Sunday, April 18, 2010

มารู้จักพังพอน (Mongoose)

มารู้จักพังพอน (Mongoose)

ประกอบ คุปรัตน์

Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

แปลและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Common Dwarf Mongoose, Helogale parvula

ความนำ

พังพอน หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Mongooses (Herpestidae) เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Herpestes javanicus ในวงศ์ Herpestidae มีขนาดเล็ก ขนบนหัวมีสีน้ำตาลแดงจนถึงน้ำตาลเข้ม ขามีสีเดียวกับลำตัวหรือเข้มกว่าเล็กน้อย หางยาวประมาณ 2 ใน 3 ของลำตัส เมื่อตกใจจะพองขนทำให้ดูตัวใหญ่กว่าปกติ เพศเมียจะมีเต้านมทั้งหมด 3 คู่

มีความยาวลำตัวและหัว 35-41 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 25-29 เซนติเมตร

พังพอนมีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมากตั้งแต่อิหร่าน ปากีสถาน อินเดีย พม่า เนปาล รัฐสิกขิม บังกลาเทศ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซียและเกาะชวา จึงทำให้มีชนิดย่อยมากถึง 12 ชนิด

พังพอนชอบกินอาหารที่เป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่นแมลง ( insects), ปู (crabs), ใส้เดือน (earthworms), จิ้งจก (lizards), งู (snakes), ไก่ และลูกไก่ (chickens), สัตว์พวกหนูนา (rodents). พังพอนยังกินไข่ (eggs) และสิ่งเน่าเปื่อย ทรากสัตว์ (carrion)

พังพอนกับงูเห่า

ชาวนากับงูเห่า

งูมีคุณต่อชาวนา งูมีธรรมชาติที่เป็นสัตว์ลำตัวยาวเป็นเส้น สามารถเข้าไปอยู่ในโพลงต่างๆได้ดี และโดยธรรมชาติงูในภูมิภาคเอเซียตอนใต้อย่างไทยเราที่มีอากาศร้อนชื้นนี้ ชาวนามักจะผจญกับปัญหาหนูในนาระบาด หนูมักจะมากัดกินต้นข้าวและเมล็ดข้าวก่อให้เกิดความเสียหาย เขาจึงมักปล่อยให้มีงูไว้ตามทุ่งนา เอาไว้ควบคุมปริมาณหนู ซึ่งงูเหล่านี้มักจะเป็นงูที่เกิดและเติบโตตามธรรมชาติ ชาวนาไม่ได้เลือกเลี้ยง

แต่ในขณะเดียวกัน งูหลายๆพันธุ์ที่มีอยู่ตามธรรมชิตและในทุ่งนามีพิษร้าย เช่นในตระกูลงูเห่า (Cobras) งูจงอาง (King cobras) พิษร้ายระดับที่เมื่อคนถูกกัดแล้ว หากไม่มีเซรุ่มป้องกันพิษได้ทัน ก็จะถึงแก่ชีวิตได้ง่าย

แต่พังพอน (Mangoose) เป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายแมว ขนาดจะโตกว่าแมวธรรมดาสักเล็กน้อย เกษตรกรบางส่วนดังในประเทศอินเดียหรือเอเซียใต้ จึงเลี้ยงพังพอนเอาไว้ควบคุมหรือจัดการกับงูเห่า หรืองูมีพิษทั้งหลาย และโดยธรรมชาติแล้ว พังพอนไม่กลัวงูเห่า เพราะมีความไว คล่องตัวในการหลบการฉกของงู แต่มีความเร็วเพราะมีเท้าสี่เท้าที่วิ่งประชิดงูได้จากหลายมุม

ภาพ พังพอนที่อยู่รวมกันเป็นฝูง

พังพอนเป็นสัตว์กินเนื้อ และสามารถล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวเองได้ เพราะมีลักษณะกัดกิน ไม่ต้องกลืนเหยื่อทั้วตัวเหมือนกับงู โดยทั่วไปตามธรรมชาติจะมีลักษณะดุ แต่เมื่อมีคนที่ฝึกเลี้ยง ก็จะเชื่องเป็นสัวต์เลี้ยงในบ้านได้ ใช้เพื่อการควบคุมหนูและงูได้

ชาวนาในอินเดียที่มีงูในทุ่งนามากและก่อความเสียหาย จึงมีการเลี้ยงพังพอน และเลี้ยงก้นมากจนมีทักษะในการเลี้ยงเพื่อวัตถุประสงค์ และมีเสมอที่จะแสดงกิจกรรมเรียกคนดูและเก็บเงินดูจากคนในการดู พังพอนสู้กับงูเห่า

พังพอนจะสูญพันธุ์

สำหรับในประเทศไทยนั้น คนไทยมีวัฒนธรรมแปลกอย่างหนึ่งคือ การจับสัตว์มาทำเป็นอาหาร ดังนั้น ไม่ว่างูเห่า หรืองูประเภทใดก็มีการจับมาเป็นอาหาร และเมื่อมีหนูนาระบาด ก็มีชาวนาจับหนูมากินเป็นอาหาร โปรตีนสูงเหมือนกับกินไก่นา ยิ่งกว่านั้น คือเมื่อมีตั๊กแตนระบาด ชาวนาไทยก็สามารถจับตั๊กแตนมาทำเป็นอาหาร จนกลายเป็นอาหารราคาแพงเสียด้วย

คนไทยบางส่วนชอบกินอาหารป่าแปลกๆ ดังเช่น หมูป่า กวาง เม่น งู และรวมถึงพังพอนด้วย ดังนั้นสัตว์หายากหลายประเภที่สมัยก่อนมีอยู่ทั่วไป ในปัจจุบัน ต้องกลายเป็นสัตว์ป่าที่ต้องได้รับการคุ้มครอง

ปัจจุบันพังพอนเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

No comments:

Post a Comment