Wednesday, April 14, 2010

บุคลิกภาพต่อต้านสังคม (ASPD)

บุคลิกภาพต่อต้านสังคม
Antisocial personality disorder

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Updated: Thursday, April 15, 2010
Keywords: จิตวิทยา, สังคมวิทยา, การต่อต้านสังคม

ความนำ

ในขณะที่สังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ มีหลายส่วนไม่สามารถปรับตัว สั่งสอนคนรุ่นใหม่ๆที่จะดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม เป็นที่ยอมรับ บ้างเพราะมีฐานะยากจน ต้องทำงานเลี้ยงชีพ และดูแลอย่างไม่ทั่วถึง ไม่มีเวลาให้ หรือไม่มีความสามารถที่จะดูแลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเมื่อตั้งแต่วัยเด็กๆ เขาได้รับการดูแลอย่างผิดๆ และเมื่อโตขึ้น บุคลิภาพที่บกพร่องได้ฝังตัวเอง และทำให้การแก้ไขยากยิ่งขึ้น

บุคลิกภาพผิดปกติส่วนหนึ่ง คือพวกที่ต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder – ASPD) เป็นลักษณะความผิดปกติอย่างหนึ่งในสังคม ที่เราอาจเห็นที่ปลายเหตุ ดังเช่น การที่มีนักเรียนยกพวกตีกัน การทะเลาะวิวาทกันเมื่อมีการแข่งขันกีฬา (Hooligans) การเกาะกลุ่มพวกรถจักรยานยนต์ และรวมไปถึงแก๊งวัยรุ่นออกอาระวาด

ความหมาย

บุคลิกภาพต่อต้านสังคม หรือ Antisocial Personality Disorder เรียกย่อๆว่า ASPD หรือ APD ตามการจำกัดความของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ( American Psychiatric Association) ดังที่ปรากฏในคู่มือการวิเคราะห์และสถิติ (Diagnostic and Statistical Manual) หมายถึงลักษณะบุคลิกภาพของคนที่ไม่เคารพและล่วงเกินสิทธิของผู้อื่น ที่มักจะมีพฤติกรรมเริ่มต้นมาแต่เด็กและวัยรุ่น และต่อเนื่องมาจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่

คนที่จะมีลักษณะพฤติกรรมดังกล่าวมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีการบันทึกประวัติพฤติกรรมความเบี่ยงเบน (conduct disorder) มาตั้งแต่วัยก่อน 15 ปี คนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงต่อต้านสังคมที่ผิดปกตินี้ บางทีในทางจิตวิเคราะห์อาจเรียกว่า "sociopaths" และ "psychopaths" แต่อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเชื่อว่าคำเหล่านี้ไม่ได้มีความหมายเหมือนกันกับ ASPD

อาการ
Symptoms

คนมีบุคลิกภาพต่อต้านสังคมนี้อาจมีลักษณะดังต่อไปนี้

- การโกหกหรือลักโขมยเป็นประจำ (Persistent lying or stealing) การโขมย อาจจะเริ่มจากเล็กไปหาใหญ่ จากภายในครอบครัว ไปสู่โรงเรียน และในสังคม ทั้งนี้อาจมีคนอื่นๆมาร่วมชักจูง

- หว่านเสน่ห์อย่างปลอมๆ (Superficial charm)

- ไม่รู้สึกทุกข์ร้อนที่จะต้องเห็นใจกับการไปทำร้ายคนอื่น (Apparent lack of remorse[4] or empathy; inability to care about hurting others)

- เมื่อทำงาน ก็มักจะไม่สามารถรักษางาน หรือเมื่อเรียนก็ไม่สามารถเรียนให้ประสบความสำเร็จได้ (Inability to keep jobs or stay in school)

- ไม่อดทน ไม่ระมัดระวัง (Impulsivity and/or recklessness) ดังเช่น หากมีการไปตั้งเป็นแก๊งมอเตอร์ไซค์ ก็อาจทำให้เสี่ยงในการขับขี่ และเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

- ขาดเป้าหมายที่ทำให้เป็นจริงได้ โดยเฉพาะเป้าหมายในชีวิตระยะยาว และเมื่อจะทำให้อะไรให้สำเร็จในระยะยาวของชีวิต ก็มักจะไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องจนนำไปสู่ความสำเร็จ (Lack of realistic, long-term goals — an inability or persistent failure to develop and execute long-term plans and goals)

- ไม่สามารถจะคบมิตรมีเพื่อน ง่ายที่จะทะเลาะเบาะแว้ง หรือรักษาสัมพันธภาพในชีวิตการแต่งงาน (Inability to make or keep friends, or maintain relationships such as marriage)

- ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเอง รู้สึกขัดเคืองต่อสภาพแวดล้อมได้โดยง่าย ขาดความอดทน ชอบข่มขู่ กร้าวร้าว และชอบพูดจาแขวะหรือหาเรื่อง และ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธได้ (Poor behavioral controls — expressions of irritability, annoyance, impatience, threats, aggression, and verbal abuse; inadequate control of anger and temper)

- มีบุคลิกภาพหลงตนเอง (Narcissism) มองเห็นตนเองที่จะต้องยิ่งใหญ่ (sense of extreme entitlement) ให้เป็นที่ประจักษ์ไม่ว่าจะทางดีหรือร้าย

- มีความรู้สึกเก็บกด (A persistent agitated or depressed feeling (dysphoria)

- มีประวัติพฤติกรรมกร้าวร้าวมาแต่เด็ก (A history of childhood conduct disorder) มักมีเรื่องต้องขึ้นโรงพัก

- ประพฤติปฏิบัติไม่อยู่ในกรอบของกฏหมายบ้านเมือง (Recurring difficulties with the law)

- มีแนวโน้มที่จะไปล่วงเกินสิทธิและขอบเขตของผู้อื่น (Tendency to violate the boundaries and rights of others)

- มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การติดยาเสพติด แม้จะไม่เป็นไปในทุกกรณี (Substance abuse)

- มีพฤติกรรมกร้าวร้าว มีแนวโน้มที่จะต้องไปมีเรื่องชกต่อย หรือทะเลาะวิวาทกับคนอื่นๆ (Aggressive, often violent behavior; prone to getting involved in fights)

- ขาดความอดทนที่จะอยู่อย่างน่าเบื่อหน่าย (Inability to tolerate boredom)

- ไม่ใส่ใจกับความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น (Disregard for the safety of self or others)

- มีทัศนคติที่ขาดความรับผิดชอบและไม่เคารพต่อกฏเกณฑ์ ความรับผิดชอบ และกฏ หน้าที่ และบรรทัดฐานในสังคม (Persistent attitude of irresponsibility and disregard for social rules, obligations, and norms)

- มีความรู้สึกไม่ดีต่อฝ่ายที่มีอำนาจ (Difficulties with authority figures) ดังเช่นเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือคนในเครื่องแบบ ฝ่ายปกครอง เป็นต้น

ส่งท้าย

ผมคงศึกษามาและเรียบเรียงเพียงเท่านี้ และอยากให้ท่านผู้ร่วมอ่าน ได้มาช่วยกันทำความเข้าใจ ช่วยกันเขียนหรือเสนอเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจในปัญหานี้ ซึ่งมีเพิ่มมากขึ้นในสังคไทย

1 comment: