Thursday, April 29, 2010

สงครามกลางเมืองอเมริกัน (American Civil War)

Abraham Lincoln


สงครามกลางเมืองอเมริกัน (American Civil War)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: การเมืองการปกครอง, conflict, ความขัดแย้ง

ฉันเดินช้า แต่ไม่เดินถอยหลัง Abraham Lincoln

ในราวปี ค.ศ. 1862 ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาที่ยึดหลักการต้องเลิกระบบทาสในสหรัฐอเมริกา ได้ตัดสินใจในการมอบหมายคนผิดหลายครั้ง เมื่อรัฐฝ่ายใต้ได้ปฏิเสธที่จะยอมรับการเลิกทาส จึงได้เกิดการแยกออกเป็นฝ่ายใต้และฝ่ายเหนือ กลายเป็นสงครามกลางเมือง (American Civil War) ที่ขมขื่นที่สุดของประเทศสหรัฐ สงครามกลางเมืองไม่ได้จบง่ายๆอย่างที่ต้องการ แต่ในท้ายที่สุดก็จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐบาล และได้ทำให้กฎหมายเลิกทาสเป็นความศักดิ์สิทธิ

สงครามเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1861 และยุติลงเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1865 บริเวณที่มีการรบพุ่งกัน คือ Atlantic Ocean ไปจนจรด Pacific Ocean และจบลงด้วยชัยชนะของรัฐบาลในฝ่ายเหนือ และทำให้เกิดการเลิกทาส และการต้องปรับปรุงประเทศใหม่ซึ่งใช้เวลายาวนานจนถึงปี ค.ศ. 1877

สงครามกลางเมืองอเมริกัน หรือ The American Civil War (ค.ศ. 1861–1865) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐ โดยรัฐทางฝ่ายใต้ ซึ่งมีอยู่ 11 รัฐได้ประกาศแยกตัว (secession) ออกจากประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วเรียกตัวเองว่า Confederate States of America หรือเรียกว่า “Confederacy” ซึ่งนำโดย Jefferson Davis ซึ่งต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาลที่ยังคงเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา หรือเรียกว่า the Union ซึ่งเป็นรัฐที่เรียกว่า รัฐเสรี (free states) ซึ่งมีรัฐที่มีชายแดนติดกับรัฐที่ยังไม่เลิกทาส 5 รัฐ (five border slave states)

ในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในนามพรรครีพับลิกัน (Republican Party) ซึ่งนำโดย Abraham Lincoln ได้รณรงค์ต่อต้านการขยายการมีทาสไปยังรัฐนอกจากที่ได้มีการค้าทาสอยู่แล้ว พรรครีพับลิกันได้รับชัยชนะ ก่อนที่ประธานาธิบดีลินคอล์นจะเข้าสู่ตำแหน่งในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1861 ประธานาธิบดี James Buchanan ที่กำลังจะหมดวาระและลินคอล์นที่จะเข้าสู่ตำแหน่งล้วนต่อต้านการยอมรับการมีทาส และเห็นว่ารัฐที่ยังคงค้าทาสนั้นเป็นฝ่ายกบฏ (rebellion)

James Buchanan

ความขัดแย้งรุนแรงได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1961 เมื่อกองทหารฝ่ายใต้ได้เข้าโจมตีกองทหารของรัฐบาลที่ประจำ ณ Fort Sumter และ South Carolina ประธานาธิบดีลินคอล์นจึงประกาศเกณฑ์ทหาร จากแต่ละรัฐ จึงทำให้มีรัฐอีก 4 รัฐได้ประกาศแยกตัวออกจากสหรัฐ และแต่ละฝ่ายได้ระดมกำลังจัดตั้งกองทัพของตนเอง ฝ่ายรัฐบาล หรือ The Union ได้เข้าควบคุมรัฐบริเวณชายแดนก่อนแล้วมีการปิดกั้นทางกองเรือ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1862 ลินคอล์นได้ประกาศเลิกทาสที่เรียกว่า Emancipation Proclamation เป็นการประกาศเลิกทาสในรัฐทางใต้เป็นเป้าหมายของสงคราม และบอกให้ฝ่ายประเทศอังกฤษไม่ให้เข้ายุ่งเกี่ยวกับสงคราม

ฝ่ายใต้ได้แม่ทัพชื่อ Robert E. Lee ได้รับชัยชนะในทางตะวันออก แต่ในปี ค.ศ. 1863 แต่การรุกไปทางเหนือได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงและพบกับความเสียหายหนักหลังสงครามสำคัญที่ Battle of Gettysburg และในทางตะวันตก ฝ่ายเหนือได้ชัยชนะในบริเวณแม่น้ำ Mississippi River สามารถเข้าครอง (capture) Vicksburg,ในรัฐ Mississippi ทำให้ฝ่ายใต้ต้องแยกเป็นสองส่วน ทำให้ฝ่ายเหนือได้รุกคืบทั้งกำลังคนยุทโธปกรณ์

ในขณะที่นายพลนำทัพฝ่ายเหนือ โดย William Tecumseh Sherman สามารถเข้ายึดครองเมือง Atlanta ในรัฐ Georgia แล้วรุกคืบไปจนถึงฝั่งทะเล ฝ่ายใต้ได้ต่อสู้แต่ก็ต้องยอมแพ้ไปในที่สุดและนายพล Lee ได้ยอมจำนนต่อนายพล Grant ที่ Appomattox Court House

สงครามกลางเมืองได้เข้าสู่ยุค สงครามอุตสาหกรรม (industrial wars) มีการใช้รถไฟ เรือกลไฟ มีการผลิตอาวุธและยุทโธปกรณ์อื่นๆแบบอุตสาหกรรม สงครามนำความเสียหายอย่างรุนแรง มีทหารทั้งสองฝ่ายเสียชีวิต 620,000 คน ส่วนพลเรือนเสียชีวิตนับไม่ถ้วน ชายในฝ่ายเหนือในวัย 20-45 ปี ร้อยละ 10 เสียชีวิต ในส่วนของฝ่ายใต้ ร้อยละ 30 ของคนในวัย 18-40 ปีที่ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารเสียชีวิต การที่ฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายเหนือได้รับชัยชนะ จึงทำให้ยกเลิกการมีทาส การค้าทาส และเพิ่มความแข็งแกร่งของการมีรัฐบาลกลาง (federal government) ส่วนการฟื้นฟูประเทศนั้นใช้เวลายาวนานจนถึงปี ค.ศ. 1877

1 comment:

  1. ผมได้ศึกษาเรื่องสงครามกลางเมืองอเมริกัน ด้วยความรู้สึกที่อยากให้คนไทยได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบร่วมกันที่จะยุติความขัดแย้งที่รุนแรงเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 2010 ในประเทศไทย หากเราเลือกได้ ก็ต้องหาทางจบความขัดแย้งด้วยความพยายามทุกรูปแบบ และจากทุกฝ่ายที่ทำให้เราหาข้อยุติอย่างสันติวิธี อันไม่ทำให้ประเทศไทยต้องก้าวสู่ความเป็นสงครามกลางเมือง ที่มีแต่จะสูญเสียแก่ทุกฝ่าย

    เรามีทางเลือก และทุกฝ่ายต้องร่วมกัน

    ReplyDelete