Friday, May 1, 2009

หน่วยที่ 6. การควบคุมโรคไข้หวัดนก

ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat)
ศึกษาและเรียบเรียง

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: ไข้หวัดนก, Bird Flu

หน่วยที่ 6. การควบคุมโรคไข้หวัดนก

ในปัจจุบัน การประกาศเขตควบคุมฟาร์มสัตว์ปีกที่มีการระบาดนับเป็นมาตรฐานการควบคุมที่ใช้อยู่ที่จะไม่ก่อให้เกิดการระบาดไปสู่ที่อื่นๆ ที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีก นอกจากจะเป็นการระบาดจากสัตว์ปีสู่สัตว์ปีกแล้ว โรคยังสามารถระบาดได้ด้วยกลไกอื่นๆ เช่น จากเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้อง ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง อาหารสัตว์ กรงขัง หรือเสื้อผ้า ก็ได้รับการติดเชื้อไปด้วย ไวรัสไข้หวัดนกที่มีอันตรายสูงนั้น จะมีความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมที่ยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพแวดล้อมมีอุณหภูมิต่ำ เช่นในระดับ 22 องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นช่วงอากาศเย็นในประเทศไทย หรือเขตเมืองร้อนอื่นๆ การทำความสะอาดในฟาร์มอย่างต่อเนื่อง สามารถสกัดโรคและเป็นมาตรการป้องกันที่ดีได้ระดับหนึ่ง

อันตรายจากการไม่ควบคุม

ในกรณีที่ไม่มีมาตรการป้องกันที่ดี การขาดระบบการเฝ้าระวัง โรคระบาดอาจเป็นได้อย่างต่อเนื่องไปหลายๆ ปี ดังเช่นในกรณีโรคระบาดไข้หวัดนกสาย H5N2 ที่ได้เริ่มในประเทศเม็กซิโกในปี ค.ศ. 1992 เริ่มระบาดด้วยสายพันธุ์และระดับความรุนแรงต่ำ แต่ก็ได้กลายพันธุ์เป็นความรุนแรงที่มากขึ้น และไม่สามารถควบคุมได้ในปี ค.ศ. 1995

โอกาสการกลายพันธุ์ (A constantly mutating virus: two consequences )

โรคไข้หวัดใหญ่ในสาย A (Type A Influenza Viruses) รวมถึงสายพันธุ์ที่ได้มีการระบาดไปสู่คนในระยะหลังนี้ มีลักษณะที่กลายพันธุ์ได้และแปรสภาพไปตาม "แหล่งร่าง" ที่มันอาศัยอยู่ เชื้อไข้หวัดนกที่เป็นไวรัส ไม่มีความสามารถที่จะคงสายพันธุ์ การปรับเปลี่ยนไปเป็นธรรมชาติของไวรัส Influenza A Viruses
antigen (noun) A toxin or other foreign substance which induces an immune response in the body, especially the production of antibodies.

โรคไข้หวัดนกมีและสามารถสร้างภูมิต้านทานได้ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าในร่างกาย จะทำให้ไปกระตุ้นแล้วทำให้เกิดภูมิต้านทานที่เรียกว่า antibodies

การสร้างภูมิต้านทาน

แนวโน้มที่เชื้อไข้หวัดนกเมื่อระบาดแล้วจะสร้างภูมิต้านทานในสิ่งมีชีวิตนั้น (Antigenic) ซึ่งหมายความว่าเมื่อเคยป่วยมาแล้วจะไม่กลับไปเป็นอีก หรือนำไปจัดทำเป็นวัคซีนได้นั้น จะยังเป็นปัญหาอยู่ เพราะเชื่อไวรัสไข้หวัดหรือไข้หวัดนกทั้งหลายมีการกลายพันธุ์ได้ง่าย จะไม่จะถูกนำไปพัฒนาเป็นวัคซีนจะกระทำได้ดีต่อเมื่อมีการติดตามการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์อย่างใกล้ชิด และกระทำอย่างทั่วโลก และมีการปรับปรุงวัคซีนให้สอดคล้องอยู่ทุกปี ซึ่งในเรื่องนี้ WHO ได้ตั้งความหวังว่าจะทำให้เกิดขึ้น ตั้งแต่เริ่มโปรแกรมในปี ค.ศ. 1947

การแปลงร่างและขยายความรุนแรง

เชื้อไวรัสไข้หวัดนกมีลักษณะที่ทำให้กังวลกันอย่างมากในวงการสาธารณสุข เพราะ Influenza A Viruses มีหลายสายพันธุ์ ที่มีลักษณะประสมกันได้และเกิดเป็นพันธุ์ใหม่ได้ เขาเรียกกันว่า swap หรือ reassort กลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ได้ การปรับเปลี่ยนเช่นนี้ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เรียกว่า antigenic shift เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ต่างจากสายพันธุ์พ่อแม่ ซึ่งทำให้ประชาชนไม่สามารถมีภูมิคุ้มกันที่จะรับกับสายพันธุ์ใหม่ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นความยากที่จะสร้างวัคซีนเพื่อป้องกัน และจากประวัติของการเปลี่ยนแปลง สายพันธุ์ที่ได้กลายไปใหม่ๆ นี้ มีความรุนแรงที่อาจระบาดไปได้ทั่วโลก และอาจนำไปสู่ความสามารถในการระบาดระหว่างมนุษย์สู่มนุษย์ในช่วงเวลาหนึ่ง

ความหมายและธรรมชาติของ Mutation

Mutation. (Wikipedia)
In biology, mutations are permanent, sometimes transmissible (if the change is to a germ cell) changes to the genetic material (usually DNA or RNA) of a cell. Mutations can be caused by copying errors in the genetic material during cell division and by exposure to radiation, chemicals, or viruses, or can occur deliberately under cellular control during the processes such as meiosis or hypermutation.

In multicellular organisms, mutations can be subdivided into germline mutations, which can be passed on to progeny and somatic mutations, which (when accidental) often lead to the malfunction or death of a cell and can cause cancer. Mutations are considered the driving force of evolution, where less favorable (or deleterious) mutations are removed from the gene pool by natural selection, while more favorable (or beneficial) ones tend to accumulate. Neutral mutations do not affect the organism's chances of survival in its natural environment and can accumulate over time, which might result in what is known as punctuated equilibrium, a disputed interpretation of the fossil record. Contrary to tales of science fiction, the overwhelming majority of mutations have no significant effect. Even less DNA changes have visible effects as DNA repair is able to reverse most changes before they become permanent mutations.

การกระจายสู่คน

สภาพที่เอื้อต่อการเปลี่ยนจากการระบาดในระหว่างสัตว์ปีมาสู่การระบาดสู่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยเฉพาะมนุษย์นั้น จะเกี่ยวกับการที่มนุษย์บางส่วนมีการใช้ชีวิตที่ใกล้กับสัตว์เลี้ยงประเภทสัตว์ปีกและหมู และเพราะหมูมีความสามารถที่จะรับได้ทั้งเชื้อโรคระบาดไวรัสจากสัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งรวมถึงมนุษย์ด้วย จากการระบาดแบบข้ามจากสัตว์ต่างประเภทกันนี้มีความกลัวว่า จะมี "ร่างประสม" (Mixing Vessel) คือทั้งหมูและคนทำหน้าที่เป็นร่างกลาง ประสมไวรัสที่มีหลากหลายสายพันธุ์ย่อยจนทำให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ จากสายพันธุ์ย่อยของไวรัสไข้หวัดนก 15 รายการนั้นสามารถกลายมาสู่การระบาดในหมู่มนุษย์ได้

No comments:

Post a Comment