Monday, August 29, 2011

กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อ

กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อ

ประกอบ คุปรัตน์ และคณะ
แปลและเรียบเรียง

Updated: Monday, August 29, 2011

Keywords: power48, Administration, การบริหาร, management, การจัดการ, power, อำนาจ

ความนำ

อำนาจ (Power) ในทางการบริหาร คือพลังที่จะขับเคลื่อนการทำงานและองค์การไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เปรียบเสมือนรถยนต์ จะขับเคลื่อนได้ก็ต้องมีพลังเชื้อเพลิงหรือพลังอื่นที่จะทำให้สามารถขับเคลื่อนรถไปตามทิศทางที่ต้องการได้

การบริหารงานจำเป็นต้องมีอำนาจ แต่อำนาจนั้นอาจมีวิธีการดำเนินการที่อาจสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับหลักศีลธรรม หรือหลักจริยธรรม แต่ก็เป็นสิ่งที่นักบริหารพึงเข้าใจ เพราะคนอื่นๆ องค์การอื่นๆ เขาอาจใช้อำนาจและวิธีการเช่นใดในการดำเนินการ

เราในฐานะเป็นองค์การ จะใช้วิธีการดำเนินการเช่นใด เพื่อจะนำองค์การไปสู่ความสำเร็จ

การรับรู้ไว้ หรือเรียนรู้และเข้าใจไว้จึงเป็นความจำเป็นสำหรับการบริหารงานองค์การสมัยใหม่ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับอำนาจ โดยเฉพาะในมิติทางการเมือง ความขัดแย้ง และการแก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์การ

การบริหารด้วยหลักรัฐศาสตร์

กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อ โดย Robert Greene and Joost Elffers เป็นข้อเขียนที่มีแนวทางตาม Niccolò Machiavelli ซึ่งได้เขียนนวนิยายเรื่อง The Prince ในราว ปี ค.ศ. 1513 และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1532 หลังจากเขาเสียชีวิตไป 5 ปี แนวทางของ Machiavelli คือเป้าหมายปลายทางเป็นเรื่องที่สำคัญ การจะรวบรวมบ้านเมืองเพื่อให้เป็นปึกแผ่น หยุดการรบราฆ่าฟันกันนั้น วิธีการไม่สำคัญว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จได้อย่างไร แต่ท้ายสุดมันนำมาซึ่งความสำเร็จ ดังนั้นวิธีการที่จะขึ้นสู่อำนาจนั้นบางครั้งหมายถึงการลอบสังหารฝ่ายตรงกันข้าม

มาเคียเวลลี (Machiavelli)

ในยุโรปยุคต่อๆ มา กษัตริย์และเผด็จการหลายคนได้ยึดแนวทางของ Machiavelli ในการขึ้นสู่อำนาจและการบริหารประเทศ และกลุ่มที่มีค่านิยมความเชื่อดังกล่าว จึงได้รับฉายานามว่า Machiavellian

ภาพ Machiavelli

มาเคียเวลลี มีชื่อเต็มว่า Niccolò di Bernardo dei Machiavelli เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1469 และเสียชีวิตวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ.1527 เขาเป็นชาวอิตาลี เป็นนักปรัชญาการเมือง นักดนตรี และนักประพ้นธ์กลอน และรวมถึงศิลปินเขียนบทในละครขำขัน เขาเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของอิตาลีในช่วงการฟื้นฟู (Renaissance) และเป็นส่วนประกอบสำคัญในการเมืองยุคนั้น โดยเฉพาะการเป็นนักเขียน (Treatises) บทความเกี่ยวกับทฤษฎีทางการเมืองที่ตั้งอยู่บนความจริง ดังที่ปรากฏในนิยายของเขาเรื่อง The Prince ในอีกด้านหนึ่ง เขาเป็นคนที่เชื่อในเรื่องระบบสาธารณรัฐ หรือระบบปกครองที่ผู้บริหารสูงสุดไม่ใช่กษัตริย์

อีกส่วนหนึ่งของแนวคิดในการนำเสนอกฏการใช้อำนาจ 48 ข้อนี้ที่มีอิทธิพลต่อการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ และได้มีการนำข้อเขียนของเขามาประยุกต์ใช้ทางการบริหารคือ ซุนวู (Sun Tzu) ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีมานานในประเทศจีน

ซุนวู (Sun Tzu)

Sun Tzu (Chinese: ; pinyin: Sūn Zǐ; c. 544 – 496 BC) เป็นนักยุทธพิชัย มีชีวิตอยู่ในช่วงประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล ในหนังสือของเขาชื่อ “ศิลปะการทำสงคราม” The Art of War (Chinese: ) เป็นตำราพิชัยสงคราม และอีกนัยหนึ่งเป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยความสำพันธ์ระหว่างประเทศในยุคนั้น

ภาพ ซุนวู (Sun Tzu)

กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อ จึงเป็นเรื่องที่นักบริหารควรศึกษา หากมิใช่เพื่อใช้ ก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และอ่านใจคนที่เราต้องคบค้าออก

เป้าหมายสำคัญกว่าวิธีการ

ในภาษาอังกฤษมีคำว่า “The ends justify the means.” เป้าหมายเป็นเครื่องกำหนดว่า จะใช้วิธีการอย่างไร นั้นหมายความว่า วิธีการนั้นจำเป็นต้องยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ เพื่อให้ได้บรรลุเป้าหมาย

From Wikipedia, the free encyclopedia

“The ends justify the means.” วลีนี้มีความหมายว่า ในบางครั้ง สิ่งที่ผิดศีลธรรมบางทีเป็นความจำเป็นเพื่อให้สามารถบรรลุผลทางศีลธรรมในท้ายสุด และในบางครั้งการปฏิบัติบางอย่างที่ผิดศีลธรรม หรือไม่ถูกต้องนัก ไม่ได้เป็นตัวตัดสิน แต่สิ่งที่สำคัญคือในท้ายสุดมันทำให้เรากลับไปสู่การบรรลุผลที่เป็นสิ่งที่ถูกต้องได้หรือไม่

ตัวอย่าง

ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 หากฝ่ายเชื่อมั่นในหลักศาสนา คือการเข้าสู่สงคราม ฆ่าฟันกัน ประหัตประหารกัน ทำให้ประชาชนล้มตายนั้นเป็นสิ่งผิด มนุษย์ควรอยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติ แต่ในอีกด้านหนึ่งมีคนเชื่อว่า หากในสงครามทั้งสองครั้ง ไม่มีการเข้าร่วมรบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝ่ายสหรัฐ แล้วท้ายสุด เผด็จการอย่างฮิตเลอร์ (Hitler) หรือเผด็จการทหารอย่างอิตาลี และญี่ปุ่นได้ครองโลก อะไรจะเกิดขึ้น ดังนั้น การเข้าร่วมรบจึงเป็นความจำเป็น และการใช้วิธีการใดๆ ก็ตามที่จะทำให้ได้ชนะสงคราม และกลับสู่สภาพสันติโดยเร็วที่สุด ซึ่งในการนั้น อาจหมายถึงประชาชนผู้ไม่เกี่ยวข้อง อาจต้องได้รับผลกระทบจากสงครามนั้นๆ จุดหมายปลายทางคือต้องยุติสงครามให้ได้เร็วที่สุด และเสียเลือดเนื้อให้น้อยที่สุด นั่นคือตัวตัดสิน

ภาพ ระเบิดปรมาณู ที่เมือง Nagasaki กลุ่มเมฆควันรูปดอกเห็ด ที่เกิดจากระเบิดนิเคลียร์ ทิ่สหรัฐทิ้งที่เมือง Nagasaki ประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1945 เป็นจุดสุดท้ายที่ญี่ปุ่นยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข

เมื่อคิดดังนี้ การทิ้งระเบิดถล่มเมืองฮิโรชิมา และนางาซากิ จึงเป็นทางเลือกที่แม้ไม่ถูกหลักศีลธรรม แต่ท้ายสุดสามารถบรรลุจุดหมายปลายทาง คือยุติสงครามโลกครั้งที่สองได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยการยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขของญี่ปุ่นในท้ายที่สุด

ไม่มีคำตอบที่ดีที่สุด

ความเชื่อในแบบ Machiavellianism หรือเชื่อว่า The ends justify means. จะใช้มากหรือน้อย เหมาะสมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาพดังต่อไปนี้

ทางเลือก 1
Moralist World

ทางเลือก 2
Marchiavellian

- Means have to be justified.means.

- Ends justify means จำเป็นต้องใช้วิธีการใดๆ ก็ได้ที่ทำให้บรรลุผล

- การรับรู้ เข้าใจ Marchiavellianism ว่าโลกเป็นเช่นนี้ รู้ที่จะระวังตนเอง แต่ไม่นำไปปฏิบัติ

- การเชื่อ Marchiavellianism และการนำไปปฏิบัติ

- Organization Cultureแบบมหาวิทยาลัย (Colligia) วิชาการ การศึกษา (Academic, Education), องค์กรอยู่ได้ด้วยศรัทธา ความดี ศาสนา (Normative Organizations), etc.

- Organization Culutureการเมือง การแย่งชิงอำนาจ ความขัดแย้ง (Political, conflicting), การแข่งขัน การเอาชนะทางธุรกิจ ผลประโยชน์ (Business, Interests), สงคราม ความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ (Wars), etc.

- การเน้นการดำเนินการให้ทุกคนได้ประโยชน์ (Win/Win)

- การเน้นการแพ้ชนะ (Win/Lose) ไม่มีทาเลือกอื่นๆ

- มุ่งสู่โลกที่ดีกว่าปัจจุบัน และสันติสุข (Benevolent, Peaceful World)

- โลกแห่งความเป็นจริง ความโหดร้าย ไม่ไว้วางใจกัน ความสับสน ไม่มีเหตุผล และทุกคนต้องดิ้นรนอยู่รอด (World of Turmoil)

- ศาสนา และปรัชญา

- ความจริง

No comments:

Post a Comment