ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
Keywords: รถยนต์ไฟฟ้า, sustainable design, green design, green transportation, trexa, electric vehicle platform, ev, diy electric vehicle
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คนที่สนใจพัฒนาการของรถไฟฟ้า (Electric cars) ได้รับข่าวสารเวียนไปทั่วเกี่ยวกับมีบริษัทใหม่ชื่อ Trexa ที่ผลิตพื้นฐานรถยนต์ (Platform) ที่จะใช้เพื่อการประดิษฐรถไฟฟ้า ที่มีช่องทางที่คนชอบประดิษฐ์และทำนวตกรรมใหม่ๆที่จะได้นำไปคิดทำต่อ ส่วนองค์ประกอบที่เขามีไว้บริการพื้นฐาน คือ แบตเตอรี่ (battery), ระบบควบคุมการส่งกำลัง (driveline), และระบบจัดการพลังงานด้วยอิเลคโทรนิกส์ (power electronics)
ภาพ Trexa ที่มี Platform ที่บาง สามารถนำมาออกแบบตัวถังและระบบอื่นๆสำหรับเป็นยานพาหนะ อาจจะเป็นรถยนต์นั่ง 4 คน รถโดยสารขนาดเล็ก
รถในลักษณะโครงสร้างของเขา (Platform) ไม่มีระบบเพลาส่งกำลัง (Drivetrain) เพราะจะมีมอเตอร์ติดอยู่กับทุกล้อ จะขับเคลื่อนด้วย 2 ล้อหรือ 4 ล้อก็ได้ ตามกำหนดด้วยระบบอิเลคโทรนิกส์ แต่ด้วยความที่เป็นระบบไฟฟ้า การออกตัวจะทำได้ดีมาก สามารถวิ่งทำความเร็วได้ 0-60 ไมล์ในเวลา 8 วินาที สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 100 ไมล์ หรือ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และวิ่งได้ไกล 160 กิโลเมตรด้วยการชาร์ตไฟครั้งเดียว และการชาร์ตไฟนั้นใช้เวลาเต็มที่ 4 ชั่วโมง ด้วยฐานประสิทธิภาพที่ 200Wh ต่อไมล์ ซึ่งเทียบเคียงได้กับรถยนต์ไฟฟ้าลูกประสม (Hybrid electric car) อย่าง Toyota Prius เมื่อวิ่งในแบบใช้ไฟฟ้าอย่างเดียว (Electric mode)
ภาพ การออกแบบในยุคใหม่ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD) ให้นักศึกษาฝึกออกแบบได้หลายๆรุปแบบ เพื่อที่จะมองหาความเป็นไปได้ ส่วนประกอบที่จะนำมาทำเป็นรถยนต์หรือยานพาหนะนั้น อาจเป็น Fiberglass และสามารถนำบริษัทผู้ผลิตอื่นๆ เช่นพวกเบาะ ประตู กระจก และอื่นๆ ที่มีอุตสาหกรรมในประเทศรองรับอยู่แล้ว
การนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้า แบบให้นำไปประกอบหรือประดิษฐ์เพิ่มเติมเองนี้ จะได้รับความนิยมจากบุคคลที่สนใจศึกษาและเรียนรู้ระบบด้วยตนเองในระดับหนึ่ง น่าจะมีประโยชน์สำหรับสถานศึกษา ที่ซื้อหาไปให้นักเรียนนักศึกษา เรียนรู้วิธีการสร้างรถยนต์เองอย่างที่ตนเองต้องการ (Customized) ก็เหมือนแนวคิดของเล่นเด็กแบบ Lego ทื่ทำให้เยาวชนตัวน้อยๆ ได้ฝึกคิดประดิษฐ์สิ่งต่างๆจากชิ้นส่วนเล็กๆ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการลงมือทำด้วยตนเอง อันจะเป็นฐานสำหรับการนำไปสู่การประดิษฐและคิดทำในสิงใหม่ๆ ต่อไป และการจะประดิษฐ์รถ ออกแบบรถ ก็จะได้ฝึกใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ (Computer Assisted Design – CAD) การฝึกทดสอบ การปรับระบบที่จะนำไปใช้งานที่หลากหลาย
ผมเห็นว่าแนวความคิดนี้เป็นสิ่งที่ดี และสถาบันการศึกษาด้านเทคโนโลยี เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคนิค หรือมหาวิทยาลัยท้องถิ่นอย่างมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีอยู่ทั่วประเทศ น่าจะได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ สร้างหน่วยวิชาการ (Academic Units) อย่างง่ายๆ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีโครงงาน (project) ในรูปแบบต่างๆ ได้พัฒนากันต่อไป
เราต้องไม่ลืมว่าประเทศไทยเราแม้จะมีระบบผลิตรถยนต์ (Car Assembly) และอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 14 ของโลก แต่เราไม่มีระบบการวิจัยและพัฒนา (Research & Development – R&D) เหมือนในประเทศผู้นำด้านรถยนต์อย่างสหรัฐ เยอรมัน อังกฤษ และในประเทศภาคพื้นยุโรปอื่นๆ หรือในเอเชียอย่าง ญี่ปุ่น จีน อินเดีย เกาหลี สำหรับประเทศไทยเรานั้น เราคงต้องพึงพาระบบบางอย่างที่เราสามารถคิดประดิษฐ์ได้เอง แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม ดังนั้น การมีระบบที่มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับระดับหนึ่ง และเราเรียนรู้ที่จะพัฒนาต่อไปนั้น ก็นับว่าดีในระดับหนึ่งแล้ว
ในการนี้หากใครมีความคิดที่ดีๆ ขอให้เขียนแสดงความคิดเห็นมายังผมได้ โดยสมัครเป็นผู้ร่วมใน Website ได้ครับ
รถยนต์ไฟฟ้า Trexa เป็นแบบที่มีโครงสร้างที่จะนำไปประกอบเป็นรถยนต์ด้วยตนเอง หรือ Do it yourself (DIY)เมื่อต้นปี 2010 ได้ประกาศราคาพื้นฐานมาที่ US$15,999 หรือประมาณ 479,970 บาท หากมีใครได้นำมาประดิษฐเป็นรถยนต์ใช้จริง ช่วยส่งมาแลกเปลี่ยนกันบ้างนะครับ
ReplyDeleteWhen we first looked at TREXA's open-source electric vehicle development platform late last month we were impressed by the concept, but one big question remained - how much will it cost? The answer has come sooner than expected with TREXA announcing a base price of US$15,999 for the lithium-powered, modular platform which is designed to facilitate the creation of custom "vehicle apps".
ถึงวันนี้ มีใครติดตามความคืบหน้าของรถยนต์ไฟฟ้า TREXA แบบประกอบเองบ้างครับ หรือมีใครที่สั่งตัวถังมาประกอบเป็นรถสาธิตในประเทศไทยบ้าง ช่วยแจ้งให้ทราบด้วยนะครับ
ReplyDelete