Friday, August 5, 2011

6 สิงหาคม 1945 ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่เมืองฮิโรชิม่า

6 สิงหาคม 1945 ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่เมืองฮิโรชิม่า

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เครื่องบินทิ้งระเบิดอเมริกันหย่อนระเบิดนิวเคลียร์ลงที่เมืองฮิโรชิม่า ในประเทศญี่ปุ่น

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “August 6, 1945: American bomber drops atomic bomb on Hiroshima.” ใน History.com

วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เวลา 8:16 a.m. เครื่องบินทิ้งระเบิด B-29 ของอเมริกันหย่อนระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกลงที่เมืองฮิโรชิม่า ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทำให้คนประมาณ 80,000 คน เสียชีวิตจากแรงระเบิดในทันที และอีก 35,000 คนได้รับบาดเจ็บ และอีก 60,000 คนได้เสียชีวิตลงในก่อนสิ้นปีนั้น ด้วยผลแห่ง

กัมมันตภาพ

ภาพ เมืองฮิโรชิม่า หลังผลจากระเบิดนิวเคลียร์

Harry S. Truman ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ยื่นข้อเสนอให้ญี่ปุ่นยอมแพ้โดยปราศจากเงื่อนไข แต่ได้รับการปฏิเสธ จึงได้ตัดสินใจทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ เพื่อกดดันให้ญี่ปุ่นยุติสงคราม เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียหายต่อชีวิตผู้คนที่ต้องสู้รบกันต่อไปจำนวนมาก เมื่อสหรัฐต้องบุกขึ้นแผ่นดินใหญ่เกาะญี่ปุ่น ระเบิดลูกแรกที่ปล่อยลงไปมีชื่อเรียกว่า “Little Boy” เป็นหนึ่งในสองลูกที่ถูกปล่อยลงไปยังเมืองในญี่ปุ่น ระเบิดได้ถูกบรรจุบนเครื่องที่ Lt. Col. Paul W. Tibbet เป็นคนขับ ขึ้นจากเกาะ Tinian ใน Marianas

ภาพ ระเบิด Littler Boy ที่หย่อนลงไประเบิดเมือง Hiroshima ในประเทศญี่ปุ่น

เครื่องบิน B-29 ที่ Tibbet ขับ เขาตั้งชื่อว่า Enola Gay ตามชื่อมารดา ได้ออกเดินทางเวลา 2:45 a.m. ของวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 และอีก 5 ชั่วโมงครึ่งต่อมา ระเบิด “Little Boy” ถูกปล่อยลงตรงเป้าที่เป็นจุดที่ตั้งโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ระเบิดมีพลังทำลายเทียบเท่ากับดินระเบิด TNT ขนาด 12,500 ตัน

ก่อนทิ้งระเบิดเมืองฮิโรชิม่า มีอาคารประมาณ 90,000 หลัง แต่หลังปล่อยระเบิดลงไปแล้ว มีอาคารเหลือเพียง 28,000 หลัง ก่อนทิ้งระเบิดมีแพทย์ในเมืองอยู่ 200 คน หลังทิ้งระเบิดแล้ว มีแพทย์เหลืออยู่เพียง 20 คนที่ยังสามารถทำงานได้ มีพยาบาล 1,780 คน แต่หลังระเบิด มีพยาบาลเหลือ 150 คนที่จะดูแลผู้ป่วยที่ยังคงเหลือรอดชีวิตอยู่ในเมือง

หลังการทิ้งระเบิด เกิดไฟลุกทั่วเมือง มากจนเกินกว่าที่จะนับได้ และหลังทิ้งระเบิดนิวเคลียร์อีก 1 ลูกที่เมืองนางาซากิ ญี่ปุ่นก็ต้องประกาศยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข

No comments:

Post a Comment