ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com
หน่วยที่ 1. ไข้หวัดนก - วัตถุประสงค์ของบทความ
ความนำ – ไข้หวัดนกระบาดในหลายประเทศในอาเซียในช่วงปี พ.ศ. 2546 – 2547 มีบริเวณระบาดกว่า 10 ประเทศ รวมทั้งในประเทศไทย ณ เวลาที่เขียนนี้ได้มีการทำลายไก่ไปทั้งหมดกว่า 80 ล้านตัว เฉพาะในประเทศไทยได้มีการทำลายไปแล้วไม่น้อยกว่า 25 ล้านตัว มีผู้เสียชีวิตเท่าที่รายงาน 14 คน แต่ผลกระทบทั้งด้าน การสูญเสียความน่าเชื่อถือของระบบงานภาครัฐและเอกชน ปัญหาด้านสุขภาพที่ยังไม่ชัดเจน เกิดความแตกตื่นจนเกินเหตุ และความแตกตื่นด้วยเหตุความไม่เข้าใจ ความสับสนต่างๆ มากมาย จนคนได้เกือบจะหยุบริโภคไก่และไข่ ตลอดจนสัตว์ปีกอื่นๆ นับว่าประชาชนไทยได้รับผลกระทบที่รุนแรงที่สุดทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และผลกระทบที่จะต่อเนื่องยาวนานต่อไป
บทความนี้มีเจตนาเพื่อตอบคำถาม ที่พิจารณาในเชิงระบบข้อมูลข่าวสารว่า ปัญหาในด้านการสื่อสารนั้นมันเกิดที่ใดบ้าง การศึกษาเพื่อเขียนบทความนี้ ไม่ได้เน้นที่การแสวงหาคนมารับผิด แต่ต้องเน้นการเรียนรู้เพื่อจะป้องกันและเตรียมรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้ได้ดียิ่งขึ้น แต่เพื่อศึกษาว่า
1. จะมีแนวทางแก้ไข โดยเน้นประโยชน์ของคน และสุขภาพคนเป็นฐาน และใช้กระบวนการสื่อสาร การให้ข้อมูลข่าวสาร และการศึกษาที่เหมาะสมแก่คนที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร
2. ในยุคของข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารหรือไม่สื่อสารได้อย่างเหมาะสม อาจนำมาซื่งวิกฤติในหลายๆ ด้าน ที่ไม่ได้เกิดผลดีต่อประชาชน และสุขภาพของประชาชนโดยรวม วิกฤติในลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้อีก เราเตรียมรับมืออย่างไร
3. โรคระบาดไม่ได้จะเกิดขึ้นเพียงครั้งนี้ และโรคไข้หวัดนก มิใช่เป็นเพียงโรคระบาดเดียว ประเทศไทยในยุคใหม่นี้จะต้องเผชิญกับโรคระบาดต่างๆ อีกมาก และเราไม่สามารถคิดได้เพียงอยู่อย่างโชคดีได้ตลอดไป
Friday, May 1, 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment