บทเรียนจากเมื่อนโปเลียนฝรั่งเศสรุกประเทศร้สเซีย
Invasion of Russia
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
Keywords: การเมือง, ทักษิณ ชินวัตร, Thaksin, Thaksinlive, ศาสนา, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, สันติภาพ, French invasion of Russia
ในปี ค.ศ.1812 กองทัพอันเกรียงไกรของพระเจ้านโปเลียนฝรั่งเศส ได้รุกเข้าไปในประเทศรัสเซียในยุคกษัตริย์ ฝรั่งเศสมีกองทัพขนาด 450,000 คน ได้รับการฝึกมาอย่างดี แต่การรุกเข้าไปในรัสเซียนี้ ได้รับการทัดทานจากฝ่ายเสนาธิการอย่างมาก เพราะประเทศรัสเซียมีขนาดกว้างใหญ่ มีภูมิอากาศที่รุนแรง แต่ฝ่ายนโปเลียนที่ประสบความสำเร็จในการรบอย่างต่อเนื่อง มีความเชื่อในความสามารถของทัพบก และต้องการเผด็จศึกโดยเร็ว จึงมีการระดมกำลังพล และรุกด้วยความแข็งแกร่งที่เหนือกว่า
แต่ฝ่ายรัสเซียที่มีกำลังทหารที่ไม่เข้มแข็งเท่า ใช้ยุทธศาสตร์ไม่ต่อกรด้วย รบพลาง ถอยพลาง และถอยลึกเข้าไปในประเทศ และไม่ปล่อยเสบียงกรังทิ้งไว้ หากนำไปได้ ก็นำติดไป หากยังเหลืออยู่เก็บเกี่ยวไม่ได้ ก็เผาทำลายทิ้ง ยุทธศาสตร์นี้เรียกว่า “ยุทธการเผาโลก” (scorched earth) การรุกเข้าไปในรัสเซีย ฝรั่งเศสไม่ได้พ่ายแพ้ทางการทหาร แต่ก็มีปัญหาอย่างมาก รุกเข้าไปแต่ทหารไม่มีอาหารจะกิน แม้ม้าไม่มีอาหารเช่นกัน
ฝรั่งเศสยิ่งรุกก็ยิ่งอ่อนล้า แต่เมื่อการรุกเข้าใกล้กรุงมอสโคว์ (Moscow) ในวันที่ 7 กันยายน อันเป็นช่วงจะเข้าสู่ฤดูหนาว รัสเซียก็ได้จัดแนวตั้งรับด้วยการรบที่เรียกว่า .”การรบที่บอโรดิโน” (Battle of Borodino) รัสเซียเสียทหารไป 44,000 คน ด้วยการเสียชีวิต บาดเจ็บ หรือถูกจับ ฝรั่งเศสเสียกำลังพลไป 35,000 คน แม้ในการรบครั้งนี้ จะถือว่าฝรั่งเศสจะเป็นฝ่ายชนะ แต่เมื่อยิ่งรุกใกล้กรุงมอสโคว์เข้าไป การรบก็ยิ่งรุนแรง แม้ฝรั่งเศสชนะในทางการทหาร แต่รัสเซียก็แสดงให้เห็นว่าไม่มีทางยอมแพ้ ยิ่งรบ แนวรบด้านอื่นๆก็ยิ่งหลวม การป้องกันประเทศฝรั่งเศสเองก็ถดถอยลง จากที่ยาตราทัพไปมีคน 400,000 คน เมื่อถอยกลับ เหลือคน 40,000 คนที่ได้ข้ามแม่น้ำเบเรซิน่า (Berezina River) กลับมา จำนวนคนที่ถดถอยไปเหลือเพียงร้อยละ 10 อาจมิได้หมายความว่าเสียชีวิตทั้งหมด อาจบาดเจ็บ หนีทัพ หรือยอมแพ้ และเขาเหล่านั้นไม่ได้กลับมารบต่อได้แล้ว สิ่งที่เป็นอุปสรรคของกองทัพฝรั่งเศส คือ ความเหนื่อยล้าและความสูญเสียจากการรบต่อเนื่อง การขาดอาหารและเสบียงกรัง และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คืออากาศหนาวเย็นของรัสเซีย (Winter Russia)
ในการรบเป็นหลักนั้น สิ่งที่สูญเสียคือ การต่อสู้ทางการฑูต ฝรั่งเศสยิ่งรบกลับถูกโดดเดี่ยว มีประเทศที่กลายเป็นศัตรูล้อมรอบไปหมด ในทางกองทัพเรือก็ต้องพ่ายแพ้แก่อังกฤษ
การรุกคือการนำสู่การพ่ายแพ้
ข้อเตือนสติและการเรียนรู้จากสงครามฝรั่งเศสรุกรัสเซียนี้ เป็นเรื่องศึกษาในทางการทหารและการเมืองอย่างมาก แต่ก็มีผู้นำประเทศทำผิดพลาดตามๆมาอีกหลายๆเหตุการณ์ เช่น เยอรมันนีในยุคฺฮิตเลอร์ (Hitler) รุกรัสเซียในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ประสบชะตากรรมคล้ายๆกันแต่หนักหน่วงและรุนแรงกว่า สหรัฐตัดสินใจส่งทหารเข้ารบในประเทศเวียตนาม ในสงครามเวียตนาม ต้องสูญเสียทหารไปกว่า 60,000 คน หรือแม้แต่สหรัฐรุกเข้าไปอิรัค (Iraq) ในสมัยรัฐบาล George W Bush ล้วนก่อให้เกิดความเสียหายทางการทหาร และการเศรษฐกิจต่อประเทศผู้รุก
ในประเทศไทยเดือนมีนาคม-เมษายน ค.ศ. 2910 แม้ในยามสงบ แต่ในยุทธการทางการเมือง การรุกเข้าประท้วง.ในกรุงเทพฯมหานคร (Bangkok - BKK) ของกลุ่มคนเสื้อแดง (Red shirts) หรือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (United Democracy Against Dictatorship – UDD) ซึ่งมีอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรเป็นผู้หนุนหลังอย่างเปิดเผยนั้น ได้มีการรุกใหญ่โดยหวังปิดเกมส์ และบีบบังคับให้รัฐบาลภายใต้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ต้องประกาศยุบสภา (House Dissolution) และประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่นั้น ถือเป็นการต่อสู้ทางการเมืองที่รุนแรง การรุกใหญ่ทางการเมือง โดยได้เริ่มประท้วงคนเสื้อแดงปิดถนนสายราชดำเนิน (Ratprasong, Rachprasong) และตั้งเวทีย่านสะพานผ่านฟ้า (Phan Fah Bridge) การประท้วงใหญ่คาดว่ามีคนเข้าร่วมประมาณ 60,000 คน โดยการประท้วงใช้วิธีการนำรถกระบะ (Pickup Trucks) จำนวนนับพันคัน และมีกลุ่มรถมอเตอร์ไซค์จำนวนอาจถึงหลายพันคันเช่นกันเข้าร่วม ซึ่งว่าไปแล้ว ก็ไม่ตางอะไรจากกองทัพประชาชน เพียงแต่ว่าน่าจะเป็นการจัดตั้งด้วยการจ้างวานนำคนจากต่างจังหวัด เพื่อเข้ากรุง ท้ายสุดไม่สามารถอยู่ได้ต่อเนื่องยาวนาน มาได้ 2-3 วันก็ต้องกลับ ทำให้การกดดันกระทำไม่ได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนการส่งกำลังบำรุงก็ไม่สมบูรณ์ การซื้อหาอาหาร น้ำดื่ม การสุขาภิบาล (Toiletry, sanitation) ล้วนมีปัญหา จึงทำให้ขวัญผู้เข้าร่วมไม่ยึดหมั่นได้ยืนยาว สังเกตได้จากเวลาชุมนุมที่จะมีคนมามากที่สุด จะอยู่ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ และเป็นเวลาตอนค่ำที่มีคนทำงานระดับล่างเป็นส่วนมากที่เข้ามาสมทบ ในช่วงเวลาเที่ยงคืนไปจนถึงเช้า จะเป็นช่วงที่มีคนน้อยที่สุด หากอ่อนหล้าและขวัญกำลังใจลดลงมากที่สุดแล้ว ท้ายสุดก็ต้องเลิกราไป ประกอบกับการไม่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มคนต่างๆในกรุงเทพมหานคร ยิ่งอยู่นานก็ยิ่งได้รับการต่อต้าน ทั้งทางตรง หรือด้วยความรู้สึกไม่ยอมรับ
ยิ่งการประท้วงที่ตามมาด้วยการรุกใหญ่ในช่วงเสาร์และอาทิตย์ โดยมีการรุกใหญ่คืบไปยังสถานที่อื่นๆ เช่นการตั้งเวทีการประท้วงที่ย่านราชประสงค์ (Ratchaprasong, Ratprasong) อ้นเป็นย่านการค้าหลักของกรุงเทพฯ แต่ดูเหมือนเหตุการณ์รุกนี้จะเป็นผลเสียย้อนกลับมายังฝ่ายทักษิณ กลุ่มคนเสื้อแดง (Red shirts – UDD) และพรรคเพื่อไทย (Pheu Thai Party) แม้มีการร่วมกันโจมตีในเวทีอภิปราย แต่ก็ทำให้พรรคเพื่อไทยขาดความชอบธรรมที่เป็นพรรคการเมือง แต่ก็ไม่ใช้วิธีการทางประชาธิปไตย ต่อสู้ในรัฐสภา แต่กลับไปต่อสู้บนท้องถนน การคุกคามต่อกลุ่มองคมนตรี ทหาร มหาวิทยาลัย นักวิชาการ กลุ่มสื่อสารมวลชน นักธุรกิจ ฯลฯ ล้วนแต่ยิ่งไปสร้างศัตรูมากยิ่งขึ้น การมีระเบิดเกิดขึ้นในที่ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด แม้ยังไม่มีการจับกุมที่นำไปสู่การขยายผล แต่คนส่วนใหญ่เชื่อว่ามีเบื้องหลังมาจากคุณทักษิณ ซึ่งก็ยิ่งนำไปสู่การตอกย้ำความเชื่อในความไม่ชอบธรรมและความหวังดีต่อบ้านเมือง
ในการต่อสู้ไปนั้นมีได้ในอีกหลายมิติ ในทางการต่างประเทศ คุณทักษิณกลับต้องพ่ายแพ้ในเวทีโลก ประเทศมหาอำนาจทั้งหลายไม่ต้อนรับ หรือไม่อยากให้คุณทักษิณเข้าประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และรวมถึงกลุ่ม European Union (EU) จีน ญี่ปุ่น กลุ่ม ASEAN แม้ประเทศกัมพูชาที่เคยประกาศไม่ยอมรับรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่ในการประชุมการแก้ปัญหาภัยแห้งแล้งในประเทศกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง ก็ได้แสดงให้เห็นเป็นนัยแล้วว่าไม่ต้องการให้คุณทักษิณใช้ประเทศกัมพูชาเป็นฐานในการกระทำอันเป็นปรปักษ์กับประเทศไทย
แต่อย่างไรก็ตามในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลอภิสิทธิ์ แม้มีกำลังตำรวจและทหารอยู่ในมือ แต่ยังไม่ได้มีการใช้กำลังในการปรามปรามผู้ชุมนุม แม้โดยความชอบธรรมและกฎหมายแล้วสามารถดำเนินการที่ใช้มาตรการเข้มข้นขึ้นได้แล้ว การใช้ยุทธการต่อสู้แบบไม่เข้าปะทะนี้ แสดงให้เห็นตลอดเวลาช่วงเกือบ 1 เดือน แม้หลายฝ่ายสุดจะอดทน เบื่อรัฐบาลภายใต้การนำของนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและพรรคร่วมรัฐบาล แต่ก็ยังยอมรับ แต่ที่แน่ๆ คือการเกลียดชังคุณทักษิณ และพรรคพวกของเขาที่เพิ่มมากขึ้น แต่เหตุที่ยังไม่ปล่อยให้ฝ่ายทหารใช้มาตรการเด็ดขาด ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่า คนไทยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคนยากจนในต่างจังหวัดที่ห่างไกลข้อมูลข่าวสาร และไม่เลือกที่จะรับฟังข่าวสารจากฝ่ายรัฐบาลยังมีอยู่มาก และนโยบายประชานิยมที่คุณทักษิณได้ใช้ในช่วงมีอำนาจนั้น ได้ผูกใจคนระดับล่างเอาไว้ได้มาก แต่ก็นั่นแหละ “การรุกที่ไม่รอบคอบ” ยิ่งรุกแล้วอยู่ทำลายธุรกิจผู้คนไปนานๆ ท้ายสุดก็คือการนำไปสู่การพ่ายแพ้อย่างถาวร
คุณทักษิณ แม้จะมีความยิ่งใหญ่ แต่ความผิดพลาดที่กระทำต่อเนื่องมาตลอด และการสู้อย่างจนตรอก และทำร้ายบ้านเมืองมากยิ่งขึ้น จะทำให้ท้ายสุดอาจจะต้องจบชีวิตแบบผู้แพ้ ในแบบนโปเลียนนักรบผู้ยิ่งใหญ่แบบไม่มีแผ่นดินจะอยู่ ดังนโปเลียนที่ต้องถูกเนรเทศไปอยู่เกาะ Saint Helena ในมหาสมุทรแอตแลนติก ห่างจากแผ่นดินไปกว่า 2,000 กิโลเมตร และเสียชีวิตอย่างสิ้นไร้ที่นั่น
No comments:
Post a Comment