Wednesday, January 27, 2010

การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้ากับทางอยู่รอดของบริษัท GM

การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้ากับทางอยู่รอดของบริษัท GM

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail:
pracob@sb4af.org

Keywords: เทคโนโลยี, รถยนต์ไฟฟ้า, General Motors, GM

ศึกษาและเก็บข่าวจาก "Behind the Wheel of GM's Chevrolet Volt" โดย ABC ใน "Drives the Car that GM is Banking on to Revitalize the Auto Industry" รายงานข่าวออนไลน์โดย BORIS KORBY และอื่นๆ

WASHINGTON, วันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2010

บริษัท Genertal Motors เป็นอดีตบริษัทรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาและในโลก ครั้งหนึ่งมีคนทำงานกับบริษัททั่วโลกถึงเกือบล้านคน แต่ด้วยวิกฤติทางการเงินและทิศทางการดำเนินธุรกิจ ในปี ค.ศ. 2008-2009 บริษัทประสบปัญหาด้านการเงินจนเกือบจะต้องประกาศล้มละลาย แต่ในที่สุดก็กลับมาดำเนินการต่อได้ ก็ด้วยเงินกู้และหลักประกันจากรัฐบาลกลาง โดยต้องปรับโครงสร้างกิจการของบริษัทอย่างมาก ลดขนาดกิจการลง ขายทิ้งส่วนที่ดำเนินการไม่ได้ดีเพื่อตัดค่าใช้จ่าย และในอีกส่วนหนึ่ง คือขายกิจการที่ดำเนินธุรกิจได้ดี แต่มีผู้เสนอให้ราคาที่สูง เพื่อนำรายได้มาชดเชยส่วนที่จะขาดทุน และเพื่อหาทางอยู่รอด ดังเช่นกรณีของการขายกิจการของ Opel ในยุโรป และรวมถึงบริษัท Saab

ในยุคใหม่ GM ไม่ใช่ตัวกำหนดตลาดรถยนต์หลักอีกต่อไป บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นบริษัท Toyota ของญี่ปุ่น ในยุคใหม่ GM ต้องคิดและทำอะไรอย่างก้าวหน้า กล้าเสี่ยงทำในสิ่งใหม่ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีระดับสูง ดังการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า (Electric Cars) ซึ่งมีในหลายแนวคิดตามระดับการพึ่งพา และพัฒนาการของอุปกรณ์หลักที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า

GM เคยเป็นผู้นำด้านการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าล่วงหน้าก่อนคนอื่นมานับเป็นหลายทศวรรษ แต่ก็ได้ฆ่าทิ้งโครงการดังกล่าว เพียงเพราะยังมองไม่เห็นโอกาสการทำเงินในช่วงสั้นๆ แต่ขณะเดียวกัน บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นที่ตามมาอย่าง Toyota Motors กลับนำแนวคิดรถยนต์ไฟฟ้า ไปพัฒนาต่อในรูปแบบรถยนต์ไฟฟ้าลูกประสม (Hybrid Cars) อย่าง Toyota Prius ที่สร้างชื่อเสียงและประสบความสำเร็จในตลาดสหรัฐเองและทั่วโลก มียอดขายไปกว่า 1 ล้านคัน และทำให้มีรถยนต์อื่นๆในสายการผลิตได้หันไปผลิตในแนวคิดรถไฟฟ้าลูกประสมอีกหลายๆรุ่น

GM ได้พัฒนารถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมในแนวทางเดียวกับ Toyota Prius เรียกว่า Chevy volt และจะออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 2011

ภาพ Chevy Volt 2011 รถนั่ง 3 ประตูกึ่งสปอร์ต

ภาพ ภายในรถ Chevy Volt

รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสม Chevy volt เป็นแบบ PHEV ซึ่งมาจากคำว่า Plug-in Hybrid Electric Vehicle หรือรถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมแบบเสียบปลั๊ก สามารถวิ่งได้โดยใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างเดียวได้ 40 ไมล์หรือ 64 กิโลเมตร สามารถใช้ไฟบ้านในสหรัฐอเมริกา ที่เป็นแบบ 110 Volts การแบบเสียบปลั๊กชาร์ตไฟได้เต็มที่ในเวลา 8 ชั่วโมง ถ้าเป็นระบบชาร์ตไฟฟ้าด้วยระบบ 220 Volts ดังในประเทศไทยก็จะลดไฟฟ้าลงเป็นใน 4 ชั่วโมง และหากเป็นรถบบชาร์ตไฟจากสถานีที่ออกแบบมาเฉพาะใช้ไฟฟ้าแรงสูงขนาด 450 volts จะใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที่และได้พลังไฟฟ้าร้อยละ 80

ระบบการทำงานของเครื่อง Chevy Volt จะวิ่งแบบใช้ไฟฟ้าอย่างเดียว โดยไม่ติดเครื่องยนต์ และชาร์ตไฟเพียงครั้งเดียว และเมื่อไฟฟ้าหมดหรือต่ำกว่าร้อยละ 20 ระบบก็จะหันไปสตาร์ตเครื่องยนต์ขนาดเล็กที่ผลิตไฟฟ้ามาให้รถวิ่งต่อได้

ระบบเครื่องยนต์แบบเผาไหม้ จึงทำหน้าที่ต่างจากระบบรถ Prius ตรงที่ Prius จะใช้ระบบเครื่องยนต์วิ่งด้วยเครื่องยนต์ขนาดเล็ก และมีระบบการควบคุมพลังงานด้วยอิเลคโทรนิกส์จัดการให้รถยนต์ทำงานได้อย่างเหมาะสมด้วย ใช้พลังเพียงจากไฟฟ้า จากเครื่องยนต์และมีไฟฟ้าส่วนเหลือ เช่นช่วงการเบรค หรือลงเขา จะถูกกลับกัน (Reverse) มาเป็นพลังไฟฟ้าสะสมไว้ในแบตเตอรี่ ยามต้องเร่งรถ ดังเช่นการเร่งเข้าสู่ถนนทางหลวง (Merging traffic) หรือเมื่อขึ้นเขา ระบบจะดึงพลังงานจากทั้งไฟฟ้าและระบบเครื่องยนต์เพื่อให้รถวิ่งไปได้ด้วยความเร็วสูง

GM กล่าวว่า "ระบบของเขานั้นอาจจะเป็นทิศทางของรถยนต์อเมริกันทั้งระบบที่จะต้องหันมาสู่ระบบใหม่ในแบบของเขานี้ และเขาคิดว่าระบบที่ GM พัฒนานี้จะเป็นทิศทางของการผลิตรถยนต์ของอเมริกันและจะนำหน้าส่วนอื่นๆของโลก" Davis กล่าว

ส่วนราคาของ Chevy Volt นั้นจะกำหนดราคาให้อยู่ในระดับที่แข่งขันได้ คือที่ประมาณ USD 30,000-40,000 ซึ่งในปัจจุบัน รถยนต์ขนาดกลางที่จะใหญ่กว่า Chevy Volt เล็กๆน้อย คือ Toyota Camry ที่ขายดีที่สุดในสหรัฐจะมีราคาที่ประมาณ USD 22,000 แต่ก็ประมาณกันได้ว่าการใช้รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมอย่าง Volt จะประหยัดพลังงานและการนำเข้าน้ำมันไปได้มากคุ้มเกินค่ารถที่ยังสูงในปัจจุบัน ในอีกด้านหนึ่ง ผู้เชียวชาญเชื่อว่าในอีก 5-10 ปีต่อไปนี้ ราคาแบตเตอรี่รถยนต์จะถูกลงอีกเท่าตัว และน้ำหนักแบตเตอรี่จะลดลงได้อีกร้อยละ 30 และเมื่อมีบริษัทหรือกิจการที่ทำให้โครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับรถบบรถไฟฟ้า เช่นสถานีชาร์ตไฟ หรือสถานที่แลกเปลี่ยนแบตเตอรี่ ซึ่งสามารถชาร์ตไฟได้ร้อยละ 80 ในเวลา 30 นาที สถานีชาร์ตไฟฟ้า หรือ Electric Grid นี้ จะทำให้การใช้รถไฟฟ้า หรือไฟฟ้าลูกประสมแบบเสียบปลั๊กเป็นไปได้อย่างสะดวก จนคนหันมาใช้รถพลังไฟฟ้ากันมากขึ้น

ขณะนี้อนาคตของรถยนต์จึงอยู่ที่รถไฟฟ้า ซึ่งครั้งหนึ่ง GM เคยเป็นผู้นำด้านวิทยาการและได้เลิกไป คราวนี้กลับมาใหม่ ด้วยระบบบริหารใหม่ที่ต้องคิดใหม่ เรียนรู้จากบทเรียนที่เคยผิดพลาด และท้ายสุดต้องหันกลับมาแข่งขันด้านวิทยาการรถยนต์ใหม่ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า แบตเตอรี่ ระบบการควบคุมการทำงานของรถที่ต้องเป็นระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมอย่างมาก

GM และบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของอเมริกันไม่มีทางเลือกมากนัก เพราะเมื่อเทียบค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน ก็จะต้องประสบกับการแข่งขันกับประเทศพัฒนาใหม่อย่างจีนหรืออินเดีย เมื่อเทียบถึงเทคโนโลยีด้านไฟฟ้าและอิเลคโทรนิกส์ ก็จะต้องมีคู่แข่งอย่างญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งก็เข้าสู่ตลาดการแข่งขันเช่นเดียวกัน

No comments:

Post a Comment