Friday, May 1, 2009

หน่วยที่ 13. การดูแลผู้ป่วยจากไข้หวัดนก

ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat)
ศึกษาและเรียบเรียง

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: ไข้หวัดนก, Bird Flu

หน่วยที่ 13. การดูแลผู้ป่วยจากไข้หวัดนก

สำหรับในทุกครัวเรือน อาจมีผู้เจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ตั้งแต่ หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ หลอดลมอักเสบ และอื่นๆ การเฝ้าระวังจึงเป็นบทบาทหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้มากนักเช่น เด็กเล็ก และคนชรา

การดูแลเฝ้าระวัง (Monitoring) การดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยในช่วงของการระบาดเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องใช้ความรู้มากเป็นพิเศษ ผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ว่าใครเป็นกลุ่มเสี่ยง เขามีประวัติไปอยูในสิ่งแวดล้อมที่จะติดเชื้อมาจากที่ใดๆ หรือไม่ อาการนั้นมีความรุนแรง และมีอาการน่าสงสัยว่าจะติดเชื้อไข้หวัดนกหรือไม่ เช่น

  • อาการไข้ขึ้นสูงเกิน 28 องศาเซียลเซียส
  • อาการหลอดลมอักเสบ หายใจไม่ออก เจ็บหน้าอก ตามธรรมดาอาจคิดว่าเป็นหลอดลมอักเสบ แต่ในช่วงความเสี่ยงของไข้หวัดนกระบาด ก็ต้องเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น หรือให้ไปอยู่ในความดูแลของแพทย์
  • การอยู่ในบริเวณที่มีโรคระบาด หรืออาจมีโรคระบาด เช่นมีการเลี้ยงไก่ เป็ด และยิ่งมีสัตว์เลี้ยงล้มตาย
  • การดูแลที่ต้องให้เหมาะแก่ความเสี่ยงของโรค (Appropriate Care) การต้องให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ตลอดจนเจ้าบ้านที่ต้องรับผิดชอบต่อลูกบ้าน เจ้าของกิจการ ครูอาจารย์และผู้บริหารสถานศึกษา ฯลฯ ต้องมีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ การมีระบบปฐมพยาบาลขั้นต้นที่ดีจะเป็นการช่วยได้มาก วัยและสุขภาพของผู่ป่วย การต้องรู้ประวัติการป่วย โอกาสการติดโรคมาจากที่ใดๆ ในครอบครัวและสภาพแวดล้อมทางการอาชีพ มีอะไรเป็นตัวแปรความเสี่ยง เช่นการเลี้ยงสัตว์ปีก การทำงานที่ต้องพบปะผู้คนจำนวนมากๆ การดูแลเฝ้าระวังในชั้นเบื้องต้นนั้นต้องอาศัยดุลยพินิจ การตื่นตระหนกเกินกว่าเหตุ พาส่งโรงพยาบาลทั้งที่ยังไม่ควรนำส่ง ทำให้คนไข้ไปแน่นสถานที่ โอกาสที่โรงพยาบาลจะดูแลผู้ป่วยที่มีอาการหนัก มีทรัพยากรที่เพียงพอสำหรับการทำงาน ก็ลดลงไป
แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าชะล่าใจ ไม่นำส่งในเวลาอันควร เมื่อไปถึงโรงพยาบาล ก็จะสายไปเสียแล้วการดูแลผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดนกนั้น พบว่า ถ้าพบแต่เนิ่นๆ และได้มีการให้ยาต้านไวรัส อาการก็จะไม่รุนแรง แต่ถ้าอาการหนักมาแล้ว ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตก็จะมีสูงมาก

No comments:

Post a Comment