ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
ศึกษาและเรียบเรียง
Keywords: การวางผังเมือง, city
planning, habitation planning, สิ่งแวดล้อม, environment, เมืองใหญ่, metropolitan, เมืองขนาดเล็กยุคใหม่, micropolitan,
small town,
ปี ค.ศ. 1999 น้ำมันบาร์เรลละ
$10; ปี ค.ศ. 2007 น้ำมันบาร์เรลละ
$147; ปี ค.ศ. 2007 น้ำมันหายากมากขึ้น
ต้องมีการสำรวจขุดเจาะถึงที่ขั้วโลกเหนือ (Artic); ปี ค.ศ. 2026
คาดว่าราคาน้ำมันจะอยู่ที่บาร์เรลละ $200; และ
ปี ค.ศ. 2038 ประเทศซาอุดีอาระเบียจะกลายเป็นประเทศนำเข้าน้ำมัน
กล่าวโดยรวม
เราไม่สามารถมีน้ำมันปิโตรเลียมและพลังงานจากถ่านหิน และพวกฟอสซิล (Fossil)
แนวโน้มคือคนจะพยายามมากขึ้นเพื่อจะแสวงหาพลังงานที่จะหมดไป
ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนไม่คุ้มที่จะทำ
มันถึงเวลาที่เราต้องตระหนักรู้แล้ว
เราต้องใช้ชีวิตอย่างตระหนักว่า
น้ำมันปิโตรเลียมกำลังจะหมดไป เราต้องแสวงหาและใช้พลังงานทางเลือกที่ยั่งยืน (Sustainable
energy) และต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับอนาคตที่กำลังเป็น
ภาพ รถสามล้อไฟฟ้า (E-trike) ใช้พลังงานคนถีบควบกับไฟฟ้า ดัดแปลงนั่งได้ 2 คน
เดินทางภายใน 25-30 กม./วัน น้ำหนักตัวรถไม่เกิน 40-50
กิโลกรัม
ภาพ จักรยานสองล้อไฟฟ้า (Electric bicycle)
คนเรามีแนวโน้มที่จะสวนกับความเป็นจริงและความต้องการตามธรรมชาติ
เช่น
แนวโน้มคนเรากินอยู่ดีมากขึ้น
มีแนวโน้มออกกำลังกายน้อยลง อ้วนมากขึ้น คนอเมริกัน ยุโรปเหนือ
ล้วนมีปัญหาน้ำหนักเกิน (Obesity) คนไทยก็กำลังมีปัญหาในแบบเดียวกัน
ทางออกนอกจากจะต้องควบคุมอาหาร กินอาหารมีเยื่อใยมากขึ้น ลดแป้งและไขมันลง และต้องต้องออกกำลังกายมากขึ้น
และทำให้การออกกำลังกายเป็นกิจวัตรปกติของชีวิต
เราใช้รถยนต์กันเพื่ออะไร
คำตอบคือใช้เพื่อการเดินทาง หากจะสังเกตรถยนต์ที่ขับไปทำงาน (Commuting) แต่ละวัน มีจำนวนมากที่นั่งเพียงคนเดียว แล้วใช้รถยนต์หนักเฉลี่ย 1,200-2,000
กก. เพื่อเคลื่อนย้าย นำพาคนหนัก 55-70 กิโลกรัม
แล้วใช้น้ำมันมูลค่ากิโลเมตรละ 4-5 บาท วันละเฉลี่ย 15-20
กิโลเมตร ลองเปลี่ยนไป
·
ใช้การขนส่งมวลชน (Mass
transit system) และการเดินให้มากขึ้น
·
ใช้ยานพาหนะที่เล็กลง อาจเป็นจักรยานสองล้อ
หรือสามล้อ แทนที่จะเป็นพลังงานน้ำมัน ก็เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า (Electromobility)
การใช้รถในแต่ละวัน สำหรับคนกรุง
เพื่อเดินทางไปทำงาน เสียเวลากับจราจรติดขัดวันละ 1 ชั่วโมง เปลี่ยนไปเป็น
·
การเลือกที่พักที่ใกล้ที่ทำงาน
และที่พักที่ใช้พื้นที่จำกัดลง มีขนาดเท่าที่จำเป็น หากทำงานในเมือง
ให้พักในอพาร์ทเม้น (Apartments) หรือคอนโดมีเนียม (Condominium)
พื้นที่ขนาด 30-40 ตารางเมตร ก็พอสำหรับครอบครัวขนาด
2-4 คน
·
เมื่อต้องการพักผ่อนในที่กว้างขวาง ฝ่ายบริหารบ้านเมือง
(Municipality) ก็จัดให้มีสวนสาธารณะ (Parks) เปิดพื้นทีริมน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล ทำเป็นทางเดินพักผ่อนและออกกำลังกาย
·
ลดแนวโน้มการขยายตัวของเมืองใหญ่มาก
(Megacities) ให้เป็นเมืองขนาดกลาง และเล็ก (Micropolitan)
มีแกนเมืองที่มีขนาด 10,000-50,000 คน ควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้น
และผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสำคัญ
การอยู่อาศัยที่ใช้พื้นที่น้อย
ภาพ บ้านในชนบท หรือเมืองเล็ก สร้างบ้านเล็กประหยัดพลังงาน การดูแลง่าย
ภาพ ห้องนอนขนาดเล็ก ประหยัดพลังงาน หากต้องใช้เครื่องปรับอากาศ
ภาพ การจัดห้องสำหรับคนพักอาศัย 2 คนที่ต้องใช้ห้องร่วมกัน
ภาพ การใช้เตียงแบบ Bunk beds พร้อมมีโต๊ะทำงาน เหมาะสำหรับเด็ก หรือวัยรุ่น
ภาพ บ้านพักอาศัยพื้นที่น้อย ราคาแพง ก็อยู่บ้านเล็ก แต่เมืองมีพื้นที่สาธารณะให้ใช้พักผ่อนเดินออกกำลังกาย - Promenade - Brooklyn, New York City, USA
ภาพ ทางเดินกว้างขวางในเมืองใหญ่ หรือเมืองตากอากาศ (Promenade)
ภาพ ทางเดินสาธารณะ ริ่มทะเล (Promenade)
ภาพ ลานจอดรถยนต์สำหรรับรถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars & vehicles) โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์จาก Solar cell panels บนหลังคา
ภาพ แผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่นำมาผลิตเป็นไฟฟ้าขนานใหญ่ ราคาแผงจะถูกลงทุกวัน เมื่อมีการผลิตกันมากๆ
ภาพ พลังที่จะผลิตไฟฟ้า สามารถใช้พลังลม (Wind turbines) สามารถติดตั้งกังหันลมบริเวณทะเลชายฝั่ง ไม่รบกวนใคร หรือจะติดตั้งบริเวณทุ่งกว้าง ยังใช้พื้นที่ทำนาได้อยู่
ภาพ รถจักรยาสามล้อไฟฟ้า (E-tricycle) สะดวกและปลอดภัยกว่ารถสองล้อม สำหรับผู้สูงอายุ
ภาพ จักรยานสามล้อไฟฟ้า (Electric tricycle) อีกแบบหนึ่ง ขับเคลื่อนด้วย Motor hub ใช้ไฟฟ้าในล้อหน้า ส่วนล้อหลังใช้คนถีบ
ภาพ ปลั๊กเสียบไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า สำหรับติดตั้งในบ้านคนหรือโรงรถ ชาร์จไฟตอนกลางคืน และใช้รถวิ่งตอนกลางวัน ใช้เวลาชาร์จไฟ 3-6 ชั่วโมง และกำลังมีระบบ Supercharger ชาร์จไฟตามสถานี ใช้พลังไฟ 450 โวลต์ ใช้เวลา 30 นาที ได้ไฟฟ้าเต็มร้อยละ 80
No comments:
Post a Comment