Wednesday, June 26, 2013

ทำไมการศึกษาในอเมริกาจึงล้มเหลว บทเรียนจากต่างแดนจะสามารถนำมาพัฒนาได้อย่างไร


ทำไมการศึกษาในอเมริกาจึงล้มเหลว บทเรียนจากต่างแดนจะสามารถนำมาพัฒนาได้อย่างไร

สุริยา เผือกพันธ์
Suriya Puegpunt

Keywords: การศึกษา, education, การปฏิรูปการศึกษา, education reform, การบริหารการศึกษา, educational administration, สหรัฐอเมริกา, USA education system, Jal Mehta

แปลและเรียบเรียงจาก สารัตถะในหนังสือ The Coming of post-industrial Society  เขียนโดย Jal Mehta ที่ตีพิมพ์ในปี 1973

โดยแดเนียล เบลล์ (Daniel Bell) นักสังคมศาสตร์ประกาศว่า สหรัฐอเมริกาจะเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจที่เน้นการใช้แรงงาน (Labor-intensive economy) ในการผลิตสินค้าไปสู่การใช้ความรู้เป็นฐานในการผลิต ปรับเข็มมุ่งสู่การให้บริการ สัมฤทธิ์ผลของการทำงานที่ใช้มือ (Manual) งานการผลิตแบบสายการผลิต (Assembly-line work) ประสบความสำเร็จได้ไม่นานก็เกิดความต้องการทักษะที่ก้าวหน้าและความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น อย่างน้อยก็ตั้งแต่นักการเมืองและผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันได้มีกฎระเบียบที่เน้นย้ำในเวลาต่อมาว่า การศึกษาคือ กุญแจสำคัญที่ไขไปสู่อนาคตของประเทศ ดูเหมือนว่าทุก ๆ คนจะเห็นด้วยว่า โรงเรียนที่ดีคือ โรงเรียนที่เตรียมการเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง เตรียมการรับมือกับสังคมที่มีการเคลื่อนย้ายผู้คนและสร้างสังคมที่ประชากรมีสุขภาพดี ความเห็นเหล่านี้ นักการเมืองใช้หาเสียงไว้กับประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งที่กลายเป็นสาระสำคัญผูกพันต่อสาธารณะในทุกวันนี้

แม้ว่าจะไม่มีใครโต้แย้งเรื่องคุณค่าของการศึกษา แต่ประเทศควรจะพัฒนาอย่างไรในสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงเช่นนี้ ตามแนวคิดใหม่ในทุก ๆ สองสามปี การบำรุงรักษาโรงเรียนในอมริกา ทำเพียงการปฏิบัติตามมาตรฐาน เปิดโรงเรียนตามกฎหมาย เสนอการรับรองเพื่อการศึกษาเอกชนหรือใช้จ่ายให้กับครูตามผลการปฏิบัติงานของพวกเขา เมื่อเร็ว ๆ นี้ เกิดมีแผนการ 2 แผนการได้ร่วมกันแสวงหาคำตอบตามแนวทางการดำเนินงานของระบบการศึกษาในอเมริกา คือแผนการใช้กฎหมายที่ชูคำขวัญเรื่อง No Child Left Behind ในปี 2001 โดยมองหาการใช้มาตรฐานและการตรวจสอบเพื่อผลักดันนักเรียนทั้งหมดไปสู่ความมีประสิทธิภาพในปี 2014 และแผนการแข่งขันไปสู่ความเป็นเลิศ ด้วยการเริ่มต้นการบริหารของประธานาธิบดีโอบามา ที่พยายามจูงใจให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยนำเสนอให้มีการแข่งขันให้มลรัฐ ปฏิบัติตามวาระการปฏิรูป แต่ทุกกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติ มีความก้าวหน้าในบางพื้นที่ การพัฒนาไม่ได้เกิดผลอย่างกว้างขวาง โรงเรียนในสหรัฐอเมริกายังอ่อนแอ คุณภาพลดลงไปอยู่ในระดับปานกลางของการจัดลำดับคุณภาพในนานาชาติ ซึ่งอยู่หลังหลาย ๆ ประเทศอย่าง Estonia และ Slovenia และครึ่งหนึ่งของศตวรรษหลังการสิ้นสุดของการแบ่งแยกผิว ช่องว่างกว้างใหญ่ของการแบ่งแยกเชื้อชาติและชนชั้นของนักเรียนยังคงอยู่อย่างต่อเนื่อง ดูจากผลการประเมินความก้าวหน้าทางการศึกษาระดับชาติ (National Assessment of Education Progress) ที่คะแนนเฉลี่ยในการอ่านของนักเรียนผิวดำที่จบชั้นปีที่ 12 มีค่าเท่ากับคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนผิวขาวที่จบชั้นปีที่ 8 ผลการประเมินเหล่านี้ เป็นระดับความน่าเชื่อถือของการประเมินมาตรฐานในระยะยาว ที่เกิดจากการปฏิบัติงานของโรงเรียนในสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกาต้องการวิธีการที่เป็นระบบและมีความสมบูรณ์มากขึ้นในการพัฒนาการศึกษา โดยดูจากการใช้ความพยายามอย่างมากโดยมีองค์ประกอบ 4 ประการต่อไปนี้ เป็นเครื่องยืนยันที่ทุก ๆ กลุ่มสาขาอาชีพนำมาใช้พิจารณาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ประกอบด้วยเรื่องของทุนมนุษย์ (Human capital) ซึ่งประกอบด้วยการสรรหา (Attracting) การคัดเลือก (Selecting) การฝึกอบรม (Training) และการรักษา (Retaining) สำหรับคนที่ทำงานอยู่แล้ว สาระความรู้หลัก (A core of knowledge) ที่ใช้แนะนำการทำงานคือ โครงสร้างองค์การที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมถึงการจัดการและการตรวจสอบการปฏิบัติงาน(Performance management and accountability)  ทุก ๆ อาชีพต้องการจัดลำดับความสำคัญภายในและระหว่างองค์ประกอบทั้ง 4 นี้ เพื่อที่พวกเขาจะได้ทำงานร่วมกันด้วยความสามัคคี อันจะนำไปสู่ความสำเร็จที่สมบูรณ์แบบ

ในหลายปีไม่นานมานี้ ระบบการศึกษาในสหรัฐอเมริกาได้มีการเปลี่ยนมาให้ความสนใจอย่างมาก ต่อองค์ประกอบท้ายสุดคือ “การตรวจสอบ” ที่มุ่งเน้นขยายความก้าวหน้าออกไป เพื่อให้เกิดความสำเร็จไปยังที่อื่น ๆ ด้วย ส่วนใหญ่ของความทะเยอทะยานในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ตามนโยบาย No Child Left Behind ได้เพิ่มการตรวจสอบ ด้วยการดำเนินการประเมินโรงเรียนเป็นรายปี ในการทดสอบนักเรียนในด้านการอ่านและคณิตศาสตร์ แต่การดำเนินการเหล่านั้นไม่ได้ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นแต่อย่างใด ความล้มเหลวได้ขยายวงออกไปสู่องค์ประกอบอื่น ๆ ในการทำงาน ความไม่สมดุลเป็นส่วนหนึ่งที่อธิบายได้ว่า ทำไมการเริ่มต้นปฏิรูปการศึกษาจึงไม่มีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย ในทางตรงกันข้าม วิชาชีพที่มีความเข้มแข็งในสหรัฐอเมริกา เช่น แพทย์ศาสตร์ นิติศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ได้ให้ความสนใจต่อการสร้างพื้นฐาน (Foundations) มากกว่าการยึดเอาการตรวจสอบการปฏิบัติของพวกเขา ยกตัวอย่างเช่น หมอ จะต้องทำความเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการที่สร้างไว้ (High bars) ก่อนไปทำงาน ด้วยการพัฒนาฐานความรู้อย่างกว้างขวาง ผ่านหลักสูตรและการฝึกปฏิบัติงานในสถานพยาบาลและกลับไปฝึกอบรมใหม่อย่างต่อเนื่อง ด้วยการปฏิบัติในโรงพยาบาล ในสถานที่ทำงาน วิชาชีพแพทย์ศาสตร์ให้ความสนใจน้อยต่อการกำหนดเป้าหมายและการประชุมนายแพทย์ร่วมกัน เพราะที่นั่นไม่มีสิ่งใดสำคัญมากมายจนต้องกล่าวว่า ไม่มีคนป่วยหลบซ่อนอยู่ข้างหลัง (No Patient Left Behind)

ในขณะเดียวกันประเทศอื่น ๆ ได้แสดงให้เห็นวิธีการที่ดีกว่าในการให้การศึกษาแก่เด็ก ๆ ของพวกเขา ประเทศที่มองดูคล้ายกับระบบการศึกษาแบบในสหรัฐอเมริกามีน้อยและมองดูคล้ายกับวิชาชีพที่มีความเข้มแข็งมีมาก การวิจัยนานาชาติเมื่อเร็ว ๆ นี้เสนอว่า ในประเทศต่าง ๆ ที่ถูกจัดลำดับคุณภาพการศึกษาให้อยู่ในลำดับยอดเยี่ยมระดับนานาชาติ ความสำเร็จของพวกเขาเกิดจากวิธีดำเนินการที่มีความหลากหลายในวิธีการ ที่ตรงข้ามกับวิธีการในอเมริกา ประเทศต่าง ๆจำนวนมาก ประกอบด้วย แคนาดา ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ผู้เรียนมีคะแนนสูงสุดในการทดสอบ PISA (Program for International Student Assessment) ซึ่งการทดสอบนี้ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ด้วยการทดสอบนักเรียนอายุ 15 ปี ที่วัดการแก้ปัญหาระดับสูงในวิชาคณิตศาสตร์ การอ่านและวิทยาศาสตร์ ทุกประเทศดังกล่าว ทำคล้าย ๆ กัน คือคัดเลือกครูจากผู้มีความสามารถที่สุด ฝึกอบรมพวกเขาอย่างเข้มข้น สร้างโอกาสให้พวกเขาพัฒนางานโดยร่วมมือกับกลุ่มเพื่อนภายในโรงเรียนและโรงเรียนอื่น  เสนอให้พวกเขาได้รับการสนับสนุนจากภายนอก ถ้าพวกเขาต้องการทำงานให้ดีขึ้นและลงนามเห็นด้วยกับความพยายามทั้งหมดกับรัฐบาลที่มีระบบสวัสดิการที่เข้มแข็ง เพราะว่าประเทศต่าง ๆ เหล่านี้เริ่มต้นทำงานได้ดี ด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีความซื่อสัตย์ต่อการเป็นนักการศึกษา  พวกเขามีความต้องการการติดตามการปฏิบัติงานของโรงเรียนจากภายนอกน้อยมาก

ถ้าสหรัฐอเมริกาต้องการเป็นผู้นำโลกในด้านความผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน จะต้องขอยืมแนวความคิดบางอย่างจากประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสุดยอดในนานาชาติในปัจจุบันนี้ มาใช้ ซึ่งค่อนข้างเป็นไปได้มากกว่าการใช้วิธีการธรรมดา ๆ ตรวจสอบครูและโรงเรียนที่มีความล้มเหลวให้ยกระดับการปฏิบัติงานให้สำเร็จตามความคาดหวัง ประเทศจะต้องสร้างระบบใหม่จากพื้นฐานด้วยผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ ที่สามารถยืนยันให้ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูงได้

อาคารเรียนคล้ายกับโรงงาน
(
SCHOOLHOUSE AS FACTORY)

ระบบโรงเรียนในสหรัฐอเมริกาสันนิษฐานว่า เป็นรูปแบบที่ทันสมัยน้อยกว่าหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมาในระหว่างยุคสมัยที่ก้าวหน้า (Progressive Period) ระหว่างยุคที่มีความก้าวหน้า ในหนึ่งชั่วอายุคนระหว่างปี 1890 – 1920 กลุ่มของคนชั้นสูงได้เปลี่ยนแปลงประเทศแบบอาคารเรียนหนึ่งห้องสู่การจัดตั้งระบบโรงเรียนในเมือง ที่ได้รับอิทธิพลจากรูปแบบที่มีอยู่ทั่วไปขององค์การทางธุรกิจ ซึ่งมีการจัดระดับความมีประสิทธิภาพ ระบบนี้ได้มอบอำนาจให้ผู้บริหารระดับสูงที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายได้ปฏิบัติคล้ายกับเป็น CEO ของโรงเรียนในเมือง ซึ่งครูที่เป็นผู้หญิงส่วนใหญ่จะต้องปฏิบัติตามกฎและระเบียบที่ผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้เลือก

ในรูปแบบการบริหารองค์การแบบบังคับบัญชาตามลำดับชั้น (Hierarchical Model) นี้ ครูมีอำนาจอย่างเป็นทางการเพียงเล็กน้อยที่จะต่อต้านคำสั่งจากข้างบน แม้ว่าการเชื่อมโยงสายบังคับบัญชาจากผู้บริหารระดับสูงจะสูญเสียไป ทำให้ขาดการติดตามผู้ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด แต่ก็ทำให้ครูมีอำนาจควบคุมการปฏิบัติงานของตนได้ทั้งหมดว่ามีอะไรเกิดขึ้นในห้องเรียนของพวกเขาบ้าง ครูได้รับการฝึกอบรมน้อยเพราะ มีสมมุติฐานว่าพวกเขาไม่มีความยุ่งยากในการปฏิบัติงาน โรงเรียนที่จัดการศึกษาได้คุณภาพในระดับยอดเยี่ยมส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการฝึกอบรมครู เห็นการสอนคล้ายกับเป็นงานที่มีสถานภาพต่ำ เป็นสิ่งที่น่าละอาย เป็นงานของผู้หญิง พวกเขาถูกปลูกฝังให้ตำแหน่งผู้บริหารเป็นของผู้ชาย ซึ่งจะต้องเป็นผู้บริหารระบบ

นานนับครึ่งศตวรรษ รูปแบบการบริหารแบบนี้ดำเนินไปด้วยดี เพราะว่ามีความคาดหวังอย่างมาก ว่าอะไรที่เป็นความต้องการของโรงเรียน รูปแบบการบริหารแบบนี้จะสร้างการผลิตที่มีขอบเขตอย่างยุติธรรม  การสูญเสียสายบังคับบัญชาทำให้ครูมีอำนาจด้วยตนเองเพียงพอแก่การสร้างพวกเขาให้รู้สึกในการทำหน้าที่ ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการโรงเรียนมีอำนาจอย่างเป็นทางการเพียงพอที่จะรักษาไว้ซึ่งระบบของโรงเรียนที่พวกเขาให้การแนะนำและตั้งแต่ผู้นำเหล่านี้ได้รับการเลือกตั้งหรือได้รับการแต่งตั้งโดยเจ้าหน้าที่เลือกเข้ามา โรงเรียนจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมโดยระบบประชาธิปไตย ครูส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงจะมีการจ้างผู้อื่นที่เป็นผู้ชายบ้างก็เพียงสองสามคนและโดยทั่วไปไม่ได้เป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว ดังนั้นแม้พวกเขาจะได้รับค่าจ้างน้อยก็ แต่ไม่ได้เป็นสิ่งยั่วยุให้พวกเขาคิดต่อต้านแต่อย่างใด

ยิ่งไปกว่านั้น คนอเมริกันมีความอดทนต่อระบบเพราะว่าในปี 1960 นักเรียนผิวขาวส่วนมากจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งพวกเขาอยู่ในชนชั้นกลางที่ครอบครองโรงงานและภาคส่วนอื่น ๆ ก็คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม แม้ในโรงเรียนจะมีค่าใช้จ่ายจริง ๆ เท่าใด แต่มีเยาวชนจำนวนน้อยที่มีอภิสิทธิ์เข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลหรือโรงเรียนเอกชนที่ดีกว่า แล้วเรียนต่อไปจนถึงวิทยาลัย ผลลัพธ์คือ คนผ่านระบบโดยทั่วไปได้รับในสิ่งที่พวกเขาต้องการ อย่างไรก็ดีประเทศไม่ได้ทำอะไรได้มากจนถึงจุดสูงสุดของการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งหมด

มากกว่าห้าสิบปีที่ผ่านมา ข้อจำกัดของรูปแบบได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เป็นต้นว่าความคาดหวังของโรงเรียนมีเพิ่มมากขึ้น แรงขับจากผู้คนที่เห็นความสำคัญในสิทธิของพลเมืองและการเปลี่ยนแปลงจากสังคมยุคอุตสาหกรรมไปสู่สังคมหลังยุคอุตสาหกรรม ปัจจุบันผู้กำหนดนโยบายมีความคาดหวังให้นักเรียนทั้งหมดประสบความสำเร็จในระดับสูง แต่วิธีการที่จะนำไปสู่ความทะเยอทะยานเหล่านี้ยังไม่มี อัตราส่วนของคนยากจนในอเมริกายังสูงเมื่อเทียบกับมาตรฐานนานาชาติ เพราะว่ารัฐสวัสดิการที่อ่อนแอของประเทศ และทรุดหนักด้วยการล่มสลายของโรงงานอุตสาหกรรมและการแบ่งแยกผิวที่เพิ่มขึ้น และการว่างงานในเมืองใหญ่หลายเมืองในชาติ และโรงเรียนในละแวกใกล้เคียงมีความยากจนสูงไม่ยอมรับการปฏิรูปอย่างกว้างขวาง ผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาซึ่งจะออกมาเป็นครูมีจำนวนมากเสมอและมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นด้วย ในขณะเดียวกันกลับลดจำนวนผู้ที่มีความสามารถพิเศษในการประกอบอาชีพครูลง ธรรมชาติของการกระจายอำนาจจากส่วนกลางอย่างสูงของการศึกษาในอเมริกา กลับกลายเป็นจุดอ่อนมากกว่าความเข้มแข็ง อย่างที่นักวิชาการ เดวิท โคเฮนและซูซาน โมฟฟิตต์ (David Cohen and Susan Moffitt) ชี้ว่า เพราะมันมีข้อจำกัดในความสามารถของรัฐบาลกลาง (Federal government) ในการดูแลให้มีการสอนที่ดีได้ตลอดทั้งประเทศ ปัจจุบันประเทศต้องการการยืนยันถึงผลการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพระดับสูงทั่วทั้งระบบโรงเรียน แต่ยังไม่มีการสร้างระบบที่จะทำให้เกิดความสำเร็จนั้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากวงจรชั่วร้าย (Vicious cycle) ที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติ เป็นความหวังเล็กน้อยเทียบความต้องการที่มีมากในการพัฒนาการศึกษาของอเมริกา ผู้กำหนดนโยบายสามารถเข้าใจถึงความต้องการด้วยการเข้าแทรกแซงระบบที่ล้มเหลว แต่ให้ผลการปฏิบัติงานในโรงเรียนต่าง ๆ อย่างไม่มั่นคง อัตราส่วนการออกกลางคันสูงถึงร้อยละ 40 – 50 ในบางเมือง พวกเขาได้ใช้กลไกต่าง ๆ อย่างมาก แต่ผลของความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานให้สูงขึ้นแก่นักเรียนและสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมากับโรงเรียนกลับล้มเหลว ส่วนหนึ่งของความไม่พอใจของครูคือ การมอบอำนาจสั่งการจากภายนอกโดยประชาชน ซึ่งรู้เรื่องเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับงานประจำวันของครู และเป็นผู้ซึ่งไม่เต็มใจที่จะให้การสนับสนุนในสิ่งที่เป็นความต้องการของนักเรียน ครูต่างมีความวิตกกังวลต่อการตกเป็นแพะรับบาป (Scapegoat) ในความล้มเหลวของพวกเขา และอยู่ในตำแหน่งที่จะมองหาเหตุผลมาคัดค้านสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าไม่ยุติธรรมและไม่มีเหตุผลจากการประเมินและตรวจสอบจากภายนอกด้วยความยากลำบาก ในทางกลับกันผู้กำหนดนโยบายหลาย ๆ คน มองโรงเรียนคล้ายเป็นหน่วยที่ต้องการหาวิธีผูกมัดเชื่อมโยงเพื่อเอาชนะการคัดค้านของครูและการคิดรวมตัวกันอันจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูป วงจรชั่วร้ายนี้ยังคงอยู่ ด้วยแต่ละฝ่ายยังคงปฏิบัติตามบทบาทที่ได้รับการแต่งตั้งมา โดยมองไม่เห็นวิธีการพัฒนา

ลัทธิที่ไม่มีข้อยกเว้นของคนอเมริกัน (AMERICAN UNEXCEPTIONALISM)

ประเทศต้องการหยุดเกลียวที่หมุนต่ำลงและสร้างระบบที่ดีกว่าเดิมจากพื้นฐานขึ้นมา จะเริ่มต้นจากตรงไหนดี ควรจะเป็นเรื่องของเทคนิคการสอน นักวิชาการทางการศึกษาระบุว่า ความรู้สำหรับครูที่ดีมีอยู่ 3 ประเภท คือ ความรู้ที่เป็นเนื้อหาสาระ (Substantive knowledge) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับวิชาที่ครูสอน ความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพ (Pedagogical knowledge) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนและความรู้ที่เกี่ยวกับเนื้อหา (Pedagogical content knowledge) หมายถึง ความรู้ที่นักเรียนควรจะเข้าใจถึงวิธีการเรียนรู้ในวิชาที่เรียน มีอะไรที่ผิดพลาดหรือเกิดความลำเอียงในการมองครูและวิธีการตอบสนองต่อความเข้าใจผิดในเรื่องเทคนิคการสอนที่พวกเขาอาจปิดบังซ่อนเร้นอยู่ ครูที่ดีรู้วิธีการชักจูงและประยุกต์รูปแบบต่าง ๆ ของความรู้เหล่านี้และสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วในสถานการณ์จริง มีงานวิจัยโดยฟิลลิป แจ็คสัน (Philip Jackson) แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกได้เสนอว่า ครูได้ทำการตัดสินใจมากกว่าพันครั้งในการใช้หลักสูตรในแต่ละวัน

ปัญหาการศึกษาในอเมริกาคือ การพัฒนาทักษะเหล่านี้ไม่เป็นระบบในทุก ๆ วิธีการ ครูเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ จากรายงานระบุว่า โดยทั่วไปครูในอเมริกาที่ได้รับการฝึกอบรมนำประโยชน์ไปใช้ในการปฏิบัติได้น้อย การสอบใบอนุญาตสำหรับครูขาดความเข้มงวดในการทดสอบตามมาตรฐาน แต่ยังใช้อยู่ในวิชาชีพนิติศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบัญชีและหลาย ๆสาขาอาชีพ ครูดีเด่นบางคนมีอาชีพนอกเวลา แต่บางคนเรียนรู้เฉพาะการควบคุมห้องเรียน เมื่อเร็ว ๆ นี้ มูลนิธิบิลล์และเมลินดา เกตส์ (Bill and Melinda Gate Foundation) ได้ศึกษาห้องเรียนกว่า 3,000 ห้องเรียนในสหรัฐอเมริกาพบว่า ห้องเรียนมากกว่าร้อยละ 60 ได้มีการจัดการอย่างเหมาะสม หมายความว่านักเรียนไม่เกเรและทำงานตามที่ครูสั่ง แต่มีเพียงร้อยละ 20 ที่มุ่งมั่นเรียนรู้อย่างทะเยอทะยานด้วยความท้าทายในการคิด การใช้เหตุผลและการวิเคราะห์เนื้อหาหรือปัญหา

ไม่ต้องแปลกใจ ที่รูปแบบเหล่านี้เป็นกระจกเงาสะท้อนภาพการสอนของครู ที่ดูได้จากผลการเรียนรู้ของนักเรียนว่าพวกเขาสามารถจะทำอะไรได้บ้าง ผลจากการประเมินความก้าวหน้าทางการศึกษาระดับชาติ (National Assessment of Educational Progress) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า 2 ใน 3 หรือมากกว่าของนักเรียนในอเมริกาทุกกลุ่มอายุ มีความสามารถในทักษะขั้นพื้นฐาน เช่น การอ่าน การจำ แต่มีเพียง 1 ใน 3 ที่มีทักษะการทำงานได้ดี รวมทั้งการประยุกต์ใช้ข้อมูลข่าวสารและการวิเคราะห์ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาของอเมริกาสอบไม่ผ่านในการประเมินผลระดับชาติ จากการประเมิน PISA ในปี 2009 พบว่า ผลการประเมินด้านการคิดชั้นสูง คะแนนการอ่านอยู่ลำดับที่ 14 วิทยาศาสตร์ลำดับที่ 17 คณิตศาสตร์ลำดับที่ 25 การสร้างระบบโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ต้องการครูที่ช่วยนักเรียนให้สามารถทำงานเหล่านี้ให้ก้าวหน้า

ระบบที่อยากจะทำนั้นคืออะไร ผลการทดสอบของประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ระดับนำในระดับนานาชาติ พวกเขามีรูปแบบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ พวกเขาทำงานได้ดีกว่าด้วยการพัฒนาทุนมนุษย์ พัฒนาความรู้และช่วยให้ครูเจริญเติบโตในหน้าที่อย่างกว้างขวาง ไม่เหมือนกับในสหรัฐอเมริกา ที่มียุทธศาสตร์เน้นเฉพาะใช้การทดสอบมาตรวจสอบครูและโรงเรียน ประเทศที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากยอมรับการลงทุนโดยเอา ผลลัพธ์สุดท้าย (Front end) มาควบคุมคุณภาพ ผลสัมฤทธิ์ ผลสำเร็จของโรงเรียนในประเทศเหล่านี้ เกิดจากการสร้างวงจรคุณธรรม (Virtuous cycle) การสนับสนุนจากสาธารณะเพื่อการลงทุนทางการศึกษาและสร้างครูให้เป็นอาชีพที่น่าสนใจมากขึ้น แม้ดูว่าสหสัมพันธ์จะไม่เป็นเหตุเป็นผลกันและงานวิจัยจำนวนมากจะเสนอแนะวิธีการทำงานแบบนี้อยู่ ประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ได้ยังคงแบ่งปันวิธีดำเนินการเพื่อการปฏิรูปที่ดูเหมือนจะมีความแตกต่างกันอย่างมากกับประเทศที่เดินตามสหรัฐอเมริกา

ที่แน่ ๆ ประเทศที่มีผลการประเมินระดับนานาชาติอยู่ในระดับนำ มีความแตกต่างจากสหรัฐอเมริกาในทุก ๆ ทาง มันเป็นเรื่องลำบากในการที่จะนำเข้าบทเรียนจากพวกเขาโดยตรง ที่เห็นชัดเจนที่สุดคือโดยทั่วไปพวกเขาเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กกว่าและมีเชื้อชาติเดียวมากกว่าสหรัฐอเมริกา อย่างที่พูด มันอาจผิดพลาดได้ถ้าจะสรุปว่า สหรัฐอเมริกาจะสามารถเรียนรู้จากต่างประเทศ โดยเฉพาะการให้การศึกษาประสบความสำเร็จสามารถเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ ด้วยการพัฒนาข้ามวัฒนธรรมที่แตกต่างอย่างไร คุณลักษณะที่พวกเขาแบ่งปันกันสามารถเห็นได้ในวิชาชีพอื่น ๆ ก็มีความเข้มแข็งอยู่ในสหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกันกับการนำระบบเครือข่ายกลุ่มโรงเรียน (Charter – school networks) มาเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

เพิ่มมาตรการในการคัดครู
(
RAISING THE BAR)

ความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาของสหรัฐอเมริกาทุกครั้งต้องเริ่มต้นจากการจูงใจหาครูที่ดีมาทำงาน ฝึกอบรมพวกเขาและช่วยพวกเขาให้สามารถพัฒนาการปฏิบัติงาน ข้อค้นพบจากการเปรียบเทียบงานวิจัยในระดับนานานชาติส่วนใหญ่แย้งว่า ระบบโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดีที่สุดรับครูมาจากผู้ที่จบการศึกษาระดับยอดเยี่ยมลำดับหนึ่งในสามของวิทยาลัย ในขณะที่ระบบโรงเรียนที่อยู่ในระดับคุณภาพต่ำไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้จากรายงานของแม็คคินเซย์ (Mckinsey) พบว่า ครูในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่สองในสามมาจากห้องเรียนท้าย ๆ ของวิทยาลัยและสำหรับโรงเรียนใกล้ ๆ ที่ยากจน หลายแห่งมาจากห้องเรียนท้าย ๆ อันดับที่สาม

ในประเทศฟินแลนด์ การสอนคืออาชีพเดียวที่คนชอบที่สุด ที่มีมานาน 15 ปี แล้ว การให้ความสำคัญเช่นนี้ทำให้ประเทศยอมรับว่าเป็นอาชีพเดียวที่ผู้สมัครหนึ่งในสิบคนเท่านั้นที่ต้องเข้าสู่โครงการฝึกอบรมการเป็นครู เรื่องเดียวกันในประเทศสิงคโปร์มีเพียงหนึ่งในแปดคนเท่านั้นที่เข้าโครงการ ในทางตรงกันข้ามในสหรัฐอเมริกาแม้ในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงที่สุด มีครูร้อยละ 50 หรือมากกว่าของผู้สมัครต้องเข้าโครงการฝึกอบรมครู

สหรัฐอเมริกาจะต้องจูงใจและคัดเลือกครูมาทำการสอนให้มากขึ้นได้อย่างไร ในปีที่ผ่านมา สหภาพครูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ 2 แห่ง (the American Federation of Teachers and the National Education Association) และสมาคมผู้บริหารโรงเรียน (the Council of Chief State School Officers) ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการเสนอเจ้าหน้าที่ทางการศึกษาของรัฐมาทำงาน ได้มีการยกเลิกรายงานเกี่ยวกับการเพิ่มมาตรการ (The bar) ในการเข้าไปทำการสอน ภายใต้ข้อเสนอของพวกเขา เสนอว่าครูควรจะเริ่มจากการมีสถานะชั่วคราว (Provisional status) ในช่วงแรก ๆ หลายปี ก่อนที่จะมีการได้รับใบอนุญาตอย่างเป็นทางการ พวกเขาควรต้องแสดงความรู้และทักษะการสอนในวิชาของพวกเขาในห้องเรียนก่อน ระยะเวลาในการอยู่ในตำแหน่งไม่นานและมีขั้นตอนน้อย แต่สามารถที่จะได้รับความสำเร็จคล้ายกับตำแหน่งในมหาวิทยาลัยหรือตำแหน่งงานงานที่มั่นคงทางกฎหมาย (Law firm) การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้มีศักยภาพที่พูดได้ว่าทั่วทั้งองค์การ ถ้ามันเป็นเรื่องที่ลำบากขึ้นในการเป็นครู แต่ก็ยอมรับได้เพื่อให้วิชาชีพได้พัฒนาและโรงเรียนอาจได้เริ่มต้นแสดงผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ด้วยกระบวนการนี้จะทำให้สาธารณชนมีความมั่นใจต่อโรงเรียน ความมีศักยภาพมากจะนำไปสู่การจ่ายค่าตอบแทนที่สูงให้กับครูและในการทำงานระยะยาวจะดึงดูดให้คนเก่งได้มาเป็นครูด้วย

การเพิ่มมาตรการที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาการสอน ควรส่งผ่านมือต่อมือด้วยการปรับปรุงวิธีการสู่การศึกษาของครู สหรัฐอเมริกามีสถาบันฝึกหัดครูแบบดั้งเดิมมากกว่า 1,300 แห่ง การเพิ่มจำนวนเป็นการนำเสนอทางเลือกของสถาบัน แต่มีจำนวนน้อยที่จะมีท้องถิ่นเป็นผู้สนับสนุนการฝึกอบรมครูให้ลงปฏิบัติวิชาชีพ (Teacher residencies) และมีโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจำนวนน้อยที่มีโครงการฝึกอบรมด้วยตัวเอง ความสำเร็จสูงสุดของโครงการเหล่านี้ ได้ใช้วิธีการแบ่งปันประสบการณ์ง่าย ๆ หลายอย่าง พวกเขาดึงดูดคนที่ส่วนใหญ่จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี แต่ต้องการสอนในวิชาที่เขาเรียนมา พวกเขาสนใจการปฏิบัติสถานรักษาผู้ป่วยมากกว่าในห้องเรียน พวกเขามีความระมัดระวังในการเลือก (มากกว่าการรักษานักเรียนอย่างง่าย ๆ คล้ายกับเป็นกระแสหลัก) และพวกเขาใช้ข้อมูลเกี่ยวกับว่าจะทำอย่างไรให้นักเรียนได้รับประโยชน์มาก ๆ ด้วยความยุติธรรมคล้ายกับว่าครูได้ทำการประเมินและเปลี่ยนแปลงวิธีการของพวกเขา ความสำเร็จสูงสุดคือ ผู้นำเสนอคุณภาพต่ำทั้งหลายจะต้องหยุดลง แต่การปิดตัวของโครงการที่มีมานานอาจยอมรับได้ยากในทางการเมือง การยอมรับผลการสอบวัดมาตรฐานสำหรับครู สามารถวัดการแสดงออกถึงทักษะการสอน เท่า ๆ กับความรู้ในวิชาที่สอนและวิธีสอน ที่อาจต้องมีผลสัมฤทธิ์เหมือนกันมาแทน โครงการฝึกอบรม ผู้ซึ่งผ่านการสอบวัดความเข้าใจได้ จะเป็นการดึงดูดใจผู้สมัครมากขึ้น ขณะเดียวนักเรียนไม่อยากจะกลายเป็นผู้ที่เลือกครูผิด

ครูรู้อะไร
(
WHAT TEACHERS KNOW)

การพัฒนาการฝึกอบรมครูต้องการนักการศึกษาที่พัฒนารายละเอียดมากขึ้น สามารถใช้ความรู้แนะนำในการฝึกอบรม ความเป็นวิชาชีพคือพื้นฐานที่พวกเขาเรียกร้องให้ปลูกฝังด้วยการนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการวางแผน  เหมือนนักกฎหมายทำสัญญาและหมอเขียนใบสั่งยา เพราะว่าพวกเขาเป็นผู้เข้าใจดีว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เขามีอยู่จะจัดการมันอย่างไร อย่างไรก็ตาม การสอนนั้นขาดการประมวลผลทำให้ขาดองค์ความรู้ ในขณะที่ในวิชาชีพอื่น ๆ การควบคุมคุณภาพจะรับรองได้ด้วยการแบ่งปันความรู้ ดังนั้น ความไม่สัมพันธ์กันในเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่ที่เกิดขึ้นจากห้องเรียนหนึ่งไปสู่อีกห้องเรียนหนึ่ง ในบางความเห็น เห็นว่าการศึกษาของคนอเมริกันในวันนี้ คือที่ซึ่งได้รับการเยียวยาน้อยกว่าในศตวรรษที่ผ่านมา จากการวิจัยในบางครั้งพบว่า แทนที่ครูจะยอมรับการแบ่งปันความรู้กันเป็นฐาน ครูเหมือนคนหลังค่อมที่แบกสัมภาระมากมายและบางครั้งยังทำหน้าที่เป็นหมอเถื่อนอย่างเปิดเผย (Outright quackery)

อุปสรรคสำคัญต่อความก้าวหน้าในการศึกษาคือ ไม่มีใครใช้ความรู้เป็นฐานในการพัฒนา นักวิจัยทางการศึกษาเขียนงานขึ้นเพื่อนักวิจัยอื่น ๆ เป็นหลัก ครูได้สร้างความคิดใหม่ ๆ ขึ้นมาในแต่ละวันแต่ไม่ได้ให้ความสำคัญในการนำไปแบ่งปันหรือทดลองดู แนวคิดเชิงอุตสาหกรรมที่แท้จริงคือการพัฒนาวัตถุดิบในห้องเรียน แต่กลับกลายเป็นว่ามาสนใจเพียงการทำตามนโยบายของรัฐมากกว่าการพัฒนาการเรียนรู้ของครูและนักเรียน แอนโทนี บริค (Anthony Bryk) ประธานมูลนิธิ Carnegie Foundation for the Advancement of Teaching ได้ประมาณการว่า ขณะที่วงการแพทย์ วิศวกรรมใช้จ่ายเงินร้อยละ 5 – 15 ของงบประมาณในการวิจัยและพัฒนา แต่การศึกษาของสหรัฐอเมริกาลงทุนน้อยกว่า 1 ใน 4 ของร้อยละ 1 ของงบประมาณเหล่านั้น

ไม่เพียงแต่ในวงการขาดความรู้ แต่ยังขาดแหล่งทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตอีกด้วย

ข่าวดีคือว่า มีงบประมาณเพื่อการพัฒนาความรู้เป็นการเฉพาะ ที่วงวิชาชีพได้รับเพิ่มขึ้น นักวิชาการการศึกษานำการวิจัยทางวิชาการอย่างจริงจัง ในหัวข้อต่าง ๆ ที่หลากหลาย อันประกอบด้วย จะเริ่มต้นการสอนอ่านอย่างไร ข้อแนะนำในการพัฒนาและการใช้ทักษะเฉพาะที่พอเพียงในห้องเรียน ผู้ปฏิบัติการกลุ่ม “โรงเรียนตามสัญญา” (Charter – school operators) และนักวิจัยอิสระมีการศึกษาว่าอะไรคือสิ่งที่ครูและผู้บริหารที่ดีที่สุดจะต้องทำและยังมีการแบ่งปันความรู้ให้มีความเข้าใจที่ลึกซึ้งผ่านหนังสือและวิดีทัศน์อีกด้วย เว็บไซด์ระหว่างครูกับครูช่วยให้ครูไม่โดดเดี่ยวในการสอนและยังช่วยให้ครูได้ทำงานเป็นกลุ่มในการพัฒนาบทเรียนและหน่วยการเรียน โรงเรียนและครูยังสามารถกลับไปหาร้านค้าและสถาบันที่ไม่แสวงหากำไรที่เสนอหลักสูตรและอุปกรณ์การสอน แม้ว่าพวกเขาได้ระมัดระวังตัวอย่างมากในเรื่องคุณภาพและความมั่นคงของระบบกลไกที่มีเล็กน้อย  เหมือนกับแยกข้าวสาลีออกจากฟางข้าว อะไรคือสิ่งสำคัญที่ต้องการผลักดัน ไม่ว่าจะจากรัฐบาลหรือจากผู้ใจบุญภาคเอกชน สู่การบูรณาการแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่แตกต่างเหล่านี้ พัฒนาแบ่งปันมาตรฐานซึ่งพวกเขาสามารถตรวจสอบได้อย่างถี่ถ้วนและสร้างองค์ความรู้ใหม่ในส่วนที่ขาดหายไป

การอยู่อย่างโดดเดี่ยวคืออุปสรรคของการพัฒนา
(
ISOLATION IS THE ENAMY OF IMPROVEMENT)

ความรู้และการฝึกอบรมจะได้ใช้น้อยถ้าองค์การไม่มีการทำงานอย่างเป็นกระบวนการ เพราะนักการศึกษาจะประยุกต์ใช้จากการเรียนรู้ของพวกเขา การศึกษาในระดับอนุบาลาจนถึงมัธยมบริบูรณ์ (K – 12) ขาดมาตรฐานการทำงาน ที่มีอยู่ในงานประจำวันในวิชาชีพอื่นอย่างมาก การทบทวนงานทางวิชาการในกลุ่ม (Peer review) (งานเหล่านี้คือ มาตรฐานภายในที่ความเป็นมืออาชีพใช้แนะนำงานประจำวัน ไม่ใช่ประเมินจากการตรวจจากภายนอก ที่เสนอการลงโทษมากแต่ให้คำแนะนำน้อย) อะไรที่เกิดขึ้นในห้องเรียนหนึ่ง ๆ โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นน้อยในห้องเรียนอื่น ๆ การทำงานแบบโดดเดี่ยวจะเป็นอุปสรรคที่ยั่งยืนของการพัฒนา ถ้าครูต้องการได้สิ่งที่ดีกว่า พวกเขาต้องมีเวลาทำงานร่วมกัน อภิปรายบทเรียน สะท้อนผลการทำงานของนักเรียนและพัฒนาวิธีการใหม่ที่ดีกว่าเดิม

เช่นเดียวกันนี้ ในประเทศที่โรงเรียนมีคุณภาพการศึกษาระหว่างนานาชาติอยู่ในระดับสูงก็ได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น โรงเรียนในญี่ปุ่นครูจะมีระเบียบให้มาร่วมกันศึกษาบทเรียนของผู้อื่นและช่วยกันกลั่นกรอง การทำงานอย่างนี้ให้ดีขึ้นอยู่กับโครงสร้างและวัฒนธรรม ในทางโครงสร้างครูในสหรัฐอเมริกาได้ใช้เวลามากในห้องเรียนและใช้เวลาน้อยในการวางแผนและทำงานร่วมกับผู้อื่นกว่าโรงเรียนในประเทศที่โรงเรียนมีผลการปฏิบัติงานสูง ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหรัฐอเมริกามีชั่วโมงสอนเฉลี่ย 1,100 ชั่วโมงต่อปี เปรียบเทียบกับชั่วโมงสอนของครูในประเทศ OECD (Organization of Economic Cooperation and Development เช่นญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ มีค่าเฉลี่ย 660 ชั่วโมงต่อปีซึ่งน้อยกว่าถึง 600 ชั่วโมง ในเชิงวัฒนธรรม การสร้างความเจริญในหน้าที่การงานเกิดจากความร่วมมือกันในทางวิชาชีพ แล้วทำให้เกิดประสิทธิภาพ ครูในสหรัฐอเมริกาต้องการความรู้สึกเหมือนกับเป็นสมาชิกของการแบ่งปันทางวิชาชีพโดยใช้ความรู้เป็นฐานมากกว่าคนทำงานอิสระ (Freelancers) ที่พวกเขาเพียงแต่มาบอกว่าสิ่งที่ถูกคืออะไร

ที่นี่ก็เหมือนกัน ในเร็ว ๆ นี้ ได้มีการพัฒนาระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกาควรจะเป็น

ในประวัติศาสตร์ ผู้บริหารโรงเรียนในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ฝึกผู้จัดการและยอมรับความมีทักษะในเชิงบริหารอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการผลักดันผลงานทางวิชาการที่มีคุณค่าที่นำไปสู่การยอมรับในโรงเรียนที่มีความสำเร็จ ที่ต้องการความเป็นผู้นำในเชิงวิชาชีพเพิ่มขึ้น และการเตรียมการจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาผู้บริหารให้มีการเริ่มต้นด้วยการฝึกอบรมในเรื่องการทำงานพัฒนาการเรียนการสอนร่วมกับครู จากสภาพการทำงานนี้จะทำให้เห็นถึงการขยายความก้าวหน้าเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในเชิงวิชาชีพด้วยนั่นคือ ทีมงานครูที่ทำงานร่วมกันท่ามกลางปัญหาที่พวกเขาเผชิญอยู่ในห้องเรียน ความท้าทายของคนรุ่นต่อไปจะต้องผสมผสานและมีความรวดเร็วในการใช้ความพยายามเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงไปสู่ท้องถิ่นที่เริ่มตันพัฒนาที่เน้นโรงเรียนหรือในเมืองที่ต้องใช้ความพยายามมากขึ้นโดยการแบ่งปันความรู้ที่เป็นฐาน

โรงเรียนต้องการวิธีการที่ทำให้เกิดการยอมรับกันอย่างเป็นทางการและการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญในระดับต่าง ๆ มากขึ้น ระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกาได้มีการปฏิบัติมายาวนานบนพื้นฐานความเท่าเทียมของครู ความคิดเห็นของครูแต่ละคนได้มา มีระดับเท่าเทียมกันในเชิงความรู้และทักษะ แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนที่แท้จริงซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นในโรงเรียน ตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์เสนอความก้าวหน้าให้แก่ครูด้วยการขึ้นเงินเดือนแบบเดียวกัน แต่ในสหรัฐอเมริกาโดยทั่วไปจะให้เพียงผู้ซึ่งออกจากครูและเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหาร สหรัฐอเมริกาควรจะปฏิบัติให้เหมือนกับระบบที่สร้างผู้นำในวิชาชีพการสอนซึ่งจะเป็นรางวัลให้ครูอย่างเป็นทางการ ด้วยว่าครูเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้นและเต็มใจที่จะรับผิดชอบมากขึ้นเมื่อสถานภาพและเงินเดือนเพิ่มขึ้น ในการปฏิบัติระยะยาวผู้นำในวิชาชีพสามารถที่จะบูรณาการการฝึกอบรมครูเข้าไปในวิชาชีพได้ดีขึ้น ครูใหม่ต้องฝึกอบรมอย่างรอบคอบ โดยวิธีการที่มีประสิทธิภาพด้วยประสบการณ์ของที่ปรึกษา ที่จะเข้าไปในโรงเรียนที่พวกเขาต้องการเรียนรู้และจะใช้ความพยายามและความขยันขันแข็งนอกเวลาอีกด้วย  หลังจากนั้นเมื่อได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ พวกเขาจะพัฒนาและแบ่งปันความรู้ถ่ายทอดไปยังคนรุ่นต่อไป

บทบาทที่แตกต่างของรัฐ
(
A DIFFERENT ROLE FOR THE STATE)

ในบทนี้ ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการจัดการศึกษาในอเมริกา ซึ่งมีอยู่ 3 ระดับ

ระดับสูงสุด คือ Federal government ซึ่งมีบทบาทต่อการศึกษาของประเทศไม่มากนัก

ระดับที่สองรองลงมาคือระดับ State government หรือรัฐบาลของแต่ละรัฐ ซึ่งมีบทบาทแตกต่างกันในแต่ละรัฐ มีการรวมศูนย์ (Centralized system) หรือกระจายอำนาจ (Decentralized system) ที่แตกต่างกันออกไป และ

ระดับท้องถิ่น (Local government and local education system) นับเป็นระดับที่มีผลต่อการจัดการศึกษา การสนับสนุนการศึกษามากที่สุด

ถ้าประเทศได้รับความสำเร็จในการสร้างทักษะและความรู้ที่สามารถเป็นพลังในการสอน บทบาทของรัฐ รวมทั้งส่วนกลาง มลรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นจะต้องเปลี่ยนไป ในปัจจุบันนี้ การศึกษาในอเมริกาเกิดปัญหาจากส่วนกลาง ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลพยายามที่จะกำหนดแนวการสอนมาจากที่ไกล ๆ แต่งานการสอนนั้นเป็นงานหนักและมีความยากลำบากที่การเปลี่ยนแปลงจะมาจากหน่วยเหนือ ดังนั้น ความพยายามที่ทำมา จึงเกิดการก่อตัวของครูที่ต่อต้านผู้กำหนดนโยบาย ถ้าประเทศได้มีการปฏิบัติอย่างมีกระบวนการเพื่อให้มีการรับรองการมีทักษะการสอน การคัดเลือก การฝึกอบรม การพัฒนาความรู้ และองค์การโรงเรียนต้องดีกว่านี้ ครูมาในฐานะผู้เชี่ยวชาญ คล้ายกับวิชาชีพอื่น ๆ หลังจากนั้นรัฐบาลสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงจากการทำหน้าที่การตรวจสอบครู มาทำในบทบาทเพื่อให้ได้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยเฉพาะรัฐบาลสามารถช่วยเหลือในการสร้างหลักสูตร ลงทุกในการวิจัยและพัฒนา ตรวจสอบประวัติครูและเสนอให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคที่เชี่ยวชาญ และยังสามารถทำหน้าที่งานการบริหาร การจ่ายค่าตอบแทน อาคารสถานที่และให้บริการอาหาร ทำหน้าที่สนับสนุนนักเรียนที่อยู่นอกโรงเรียนให้ดีขึ้น  ในหลาย ๆ ทางยังเป็นการช่วยแบ่งเบางานสวัสดิการสังคมของคนอเมริกันที่อ่อนแอในบางงาน ยังสามารถทำหน้าที่เก็บรักษาผลการตรวจสอบบางงานเอาไว้ จากโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดี และยังประมาณการในการลงทุนเกี่ยวกับการฝึกอบรม ความรู้และองค์การได้อีกด้วย  แต่ถ้าบางโรงเรียนไม่สามารถทำหน้าที่เหล่านี้ได้เป็นเวลานาน พวกเขาสามารถที่จะถูกปิดกิจการได้โดยอำนาจของรัฐบาล
แต่รัฐบาลไม่ควรใช้การบริหารจัดการการศึกษาจากจุดเล็ก ๆ ข้างบน โดยสร้างความก้าวหน้าอย่างไม่รู้จบบนขบวนการของความต้องการ ความระเบียบแบบแผนและมีการตรวจสอบในเป้าหมาย การทำอย่างนี้เป็นเหตุผลบางประการที่หวังว่าจะทำให้โรงเรียนมีพลังในการพัฒนา แต่มันเป็นวิธีการที่ได้พยายามมาก่อนแล้ว  ครั้งแล้วครั้งเล่าและมันเป็นผลผลิตที่นักสังคมวิทยาชื่อ ชาร์ล เพย์น (Charles Payne) เรียกว่า ปฏิรูปมาก เปลี่ยนแปลงน้อย” (So much reform, so little change)

ระบบโรงเรียนในสหรัฐอเมริกายังเปิดเผยให้เห็นรอยประทับของการก่อเกิด ที่เกิดขึ้นในยุคของงานการผลิตแบบสายการประกอบ ที่ไม่เคยเน้นการผลักดันให้นักเรียนมุ่งมั่นอยู่กับการเรียนรู้ที่สลับซับซ้อนและการคิดวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องการของการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคศตวรรษที่ 21 ในหลาย ๆ ปีที่มีการแทรกแซงการบริหารจัดการการศึกษา ประเทศได้วางกฎระเบียบและมีความคาดหวังอย่างสูงจากการเริ่มต้นจากโครงสร้างส่วนบน แต่วิธีการนี้กลับไม่ใช่พื้นฐานของการกลับมาทำให้การสอนพัฒนาเข้าสู่ยุคของความเป็นวิชาชีพที่ทันสมัย ไม่ง่ายเลยที่จะทำอย่างนี้ เพราะมันต้องเป็นความต้องการทางการเมืองที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและทำให้สถาบันยืนอยู่ได้ในระยะยาว กระนั้นก็ตาม มันเป็นเวลาที่จะต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้งในการสร้างระบบโรงเรียน ที่จริง ๆ แล้วอาจเกิดผลเป็นผลลัพธ์ที่ประเทศกำลังมองหาและมันเป็นสิ่งที่นักเรียนจะต้องได้รับ

อ ---------------

เกี่ยวกับผู้เขียน: Jal Mehta เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard Graduate School of Education) หนังสือของเขาที่ใหม่ที่สุดและได้ตีพิมพ์เมื่อเร็ว ๆ นี้คือ The Allure of Order: High Hopes, Dashed Expectations, and the Troubled Quest to Remake American Schooling (Oxford University Press, 2013) ซึ่งเป็นที่มาของบทความนี้ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Foreign Affairs. May –June, 2013. หน้า 105 -116.

No comments:

Post a Comment