Thursday, May 29, 2014

กฎข้อที่ 16 ทำตัวให้ปรากฏอย่างพอเหมาะ (2) – ดูจากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

กฎข้อที่ 16 ทำตัวให้ปรากฏอย่างพอเหมาะ (2) – ดูจากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ประกอบ คุปรัตน์ 
Pracob Cooparat
E-mail: Pracob@sb4af.org


ภาพ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อ” The 48 Laws of Power”, 1998 โดย Robert Greene and Joost Elffers.

Keywords: power48, การเมือง, politics, การปกครอง, government, governance, Administration, การบริหาร, management, การจัดการ, power, อำนาจ, พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

Use Absence to Increase Respect and Honor 
การไม่เห็นเสียบ้างจะเป็นการเพิ่มความเคารพและเกียรติยศ

การจะทำให้คนเห็นคุณค่าของเรา ก็ต้องรู้จักไว้ตัวบ้างเป็นครั้งคราว

การทำตนให้คนเห็นมากความสำคัญก็จะตกลง เหมือนดาราที่คนเขาเห็นในทีวีมากๆ เขาก็จะเบื่อหรือไม่เห็นความสำคัญที่จะต้องจ่ายเงินไปดูภาพยนตร์ที่แสดง นักการเมืองที่ให้สัมภาษณ์บ่อครั้งจนเกินไป ก็ทำให้มีโอกาสสื่อสารผิดมากตามไปด้วย

หากเราเป็นคนมีความสามารถ เราเสนอตัวทำงานให้ตลอดเวลา รับงานแบบไม่เลือก หรือเข้าไปยุ่งในทุกเรื่อง คนจะไม่เห็นคุณค่า แต่หากรับทำงานบ้าง และเลือกที่จะไม่รับบ้าง ส่วนที่รับงานมาแล้ว ก็ทำอย่างดีและทุ่มเท เพื่อให้คนเขาเห็นความแตกต่างระหว่างมีหรือไม่มีเรานั้น จะทำให้คนได้เปรียบเทียบ และกลับเห็นคุณค่าของเรา

ในอีกด้านหนึ่ง หากทำตัวเองให้เงียบหายไปจากวงการเลย คนก็จะลืม ครั้นอยากจะกลับมาทำอะไร ก็จะไม่มีใครรู้จักเสียแล้ว ดังนั้นจึงต้องวางระยะตัวเองกับวงการให้พอเหมาะ

ดูตัวอย่างพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จากวิกิพีเดีย (ไทย)

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์ (26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 — ) ปัจจุบันเป็นประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ในอดีตเคยเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนที่ 16 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี 3 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึงพ.ศ. 2531และเป็นนายกรัฐมนตรีตามคำเชิญของรัฐสภาที่อยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุด ทั้งนี้เพราะกฎหมายไทยในสมัยนั้นไม่ได้กำหนดให้รัฐสภาต้องเลือกนายกรัฐมนตรี จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

บุคลิกส่วนตัวพลเอกเปรมเป็นคนพูดน้อย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จะให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนน้อยมาก จนถูกหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นเรียกขานว่า เตมีย์ใบ้และได้รับอีกฉายาหนึ่งว่านักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวายและกบฏ 9 กันยา ด้วยลักษณะเฉียบขาดในการตัดสินใจ

หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี

ผมเคยคุยกับเพื่อนที่เป็นนายทหาร ได้ความเห็นว่า พลเอกเปรมแม้เกษียณอายุราชการมานานแล้ว เลิกยุ่งเกี่ยวกับการเมืองสละตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็นานแล้ว แต่อิทธิพลแท้จริงของท่านก็ยังมีอยู่มาก คุณสมบัติของท่าน ไม่ใช่ในฐานะนักพูดนักสื่อสาร แต่เป็นคนที่รับฟัง เรียนรู้ ตัดสินใจไม่เร็ว แต่เมื่อได้ตัดสินใจแล้วจะเฉียบขาด


แต่ที่สำคัญก็คือเกียรติประวัติการทำงาน ความเป็นคนซื่อตรง ไม่แสวงหาความมั่งมีเป็นส่วนตัว พูดไม่มาก แต่เมื่อพูดแล้วคนจะฟัง นับเป็นแบบอย่างให้กับผู้นำทางทหารที่ดีในยุคต่อๆมา แม้ปัจจุบันอายุถึง 94 ปีแล้ว แต่ทหารก็ยังให้ความเคารพรักใครไม่เสื่อมคลาย

Wednesday, May 28, 2014

กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อ โดย ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat)

กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อ โดย ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com


ภาพ รูปแกะสลักของ ซุนวู  (Sun Tzu หรือ Sun Zi) นักทฤษฎีการรบและการทหารชาวจีน เมื่อกว่า 2000 ปีมาแล้ว


 ศึกษาและเรียบเรียงจาก “กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อ” The 48 Laws of Power”, 1998 โดย Robert Greene and Joost Elffers.

Keywords: power48, การเมือง, politics, การปกครอง, government, governance, การบริหาร, Administration การจัดการmanagement, อำนาจ, power, Robert Greene, Joost Elffers
-----------

ในช่วงหลังการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ คสช. ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการกองทัพบกเป็นหัวหน้า การวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆคงจะเปลี่ยนไป บางอย่างฝ่ายคสช.คงไม่บอกในรายละเอียดหมด เพราะมันเป็นการเดินตามเกมส์ยุทธศาสตร์ ที่เหมือนกับการทำศึกในสนามรบ เพียงแต่ว่าไม่ใช่เกมส์ที่แพ้ชนะกันทางการทหาร แต่เป็นการชนะหรือบรรลุผลที่มีเรื่องของเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความมั่นคง และระบบย่อยอื่นๆของประเทศไทยเป็นเดิมพัน

ผมเคยแปลและเรียบเรียงหนังสือออนไลน์ หรือ e-book เรื่อง “กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อในปี พ.ศ. 2554 (2011) ไม่ได้มีแผนที่จะจัดพิมพ์เป็นหนังสือกระดาษเพื่อจ่ายแจกในเวลานี้ หนังสือออนไลน์นี้มี 48 บท ตามจำนวนหลักของการใช้อำนาจ โปรดเข้าไปอ่าน แล้วเราจะมาพูดคุยกันเกี่ยวกับปัญหาบ้านเมือง

หนังสือเล่มนี้ได้โครงร่างมาจาก The 48 Laws of Power”, 1998 โดย Robert Greene and Joost Elffers เขาเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ตแล้ว ความจริงตัวเรื่องนี้เขาได้มาจากตำราพิชัยสงครามของนักปราชญ์ด้านการรบของจีน ชื่อ ซุนวู (Sun Tzu หรือ Sun Zi) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในจีนโบราณ ราวๆ 544–496 ปีก่อนคริสตกาล ตำราพิชัยสงครามนี้ ใครๆก็เข้าไปอ่าน หรือ Download ได้ สำหรับการแปลและเรียบเรียง ผมใช้การเขียนตามความเข้าใจของตนเอง และสิ่งที่สามารถทำให้คนที่ไม่ได้เป็นนักรัฐศาสตร์ หรือนักการทหารอ่านแล้วเข้าใจได้

ตำราพิชัยสงครามของซุนวู หรือ ศิลปะการสงคราม (The Art of War) นี้ไม่เพียงมีอิทธิพลต่อการทหารในจีนและโลกตะวันออก แต่มีอิทธิพลถึงในยุโรปและอเมริกา ทั้งในด้านวัฒนธรรม การเมือง ธุรกิจ และการกีฬา

ระยะนี้ ไม่มีอะไรดีกว่าติดอาวุธทางปัญญาแก่ประชาชนครับ นั่นคือทำให้ทุกฝ่ายได้รู้เท่าทันกัน จะมาแสวงประโยชน์ด้วยการเอาเปรียบกันนั้น ย่อมไม่พึงกระทำครับ


Sunday, May 25, 2014

อย่าเพิ่งประเมินและด่วนตัดสินรัฐประหาร

อย่าเพิ่งประเมินและด่วนตัดสินรัฐประหาร
-----------

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, government, governance, รัฐประหาร, copu d' etat, ระบอบทักษิณ, Thaksinocracy


ภาพที่เห็นหน้าจอทีวีทุกช่องในช่วงเริ่มต้นของการรัฐประหาร - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) National Peace and Order Maintaining Council

หลังจากการที่ฝ่ายทหารทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 นับว่าเกินคาดจากที่ มวลมหาประชาชนต้องการ

แต่หากติดตามข่าวสารและปะติดปะต่อ ก็จะพบว่าคณะรัฐประหารนำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีทางเลือก เพราะท้ายที่สุดเมื่อรัฐบาลรักษาการไม่ยอมลาออก ก็มีอยู่เพียงทางเลือกเดียวที่เหลืออยู่ คือทำรัฐประหาร (Coup d’ etat)

เมื่อเข้าใจความจำเป็นในวิธีการ (Means) ก็ต้องมาดูที่เป้าหมายปลายทาง (Ends) การนำประเทศเข้าสู่สภาวการณ์ปกติ การขจัดระบอบฉ้อฉล การคอร์รัปชั่นในระบบราชการ การเล่นพรรคเล่นพวก
การเดินไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่ทำงานได้ แม้จะไม่สมบูรณ์ คนอาสาสมัครไปเป็นผู้แทน สามารถหาเสียงได้ในทุกที่ทั่วประเทศโดยปราศจากการคุกคาม นั่นคือ “การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง” (Reform before Election)

ผมไม่อยากอวดว่ามีสติปัญญา ทำตนเป็นคนมี IQ (Intelligence Quotient) สูงเหนือคนอื่น ผมไม่ไปโวยวายต่อว่าใคร แต่ขณะเดียวกันจะพยายามใช้ EQ (Emotional Intelligence Quotient) เปิดใจรับฟังให้มากและให้ดี รับฟังอย่างมีการไตร่ตรอง

ผมไม่ใช่เป็นคนกลาง ผมเป็นคนมีฝ่าย คือเป็นฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณ ผมจะเห็นด้วยกับใครก็ตามที่จะทำให้บ้านเมืองปลอดจากการคอร์รัปชั่น การเล่นพรรคเล่นพวกในระบบราชการ การซื้อขายตำแหน่ง แบ่งกันกินบ้านกินเมือง แต่ผมเปิดใจพอที่จะยอมรับวิธีการที่ไม่ปกติ ที่จะนำบ้านเมืองสู่สันติสุขในท้ายสุด อย่างน้อยที่สุดในช่วง 100 วันแรกนี้ ต้องขอมองการทำงานของคณะรัฐประหาร ต้องให้เวลาเขาที่จะทำงานได้อย่างสะดวกครับ ตราบที่ไม่ได้ริดรอนสิทธิมนุษยชนเกินควร

ประกอบ คุปรัตน์
26 พฤษภาคม 2557
-------------------

ประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตวุฒิสมาชิก ได้เขียนบทความสั้นๆ ใช้ข้อความอย่างกะทัดรัด และแสดงทัศนะต่อการรัฐประหาร และสิ่งที่เราควรจะกระทำต่อไปอย่างมองรอบด้านและแยกแยะสิ่งผิดและถูก

๑.เราไม่ควรยินดีกับการรัฐประหาร 

-->แต่ควรยินดีต่อการใช้อำนาจจัดการอย่างเด็ดขาดกับกลุ่มการเมืองโกงชาติ และสมุนบริวาร 

๒.เราไม่ควรยินดีที่คนไทยจำนวนหนึ่งถูกคณะรัฐประหารใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ ดำเนินการเอาผิดและลงโทษอย่างรุนแรง 

-->แต่ควรยินดี ที่คนกระทำความผิดจะถูกลงโทษ เพราะกระบวนการยุติธรรมตามปกติเอาผิดไม่ได้
๓.เราไม่ควรสะใจที่คนไทยกลุ่มหนึ่งจะถูกกระทำย่ำยี โดยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ตามปกติ 

-->แต่ควรยินดี ที่คนกลุ่มนี้ ซึ่งเคยหมิ่นแคลนกระบวนการยุติธรรม จะได้รับวิบากกรรม จากสิ่งที่พวกเขากระทำต่อประเทศชาติโดยเจตนา

๔.เราไม่ควรยินดีต่อการถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ

-->แต่ควรยินดีที่จะเสียสละเสรีภาพของเราบางส่วนเพื่อให้กระบวนการฟื้นฟูประเทศชาติสามารถเดินไปได้ 

๕.เราไม่ควรยินดี ที่สื่อสารมวลชนของเราถูกควบคุมโดยคณะรัฐประหาร 

-->แต่ควรสมน้ำหน้าพวกเขา ที่เคยร้องแรกแหกกระเฌอ เมื่อมวลมหาประชาชนไปขอร้อง
ให้เสนอข่าวอย่างเป็นธรรม อีกทั้งยังเสนอข่าวรัฐบาลโจรต่อมาอย่างไม่ไยดีกับข่าวสารของ
ผู้รักความเป็นธรรม

๖.เราไม่ควรยินดี ที่ผู้เห็นต่างทางการเมืองกับเรากำลังจะถูกจำกัดและควบคุมเสรีภาพในการแสดงออก 

-->แต่ควรยินดี ที่สมุนบริวารโจรโกงกินและขายชาติจะถูกกระทำ เสมือนหนึ่งพวกเขาเคยกระทำกับพวกเราเสียบ้าง

๗.เราไม่ควรชื่นชมทหารอย่างเกินเลย หรือออกนอกหน้าเพราะภารกิจที่เขากระทำยังไม่เสร็จสิ้น และผลลัพธ์ท้ายที่สุดยังไม่ปรากฏ 

-->เว้นเสียแต่ว่า สิ่งที่เขากระทำได้ในบัดนี้ ก็เป็นที่น่ายินดีเหลือประมาณแล้ว กับการจัดการต่อพวกโกงชาติและสมุนบริวาร

๘.เราไม่ควรปฏิเสธความคิดต่าง หรือความเห็นต่างกันทางการเมือง

-->เว้นเสียแต่ว่า เราพิจารณาโดยแยบคายแล้ว พบว่าความคิดเห็นหรือความเชื่อดังกล่าวนั้น มีเงื่อนงำ รับใช้โจร เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีเลศนัย ปราศจากตรรกะหรือความจริงรองรับ ดังที่วิญญูชนพึงมี 
เช่นตรรกะที่ว่า "รัฐประหารไม่ดี เพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง" เป็นต้น

๙.เราไม่ควรเชื่อ หรือเกรงใจ กับสถานะทางสังคม หรือสถานภาพของบุคคล เช่น ความเป็นนักวิชาการ ความเป็นปัญญาชน ความเป็นราษฎรอาวุโส ความเป็นองค์กรอิสระ ความเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ความเป็นสื่อมวลชนใหญ่ ฯลฯ 

หากเขาแสดงออก หรือมีทัศนะ ที่รับใช้คนโกงชาติ อ้างประชาธิปไตยจอมปลอม หรือสิทธิเสรีภาพในจินตนาการทั้งที่ในยุคของรัฐบาลโจร คนคิดต่างก็ถูกกระทำย่ำยีจนบาดเจ็บล้มตาย แต่บุคคลที่ว่ามาข้างต้น ก็ยังยืนอยู่ในฝ่ายโจร


๑๐. ความดีหรือความชั่ว มีมาตรฐานและกฏเกณฑ์ชี้วัด ทั้งทางศาสนาและทางสังคม หาใช่นามธรรมอันมิอาจพิสูจน์ เว้นเสียแต่ว่าอวิชชามิจฉาทิฏฐิจะครอบงำบุคคลนั้นๆ ให้เห็นผิดเป็นชอบ ซึ่งหากเขา(หรือเธอ)เห็นผิดเป็นชอบเสียแล้ว ก็พึงปฏิบัติต่อเขา(หรือเธอ) เหล่านั้น ตามสมควรแก่กรณี เพราะป่วยการที่จะเคารพต่อความเป็นบุคคล ต่อผู้ปราศจากสภาพบุคคล ตามมาตรฐานทางจริยธรรม.

Tuesday, May 20, 2014

กำนันสุเทพ (สุเทพ เทือกสุบรรณ) ไม่ใช่ชายชรา

กำนันสุเทพ (สุเทพ เทือกสุบรรณ) ไม่ใช่ชายชรา

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
Email: pracob.cooparat@gmail.con

Updated: Wednesday, May 21, 2014

กำนันสุเทพ (สุเทพ เทือกสุบรรณ) ไม่ใช่ชายชรา ..

กลอนของคุณครูจิ๋ว สัญญพันธ์ เพราะและได้ความดีมากครับ เราจะไปร่วมกับกำนันสุเทพกับศึกครั้งสุดท้าย แต่ที่เห็นต่างคือ กำนันสุเทพอาจเป็นผู้สูงอายุ เป็นราษฎรอาวุโส แต่ไม่ใช่ชายชรา ด้วยวัยราว 65 เขายังแข็งแกร่ง เขาเดินมาเกือบพันกิโลเมตร สติปัญญาเขายังเฉียบ พูดได้ชัดเจน แลเติมอารมณ์สร้างความฮึกเหิมแก่คนนับล้านๆคนในช่วงปราศรัยนับเป็นชั่วโมง เขารับฟังได้อย่างเปิดใจ และเมื่อต้องตัดสินใจเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ที่ตกลงกัน เขาเดินหน้าอย่างไม่หวาดหวั่น

กลอนของคุณ ครูจิ๋ว ครูจิ๋ว สัญญพันธ์.....พูดถึงลุงกำนันและการต่อสู้ของเรา มวลมหาประชาชน (กปปส. PDRC)

"เขามีบ้านหลังใหญ่ใยไม่อยู่ รถยนต์หรูสักกี่คันเขาซื้อได้ ก็เพราะเขารักชาติของเขาไง เขาจึงไม่อาจละเลยทำเฉยชา เขาทนแดดกรำฝนมิบ่นเบื่อ เขาทำเพื่ออะไรใคร่ปุจฉา วานมวลมิตรช่วยกันคิดวิสัชนา ชายชราผู้ตรากตรำทำเพื่อใคร ฉันจะคอยคำตอบอยู่ข้างหลัง ฉันยังหวังแม้แดดฝนเขาทนไหว ฉันก็รู้ที่เขาสู้สู้ด้วยใจ ฉันจะไปนัดสุดท้ายพร้อมชายชรา....."


ภาพ สุเทพ เทือกสุบรรณ (กำนันสุเทพ) ปราศรัยทุกคืน


ภาพ สุเทพ เทือกสุบรรณ เดินเชิญชวนคนมาร่วมชุมนุม หลายครั้ง รวมนับได้ 700 กิโลเมตร

ในประเทศสหรัฐอเมริกา นักวิชาการ ที่ปรึกษา ผู้พิพากษามีทำงานจนอายุ 75 ปี งานบางอย่างอายุสูงขึ้น ประสบการณ์ก็มากขึ้น และที่สังคมต้องการคือประวัติการทำงานที่คงเส้นคงวาที่ผ่านมา ย่อมเป็นหลักได้ว่าเขาจะไม่ตัดสินใจอย่างสุ่มเสี่ยงขัดหลักจริยธรรมทางวิชาชีพ

โดยทั่วโลก คนอายุยืนยาวขึ้น เพราะมีวิทยาการทางการแพทย์และสุขภาพที่ดีขึ้น มีวิธีการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่ดี เมื่อยามเจ็บป่วยก็มีการดูแลรักษาที่ทั่วถึงขึ้น มีอาหารการกินที่ดี หากควบคุมให้กินอย่างพอเหมาะสม ดูตัวอย่างจากอายุเฉลี่ยของคนในปัจจุบัน จำแนกตามรายประเทศ

List by the World Health Organization (2013)[edit]

Overall
rank[4]
Country
Overall life
expectancy
1
86.5
2
84.6
3
84.2
4
84
5
83.8
6
83.5
7
83.3
8
83.1
9
83
10
83
11
82.8
12
82.5
13
82.5
14
82.3
15
82.1
16
82
17
81.9
18
81.7
19
81.5
20
81.5
21
81.4
22
81.2
23
81
24
81
25
81
26
81
27
81
28
81
29
81
30
80.7
31
80.6
32
80
33
80
34
79.8
35
79.8
36
79.5
37
79.5
38
Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/bd/Flag_of_Cuba.svg/35px-Flag_of_Cuba.svg.png Cuba
79.4
40
79.2
41
79
42
78.5
43
78.2
44
78
45
77.8
46
77.5
47
77.5
48
77.5
49
77.3
50
77.2
51
77.2
52
77
53
76.9
54
76.8
55
76.5
56
76.5
57
76.2
58
76.1
59
76
60
76
61
76
62
Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/dd/Flag_of_Oman.svg/35px-Flag_of_Oman.svg.png Oman
76
63
76
64
75.9
65
75.8
66
75.7
67
75.5
68
75.5
69
75.2
70
75.1
71
75
72
75
73
75
74
75
75
75
76
74.9
77
74.8
78
74.7
79
74.7
80
74.7
80
Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/cf/Flag_of_Peru.svg/35px-Flag_of_Peru.svg.png Peru
74.7
81
74.6
82
74.6
83
74.6
84
74.5
85
74.5
86
74.5
87
74.5
88
74.5
89
74.5
90
74.5
91
74.5
92
74.5
93
74.5
94
74.4
95
74.4
96
74.3
97
74.2
98
74
99
74
100
74
101
74
102
74
103
74
104
74
105
74.8
106
Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/ca/Flag_of_Iran.svg/35px-Flag_of_Iran.svg.png Iran
73.5
107
73.5
108
73.3
109
73.2
110
73.2
111
Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/ba/Flag_of_Fiji.svg/35px-Flag_of_Fiji.svg.png Fiji
73
112
73
113
73
114
73
115
73
116
72.5
117
72
118
72
119
72
120
71.5
121
71.5
122
71
123
71
124
70
125
70.8
126
70.5
127
70
128
70
129
70
130
69
131
Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f6/Flag_of_Iraq.svg/35px-Flag_of_Iraq.svg.png Iraq
69
132
69
133
Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/9b/Flag_of_Nepal.svg/21px-Flag_of_Nepal.svg.png   Nepal
69
134
69
135
69
136
68.5
137
Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/56/Flag_of_Laos.svg/35px-Flag_of_Laos.svg.png Laos
68
138
68
139
68
140
68
141
68
142
68
143
67.5
144
67.2
145
67
146
66.5
147
66
148
66
149
66
150
66
151
64
152
64
153
64
154
64
155
63
156
62
157
61.5
158
61.5
159
61
160
61
161
60.5
162
60
163
60
164
60
165
59.5
166
59
167
59
168
59
169
59
170
58
171
58
172
Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/68/Flag_of_Togo.svg/35px-Flag_of_Togo.svg.png Togo
57
173
56.5
174
56.5
175
56
176
56
177
55.5
178
55
179
54
180
54
181
53
182
53
183
52.5
184
52
185
Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4b/Flag_of_Chad.svg/35px-Flag_of_Chad.svg.png Chad
51
186
Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/92/Flag_of_Mali.svg/35px-Flag_of_Mali.svg.png Mali
51
187
51
188
50
189
50
190
50
191
49.5
192
48.5
193
47.5

ข้อสังเกต

มี 10 ชาติในโลกที่นับว่ามีประชากรอายุเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ (1) โมนาโค ( Monaco) 86.5 ปี; (2) ญี่ปุ่น (Japan) 84.6 ปี; (3) แอนดอรา (Andorra) 84.2 ปี; (4) สิงค์โปร (Singapore) 84 ปี; (5) ฮ่องกง (Hong Kong) 83.8 ปี; (6) ซานมาริโน (San Marino) 83.5 ปี; (7) ไอซ์แลนด์ (Iceland) 83.3 ปี; (8) อิตาลี (Italy) 83.1 ปี; (9) ออสเตรเลีย (Australia) 83 ปี; และ (10) สวีเดน (Sweden) 83 ปี ในกลุ่มประเทศเหล่านี้เป็นประเทศพัฒนาแล้วขนาดเล็กทั้งในยุโรปและเอเซีย เขามีโอกาสดูแลประชากรของเขาได้อย่างทั่วถึง ประเทศญี่ปุ่นนับเป็นประเทศที่มีประชากรมาก และมีอายุยืนที่สุดในโลก


จาก 193 ประเทศที่สำรวจ ประเทศไทย (Thailand) อยู่ในอันดับที่ 76 มีอายุเฉลี่ยที่ 74.9 ปี และเราก็เริ่มพบว่ามีคนที่มีอายุเกิน 90 ปีที่ยังแข็งแรง มีสติปัญญาที่เฉียบคมอยู่มาก การที่มีผู้นำที่มีอายุตั้งแต่ 60-75 ปีที่ยังแข็งแรง ฉับไวไม่หลงลืมอีกมากที่จะทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้