Friday, May 1, 2009

หน่วยที่ 3. การขนส่งสาธารณะในเมือง

หน่วยที่ 3. การขนส่งสาธารณะในเมือง
การขนส่งสาธารณะในเมือง (Urban Mass Transits)
Urban Mass Transit หรือ Rapid Transit

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: cw310, พลังงาน, energy, energy, conservation

Rapid แปลว่า เร็ว ระบบ Rapid Transit จึงต้องหมายถึงระบบการขนส่งมวลชนที่สามารถขนคนจำนวนมากๆ ไปในที่ต่างๆ ได้ในเวลารวดเร็ว และควบคุมเวลาได้

ระบบอย่างที่กล่าวนี้ ในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษเรียกว่า underground, ในสหรัฐอเมริกาดังในเมืองนิวยอร์คเรียกว่า subway, อาจเรียกว่า tube, หากเป็นระบบวิ่งเหนือพื้นดิน เรียกว่า elevated, หรือดังในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เรียกว่า เมโทร metro(politan)

รถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพมหานคร จัดเป็น Rapid Transit ประเภทยกระดับรางเหนือพื้นดิน

Mass Transit ไม่ใช่ Rapid Transit

การขนส่งมวลชน (Mass Transit) ไม่ใช่เป็น Rapid Transit

รถโดยสารประจำทาง (Buses) จัดเป็น การขนส่งมวลชน แต่ไม่ใช่เป็น Rapid Transit เพราะการขนส่งโดย

รถโดยสาร ในบางครั้งไม่ใช่ว่าจะมีความเร็วและแน่นอน

Rapid Transit โดยรวมเป็นระบบรถที่วิ่งบนราง วิ่งในเมืองใหญ่ (Urban) มีศักยภาพในการเคลื่อนคนจำนวนมาก และหลายๆเที่ยวติดต่อกัน และเป็นระบบที่ไม่ต้องเดินรถปะปนไปกับระบบอื่นๆ ดังที่เรียกว่ารถราง (Trams) ระบบ Rapid Transit ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกคือที่กรุงลอนดอน เรียกว่า Underground เริ่มเปิดใช้งานเมื่อปี ค.ศ. 1863 ส่วน Rapid Transit ที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐคือที่เมือง Boston เรียกว่า Boston Subway


สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินของ London

ระบบการขนส่งด้วยรถไฟฟ้า จำเป็นต้องมีการสร้างระบบอื่นๆ ประกอบ เช่นสถานี (Station) ที่ต้องอยู่ใต้ดิน มีบรรได หรือทางเลื่อน (Escalators) หรือลิฟต์ (Elevators) นำคนจากใต้ดินสู่พื้นหรือต่อรถไปบังทือื่นต่อไป

ในการเดินทางในเมืองใหญ่เป็นปัญหาทั้งด้านเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ในกรุงเทพมหานคร ยามเร่งด่วน ยานพาหนะเคลื่อนตัวไปตามถนนได้ต่ำกว่า 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เป็นการสิ้นเปลืองค่าเชื้อเพลิงและก่อมลพิษทางอากาศอย่างมาก

Rapid Transit ในมหานคร

ด้วยเหตุดังกล่าวในมหานครขนาดใหญ่ จึงต้องมีระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อถือได้ และเป็นระบบที่สามารถควบคุมด้านเวลาในการเดินทาง ซึ่งในเมืองใหญ่ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น New York, London, Paris, Moscow, ในเอเซีย ได้แก่ Tokyo, Beijing ประเทศจีน, Hong Kong, Singapore, ล้วนต้องสร้างระบบ Mass Transit เพื่อรองรับการเดินทางภายในเมือง บางแห่งมีเส้นทางนับเป็นระยะทางกว่าพันกิโลเมตร ลองดูจากตัวอย่างต่อไปนี้

อัตราการใช้ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินในเมืองใหญ่ของโลก

Annual Subway Ridership
1. Tokyo 2.819 billion
2. Moscow 2.603 billion
3. Seoul 2.340 billion
4. New York City 1.449 billion
5. Mexico City 1.442 billion
6. Paris 1.336 billion
7. London 970 million
8. Osaka 912 million
9. Hong Kong 858 million
10. St. Petersburg 821 million

หากนับความใหญ่โตของระบบขนส่งรถใต้ดินแล้ว (1) กรุงโตเกียวจัดว่ามีขนาดใหญ่ที่สุด ตามมาด้วย (2) Moscow ประเทศรัสเซีย, (3) กรุง Seoul ประเทศเกาหลี และ (4) New York City ตามมาในอันดับที่ 4

ระบบขนส่งมวลชน (Rapid Mass Transits)

รถไฟฟ้า MTA ของกรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เส้นทาง 1056 กิโลเมตร หากรวมทางที่ใช้อื่นๆ เช่นการสำรองก็จะเป็น 1344 กิโลเมตร มีสถานีรองรับกว่า 468 แห่ง ระบบของ MTA เป็นระบบที่ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน รถโดยสาร และเรือข้ามฟาก (Ferries) สามารถใช้ตั๋วเชื่อมต่อกันได้ตลอด เป็นระบบเดียวกัน

มีระบบเครือข่ายสายทางทั่วทั้งเมือง และสามารถใช้บัตรโดยสารร่วมกับระบบรถโดยสาร และเรือข้ามฟากได้ ในเมืองใหญ่ การขนส่งเช่นนี้ประหยัดทั้งการใช้พลังงาน และประหยัดเวลาในแต่ละวันของผู้ใช้บริการ

รถไฟฟ้า Metro ของกรุงปารีส

รถไฟฟ้า Metro ของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ระบบขนส่งมวลชนของกรุงปารีส เป็นระบบที่มีความสะอาดสะอ้าน อำนวยความสะดวกให้กับผู้คนในปารีส ในการเดินทางไปทำงาน

Metro ของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีเส้นทางยาว 221.6 กิโลเมตร มี 380 สถานี ระยะห่างระหว่างสถานีที่ 562 เมตร โดยเฉลี่ย

BTS ระบบการขนส่งสาธารณะ

มีชื่อเรียกว่า SkyTrain หรือรถไฟฟ้าลอยฟ้าของกรุงเทพมหานคร อันเป็น 1 ในสององค์การดำเนินการด้านการขนส่งสาธารณะด้วยระบบรถฟ้าทั้งใต้ดิน บนดิน และรถลอยฟ้า

ระบบ Mass Transit ขนาดเล็ก

ระบบขนส่งมวลชนความเร็วสูงอาจเป็นระบบที่มีขนาดเล็ก การลงทุนไม่สูง เหมาะสำหรับเมืองใหญ่ขนาดกลาง

ระบบ Mass Transit ขนาดเล็ก

ระบบ Light Rail ระบบขนส่งมวลชนในระบบรางขนาดเบา

ระบบขนส่งมวลชนแบบรถประจำทางที่ต้องวิ่งไปบนถนนร่วมกับรถยนต์ จะมีปัญหาด้านจราจรติดขัดในช่วงชั่วโมงรีบด่วน ตลอดจนทำให้มีปัญหาด้านมลพิษในเขตเมือง ดังนั้นทางเลือกคือการมีระบบขนส่งมวลชนบนราง ความเร็วสูง แต่มีการใช้จ่ายลงทุนไม่สูงเท่าระบบที่เรียกว่า Heavy Rail

ระบบ Ligt Rail แบบลอยฟ้า

ระบบขนส่งมวลชนใช้รางที่ยกระดับ อย่างที่บ้านเราเรียกว่ารถลอยฟ้านั้น สามารถใช้ในระบบ Light Rail จุคนได้น้อยกว่า แต่ต้นทุนก็ลดลงมาตามส่วนด้วย เหมาะแก่การเป็นระบบขนส่งในเมืองขนาดกลางๆ มีคนสักไม่เกิน 1 ล้านคน

ระบบการขนส่งมวลชนอื่นๆ (Other Mass Transits)

การขนส่งมวลชนอื่นๆ ก็เป็นสิ่งจำเป็นในการเลือกพัฒนาและใช้อย่างเหมาะสม ในเกือบทุกเมืองขนาดกลาง ควรต้องมีระบบรถโดยสารประจำทางของเมือง แต่กระนั้น ในประเทศไทยก็ยังเป็นเรื่องยาก เพราะส่วนใหญ่ยังมีรถบริการในแบบรถสองแถว ใช้รถ Pickup ขนาดจุผู้โดยสารได้เที่ยวละ 8-12 คน ทั้งนี้ลองสังเกตเมืองที่มีชาวต่างชาติมากๆ อย่างพัทยา ก็ยังไม่สามารถพัฒนาระบบรถโดยสารประจำเมืองให้เป็นระบบได้ จึงทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด

รถโดยสาร (Buses)

รถโดยสาร (Buses) จัดเป็นระบบขนส่งมวลชน (Mass Transit) ในบางประเทศและบางเมืองมีการต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดิน บนดิน หรือยกระดับ แต่รถโดยสารไม่ได้เป็น Rapid Transit

รถประจำทาง (Buses)

ในทุกเมืองขนาดกลางขึ้นไปในสหรัฐ อเมริกาเหนือ และยุโรป จะต้องเตรียมการด้านการขนส่งมวลชนรองรับผู้โดยสาร เพราะเขาคุ้นกับการมีรถยนต์ส่วนตัววิ่งไปและกลับจากการทำงานหรือธุรกิจใน เมือง

รถโดยสารแบบลูกประสม (Hybrid Buses)

เป็นรถที่วิ่งด้วยเครื่องยนต์ดีเซลร่วมกับระบบไฟฟ้า เป็นการใช้พลังงานน้ำมันดีเซลที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในระดับ 1 เท่าตัว แต่ก็ยังต้องพึ่งพลังงานน้ำมันที่ไม่สามารถผลิตทดแทนได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามในอนาคตน้ำมันดีเซลอาจใช้ Biodiesel หรือน้ำมันจากพืชทดแทนได้ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์

รถสองแถว (Minibuses)

รถสองแถวเป็นยานพาหนะที่มีใช้กันในชนบทของประเทศไทยมากที่สุด ทั้งเป็นการวิ่งในเมือง วิ่งรับจ้างทั่วไป วิ่งส่งของรับของ ย้ายบ้าน เป็นรถ Pickup Truck ปรับปรุงให้มีหลังคากันฝน และมีที่นั่ง 2 แถว จุผู้โดยสารได้ประมาณ 12 คน

Jeepney ประเทศฟิลิปปินส์

รถสองแถวที่ขึ้นชื่อของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นรถทีปรับปรุงจากรถ Jeep ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และปรับปรุงขยายให้มีขนาดยาว สามารถบรรจุผู้โดยสารแบบนั่งสองแถวได้หลายคน มีความหนัก และปล่อยควันพิษมาก เพราะใช้เครื่องยนต์เก่าจากต่างประเทศ

ขนาดของทางสัญจรเป็นตัวกำกับว่าควรจะใช้ยานพาหนะอย่างไรและประเภทไหน

ถนนขนาดใหญ่ มีเส้นทางตรง ก็เหมาะจะใช้รถโดยสารขนาดใหญ่ บรรทุกผู้โดยสารได้มาก

ถนนมีขนาดเล็ก ระยะทางสั้น รถโดยสารขนาดเล็ก ก็มีความเหมาะสม

ตรอก ซอก ซอย แต่ในประเทศไทยที่มีตรอก ซอก ซอย ที่แม้รถโดยสารขนาดเล็กที่เรียกว่า Minibus หรือรถสองแถวก็ยังไม่สะดวกที่จะวิ่ง เพราะเมื่อจอดก็ต้องทำให้รถที่วิ่งตามมาต้องหยุดรอ ทำให้เสียเวลา รถติด

รถสามล้อ Tuk Tuk ในประเทศไทย

มีใช้กันในกรุงเทพฯและบริเวณเมืองในต่างจังหวัด มีลักษณะคล่องตัวสูง ใช้น้ำมันประหยัด สามารถบันทุกของหรือสินค้าได้ดี เปิดกระบะหลังเพื่อบันทุกของได้เพิ่มอีก ขนาดความกว้างไม่มากวิ่งตามซอกซอยได้ดี กลับรถได้สะดวก

รถสามล้อในประเทศกัมพูชา

รถสามล้อเครื่องรับจ้างในประเทศกัมพูชา เป็นแบบนำเอารถมอเตอร์ไซค์มาดัดแปลง ทำหน้าที่คล้ายกับรถตุ๊กตุ๊กในประเทศไทย แต่จะวิ่งได้เร็วน้อยกว่า

รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง

ฝรั่งเรียก Motorcycle Taxi ภาพนี้ถ่ายจากถนนนานาต่อกับถนนสุขุมวิท อันเป็นบริเวณที่มีจราจรติดขัด คนเป็นอันมากเลือกใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่สามารถขับแซกไประหว่างรถ ยนต์ที่ติดขัดกับการจราจร แต่กลับสร้างความติดขัดให้กับระบบการจราจร และไม่ปลอดภัย

ดังนั้นจึงจะเห็นมีรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ฝรั่งเรียกว่า Motorcycle Taxi ซึ่งจัดว่าเป็นสภาพที่มีเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย หรือ เวียตนาม ซึ่งระบบรถสาธารณะดังกล่าวไม่มีความปลดภัยเพียงพอ แต่ก็มีลักษณะประหยัดเชื้อเพลิงได้ดีกว่าใช้รถแท๊กซี่

รถแทกซี่ (Taxi)
รถแทกซี่จัดเป็นรถยนต์ขนส่งสาธารณะอย่างหนึ่ง

รถแทกซี่ (Taxi)

ในแคนาดา มีการใช้รถยนต์ลูกประสมอย่าง Toyota Prius อันเป็นรถขนาดกลาง ทำเป็นรถแทกซี่รับผู้โดยสารในเมือง

ขนาดของรถ Toyota Prius จะเล็กกว่า Camry แต่จะใหญ่กว่า Altis ที่มีใช้วิ่งเป็นแทกซี่ในประเทศไทยเล็กน้อย มีประสิทธิภาพการประหยัดน้ำมันสูงกว่ารถขนาดเดียวกันเป็นเท่าตัว

รถแท๊กซี่ในกรุงเทพมหานคร (Taxi, Bangkok)

มีรถแทกซี่ในกรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่า 60,000-80,000 คัน ทั้งหมดเป็นรถขนาดประมาณไม่เกิน 1600 CC และส่วนใหญ่ใช้ก๊าซหุงต้ม (LPG) โดยที่รัฐบาลเองมีนโยบายที่จะทำให้รถแทกซี่และรถบ้านหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) ที่ไทยสามารถผลิตได้เอง

รถแท็กซี่จัดเป็นยานพาหนะสาธารณะอย่างหนึ่งที่ลดความจำเป็นของแต่ละบ้าน และครอบครัวที่จะต้องไปจัดหารถยนต์ส่วนตัวใช้

บริการรถเช่า

บริการรถเช่า (Car/Vehicle Rental) เป็นทางเลือกในการใช้ยานพาหนะ เป็นทางเลือกใหม่สำหรับประชาชน
ในต่างประเทศ ในเมืองใหญ่ หาที่จอดรถได้ยาก ประกอบกับการเดินทางเข้าไปทำงานในเมืองใหญ่ ระบบจะบังคับให้คนต้องเดินทางด้วยระบบโดยสารสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า รถโดยสาร เรือโดยสาร (Ferry) เป็นต้น แต่เมื่อจะต้องเดินทางไปยังที่อื่นๆในเมืองก็จะใช้รถแท๊กซี่ (Taxi) แต่ถ้าจะต้องเดินทางไปยังที่ซึ่งไม่มีบริการถแท๊กซี่ ก็จะหาบริการรถให้เช่า แล้วขับเอง

รถเช่าในปัจจุบันมีราคาค่าใช้จ่ายถูกลง มีการเช่าเป็นวัน เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือนก็มี คนที่มีที่พักในเมืองใหญ่ ไม่นิยมที่จะมีรถส่วนตัว เพราะแม้มีเงินซื้อรถ แต่จะมีปัญหาด้านที่จอดรถ มีค่าใช้จ่ายในการเข้าสู่บริเวณกลางเมือง ค่าที่จอดรถ ซึ่งสูงมาก

ดังนั้นเมื่อจำเป็นต้องใช้รถเมื่อใด ก็จะใช้บริการรถเช่า รถหนึ่งคันในหนึ่งปี จึงให้บริการรถนั่งแก่คนได้เป็นจำนวนหลายๆคน ในเวลา 1 ปี คนหรือครอบครัวทั่วไปอาจจำเป็นต้องใช้รถนั่งไม่ถึง 1 เดือน

รถเช่า (Car/Vehicle Rental)

ในเมืองใหญ่ในตะวันตก การมีบ้านและมีที่จอดรถกลายเป็นความฟุ่มเฟือย และมีค่าใช้จ่ายสูง ประชาชนจึงนิยมใช้ระบบขนส่งมวลชน และจำเป็นบางครั้งก็ใช้แทกซี่ แต่เมื่อต้องการใช้รถยนต์เป็นการส่วนตัว ก็ใช้การเช่าเป็นรายวัน ราคาไม่แพง

No comments:

Post a Comment