายควบคุมการจัดการด้านพลังงานขององค์การต่างๆ ความจำเป็นต้องมีนโยบายด้านพลังงานแห่งชาติ (National energy policy ) จึงเป็นผลที่สำคัญสำหรับการประหยัดพลังงานในทั้ง 4 ด้านดังกล่าว
ใช้การขนส่งและเดินทางอย่างประหยัด ( Transportation sector)

การขนส่ง 28
ที่พักอาศัย 21
อุตสาหกรรม 33
พาณิชย์ 17
ข้อมูลด้านการใช้พลังงานในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2004
สถิติจากประเทศสหรัฐอเมริกา

ประเทศไทยคงต้องมีการศึกษา ติดตามสภาพการใช้งาน ธรรมชาติการใช้พลังงาน และนำมาวิเคราะห์ เผยแพร่อย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นการให้การศึกษาแกประชาชน เยาวชนคนรุ่นใหม่ สร้างความตระหนัก และหาหนทางในการใช้ชีวิตและการทำงานที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

การขนส่งและเดินทางอย่างประหยัด

โดยทั่วไป ภาคการขนส่ง (Transportation) ซึ่งรวมถึงการใช้ยานพาหนะทุกชนิด สำหรับทั้งการใช้ส่วนบุคคล ไปจนถึงเครื่องบิน พลังงานเหล่านี้มีใช้กันประมาณร้อยละ 28 ของพลังงานทั้งหมด และประมาณร้อยละ 65 ของพลังงานที่ใช้เป็นพวกน้ำมันเชื่อเพลิง ทั้งที่เป็นพวก Gasoline และน้ำมัน Diesel สำหรับการใช้ในรถไฟ เรือเดินสมุทร รถบรรทุกขนาดใหญ่ เหล่านี้ใช้ประมาณร้อยละ 20 ในการเดินทางด้วยเครื่องบิน ซึ่งมีการใช้น้ำมันอีกประเภทหนึ่งนั้นใช้ประมาณร้อยละ 15

การประหยัดเริ่มจากวิกฤติ

วิกฤติน้ำมันเริ่มแต่ปี ค.ศ. 1970 ได้เกิดปัญหาด้านพลังงานสำรอง (Oil Supply Crises) และมีความรุนแรงในปี ค.ศ. 1975 จนทำให้ต้องมีโปรแกรมกำหนดมาตรฐานการใช้น้ำมันอย่างประหยัด เรียกว่า Corporate Average Fuel Economy (CAFE) program ซึ่งทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องรีบพัฒนารถยนต์ที่ประหยัดพลังงาน โดยจะเห็นได้ว่าในช่วง 10 ปีต่อมานั้น รถยนต์ที่ผลิตออกมาจะมีมาตรฐานการประหยัดพลังงานดีขึ้น จนกระทั่งในช่วงทศวรรษปีค.ศ. 1990 เป็นต้นมา ได้มีการหย่อนยาน และได้เกิดความนิยมในรถประเภทสปอร์ตเอนกประสงค์ (sport utility vehicles) รถบรรทุกเล็ก (pickup trucks) และรถประเภทรถแวนขนาดเล็ก minivans ซึ่งจึงอยู่ในประเภทมาตรฐานรถบรรทุกเล็ก (Light Truck)

วิกฤติน้ำมัน ค.ศ. 2005-2006

ในช่วงปี ค.ศ.2005-2006 ได้เกิดวิกฤติการน้ำมันที่ทำให้ปริมาณน้ำมันสำรองในโลกได้ลดลง แต่ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นโดยทั่วไป และในประเทศพัฒนาใหม่ขนาดใหญ่อย่างประเทศจีน มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง มีการขยายตัวการบริโภคน้ำมันอย่างกว้างขวาง เพื่อตอบสนองต่อการเติบโตของประเทศ
ในประเทศไทยได้มีปรากฏการณ์ที่น้ำมันเชื้อเพลิงได้ขึ้นราคาไปที่กว่า 30 บาทต่อลิตร ทำให้รัฐบาลต้องกลับไปทบทวนนโยบายด้านพลังงานทั้งหมดใหม่อีกครั้ง และสำหรับประชาชนทั่วไป ต้องมีการคิดกันเรื่องการประหยัดพลังงาน และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อให้ปัญหาวิกฤติด้านพลังงานไม่มากระทบและทำลายคุณภาพชีวิตของประชาชนมากจนเกินไป

ในช่วงปลายปี ค.ศ. 2008 ราคาน้ำมันได้ขึ้นไปถึงระดับ USD140 ต่อแบเรล ทำให้ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลขึ้นไปในระดับ 40 บาทต่อลิตร ก่อนที่จะลดลงมาด้วยวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรง และหดตัวลง ราคาน้ำมันได้กลับลดลงมา แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาปริมาณน้ำมันสำรองในโลกก็จะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ จำเป็นที่จะต้องหาวิธีการพัฒนาพลังงานทดแทน และต้องใช้พลังงานทุกด้านที่มีอยู่อย่างประหยัด

การมีนโยบายด้านภาษี

การจะสร้างการประหยัดพลังงานต้องเริ่มและนำมาจากภาครัฐ และต้องเป็นนโยบายที่ชัดเจน ปฏิบัติได้ มีความต่อเนื่อง ทำอย่างจริงจัง เพราะวิกฤติพลังงานขาดแคลนนั้นจะยิ่งมีความรุนแรงและหนักขึ้นเรื่อยๆ
การใช้นโยบายด้านภาษี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการประหยัดพลังงานในสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า CAFE Program นั้น รัฐบาลสหรัฐจะพยายามส่งเสริมให้มียานพาหนะที่ประหยัดพลังงาน เขาส่งเสริมด้วยการมีนโยบายด้านภาษี เช่นในปี ค.ศ. 2002 ผู้เสียภาษีสามารถได้รับการลดหย่อนภาษี (Tax Credits) สำหรับการใช้รถยนต์ลูกประสม (Hybrid Vehicles) แต่ถ้าใครยังใช้รถที่กินน้ำมัน อย่างที่เขาเรียกว่า Gas-guzzler ก็จะต้องเสียภาษีสูง ซึ่งโดยรวมทำให้ผู้ใช้รถยนต์อย่างประหยัดเสียภาษีน้อยลง รัฐบาลเก็บภาษีได้น้อยลง เพราะประชาชนหันไปใช้รถที่ประหยัดน้ำมัน บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ก็ต้องหันไปผลิตรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพการใช้น้ำมันที่ดีขึ้น

ดังเช่นส่งเสริมด้วยการลดภาษีสำหรับรถยนต์ประหยัดน้ำมัน และการเก็บภาษีสำหรับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเปลือง หรือรถยนต์นั่งขนาดใหญ่หรือรถหรูเป็นต้น

การขนส่งสาธารณะ

หากการเดินทางหรือขนส่งสินค้าเป็นไปได้อย่างสะดวกและประหยัดด้วยการใช้วิธีการขนส่งสาธารณะ คือมีการใช้ร่วมกัน ก็จะทำให้การขนส่งหรือการเดินทางนั้นๆ เป็นไปด้วยความประหยัด และในการขนส่งและเดินทางทุกครั้งและทุกประเภทนั้นต้องอาศัยวิธีการเดินทางที่สะดวก มีประสิทธิภาพ และประหยัดที่สุด

เครื่องบินขนาดใหญ่

เครื่องบิน (Planes) ขนาดใหญ่

Airbus A380 เครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่รุ่นใหม่ จุผู้โดยสารได้กว่า 500 คน ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่ารุ่นก่อนๆ การบินข้ามประเทศในระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร หรือหลายพันกิโลเมตรนั้น การโดยสารเครื่องบินเป็นทางเลือกหลักในปัจจุบัน

เครื่องบินประหยัดน้ำมัน

เครื่องบิน Boeing 787 ประหยัดน้ำมัน

จุผู้โดยสารได้ 290-330 คน เหมาะสำหรับเส้นทางประมาณ 4600-5650 กิโลเมตร ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงกว่าระบบก่อนหน้านี้ถึงร้อยละ 20

รถไฟ

โดยตรรกะทั่วไปแล้ว รถไฟวิ่งบนราง มีความเสียดทานที่จะทำให้ต้องเปลืองพลังงานกว่ารถบันทุกและรถโดยสารที่ต้องวิ่งบนล้อยาง ที่ต้องใช้แรงในการขับเคลื่อนมากกว่า แต่รถไฟมักจะมีปัญหาเรื่องระบบการบริหารในแบบเดิมที่ติดกับระบบราชการ (Bureaucracy) รวมทั้งระบบรถไฟของไทย หรือในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาแพงขึ้น เทคโนโลยีรถไฟทำให้วิ่งได้ด้วยความเร็วสูงขึ้นกว่ารถยนต์บนท้องถนน และใกล้กํบเครื่องบินที่บินในระยะสั้น

รถไฟจึงกลับมาได้รับความนิยม และทำให้หลายประเทศต้องมีการยกเครื่องระบบการขนส่งโดยรถไฟกันอีก รวมทั้งประเทศไทย

รถไฟ (Trains)

รถไฟดังที่เห็นในภาพ เป็นรถที่วิ่งได้ด้วยความเร็ว 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีที่นั่งภายในสะดวกสบายกว่ารถโดยสาร เป็นรถไฟธรรมดาที่วิ่งด้วยความเร็วสูงขึ้น ประหยัดพลังงาน

รถไฟความเร็วสูง (High Speed Trains)

รถไฟความเร็วสูงมีการพัฒนากันในประเทศญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน โดยรถ TGV ของฝรั่งเศสมีความเร็ววิ่งปกติได้ที่ 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นับเป็นการเสนอบริการแข่งขันกับการใช้เครื่องบินในระยะทางประมาณ 300-500 กิโลเมตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีความได้เปรียบที่สามารถนำผู้โดยสารเข้าสู่ใจกลางเมืองได้ และสามารถแวะจอดกลางทางได้เป็นระยะบ้าง

No comments:

Post a Comment