Friday, May 1, 2009

หน่วยที่ 7. การออกแบบชุมชนและการอยู่อาศัย

หน่วยที่ 7. การออกแบบชุมชนและการอยู่อาศัย

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: cw310, พลังงาน, energy, energy, conservation

การออกแบบชุมชนและการอยู่อาศัย

การอยู่บ้านเล็ก ใกล้ที่ทำงาน ไม่ต้องเสียค่าเดินทาง และเสียเวลาในการเดินทาง

การใช้ Carpooling การใช้รถร่วมกัน อยู่ตามหมู่บ้าน ใช้รถ Microbus หรือรถที่บรรทุกคนได้ 5-7 คน เดินทางพร้อมก้น ประหยัดพื้นที่บนถนน โดยทั่วไป ตามหมู่บ้านของคนชั้นกลาง หากทุกบ้าน ต่างคนต่างขับรถไปทำงานกันโดยมีคนนั่งเพียง 1-2 คน หากไปร่วมกันจัดกิจกรรมใช้รถหรือยานพาหนะร่วมกัน โดยเปลี่ยนลักษณะรถเป็นรถนั่งได้หลายคน (high-occupancy vehicle) ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษ ได้วิ่งในช่องจราจรที่จัดไว้ให้โดยเฉพาะ (high-occupancy vehicle lanes ) และสำหรับรถยนต์ที่มีคนนั่งกันหลายๆ คน ก็จะเสียค่าผ่านทางต่ำ (lower tolls) ดังนี้ก็จะทำให้ประหยัดน้ำมัน และขณะเดียวกัน บนท้องถนนก็จะมีจำนวนรถวิ่งน้อยคันลง

ช่องทางสำหรับ HOV

บนทางหลวง Interstate ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ผ่านสู่เมืองใหญ่บางแห่ง จะมี ช่อง ช่องทางสำหรับรถที่มีผู้โดยสาร 2 คนขึ้นไป เรียกว่า HOV หรือ High Occupancy Vehicle

สัญญาลักษณ์สำหรับ HOV

ป้ายบอกว่า สำหรับรถที่มีคนนั่งตั้งแต่สองคนขึ้นไป สำหรับทางหลวงในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนรถวิ่งช้าหรือรถที่มีคนนั่งเพียงคนเดียว ก็ต้องไปใช้ช่องทางด้านขวา (เทียบเท่ากับในประเทศไทยที่รถวิ่งชิดซ้าย) อันเป็นช่องทางสำหรับรถวิ่งช้า หรือรถหนัก

ช่องทางสำหรับ HOV ทางตอนใต้

รถที่มีคนนั่ง 2 คนขึ้นไปจะได้ใช้ทางวิ่งขวาสุด สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูง (สำหรับประเทศสหรัฐที่รถวิ่งชิดขวา ระบบมีพวงมาลัยรถอยู่ด้านซ้าย)

เขามีช่อง HOV ก็เพื่อส่งเสริมให้คนใช้รถร่วมกัน (Car Pool) ในการเดินทางเข้าเมือง คนจะเข้าเมืองไปทำงานทุกวัน ก็จะมีที่นัดหมายเพื่อจะร่วมกันใช้รถไปทำงาน มีที่จอดรถร่วม เรียกว่าจุด Park and Ride คือนัดมาที่นัดหมาย จอดรถไว้ แล้วใช้รถร่วมกันเข้าไปทำงานในเมือง

การเก็บค่าเข้าเมือง

เมืองใหญ่หลายเมือง เช่น นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ลอนดอนของอังกฤษ หรือสิงค์โปร์ มีมาตรการไม่ส่งเสริมให้ใช้รถส่วนตัวขับเข้าเมือง โดยที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ ทำให้ติดระบบจ่ายค่าผ่านทางที่เป็นอิเลคโทรนิกส์ รถยนต์ที่ติดระบบ สามารถวิ่งผ่านเข้าเมือง แล้วระบบตรวจจับสัญญาณ ก็จะบันทึกคิดเก็บเงิน ตัดเงินจากบัญชี ซึ่งเขาเก็บอย่างสูง คือถึง 500 บาทต่อเที่ยว ทั้งนี้เพื่อรถความแออัดของการจราจรในเขตในของเมือง ซึ่งเป็นการเผาผลาญน้ำมัน ก่อมลพิษอันเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม

เขต CCZ ในกรุงลอนดอน

เขตเก็บเงินค่าใช้ยานพาหนะที่ต้องเดินทางเข้าไปในเขตการจราจรหนาแน่น (Congestion charge Zone - CCZ) วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บนี้เพื่อลดความแออัดของการจราจรในบางเขตของกรุงลอนดอน และเพื่อเก็บเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบการขนส่งของมหานคร ระบบนี้เริ่มใช้งานในส่วนกลางของเมืองในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 และขยายสู่เขตตะวันตกของเมืองในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007

E-Z Pass ในอเมริกาเหนือ

การจัดเก็บค่าผ่านทางด้วยระบบอิเลคโทรนิกส์ E-Z Pass ในเขตอเมริกาเหนือ อำนวยความสะดวกในการใช้ยานพาหนะ และขณะเดียวกันช่วยลดจำนวนรถที่จะเข้าสู่เมืองใหญ่โดยไม่จำเป็น

ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางในปัจจุบัน มีความทันสมัย และประหยัดกำลังคนทำงาน ไม่ต้องไปใช้ระบบหยอดเงินใสมิเตอร์จอดข้างทาง แต่บางแห่งก็จะจัดเก็บทั้งค่าเข้าเมือง และค่ามิเตอร์จอดรถอีกต่างหาก ดังนั้นดีที่สุดในการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ คือการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ (Mass Transits) ไม่ว่าจะเป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือลอยฟ้า รถโดยสาร ฯลฯ

Carpool คืออะไร

คือกิจกรรมที่ทำให้คนได้ใช้ประโยชน์จากการขับขี่รถยนต์ โดยหากไปในทิศทางเดียวกัน ก็มาร่วมเดินทางไปและกลับด้วยกัน

Carpool

คือกิจกรรมที่ประสานงานกันสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยใกล้กัน และไปทำงานหรือเข้าเมืองไปยังที่ใกล้เคียงกัน ก็จะใช้ยานพาหนะร่วมกันได้

Carpool

ต้องอาศัยการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจรวม การใช้โทรศัพท์ โทรสาร หรืออินเตอร์เน็ต เพื่อจัดกลุ่มกิจกรรมการใช้ยานพาหนะร่วมกัน

Multi Purpose Vehicle (MPV)

ขนาดที่นั่งได้ 7 คน เหมาะแก่การร่วมกันเดินทางเข้าเมืองจากหมู่บ้านที่พักอาศัยในลักษณะ Carpool

Microbus

ดังในภาพมีการใช้รถตู้โดยสาร ขนาดจุคนได้ 11-12 คน นั่งได้สะบาย ในประเทศไทยมีการใช้รถดังกล่าวดำเนินการเป็นธุรกิจ รับส่งคนทำงานระหว่างหมู่บ้านและที่ทำงาน ดังเช่นสำนักงาน และโรงงานต่างๆ เป็นต้น ขับ 1 คน แต่รองรับคนร่วมเดินทางได้ 10-11 คน

ย้ายบ้านไปใกล้ที่ทำงาน

ในหลายๆเมืองในต่างประเทศ ดังเช่นในสหรัฐอเมริกา จะมีงานที่คนต้องโยกย้ายไปทำงาน แล้วต้องหาบ้านพักที่จะอำนวยความสะดวก จึงเกิดการสร้างบ้านที่สามารถโยกย้ายไปได้ เรียกว่า Mobile home บางครั้งก็มีบ้านในลักษณะใช้เพื่อความสำราญ

Mobile Home

บ้านที่เคลื่อนย้ายได้ มีการสร้างในระบบอุตสาหกรรม ทำเป็นแบบบ้านแล้วใช้รถ Trailer ในการขนย้ายไปติดตั้ง ณ ที่ๆ อยู่ไกลออกไป เป็นการประหยัดเวลาสร้าง เสร็จแล้วนำมาประกอบได้ในเวลารวดเร็ว และประหยัดค่าแรงงาน

เมื่อต้องการย้ายไปทำงานทื่อื่นๆ ก็มีทางเลือกคือขายบ้าน แล้วไปหาที่ใหม่ หรือไม่ก็แยกชิ้นส่วนอีกครั้ง แล้วขนย้ายไปประกอบยังที่อื่นๆ

Mobile Home

บ้านประเภทใช้รถ Truck ใช้โครงสร้างมาปรับแต่ง ทำในระบบอุตสาหกรรม (Modified) แล้วทำให้เป็นบ้านแบบชั่วคราว โยกย้ายไปทำงาน ณ ที่ต่างๆ ดังกรณีการติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ต้องไปทำงานให้รวดเร็วและเคลื่อนย้ายกลับ

การใช้ Telecommuting

ในระยะหลังนี้ มีการใช้การเดินทางแบบที่เรียกว่า Telecommuting คือการใช้ระบบโทรคมนาคมที่ทำให้การติดต่อสื่อสาร และการทำงานบนเครือข่าย ลดความจำเป็นของคนที่ต้องเดินทางไปทำงานในที่ไกลจากบ้าน เช่นต้องเข้าไปทำงานในใจกลางเมือง ต้องเปลืองทั้งค่าน้ำม้นรถ และเสียเวลาในการเดินทาง ทำให้คุณค่าความสุขของชีวิตลดลง แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อต่างทำงานได้จากที่ห่างไกลแล้ว ก็เลยทำให้คนจากต่างประเทศ สามารถรับทำงานในประเทศของคน โดยไม่ต้องเดินทางไปทำงาน ณ ที่นั้นๆ จริง ดังเช่นพบว่า คนทำงานด้านโทรคมนาคม หรือใช้โทรคมนาคมจากประเทศอินเดีย สามารถไปรับงานจากในประเทศสหรัฐและจากยุโรปได้ เป็นต้น

Telecommuting

การเลือกทำงานที่บ้าน โดยใช้ระบบการติดต่อสื่อสารยุคใหม่ช่วย ลดเวลา ค่าใช้จ่าย และการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นลง

ซึ่งปัจจุบันในต่างประเทศจะมีคนทำงานในลักษณะดังกล่าวมากขึ้นเป็นลำดับ

นัดพบที่ร้านกาแฟ

คนทำงานแบบ Telecommuting นั้นอาจไม่มีสำนักงาน เวลาจะนัดพบกับลูกค้าหรือเพื่อนทำงาน ก็จะใช้ Laptop แล้วไปพบกับลูกค้า โดยสั่งกาแฟ ของว่าง และเช่าอินเตอร์เน็ตใช้ ณ ที่นัดพบที่เหมาะสมที่สุด
ย้ายบ้านหนีหนาว

snowbird [N] นกขนาดเล็กชนิดหนึ่งในแถบอเมริกาเหนือ หรือหมายถึงธรรมชาติของนกที่จะบินหนีอากาศหนาวในฤดูหนาว เพื่อลงใต้ไปยังที่ๆมีอากาศอบอุ่นกว่า เมื่อเปรียบเทียบมาเป็นคนแล้ว คนประเภท snowbird [N] คือคนประเภทที่ เดินทางไปยังสถานที่อากาศอบอุ่น

คนในปัจจุบันมีสภาพคล้ายนก คือไม่ได้ติดยึดอยู่กับสถานที่ สามารถเคลื่อนย้ายไปในที่ต่างๆได้ตามฤดูกาล เช่นหนีหนาวจากทางตอนเหนือ ไปยังที่ๆอบอุ่นกว่าทางตอนใต้ ทั้งนี้เพราะค่าเดินทางจากเหนือไปยังใต้นั้นถูกกว่าอยู่ในแถบเหนือที่ค่าเชื้อเพลิงทำความอบอุ่นในบ้านนั้นจะแพงกว่ามาก ประกอบกับ คนบางส่วนดังเช่นผู้เกษียณอายุแล้ว อาจมีโรคประจำตัวเช่นพวกข้อเข่าเสื่อม ข้ออักเสบ ทำให้จะเจ็บปวดมากเมื่ออากาศหนาวจัด ไปพักในที่พักทางตอนใต้ ค่าที่พักจะถูกกว่าค่ารักษาพยาบาล และใช้ชีวิตที่มีความสุขกว่า

ประชาชนที่เกษียณอายุ (Retirees)

ในประเทศสหรัฐอเมริกา และยุโรป ผู้เกษียณอายุแล้วมีสิทธิที่จะพักผ่อน หาความสำราญในชีวิต สามารถเลือกจะทำงาน หรือไม่ทำงาน หรือเลือกสถานที่ๆจะทำงานได้

ลงใต้หาความสำราญ

ทางตอนเหนืออากาศหนาว หากลงมาทางใต้ที่อากาศอบอุ่น สนามกอล์ฟหญ้าเขียวขจี เล่นกอล์ฟได้ทั้งวัน หรือจะว่ายน้ำ ตกปลา หรืออื่นๆ โดยไม่ต้องกลัวหนาว

ระบบทำงานแบบ ICT ช่วย

เลือกสถานที่ทำงาน หาความสำราญไปด้วย ทำได้ด้วยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารใหม่ที่ทำให้ทำงานในระบบออนไลน์ได้มากขึ้น เหมาะสำหรับอาชีพทางการออกแบบ นักวิชาชีพ ที่ปรึกษา ไม่จำเป็นต้องไปทำงานที่สำนักงานทุกวัน

ยามเมื่อทางตอนเหนือ อันเป็นบ้านของตนเองอากาศอบอุ่น ก็ย้ายกลับมาบ้าน ซึ่งก็เป็นช่วงที่อากาศดี ไม่ต้องมีค่าเครื่องทำความอบอุ่น หรือต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ เพราะอากาศภายนอกเย็นสบาย

No comments:

Post a Comment