ทฤษฎีและเทคนิคของอารยะขัดขืน
ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat)
แปลและเรียบเรียง
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com
Keywords: cw210, การเมืองการปกครอง, สันติศึกษา, Civil Disobedience, อารยะขัดขืน,
Updated: Friday, May 01, 2009
Theories and techniques
ความหมาย
ในการต่อสู้ด้วยวิธีการอารยะขัดขืน (Civil Disobedience) อาจหมายถึงผู้ประท้วงอาจกระทำการผิดกฎหมายบางข้อ เช่น การรวมกลุ่มกันเข้าปิดล้อม หรือยึดสถานที่อย่างผิดกฎหมาย ผู้ประท้วงจะต้องปฏิบัติอย่างมีอารยะ (civil disorder) ด้วยคาดหวังว่าท้ายสุด อาจจะถูกจับกุมคุมขัง บางคนอาจจะต้องคาดได้ว่า ท้ายสุดอาจถูกทำร้ายโดยเจ้าหน้าที่ ผู้ประท้วงจะต้องมีการฝึกที่จะตอบโต้อย่างไรกับเจ้าหน้าที่อย่างอารยะ โดยพฤติกรรมที่แสดงออกนั้นจะเป็นไปอย่างมีสติ สงบ ต่อต้านโดยไม่ข่มขู่เจ้าหน้าที่
หลักปฏิบัติ
ตัวอย่างในการต่อสู้ของมหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) ได้ให้กฏในการใช้อารยะขัดขื่นในการต่อสู้เพื่ออินเดียเป็นอิสระจากจักรวรรดิอังกฤษ
1. ในการต่อต้านอย่างอารยะ (หรือ satyagrahi) ผู้ประท้วงหรือต่อต้านจะต้องไม่แสดงความโกรธ
2. ผู้ประท้วงจะยอมรับการกระทำจากความโกรธของฝ่ายตรงข้าม
3. ในการกระทำนั้น ผู้ประท้วงจะยอมรับการลงโทษจากฝ่ายตรงข้าม โดยไม่มีความหวาดกลัว ไม่ว่าการกระทำนั้นๆจะรุนแรงเพียงใด
4. เมื่อฝ่ายมีอำนาจต้องการจับกุมผู้ประท้วงที่ยึดหลักต่อสู้อย่างอารยะ ผู้ประท้วงจะยอมรับการจับกุม จะไม่ต่อต้าน เมื่อต้องมีการยึดทรัพย์และสิ่งของ เขาจะยอมให้ฝ่ายมีอำนาจกระทำไป
5. ถ้าผู้ประท้วงอย่างมีอารยะ (Civil Resister) เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดูแลทรัพย์สินใดๆ (Trustee) อันไม่ใช้ของเขาอง เขาจึงจะปฏิเสธที่จะยอม แม้การต่อต้านของเขานั้นอาจนำมาซึ่งชีวิต แต่กระนั้น เขาจะไม่ตอบโต้ด้วยความรุนแรง
6. การตอบโต้ที่จะไม่กระทำนั้น รวมถึงการด่าทอ การสาบแช่งด้วย
7. ดังนั้น ผู้ประท้วงอย่างมีอาระ จะไม่ด่าทอฝ่ายตรงกันข้าม และจะไม่เข้าร่วมกับกิจกรรมที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณที่จะต่อสู้อย่างอหิงสา (spirit of ahimsa) หรือสันติวิธี
8. ผู้ต่อต้านอย่างอหิงสา จะไม่เคาระธงของอังกฤษ (the Union Flag) แต่จะไม่กระทำการด่าทอเจ้าหน้าที่ (Officials) ชาวอังกฤษ (English) หรือชาวอินเดีย (Indian) ที่เป็นฝ่ายตรงกันข้าม
ในกรณีนี้หมายถึงเมื่อชาวอินเดียต่อสู้เพื่อเอกราชของประเทศอินเดียจากจักรภพอังกฤษ
9. ในการต่อสู้นั้น หากมีใครในฝ่ายตนด่าทอ โจมตี หรือจะทำร้ายเจ้าหน้าที่ ผู้ต่อต้านอยางอหิงสา จะต้องปกป้องเจ้าหน้าที่เหล่านั้นจากการด่าทอ โจมตี หรือความเสี่ยงต่อชีวิต
การใช้หลักการ
การใช้หลักการนี้ ต้องคำนีงถึงเวลา และสถานที่ คานธีเคยต่อสู้กับผู้ปกครองคนผิวขาวในอัฟริกาใต้ เขากระทำได้ในระดับหนึ่ง แต่ในที่สุดก็ต้องกลับประเทศอินเดีย หรือแม้แต่เนลสัน แมนเดลล่า (Nelson Mandela) ซึ่งเป็นคนผิวดำที่ต้องใช้เวลาถึง 26 ปีในการต้องถูกจองจำ เพราะเขาต่อสู้เพื่อสิทธิอันชอบธรรมของคนผิวดำในการใช้สิทธิในการปกครองตนเอง จนโลกทั้งโลก ได้กดดันประเทศอัฟริกาใต้ ในที่สุด จึงถึงเวลาที่ประเทศจะต้องเปิดสู่การปกครองโดยเสียงคนส่วนใหญ่ของประเทศ
ในขณะเดียวกัน ไม่มีชาวยิวที่ต่อสู้กับนาซีเยอรมันด้วยสันติวิธีอย่างได้ผล ทั้งก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะมันไม่ใช่เวลาและสถานที่ในการต่อสู้อย่างสันติวิธี เมื่อ โลกได้เข้าสู่ยุคประกาศสงครามกันแล้ว และการแพ้ชนะกันอย่างเด็ดขาด จึงเป็นทางเลือก
ทางเลือกในประเทศไทย
กลับมาประเทศไทยในยุคปัจจุบัน
ในช่วง 4 ปีหลังนี้ หลายฝ่ายมองด้วยความวิตกว่า บ้านเมืองแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย มีคนออกมารณรงค์เรื่องความต้องการให้มีความโปร่งใสในระบบราชการและการเมือง มีคนออกมาปกป้องและต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผยและในที่ลับ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมดังเช่นในกรณีขององคมนตรี มีการต่อต้านและสนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร มีออกมารณรงค์ว่าต้องการประชาธิปไตยใหม่ การเมืองใหม่ และที่ต้องการประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยไม่มีทหารหรือสถาบันอื่นๆ นอกจากประชาชนมากำกับการได้มาซึ่งรัฐบาล
มีการต่อต้านและรณรงค์ที่ใช้สัญญลักษณ์สี ทั้งสีเสื้อ ทั้งแดง เหลือง ฟ้า น้ำเงิน ขาว ดูเหมือนจะเป็นความวุ่นวายในสังคม แต่นั่นต้องเข้าใจว่า สิทธิในการณรณงค์และแสดงความคิดเห็นนั้นเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน ตราบเท่าที่มีการแสดงออกโดยสันติและรับผิดชอบ
ผู้เขียนมองโลกในแง่ดีว่า หลักของสันติธรรม การแสดงออกอย่างสันติวิธีนั้น จะเป็นทางเลือก ใครที่แสดงออกอย่างแสดงถึงความรุนแรงโหดร้าย จะไม่ได้รับการสนับสนุน
การที่ทหารออกมาปฏิวัติ จะทำให้คนไม่เพียงออกมาต่อต้าน แต่จะไม่มีทหารที่ไหนในประเทศไทยที่จะสามารถครองอำนาจอยู่ได้หลังปฏิวัติ แต่ตรงกันข้าม หากทหารได้ใช้หลักสันติวิธี ใช้หลักการที่จะดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยไม่ใช้ความรุนแรง ประชาชนจะให้การสนับสนุน หรืออย่างน้อยก็เห็นใจ
ทางเลือกสันติวิธี
ในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และมาเลเซีย ล้วนต้องผ่านกระบวนทดสอบประชาธิปไตย มีความขัดแย้ง สับสน แต่นั่นเป็นกลไกในการพัฒนา ตราบเท่าที่ทุกฝ่ายต้องเรียนรู้ที่จะอดทน รับฟัง และหาทางออกร่วมกัน เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ โดยไม่คิดการเอาแพ้เอาชนะกันเป็นหลัก แต่ยึดหลักความเป็นธรรม สัจจธรรมที่ทุกฝ่ายต้องยึดถือ
ในอีกด้านหนึ่ง การใช้วิธีการทางการเมืองที่ไม่สะอาด การข่มขู่ การลอบสังหาร การใช้อาวุธสงครามเข้าทำร้ายฝ่ายตรงกันข้าม มันจะไม่ได้ผล คนอาจกลัวสักระยะหนึ่ง แต่จะมีคนทีออกมาต่อต้านทั้งโดยเปิดเผย และโดยทางการสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนเมื่อมีการเลือกตั้ง
การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แสดงความไร้ขื่อแปให้ปรากฎในบ้านเมือง จะด้วยเหตุผลใด คนจะไม่ให้การสนับสนุน และคนที่เคยสนับสนุนมาแต่เดิม ก็จะเปลี่ยนความคิด เลิกให้การสนับสนุน คนไทยแม้จะเป็นคนรักสันติ สุภาพ อ่อนน้อม แต่เมื่อถึงเวลาแล้ว เขาก็จำเป็นต้องออกมาต่อสู้ ดังสุภาษิตที่ว่า “เมื่อเข้าตาจน แม้กระต่าย ก็ยังต้องหันหน้าสู้”
Friday, May 1, 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment