Wednesday, August 3, 2011

การศึกษา – 4 องค์ประกอบที่อาจทำให้สมองฝ่อ

การศึกษา – 4 องค์ประกอบที่อาจทำให้สมองฝ่อ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “Study: 4 Factors That May Shrink Your Brain” โดย Meredith Melnick Wednesday, August 3, 2011

Keywords: สุขภาพ, Brain, Mental Health, ป้องกันสมองเสื่อม

The four factors that were associated with faster declines in brain volume were: • High blood pressure • Diabetes • Cigarette smoking • Being overweight or obese

สมองของเราจะฝ่อไปตามอายุ และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่มีวิถีชีวิต 4 เรื่องที่ทำให้กระบวนการฝ่อของสมองเร็วยิ่งขึ้น จากผลการศึกษาของนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่เมืองเดวิส (University of California, Davis)

สี่องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการที่สมองฝ่อเร็วขึ้น ทำงานด้อยประสิทธิภาพลง คือ

  1. ความดันโลหิตสูง (High blood pressure)
  2. การเป็นเบาหวาน (Diabetes)
  3. การสูบบุหรี่ (Cigarette smoking)
  4. การมีน้ำหนักเกิน (Being overweight or obese)

จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใหญ่ 1,352 คนที่มีอายุเฉลี่ย 54 ปี และไม่เคยมีอาการสมองและความจำเสื่อม (Dementia) ในช่วงก่อนการศึกษา ทั้งหมดเป็นผู้เข้าร่วมในการศึกษาที่เรียกว่า Framingham Offspring Cohort Study อันเป็นลูกของผู้เข้าร่วมในโครงการศึกษาด้านหัวใจแต่เดิมที่เรียกว่า Framingham Heart Study

ในการเริ่มวิจัย นักวิจัยได้ให้ผู้เข้าร่วมได้รับการทดสอบหลายด้าน ที่วัดความอ้วนหรือน้ำหนักเกิน (Obesity), ความดันโลหิตสูง (High blood pressure), เบาหวาน (Diabetes) และวัดปริมาณคอเลสโตรอล (High cholesterol) การเริ่มศึกษาในอีก 7 ปีต่อมา ผู้วิจัยได้วัดขนาดของสมองของผู้เข้าร่วมโครงการโดยใช้ MRI scans และให้ผู้เข้าร่วมได้รับการทดสอบด้านสติปัญญา (Cognitive tests) เพื่อวัดการทำงานด้านการจัดการ การวางแผน และวัดทักษะด้านการวางระบบต่างๆ

คณะผู้วิจัยพบว่าตัวแปรความเสี่ยงทั้ง 4 ด้านมีส่วนสัมพันธ์กับขนาดของสมอง คนที่มีอาการความดันโลหิตสูงในช่วงวัยกลางคน จะพัฒนาไปสู่อาการทีเรียกว่า What matter change ซึ่งบริเวณเส้นเลือดเลี้ยงสมองมีการชำรุด เมื่อเทียบกับคนที่มีความดันปกติ

คนที่ป่วยเป็นเบาหวานจะมีสมองฝ่อเร็วในบริเวณที่เรียกว่า hippocampus ซึ่งเกี่ยวกับความจำ คนสูบบุหรี่จะมีอาการสมองฝ่อมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ และแสดงให้เห็นอาการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่า

ในการทดสอบด้านสติปัญญา (Cognitive tests) ผู้เข้าร่วมแสดงให้เห็นความเสื่อมถอยทางการทำงานด้านการจัดการ (Executive function) หรือความสามารถในการตัดสินใจ การวางแผน การจัดองค์ประกอบ (Organize) การใส่ใจรับฟัง และการจำรายละเอียด คนที่น้ำหนักเกิน หรือคนอ้วนในวัยกลางคนขึ้นไป โดยจากตัวอย่าง จะพบว่าพวกที่อยู่ใน Quartile สูงสุด จะมีความเสื่อมทางสมอง สมองฝ่อลง และความสามารถในการจัดการเสื่อมถอยอย่างรวดเร็ว

เราไม่มีวิธีการแก้โรคสมองเสื่อม แต่หลักการที่ว่า “ร่างกายแข็งแรง จะทำให้มีจิตใจที่ดี” นั้นเป็นความจริงอย่างมาก - จากคำกล่าวของนายแพทย์ Charles DeCarli ผู้อำนวยการศูนย์ผู้ป่วยโรค Alzheimer ของมหาวิทยาลัย U.C. Davis

ผู้คนทั้งหลายควรหยุดสูบบุหรี่ หันมาให้ความสนใจในการควบคุมความดันโลหิต และควบคุมน้ำตาลในเลือด หลีกเลี่ยงโรคเบาหวาน และการต้องลดน้ำหนัก

จากการศึกษาก่อนหน้านี้ ก็พบว่าปัญหาโรคหัวใจ (Cardiovascular system) มีความสัมพันธ์กับความเสื่อมทางสติปัญญา และความเสี่ยงจากโรคการสูญเสียความจำ หลงๆลืมๆ การควบคุมวิถีชีวิตอย่าง การสูบบุหรี่ การควบคุมความดันโลหิตสูง การควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการเป็นโรคอ้วน มีส่วนสัมพันธ์กับการลดโอกาสการป่วยเป็นโรคหัวใจ และเป็นการศึกษาแรกๆที่บ่งบอกถึงองค์ประกอบความเสี่ยงที่ทำให้สมองมีขนาดฝ่อลง

ในขณะที่สังคมโลกที่พัฒนามากขึ้น วิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าขึ้น เรารู้สาเหตุของโรคต่างๆได้มากขึ้น ดูแลตัวเองได้ดีกว่าแต่ก่อนด้วยการมีเครื่องมือและยาที่มีความสามารถรักษาโรคได้ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันโลกยุคใหม่ก็มีสิ่งที่สวนทางกัน คือ เรามีกินมากขึ้น และกินอาหารสมบูรณ์มากขึ้น มีเครื่องช่วยผ่อนแรงในการทำงานมากขึ้น ทำให้เดินและออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆน้อยลง โอกาสที่เราจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคในยุคใหม่ก็มีส่วนสูงตามไปด้วย โดยเฉพาะคนไม่เข้มแข็ง ไม่รักษาวินัยในการใช้ชีวิตที่ดี ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามความอยาก หรือขี้เกียจออกกำลังกาย

The study was published Tuesday in Neurology, the medical journal of the American Academy of Neurology.

Meredith Melnick is a reporter at TIME. Find her on Twitter at @MeredithCM. You can also continue the discussion on TIME's Facebook page and on Twitter at @TIME.

No comments:

Post a Comment