Thursday, April 22, 2010

มารู้จักประเทศฟิจิ (Fiji)

มารู้จักประเทศฟิจิ (Fiji)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: การเมืองการปกครอง, ประเทศ ฟิจิ, Fiji, ความเป็นผู้นำ

ภาพ ภาพถ่ายชนพื้นเมืองนักรบชาวฟิจิ

ภาพ สตรีชนพื้นเมืองของฟิจิ ผิวดำ ร่างกายสูงใหญ่

ภาพ เด็กๆ ชาวฟิจิในปัจจุบัน

ความนำ

ฟิจิอาจเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกด้วยการมีทีมรักบี้ที่แข็งแกร่งระดับแข่งขันกับประเทศที่เป็นสุดยอดอย่างนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย อัฟริกาใต้ ฝรั่งเศส หรืออังกฤษได้ ทั้งๆที่เป็นประเทศชาวเกาะขนาดเล็กๆแห่งหนึ่ง คนฟิจิโดยทั่วไปที่เราพบคือมีผิวดำหรือเข้ม ร่างกายใหญ่โต แข็งแรง อดทนแบบชนพื้นเมืองชาวเกาะ

ฟิจิ (Fiji) เป็นชาติที่มีความเป็นเกาะ อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ (South Pacific Ocean) อยู่ห่างจากประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand's North Island) ไปทางตอนเหนือประมาณ 2000 กิโลเมตร มีเพื่อนบ้านโดยรอบ คือ Vanuatu, New Caledonia, Kermadec, Tonga, Wallis and Futuna และ Tuvalu

ประเทศฟิจิมีเกาะรวมกว่า 300 เกาะ มีที่มีคนอาศัยอยู่เป็นหลัก 110 เกาะ มีพื้นที่รวม 18,300 กิโลเมตร มีเกาะหลักอยู่สองแห่ง คือ Viti Levu และ Vanua Levu ซึ่งสองแห่งนี้มีคนรวมกันเป็นร้อยละ 87 ของทั้งหมดของประชากรที่มีอยู่ 850,000 คน โดยมีเมืองใหญ่สุดและเป็นเมืองหลวง คือ Suva หรือใหญ่กว่าบรูไน (Brunei) ประมาณ 2 เท่า

การเมืองของประเทศฟิจิมีความสับสนด้วยการอยู่ร่วมกันของชนกลุ่มต่างๆไม่ราบรื่น ระหว่างชนพื้นหลักและชนกลุ่มน้อยต่างๆ โดยเฉพาะพวกเชื้อสายอินเดีย และเป็นเหตุให้มีการทำปฏิวัติรัฐประหารกันมาในปี ค.ศ. 1987, อีกหนึ่งครั้งต่อมาในปี ค.ศ. 2000, และในปลายปี ค.ศ. 2006 โดยที่อิทธิพลของฝ่ายทหารได้มีอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 โดยชนกลุ่มน้อยที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจได้ลดลง อาจโดยการย้ายไปประกอบอาชีพและการลงทุนในประเทศอื่นๆ

ในปี ค.ศ. 2006 ได้มีการยึดอำนาจโดยทหารอีกครั้ง โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดชื่อ Josaia Voreqe (Frank) Bainimarama โดยยึดอำนาจในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2006 ซึ่งยังคงมีอำนาจอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่เพราะความเป็นประเทศเผด็จการทหาร จึงไม่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกโดยเฉพาะสังคมตะวันตก ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดความชะงักงัน

ผู้นำประเทศ

ภาพ Frank Bainimarama

ผู้ปกครองของฟิจิในปัจจุบัน Commodore Josaia Voreqe Bainimarama, CF, MSD, OStJ, Fijian Navy, รู้จักกันในชื่อ Frank Bainimarama และบางทีเรียกกันในชื่อตำแหน่งว่า Ratu[2] เกิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1954 เป็นผู้นำทหาร นักการเมือง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด รักษาการนายกรัฐมนตรี เขารับหน้าที่ตำแหน่งบริหารเป็นรัฐมนตรีในหลายกระทรวง ดังได้แก่ กระทรวงข่าวสาร (Information), มหาดไทย (Home Affairs), กระทรวงคนเข้าเมือง (Immigration),[3] บริการสาธารณะ (Public Service), กระทรวงดูแลคนเผ่าต่างๆ (Indigenous and Multi-Ethnic Affairs),[4] กระทรวงการคลัง (Finance),[5] และกระทรวงการต่างประเทศ (Foreign Affairs).[6]

ในวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 ฟิจิเป็นชาติแรกที่ได้ถูกขับออกจากการเป็นสมาชิก Pacific Islands Forum เพราะไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งได้ภายในวันเวลาที่กำหนด

ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2009 ฟิจิได้ถูกถอนความเป็นสมาชิกของชาติ Commonwealth of Nations เพราะไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งได้ตามเวลาที่กำหนด

แต่ Bainimarama ได้ให้เหตุผลว่า การที่เขาไม่เร่งให้มีการเลือกตั้งนั้นเป็นเพราะระบบออกเสียงให้ความได้เปรียบแก่ชาวฟิจิที่เป็นชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยที่เป็นเชื้อสายอินเดีย ซึ่งมีอยู่ร้อยละ 38 ส่วนคนส่วนใหญ่ของประเทศคือร้อยละ 54.3 เป็นพวกเชื้อสายชาวเกาะพวก Melanesians

เศรษฐกิจของฟิจิ (Economy)

ภาพ ลักษณะประเทศชาวเกาะในแปซิฟิกใต้

รองมาพิจารณาสภาพเศรษฐกิจของฟิจิ เศรษฐกิจของฟิจิขึ้นอยู่กับทรัพยากรป่าไม้ แร่ธาตุ ปลาในทะเล และจัดเป็นประเทศชาวเกาะที่พัฒนาแห่งหนึ่งในหมู่เกาะแปซิฟิก ในด้านทรัพยากรธรรมชาติมีป่าไม้ ปลาและสัตว์น้ำ ทอง ทองแดง มีน้ำมันนอกชายฝั่ง มีเขื่อนพลังน้ำ ในช่วงปีทศวรรษที่ 1960s และปี 1970s ได้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่มาหดตัวในช่วงปีทศวรรษที่ 1980s การรัฐประหารในปี ค.ศ. 1987 ได้ทำให้เกิดการหดตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นไปอีก แต่ในระยะหลังจากนั้นได้มีการปล่อยให้เศรษฐกิจเป็นเสรียิ่งขึ้น ทำให้เกิดการขยายตัวในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม (Garment industry) แม้จะมีความไม่แน่นอนในเรื่องที่ดินและอุตสาหกรรมน้ำตาล การที่สัญญาเช่าที่ดินสำหรับปลูกอ้อยได้หมดลง ขนาดของฟาร์มและประสิทธิภาพโรงงานลดลง ได้ทำให้ผลิตผลน้ำตาลลดลง แม้จะมีการสนับสนุนราคาน้ำตาลโดยกลุ่มประเทศ EU ประเทศฟิจินอกเหนือจาก Mauritius ได้เป็นผู้รับประโยชน์มากเป็นอันดับที่สองรองจาก Mauritius ในด้านการสนับสนุนราคาน้ำตาลนี้

นอกจากนี้ การขยายตัวของเขตเมืองและกิจการด้านบริการ (Service sector) ได้ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว มีการส่งออกน้ำตาลและการเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยว โดยในปี ค.ศ. 2003 และปีต่อมามีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็น 430,800 คน แต่เพราะสัญญาเช่าที่ดินและสิทธิความเป็นเจ้าของที่ดินที่ไม่แน่นอน ประกอบกับความสับสนทางการเมืองเรื่องรัฐประหารทำให้เศรษฐกิจหดตัวในปี ค.ศ. 2000 และในปี ค.ศ. 2001 เศรษฐกิจเติบโตเพียงร้อยละ 1 แต่เศรษฐกิจการท่องเที่ยวได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วโดยกลับมาเท่ากับเมื่อก่อนการรัฐประหาร ในปี ค.ศ. 2003 และ 2004 เศรษฐกิจได้เติบโตปีละ 1.7 ปี ค.ศ. 2005 และ 2006 ปีละ 2.0 อัตราอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารกลางได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 3.5 แต่ก็ไม่ช่วยทำให้ประเทศลดภาวะหนี้สิน และการลดอัตราดอกเบี้ยก็ไม่ช่วยทำให้เพิ่มอัตราการส่งออก แต่เพราะเป็นประเทศชาวเกาะที่มีธรรมชาติที่สวยงามทั้งป่าเขาและท้องทะเล และการที่ราคาจำนองที่ดินอสังหาริมทรัพย์ (Commercial Mortgage Rate) ที่ลดลง ทำให้มีการลงทุนเข้ามาซื้อที่พักอาศัยเพิ่มขึ้น

ระบบการค้าของฟิจิได้ถูกวิพากษ์จากการปกครองภายใต้เผด็จการทหารจากนานาประเทศ ในปี ค.ศ. 2008 นายกรัฐมนตรีรักษาการและหัวหน้าคณะปฏิวัติ Frank Bainimarama ได้ประกาศว่าเขาต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไป ทำให้ต้องถอนตัวจากกลุ่มประเทศ Pacific Islands Forum ในระหว่างนี้ Bainimarama ได้พบกับนายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย Kevin Rudd และนายกรัฐมนตรีหญิงของนิวซีแลนด์ Helen Clark ซึ่งเป็นแรงกดดันที่ต้องให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว

1 comment:

  1. State clears air on Thaksin
    Fiji Times Online, Wednesday, April 21, 2010

    ANY visits by former Thailand Prime Minister Thaksin Shinawatra to the county will be done as a "private individual" now.

    This is according to Foreign Affairs Permanent Secretary Solo Mara, who said the ministry only organised official visits.

    He said his office had not received any information on Mr Shinawatra's visit to Fiji.

    '"Our office deals with leaders and representatives of sovereign states that come into the country for a visit or on related matters," he said.

    He said so far, they had not received anything on the visit so if Mr Thaksin visited the country it would be either for business or as a private individual.

    Mr Mara said any meetings between Mr Thaksin and State officials would not be conducted through Foreign Affairs.

    On Monday, Radio New Zealand International quoted the Government as saying that it would treat Mr Thaksin like any other applicant if he sought to settle in Fiji.

    The Sydney Morning Herald newspaper in Australia reported that the fugitive former leader, who faces a jail sentence for a conflict of interest charge if he returns to Thailand, may be either in Fiji or on his way to Fiji.

    The paper says Mr Thaksin, whose Thai passport had been cancelled, may be considering setting up a base in Fiji because it has no extradition treaty with Thailand.

    Fiji's immigration minister, Ratu Epeli Ganilau, said he was not aware of Mr Thaksin's visit to the country.

    But he said every application was treated on a case-by-case basis.

    "Citizenship will be very hard because he doesn't qualify by time.

    "Certainly if he wants to invest we would consider it and we would give him the appropriate status that should be given."

    Ratu Epeli said the Government looked more favourably on those who could invest large sums of money.

    ReplyDelete