Sunday, April 11, 2010

รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมแบบเสียบปลั๊ก Plug-in hybrid

รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมแบบเสียบปลั๊ก Plug-in hybrid


ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

เรียบเรียงโดยได้ข้อมูลจาก From Wikipedia, the free encyclopedia

ภาพ Toyota Prius plug-in hybrid เปิดตัวที่งานแสดงสินค้าในปี ค.ศ. 2010 ที่ Washington Auto Show.

รถยนต์ลูกประสมแบบเสียบปลั๊ก หรือ plug-in hybrid electric vehicle (PHEV), หรือรู้จักกันทั่วไปว่า plug-in hybrid, เป็นรถยนต์ลูกประสม (hybrid vehicle) แบบหนึ่งที่ขับเคลื่อนได้ด้วยแบตเตอรี่แบบอัดไฟได้ (rechargeable batteries) และด้วยการเสียบเข้ากับปลั๊กไฟที่จะชาร์ตไปเก็บเป็นพลังไฟฟ้า (electric power)

รถแบบ PHEV มีลักษณะเหมือนกับรถลูกประสมแบบทั่วไป (Hybrid electric Vehicle) ตรงที่มีมอเตอร์ไฟฟ้า (electric motor) และมีเครื่องยนต์ใช้พลังเผาไหม้ (internal combustion engine) แต่มีระบบปลั๊กเสียบ (plug) ที่ต่อเชื่อมกับระบบเครือข่ายไฟฟ้า (electrical grid) ความจริงคำว่า Vehicle นั้นไม่ได้จำกัดว่าเป็นรถยนต์นั่ง แต่ในปัจจุบันจะเน้นไปที่รถยนต์นั่งแบบต่างๆเป็นส่วนใหญ่ (Passenger cars) แต่จริงแล้วยังมีรถประเภทอื่นๆ เช่น รถบรรทุก (utility trucks), รถโดยสาร (buses), รถไฟ (trains), รถมอเตอร์ไซค์ (motorcycles), รถสองล้อเครื่องแบบ scooters, และยานพาหนะทางการทหาร (military vehicles)

สำหรับค่าใช้จ่ายในการใช้รถไฟฟ้าลูกประสมแบบเสียบปลั๊กนี้ ประมาณว่า หากเป็นการใช้โดยใช้ไฟฟ้าทั้งหมดได้ จะมีค่าใช้จ่ายประมาณร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายเมื่อใช้น้ำม้นทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้รถยนต์ธรรมดา รถยนต์แบบ PHEV จะลดมลพิษทางอากาศ ทำให้พึ่งพาปิโตรเลียม (petroleum) และ พลังงานจากซากพืชสัตว์ทับถมนับล้านๆปีอย่าง (fossil fuels) และทำให้ลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gas) ที่เป็นเหตุแห่งภาวะโลกร้อน (global warming) ดังในปัจจุบัน

PHEVs เป็นการลดความกังวลที่เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า (All-electric Vehicles) ที่จะยังมีปัญหาเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ว่าจะมีสถานีเติมไฟฟ้ารองรับหรือไม่ เมื่อต้องเดินทางไปในที่ต่างๆ ระบบ PHEVs จะมีเครื่องยนต์ที่จะสามารถใช้วิ่งได้ด้วยระบบน้ำมันปกติ แต่จะประหยัดกว่า ด้วยการออกแบบทำให้ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนรถ Hybrid ทั่วไป ด้วยการใช้พลังงานเก็บจากที่เหลือจากพลังงานเครื่องยนต์ การลดความจำเป็นที่ต้องเข้าสถานีเติมน้ำมันหรือเติมไฟ (filling station) มีระบบสำรองพลังงาน (emergency backup power) วิ่งได้ระยะทางยาวไกลขึ้น สามารถเติมไฟได้ที่บ้าน หรือที่เครือข่ายสถานีเติมไฟ (vehicle-to-grid) กล่าวโดยสรุป คือสามารถใช้งานได้จริงเลยในปัจจุบัน ไม่ต้องรอระบบโครงสร้างพื้นฐานดังระบบรถไฟฟ้าเต็มรูป

หากพูดถึงแนวทางที่จะพัฒนาระบบรถยนต์ไฟฟ้า PHEVs นี้ ได้มีบริษัทรถยนต์ทั่วโลกหลายแห่งได้หันมาพัฒนา ดังเช่นบริษัท BYD Auto ที่ได้ออกรถรุ่น F3DM PHEV-62 (PHEV-100 km) หรือรถ PHEV ที่วิ่งได้ด้วยไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวในระยะทาง 100 กิโลเมตร มีราคาประมาณ UDS 22,000 เปิดตัวเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2008 และได้เริ่มขายที่เมือง Shenzhen ในประเทศจีนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010

บริษัท Toyota ได้เลือกแนวทาง PHEVs ต่อเนื่องจากการผลิตรถในรูปแบบ Hybrid ดังในรถ Prius ที่ได้มีการปรับปรุงและประสบความสำเร็จอย่างยิ่งมาแล้ว

ในสหรัฐอเมริกามีบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่อย่าง General Motors,[12] และ Ford,[13] ที่ได้หันมาให้ความสำคัญต่อรถยนต์ทางเลือก ในรัฐมีบริษัทอย่าง California startups

นอกจากนี้ยังมี Fisker Automotive[14] และ Aptera Motors,[15] โดยภาพรวมในโลก Volkswagen,[16] Volvo,[17][18] แห่งเยอรมัน Hyundai[19] ของเกาหลีใต้ ล้วนได้เปิดตัวว่าจะมีรถยนต์แบบ PHEvs ออสู่ตลาดในเร็ววันนี้

สำหรับรถยนต์ระดับหรูอย่าง Fisker Karma PHEV-50 (PHEV-80 km) อ้นเป็นรถยนต์นั่งสปอร์ต (sports car) จะออกตัวในปลายปี ค.ศ. 2009


ภาพ Chevy Volt รถไฟฟ้าแบบ PHEV ของบริษัท General Motors



ส่วนบริษัท GM จะออกรถในแบบ PHEV-40 (PHEV-64 km) Chevrolet Volt สามารถวิ่งได้ระยะ 40 ไมล็ หรือ 64 กิโลเมตรด้วยไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว

บริษัทรถยนต์ VW ของเยอรมันจะออกตัว Volkswagen Golf PHEV-50 km ที่จะวิ่งได้ 50 กิโลเมตรโดยระบบไฟฟ้าอย่างเดียว โดยจะออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 2010

บริษัทฟอร์ดของสหรัฐอเมริกา จะออกตัว Ford's PHEV-30 Escape SUV ในรูปของรถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมแบบเสียบปลั๋ก

Toyota Prius มีวิธีการปรับรถแบบ Hybrid ไปสู่การมีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้สามารถวิ่งได้ด้วยระบบไฟฟ้าอย่างเดียวได้ในระยะทางที่ยาวขึ้น และให้มีความหลากหลายตามความต้องการของผู้ใช้ที่จะต้องรู้ธรรมชาติการใช้ปกติของแต่ละคนหรือครอบครัว ส่วนเครื่องยนต์ที่มีนั้น ไว้ใช้เพื่อการขับเคลื่อนในเวลาที่ไฟฟ้าในแบตเตอรี่ได้ลดต่ำลงจนถึงระดับหนึ่ง เครื่องยนต์ก็จะทำงาน

โดยทั่วโลก ได้มีแผนการส่งเสริมระบบรถไฟฟ้า และระบบ PHEVs จะเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการสนับสนุนรถยนต์ทางเลือก ดังในประเทศสหรัฐ (United States) และประเทศอื่นๆในยุโรป (European) ทั้งนี้จะด้วยมาตรการลดภาษี การกำหนดมาตรฐานการปล่อยก๊าสเรือนกระจก หรือคาร์บอนไดออกไซด์ การให้เงินสนับสนุนการวิจัย การพัฒนาแบตเตอรี่แบบก้าวหน้าและเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ส่วนรัฐบาลท้องถิ่นก็จะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลกลางในการดึงดูดอุตสาหกรรมและการวิจัยเพื่อพัฒนาอันเกี่ยวกับระบบรถยนต์ไฟฟ้าในแบบต่างๆ เพื่อดึงเงินทุนเพื่อการพัฒนาเข้าสู่ท้องที่ของตน

No comments:

Post a Comment