Friday, May 1, 2009

หน่วยที่ 9. โรคไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่วโลก ป้องกันได้หรือไม่

ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat)
ศึกษาและเรียบเรียง

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: ไข้หวัดนก, Bird Flu

หน่วยที่ 9. โรคไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่วโลก ป้องกันได้หรือไม่

การระบาดทั่วโลกของไข้หวัดนกสามารถป้องกันได้หรือไม่ โดยเฉลี่ยแล้วมันจะเกิดขึ้น 2-3 ครั้งในหนึ่งศตวรรษ ที่ทำให้สายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดแบบมนุษย์สู่มนุษย์ แต่อย่างไรก็ตามการระบาดนั้นเป็นสิ่งที่ทำนายได้ยากว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด และมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด ในศตวรรษที่ 20 ได้มีไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่วโลกราวปี ค.ศ. 1918-1929 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 40-50 ล้านคนทั่วโลก และก็ได้มีการระบาดอีกในช่วง ปี ค.ศ. 1957-1958 และในช่วงปี ค.ศ. 1968-1969

ความกังวลของผู้เชี่ยวชาญ

ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าโรคในตระกูลไข้หวัดใหญ่ (Influenza) กำลังจะเกิดขึ้นอีก

ผู้เชี่ยวชาญก็ได้เห็นพ้องกันอีกว่า การฆ่าประชากรไก่ทั้งหมดในฮ่องกงในปี ค.ศ. 1997 นั้นอาจเป็นตัวสกัดโอกาสที่จะเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลกที่สำคัญ

มีมาตรการหลายประการที่จะช่วยลดการระบาดใหญ่ทั่วโลก ที่จะไม่ให้เกิดโรคระบาดจากสายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ในหมู่มนุษย์ นั่นคือการต้องหยุดการระบาดในสัตว์ปีกให้ได้ ยุทธศาสตร์ในการหยุดโอกาสระบาดสู่คนนั้น คือการสร้างวัคซีนกับคนในกลุ่มที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับสัตว์ปีก เพื่อลดโอกาสการติดต่อในหมู่คนได้ และเป็นการสกัดไม่ให้ gene ได้มีการระบาดข้ามสายพันธุ์ คนทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับการทำลายไก่และสัตว์ปีกทั้งหลาย ต้องได้รับการป้องกันด้วยเสื้อผ้าและอุปกรณ์เฉพาะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ คนทำงานเหล่านี้ควรได้รับยาต้านไวรัสเพื่อเป็นการลดโอกาสและอันตรายจากการติดเชื้อ

เมื่อใดก็ตามที่ได้เกิดโรคระบาดไข้หวัดนกในหมู่มนุษย์ ข้อมูลเกี่ยวกับของเขตของโรคในตระกูลดังกล่าวทั้งในสัตว์และคน และการแพร่กระจายของไวรัสดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อช่วยประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของคนหมู่มาก และเพื่อหามาตรการป้องกันที่ดีที่สุด ในขณะที่องค์กรอนามัยโลกและหมู่สมาชิกเครือข่ายทั่วโลก ร่วมกับองค์กรนานาชาติต่างๆ สามารถช่วยได้ในกิจกรรมเหล่านี้ แต่ความสำเร็จของการลดความเสี่ยงต่างๆ ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถด้านห้องแลบของประเทศที่ได้รับผลกระทบ ตลอดจนการมีระบบเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพรองรับ

ในขณะที่กิจกรรมเหล่านี้สามารถลดโอกาสการระบาดทั่วโลก แต่กระนั้นคำถามที่ว่าโรคไข้หวัดนกหรือโรคในตระกูล Influenza จะไม่มีการระบาดใหญ่ในครั้งต่อๆ ไปนั้นยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด

No comments:

Post a Comment