Thursday, April 8, 2010

FDR สู่ยุคความหวังใหม่: ผู้นำต้องกล้าที่จะทำ

FDR สู่ยุคความหวังใหม่ผู้นำต้องกล้าที่จะทำ


ภาพ Franklin Delano Roosevelt
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat


คำนำ

ปี ค.ศ. 1932
ประวัติประธานาธิบดี Roosevelt
ย้อนสู่ยุควิกฤติในประเทศไทย

สู่ความหวังใหม่
สู่ความหวังใหม่
สู่วันใหม่และความหวังใหม่

The skies above are clear again, 
So let's sing a song of cheer again, 
Happy days are here again. 
ท้องฟ้าเหนือเราแจ่มใส 

เรามาร้องเพลงเพื่อรื่นรมย์กันเถอะ 
วันแห่งความสุขมาแล้ว
ความหมายของ New Deal
โครงการต่างๆ มากมาย
นโยบาย 3 Rs
การบรรเทาทุกข์ (Relief)
     การสร้างงาน
     การพัฒนาชุมชนเกษตรใหม่
     ความเห็นที่ต่าง
การฟื้นฟู (Recovery)
การปฏิรูป (Reform)
     การดูแลตลาดหลักทรัพย์
     สนับสนุนการเกษตร
ความมั่นคงของธนาคาร
     รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่
     ด้านแรงงานสัมพันธ์
กลุ่มผู้สนับสนุน
การต่อต้าน
สรุป



ศึกษาและเรียบเรียง

Updated: Saturday, January 30, 2010

Keywords: cw059 ความเป็นผู้นำ, ภาวะผู้นำ, leadership, Roosevelt, FDR, ความคิดริเริ่ม, New Deal, ความหวังใหม่

จงอย่ายืนอยู่เฉยๆ (Don't Just Stand There . )

เมื่อประเทศชาติต้องการ และเป็นในจังหวะที่ต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง เราก็ต้องกล้าที่คิดลองทำ ทำแล้วทำอีก จึงเป็นเรื่องที่ใช้สามัญสำนึกก็รู้ว่าจะต้องลองทำบางอย่าง หากล้มเหลว ก็ยอมรับมันอย่างตรงไปตรงมา แต่อย่างน้อยที่สุดก็คือต้องลองทำบางอย่างให้เกิดขึ้น

Franklin D. Roosevelt

Franklin Delano Roosevelt เกิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1882 และเสียชีวิตในวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1945 เนื่องด้วยชื่อที่ยาว คนจึงเรียกย่อๆว่า FDR เขาเป็นประธานาธิบดีคนที่ 32 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับการเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งถึง 4 วาระ มากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา คือในช่วงระหว่างปีค.ศ. 1933 จนถึงปี ค.ศ. 1945 และเสียชีวิตในระหว่างดำรงตำแหน่งในวาระสุดท้าย และเป็นช่วงที่อยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

Roosevelt จัดเป็นบุคคลแห้งศตวรรษที่ 20 และเป็นประธานาธิบดีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 1 ใน 3 คน


ภาพ 1 ภาพลักษณ์ Franklin Delano Roosevelt ที่ฉายความมั่นใจ

ประธานาธิบดี Roosevelt มีภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำที่ทรงพลัง แม้โดยข้อเท็จจริงแล้วเป็นชายร่างพิการที่ส่วนใหญ่ต้องไปไหนมาไหนด้วยรถเข็น เขาได้กล่าวประโยคอัมตะว่า สิ่งที่เราต้องกลัวที่สุด คือความกลัวนั่นเอง
ภาพ 2 FDR บนรถเข็น (Wheelchair)

ภาพที่ไม่ค่อยให้ปรากฏต่อสาธารณชนมากนัก คือภาพของเขาในรถเข็น Roosevelt ป่วยเป็นโปลิโอที่ทำให้เขามีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ไม่ได้ทำให้สิ้นหวัง หรือมีทัศนคติอ่อนแอ หรือทำให้คนเห็นว่าอ่อนแอ

ภาพ 3 Fire side Chat

กล่าวคือเมื่อเริ่มต้นในครั้งแรกเมื่อเป็นผู้ว่าการรับนิวยอร์ค Roosevelt ต้องเผชิญกับการต่อต้านจากฝ่ายนิติบัญญัติของของพรรคตรงข้ามคือ Republican เขาจึงได้รับคำแนะนำให้หันไปสื่อสารกับประชาชนของรัฐนิวยอร์คโดยตรง โดยอาศัยการพูดออกรายการวิทยุในขณะนั้น ซึ่งถือว่าเป็นความก้าวหน้ามาก เพราะรายการมีการถ่ายทอดไปทั่วประเทศ และเป็นการกดดันฝ่ายต่อต้านที่ทำให้ต้องหันมาสนับสนุนผ่านร่างกฎหมายของเขา

ในยามที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน (พ.ศ. 2549-2550) เรากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่เศรษฐกิจชะลอตัวมากที่สุด เติบโตน้อยที่สุดในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอย่างอาเซียน ที่เขาเติบโตกันอย่างถ้วนหน้า ในประเทศมีความขัดแย้งที่ดูเหมือนจะไม่มีทางออก

ในระดับประเทศเรามีสุญญากาศของการนำและการปกครอง การปกครองภายใต้สถานการณ์ที่ไม่ปกตินี้ยิ่งนานเท่าใด ก็ยิ่งเป็นผลเสียต่อบ้านเมือง เราหวังว่าประเทศไทยจะมีรัฐธรรมนูญใหม่โดยเร็ว และเป็นรัฐธรรมนูญที่คนส่วนใหญ่ออกเสียงประชามติรับ และนำไปสู่การจัดให้มีการเลือกตั้งตามแผนงาน คือในราวปลายปี พ.ศ. 2550 และไม่นานไปกว่านั้น

เราหวังว่าจะมีผู้นำใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง มีผู้นำที่มาจากระบบพรรคการเมืองที่ไม่ผูกขาดอำนาจ ไม่นำไปสู่การคอรัปชั่นโกงกินบ้านเมือง แต่ขณะเดียวกัน ก็มีความสามารถที่จะนำประเทศในโลกเศรษฐกิจที่มีการแข่งขัน แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้สังคมไทยมีความมั่นคงในทางสังคมการเมือง และมีความสมดุลในวิถีชีวิตแบบเพียงพอ และเป็นธรรมให้กับทุกฝ่าย

เราอยู่ในโลกที่ต้องมีความหวัง และเป็นความหวังใหม่ที่จะต้องดีกว่าเดิม เราต้องเรียนรู้ที่จะอภัยให้กัน เลิกการเมืองแบบเป็นฝักเป็นฝ่าย และแบ่งขั้วเป็นพวกฉันและพวกท่าน ทุกฝ่ายพร้อมที่จะลดละ เจรจา หาทางออกร่วมกันอย่างยึดประโยชน์บ้านเมืองเป็นหลัก

ในช่วงต่อไปนี้ ปี่กลองกำลังจะเชิดแล้ว เรากำลังเข้าสู่ยุคแสวงหาผู้นำทางการเมืองใหม่ ประชาชนแต่ละกลุ่มเหล่า เขาอาจมีวิธีการคิดที่แตกต่างกันออกไป แต่ท้ายที่สุด ไม่มีวิธีการใดจะดีไปกว่าการใช้ระบอบประชาธิปไตยเป็นตัวตัดสิน คนส่วนใหญ่ต้องการเช่นใด เราก็ต้องพร้อมที่จะไปในทางนั้น แต่ขณะเดียวกัน คนกลุ่มน้อยก็จะต้องได้รับการรับฟัง และประนีประนอมไปสู่ความยอมรับร่วมกันได้
การเมืองในระบอบประชาธิปไตยเป็นความหวังและทางออก มันอาจมีความขัดแย้งบ้าง ต้องมีการต่อสู้ทางความคิดและผลประโยชน์บ้าง แต่อย่างน้อยมันมีกรอบในการต่อสู้โดยไม่ต้องใช้อาวุธ หรือการดำเนินการแบบแตกหัก

ในการนี้ ผู้เขียนจึงได้ศึกษาและเลือกกรณีการแก้วิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคเมื่อ 75 ปีที่แล้วมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นความหวัง และร่วมเรียนรู้บทเรียนประชาธิปไตยและความเป็นผู้ในยามวิกฤติ

วันศุกร์สีดำ


ตลาดหลักทรัพย์ New York Stock Exchange (NYSE) ในช่วงปี ค.ศ. 1929 เมื่อประชาชนทราบข่าวตลาดหลักทรัพย์ล่ม

ตลาดหลักทรัพย์ล่มในปี ค.ศ. 1929 ซึ่งเรียกในภาษาอังกฤษว่า The Wall Street Crash 1929 และเรียกว่าเป็น Black Thursday นับเป็นวันที่ตลาดหลักทรัพย์ล่มที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา และการล่มในช่วงดังกล่าวส่งผลที่ยาวนานไปทั่วประเทศ และทั่วโลก นักเศรษฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ต่างเห็นแตกต่างกันว่าอะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้ตลาดล่ม บางคนกล่าวว่ามันเป็นอาการ (Symtom) ของวิกฤติเศรษฐกิจ (Great Depression) ที่ระบบเศรษฐกิจภาคการผลิตของประเทศก็ยังดีอยู่ทุกประการ มีสินค้าและบริการดีๆมากมาย แต่ไม่มีคนซื้อ มีทรัพยากรนานาประการอยู่ในประเทศ แต่ไม่มีค่า เพราะไม่มีคนนำไปพัฒนาใช้ให้เกิดประโยชน์ คนอยากทำงานแต่ไม่มีงานจะให้ทำ
ภาพ 5 Dow Jones Industrial Average ในช่วงปี 1929 ได้ขึ้นไปสูงสุดที่ 381 ในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1929 แต่ในช่วงเดือนตุลาคม ข่าวลือสะพัดไปทั่วเกี่ยวกับสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศและโลก

กราฟฟิก ดรรชนีย์ตลาดหลักทรัพย์ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ
ภาพ กราฟอ้ัตราผู้ตกงานที่พุ่งขึ้นในช่วงหลักวิกฤติเศรษฐกิจปี ค.ศ. 1929 จนกลับสู่ปกติในปี ค.ศ. 1940

ภาพ สตรีและครอบครัว ที่ทุกข์ยากในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ

เวลา 1.00 PM ในวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1929 นายธนาคารหลายคนได้ตื่นตระหนกที่การค้าหุ้นได้หล่นลงมาติดพื้น จึงได้เรียกประชุม และได้พยายามหามาตรการสกัดความตื่นตระหนก แต่ก็หยุดยั้งได้เพียงชั่วระยะสั้น แต่หลังจากนั้นนับเป็นเดือนหุ้นก็ยังมีมูลค่าตกต่ำลงโดยตลอด หลายบริษัทเห็นท่าไม่ดีก็ถอนหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์ ความเชื่อมั่นต่อตลาดก็ยิ่งตกต่ำลงไปอีก จากช่วงสูงสุดที่ 381.17 ได้ตกต่ำลงมาเหลือที่ 200 จุด และก็ยังตกต่ำอยู่เช่นนั้นอีก 3 ปี

วันแห่งความสุขมาแล้ว
Happy days are here again,

วันแห่งความสุขมาแล้ว


เพลงนี้จัดทำเพลงโดย Milton Ager และเนื้อร้องโดย Jack Yellen เพลงนี้แต่งเพื่อภาพยนตร์เรื่อง "Chasing Rainbows" ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1929 เพื่อฉายการมองโลกในแง่ดี และได้กลายเป็นเพลงหาเสียงของ Roosevelt ในช่วงปี ค.ศ. 1932 และของพรรคดีโมแครต (Democrat) ในยุคต่อๆ มาและตราบจนถึงปัจจุบัน

ฟังเพลงได้ที่ http://www.niehs.nih.gov/kids/lyrics/happydays.htm

ในปี ค.ศ. 1932 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุคของประธานาธิบดี Franklin Delano Roosevelt ได้เสนอนโยบาย สู่ความหวังใหม่ (New Deal) ภายหลังได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นให้เป็นประธานาธิบดี เพื่อเข้ามาแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า The Great Depression

Franklin D. Roosevelt กับนโยบาย “New Deal”

ความหมายของคำว่า Deal เมื่อจะแปลนโยบายของประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt ผู้นำสหรัฐในยุคฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เรียกว่า New Deal ซึ่งแปลความหมายได้ยาก และคิดว่าไม่น่าจะแปลอย่างตรงตัว คำว่า สู่ความหวังใหม่ น่าจะเหมาะสำหรับความหมายของ New Deal

ในความหมายของ Deal ที่ใกล้เคียงกับสภาพการเมืองในยุคนั้น Deal คือ “an arrangement for mutual advantage” หรือ การจัดการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย และเป็นการจัดการใหม่ที่ให้ความหวังแก่คน

นโยบาย New Deal เป็นชื่อที่ประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้ไว้ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำในการเข้ารับตำแหน่ง ค.ศ. 1933-1938 ทั้งนี้ด้วยเป้าหมายที่จะช่วย บรรเทาทุกข์ (relief), ฟื้นฟู (recovery) และปฏิรูปเศรษฐกิจ (reform) ของประเทศในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ (The Great Depression) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่สภาพความฝืดเคืองและยากแค้นได้ส่งผลไม่เพียงในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ได้มีผลสะเทือนไปทั่วโลก และรวมถึงในประเทศไทย

การแก้ปัญหาของชาตินั้น ทำให้ประธานาธิบดีต้องจัดตั้งหน่วยงานจำนวนมากมายที่มีคนเรียกว่า alphabet agencies คือมีมากมายจนเรียกไม่ถูก ต้องมีการใช้อักษรย่อเพื่อสื่อสาร สำหรับนักประวัติศาสตร์ได้มีการจำแนก New Deal ระยะแรก คือในช่วงปี ค.ศ. 1933 ซึ่งมีการส่งผลต่อทุกกลุ่มเหล่า แต่ใน New Deal ครั้งที่ 2 คือในปี ค.ศ. 1935-1936 นั้น หลายฝ่ายมองว่าเป็นการทำให้เกิดความขัดแย้งในชนชั้น ระหว่างฝ่ายธุรกิจและฝ่ายสหภาพแรงงาน (Labor unions) พวกไม่ชอบ New Deal ก็จะบ่นว่า นโยบายนี้ทำให้อำนาจไปอยู่ที่กรุงวอชิงตัน หรือเป็นการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลางมากเกินไป เพราะในวัฒนธรรมการบริหารประเทศของสหรัฐคือการต้องเคารพอธิปไตยของแต่ละรัฐที่ประกอบเป็นประเทศ ดังนั้นในระยะหลังนโยบายของ New Deal จึงสูญเสียฐานการสนับสนุน ศาลสูงได้ตัดสินว่าการดำเนินนโยบาย New Deal นั้นขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญของสหรัฐ หลายองค์การและงานของ Roosevelt ต้องถูกยุบเลิกหรือปรับเปลี่ยนไป แต่ที่เหลือมาจนถึงปัจจุบันคือ การดูแลเรื่องสวัสดิการสังคม (Social Security), และ คณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ (Securities and Exchange Commission - SEC), ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมตลาดหลักทรัพย์ของประเทศที่สำคัญที่ตั้งอยู่ ณ ถนน Wall Street บนเกาะ Manhattan ศูนย์กลางธุรกิจของเมืองนิวยอร์ค และของสหรัฐอเมริกา

Relief, Recovery, and Reform


นโยบาย New Deal ต่อไปนี้จะเรียกเป็นไทยว่า สู่ความหวังใหม่ ประกอบไปด้วย (1) การให้ความช่วยเหลือไปยังผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง เรียกว่า direct relief เช่นคนตกงาน ก็ให้ได้มีงานทำ แม้ไม่ได้เป็นเงิน ก็ได้เป็นคูปอง เพื่อไปแลกอาหาร (2) การฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรือ economic recovery อันเป็นการจัดการให้เศรษฐกิจฟื้นตัวโดยเร็ว สร้างความหวังและนำความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ให้กลับฟื้นคืนมาใหม่ และ (3) การปฏิรูประบบการเงินการคลังของประเทศใหม่ เรียกว่า financial reform

การบรรเทาทุกข์ (Relief) ที่ต้องการให้ส่งผลไปช่วยยังประชากรของประเทศประมาณ 1 ใน 3 ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจตกต่ำ Roosevelt ได้ขยายงานของประธานาธิบดี Hoover คนก่อนเขา ในงานบรรเทาทุกข์ (Federal Emergency Relief Administration - FERA) งานพลเรือนอนุรักษ์ (Civilian Conservation Corps - CCC), ฝ่ายบริหารงานสาธารณะ (Public Works Administration - PWA), และหน่วยงานพัฒนางานก้าวหน้า (Works Progress Administration - WPA) ในปี ค.ศ. 1935 ได้มีการเพิ่มหน่วยงานประกันสังคมและการว่างงาน (social security and unemployment insurance programs)

การแก้ปัญหาบรรเทาทุกข์ของประชาชนเป็นอันมาก เกิดจากการใช้กลไกของรัฐบาลกลาง สร้างโครงการที่ว่าจ้างคนจำนวนมาก ให้มาทำงานเพื่อสาธารณประโยชน์ของชุมชน มีทั้งใหญ่บ้าง เล็กบ้าง เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่มีขึ้นในทั่วทุกหัวระแหง

Federal Emergency Relief Administration (FERA) เป็นหน่วยงานใหม่ที่ให้ชื่อโดยรัฐบาล Roosevelt จากเดิมที่ชื่อ Emergency Relief Administration ในสมัย Herbert Hoover ในปี ค.ศ. 1932

งานหลักของหน่วยงานนี้คือการช่วยปัดเป่าการว่างงานของผู้ใหญ่ที่ต้องตกงานจากสภาวะเศรษฐกิจ ด้วยเหตุดังกล่าว FERA จึงมีการผันเงินกว่า 3100 ล้านเหรียญไปยังรัฐและท้องถิ่น ที่ไปทำงานในโครงการระดับชุมชน ในการนี้ได้ทำให้คนกว่า 20 ล้านคนได้มีงานทำ และได้มีอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้เกิดขึ้นในที่สาธารณะทั่วประเทศ และด้วยการที่ต้องเผชิญกับการว่างงานและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน ในการนี้ ในช่วงปี ค.ศ. 1933-1934 จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยงาน Civil Works Administration (CWA) ใช้เงินไป 400 ล้านเหรียญเพื่อกระตุ้นการสร้างงานในระยสั้น และในปี ค.ศ. 1935 เมื่อสภาพเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวบ้างแล้ว หน่วยงานนี้ก็ถูกยกเลิกไป และงานด้านบรรเทาทุกข์ก็โอนถ่ายสู่ หน่วยงานชื่อ Work Progress Administration - WPA และ Social Security Board

ในยุค New Deal ได้เกิดสำนักงานบริหารถิ่นฐาน (The Resettlement Administration - RA) อันเป็นส่วนงานในรัฐบาลกลาง เป็นแนวคิดของ Rexford G. Tugwell ศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Columbia ที่มาช่วยงานเป็นที่ปรึกษาให้กับ Roosevelt ในช่วงการหาเสียงระยะหลัง

แนวคิดคือการปฏิรูปที่ดิน โดยตั้งหน่วยงานที่จะโยกย้ายคนในเมืองและชนบทที่ครอบครัวประสบปัญหา ให้เข้าอยู่ในชุมชนที่รัฐบาลกลางจัดตั้งขึ้น และเมื่อมีการจัดตั้งขึ้น แต่ในแนวทางที่รัฐบาลกลางเข้าไปดำเนินการอย่างมากนี้ได้รับการโจมตีจากรัฐสภา จึงได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานใหม่ เป็น the Farm Security Administration (FSA) หรือการบริหารความมั่นคงในฟาร์ม และได้ดำเนินการต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1937 ถึงปี 1942 จึงได้ยุติบทบาทลง

ในโปรแกรมการสร้างงานได้รับคำชื่นชมจากนักเศรษฐศาสตร์ทั่วไป ในการนี้ [3]Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง ผู้ยึดมั่นในเศรษฐกิจนิยมเสรี และได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าว ได้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโททางเศรษฐศาสตร์ ได้รับการว่าจ้างให้ไปศึกษาการเงินของครอบครัวที่ประสบปัญหาความยากลำบาก เขาและภรรยาได้เห็นว่า การสร้างงานและผันเงินสู่ชนบทนี้เป็นมาตรการที่เหมาะสม แต่การที่ไปกำหนดให้มีราคาสินค้าและอัตราค่าจ้างแบบตายตัว อันเป็นมาตรการที่ออกโดย National Recovery Administration และ Agricultural Adjustment Administration มีความไม่เหมาะสม

นโยบายฟื้นฟู (Recovery) เป็นความพยายามในการมีหลายๆ โปรแกรมที่จะทำให้เศรษฐกิจกลับคืนสุ่สภาพปกติ และดรรชนีเศรษฐกิจก็ได้แสดงว่าเศรษฐกิจของประเทศได้กลับสู่สภาพปกติแล้วในปี ค.ศ. 1937 ยกเว้นตัวเลขด้านอัตราการว่างงานยังสูงอยู่อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีการเกณฑ์ทหารไปรับในสงครามทั้งภาคพื้นยุโรปและเอเชียจำนวนมาก อัตราการว่างงานจึงลดลง
จะเห็นได้ว่าในช่วงปี ค.ศ. 1920 เป็นต้นมาจนถึงปี ค.ศ. 1929 อันเป็นวันศุกร์มหาวินาศ (Black Friday) เศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกาเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี แต่ช่วงหลังจากปี ค.ศ. 1929 จนถึงปี ค.ศ. 1932 เศรษฐกิจได้ตกต่ำลงตลอดจนถึงยุคสมัยของประธานาธิบดี Roosevel และหลังจากนั้น เศรษฐกิจได้ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แม้จนเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 เศรษฐกิจสหรัฐก็ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงยุคปี ค.ศ. 1960 ก่อนเข้าสู่สงครามเวียดนาม

New Deal เป็นนโยบายที่ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้ผล เป็นระบบกระตุ้นที่ดี แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแล้ว การใช้นโยบายสนับสนุนอย่างมากๆ จากรัฐบาลกลางก็จะลดความจำเป็นลง และอาจดำเนินการไปได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ


การปฏิรูประบบการเงินและเศรษฐกิจ (Reform) เกิดจากสมมุติฐานที่ว่า วิกฤติเศรษฐกิจเป็นผลมาจากตลาดที่ไร้เสถียรภาพ มีความหวาดกลัวและตื่นตระหนกจนเกินเหตุ ดังนั้นรัฐบาลจึงมีเหตุผลที่จะเข้าไปแทรกแซงและสร่างเถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทำให้ชาวนา ฝ่ายธุรกิจ และแรงงานได้รับผลประโยชน์อย่างสมดุล ในการนี้จึงได้มีการสร้างหน่วยงานในระดับรัฐบาลกลาง

เช่น สำนักงานฟื้นฟูแห่งชาติ (the National Recovery Administration NRA), ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1933 และมาสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1935), แต่เป็นผลที่ทำให้ต้องมีการควบคุมการดำเนินการในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ Wall Street (SEC, 1934),


มีการออกกฎหมายสนับสนุนราคาและการขายผลิตผลการเกษตร ชื่อว่า the Agricultural Adjustment Act - - AAA) ซึ่งมีบทบาทในช่วงปี ค.ศ. 1933 และ 1938)

The Agricultural Adjustment Act (หรือเรียกย่อๆว่า AAA) ซึ่งได้ประกาศเป็นกฎหมายในในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 ที่จะกำหนดให้มีการควบคุมและจำกัดการเพาะปลูกพืชบางชนิดได้ ทังนี้เพื่อลดสภาวะพืชผลการเกษตรล้นตลาด ทั้งนี้โดยการจ่ายเงินสนับสนุนให้ชาวนาที่เข้าร่วมโครงการ หากให้มีการกำหนดปริมาณการเพาะปลูกพืชดังกล่าว ด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงได้มีหน่วยงานกลางที่ชื่อว่า the Agricultural Adjustment Administration เพื่อทำหน้าที่ดูแลการให้เงินสนับสนุนแก่ชาวนาดังกล่าว

ในด้านความไม่มั่นคงของธนาคารในประเทศสหรัฐอเมริกา ดังเช่นเมื่อมีความตกใจ คนมาถอนเงินจำนวนมากๆ ไปพร้อมๆ กันหลายๆ คน และจนธนาคารแห่งนั้นๆ ไม่มีเงินจะจ่าย ก็ทำให้มี ระบบเงินฝากกลางร่วมระหว่างธนาคารกลาง หรือ insurance of bank deposits (Federal Deposit Insurance Corporation 1933) รัฐสภาของสหรัฐในยุคนั้นจึงได้มีกฎหมายชื่อว่า Glass-Steagall Act ในปี ค.ศ. 1933 โดยได้เห็นตัวอย่างการรวมตัวของธนาคารแห่งแมสสาชูเสท (Commonwealth of Massachusetts) ที่ให้สมาชิกธนาคารต้องฝากเงินรายละ 100,000 เหรียญสหรัฐ เอาไว้เป็นกองทุนกู้ยืมระหว่างธนาคาร

The Tennessee Valley Authority (TVA) เป็นโครงการทีริเริ่มในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1933 ในยุคของประธานาธิบดี Roosevelt และโดยรัฐบาลกลางอีกโครงการหนึ่งที่มีหน้าที่จัดบริการนำร่องน้ำ ควบคุมภัยน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้า การผลิตปุ๋ย และการพัฒนาเศรษฐกิจให้กับพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ Tennessee ที่เรียกว่า Tennessee Valley อันเป็นเขตที่ได้รับผลกระทบจากช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ (The Great Depression) TVA

ภาพ 1 การลงนามโดยประธานาธิบดี Roosevelt ในการริเริ่มโครงการ The Tennessee Valley Authority (TVA) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาลุ่มแม่น้ำ Tennessee

โดยทั่วไป การสร้างโครงการขนาดใหญ่ใดๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตและกังวลมากที่สุด แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถกระทำได้อย่างมากในยุคของ Roosevelt นั้นเป็นเพราะสถานการณ์วิกฤติ ที่ทุกฝ่ายต้องยอมให้กับความเป็นผู้นำ และในความเป็นผู้นำนั้นไม่มีปัญหาด้านผลประโยชน์ทับซ้อน

หากโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้เป็นสิ่งที่เกิดในประเทศไทย ปัญหาที่จะตามมาคือเรื่องของความโปร่งใส การเข้าฉกฉวยผลประโยชน์โดยฝ่ายการเมืองที่เข้ามาพร้อมกับการลงทุนหาเสียง ซื้อเสียง โดยไม่ใยดีต่อประโยชน์ของส่วนรวม

วิสัยทัศน์ของ TVA ไม่ใช่เพียงการให้บริการกระแสไฟฟ้า แต่เป็นหน่วยงานพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค TVA ครอบคลุมเกือบทั้งหมดของรัฐ Tennessee, บางส่วนของ Alabama, Mississippi และ Kentucky และยังไปถึงบางส่วนของรัฐ Georgia, North Carolina และ Virginia


ภาพ เขื่อน Norris Dam เป็นโครงการแรกที่ TVA ได้สร้างเขื่อนขึ้น และเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1936
แต่หน่วยงานนี้ได้ดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน หน่วยงานนี้ไม่ได้เป็นของรัฐใดรัฐหนึ่ง แต่เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งโดยรัฐบาลกลาง

ในช่วงรัฐบาล Roosevelt ได้มีการออกกฎหมายแรงงานสัมพันธ์แห่งชาติ หรือ The National Labor Relations Act เรียกอย่างย่อๆ ให้เกียรติแก่ผู้นำเสนอต่อรัฐสภาว่า Wagner Act ซึ่งได้เริ่มเมื่อปี ค.ศ. 1935 โดยเป็นกฎหมายของรัฐบาลกลางที่จะปกป้องสิทธิของคนงานในองค์การภาคเอกชน ที่จะจัดตั้งสหภาพแรงงานของตน สามารถมีการเจรจาต่อรองด้านแรงงาน การนัดหยุดงานและกิจกรรมอื่นๆ เพื่อสนับสนุนความต้องการของตน กฎหมายนี้ไม่ครอบคลุมแรงานด้านรถไฟ คนงานในภาคการเกษตร คนทำงานบ้าน คนทำงานระดับหัวหน้างาน คนทำงานรับเหมาอิสระ และไม่คลุมญาติใกล้ชิดกับฝ่ายนายจ้าง

ในยุคของการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องมีทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและฝ่ายที่คัดค้าน มีคนแบ่งออกเป็น 2 ขั้ว ฝ่ายที่สนับสนุน New Deal และประธานาธิบดี Roosevelt ก็จะได้รับการขนานนามว่าเป็น Classical liberalism หรือเสรีนิยมแบบดั่งเดิม และในทางการเมือง ก็จะมีกลุ่มที่รวมตัวกันเรียกว่า New Deal Coalition ที่จะคอยหนุนหลังโปรแกรมของ Roosevelt ซึ่งพวกนี้ได้แก่พรรค Democrat อันเป็นพรรคฝ่ายประธานาธิบดี และพวกกลไกทางการเมืองที่ครอบคลุมเมื่อใหญ่ๆ หรืออาจเรียกในศัพท์ที่คุ้นเคยในประเทศไทยว่า พวกจัดตั้ง นอกจากนี้ยังมีพวกสหภาพแรงงาน ฝ่ายศาสนาทั้งแคธอลิก ยิวที่เป็นชนกลุ่มน้อย พวกอเมริกันผิวดำ (African American) ชาวนา และคนผิวขาวในภาคใต้ ซึ่งเป็นรัฐชาวนา

อันว่าผู้นำจะยิ่งใหญ่เพียงใด มีคนรัก ก็มีคนเกลียด มีคนพอใจในสิ่งที่ทำ แต่ก็มีคนอีกส่วนหนึ่งที่อาจะไม่พอใจในสิ่งนั้น คนที่ไม่พอใจใน Roosevelt ก็คือกลุ่มธุรกิจ และพวกที่เห็นว่านโยบายเศรษฐกิจที่ดี เมื่อสภาพของประเทศกลับเป็นปกติแล้ว ก็ควรปล่อยให้กลไกเศรษฐกิจดำเนินการไปตามระบบแข่งขันของมันเอง

อีกพวกหนึ่งคือพวกที่มองว่า การที่รัฐบาลกลางเข้าไปมีบทบาทมากๆ นั้นไม่ใช่แนวทางของอเมริกันตามกรอบของรัฐธรรมนูญ ที่ให้อธิปไตยเป็นของรัฐแต่ละรัฐ และเรื่องการขัดรัฐธรรมนูญของนโยบาย New Deal ก็ได้มีการนำขึ้นสู่ศาลสูง

จะว่าไปแล้ว การแทรกแซงศาลและการต่อต้านจากฝ่ายศาลก็ได้เคยมีมาแล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะประธานาธิบดีเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะศาลสูงสุดของสหรัฐ แม้การแต่งตั้งจะต้องผ่านการอนุมัติจากรัฐสภา (Congress) ในช่วง 1934 ศาลฎีกาได้มีคำสั่งว่าหลายส่วนของนโยบาย สู่ความหวังใหม่ ขัดกับรัฐธรรมนูญของประเทศ และก็ได้มีการปรับแก้เพื่อให้กิจกรรมที่ Roosevelt ได้เสนอนั้น ได้ผ่านและทำให้ถูกกฎหมาย แต่ในช่วงปี ค.ศ. 1937 Roosevelt ได้เสนอให้มีศาลสูงสุดมีสมาชิกเพิ่มขึ้นได้อีก 5 คน ข้อเสนอนี้ไม่ผ่านการอนุมัติของรัฐสภา และทำให้สมาชิกพรรคดีโมแครตเองที่เป็นฝ่ายอนุรักษ์ไม่พอใจ ฝ่ายศาลเองก็เริ่มต่อต้านนโยบายของ Roosevelt มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อศาลสูงสุดหลายๆ ท่านต้องเกษียณอายุ คนที่แต่งตั้งใหม่ ก็คือในที่สุดในราวปี ค.ศ. 1942 พวกที่เห็นด้วยในแนวทางของ Roosevelt การต่อต้านของศาลสูงต่อแนวทางสู่ความหวังใหม่ ก็จางหายไป และเป็นยุคเพิ่มอำนาจรัฐบาลกลาง และทำให้เป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย

ภาพ เมื่อประกาศสงครามกับญี่ปุ่น หลังถูกถล่มที่ Pearl Harber

ผู้นำนั้นเขาเข้าสู่ตำแหน่งผู้นำด้วยสถานการณ์ และเมื่อเข้าสู่สถานการณ์นั้นคือต้องทำอะไรบางอย่าง และในการได้ริเริ่มทำอะไรบางอย่างนั้น มันก็มีทั้งถูกบ้าง ผิดบ้าง มีบางอย่างที่ถูกสำหรับสถานการณ์นั้นๆ แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ก็ต้องมีการปรับตัวตาม ไม่มีใครจะประเมินผู้นำกันด้วยความถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เราคงต้องประเมินผู้นำกันด้วยภาพรวมๆ กว้างๆ และบางครั้งเมื่อหมดยุคสมัยของเขาแล้ว คนจึงได้กลับมาประเมินแล้วจึงบอกได้ว่า เขาเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่เพียงใด





No comments:

Post a Comment