Sunday, June 2, 2013

บารัค โอบามา (Barack Obama) ก้าวสู่บทบาทการนำยุคใหม่

บารัค โอบามา (Barack Obama) ก้าวสู่บทบาทการนำยุคใหม่

สุริยา เผือกพันธ์
Suriya Puegpunt

ศึกษาและเรียบเรียง

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, ความเป็นผู้นำ, ภาวะผู้นำ, leaders, leadership, บารัค โอบามา, Barack Hussein Obama, สหรัฐอเมริกา, USA, United States

The 2013 TIME 100

TIME presents its annual list of the 100 most influential people in the world, from artists and leaders to pioneers, titans and icons
 Leaders - Barack Obama, U.S. President, 51 เขียนโดย Hillary Clinton, April 18, 2013

1 ใน 100 ผู้ได้รับการยกย่องว่ามีอิทธิพลต่อชาวโลก (TIME, 2013) ฮิลลารี่ คลินตัน (Hillary Clinton) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (Secretary of state) กล่าวถึงบารัค โอบามา


ภาพ บารัค โอบามา กับนางอองซาน ซูจี


ภาพ บารัค โอบามา เยือนพม่า พร้อมกับนางฮิลลารี คลินตัน

... ฝูงชนที่คลาคล่ำบนท้องถนนในเมืองย่างกุ้ง (Rangoon) เด็กๆโบกธงชาติอเมริกาสะบัดไหว พ่อแม่ชะเง้อคอดูบางสิ่งและครุ่นคิดถึงสิ่งที่ไม่นานมานี้เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดขึ้น ประธานาธิบดีสหรัฐเดินทางไปพม่าด้วยการส่งสาสน์ถึงความหวัง เสรีภาพ และโอกาสใหม่ และนี่คือสิ่งดีที่สุดที่ประธานาธิบดีสหรัฐในฐานะผู้นำพึงกระทำ

เมื่อบารัค โอบามาได้รับเลือกตั้งในครั้งแรก ทั่วโลกต่างจับตามองความฝันที่เป็นจริงของคนอเมริกัน พวกเขาเห็นผู้นำที่สามารถทำบางอย่างให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปิดฉากสงครามในอิรัก หรือที่โดดเด่นคือ การยังคงคว่ำบาตรอิหร่าน หรือการประกาศยืนยันอีกครั้งหนึ่งถึงบทบาทการมีอำนาจในแปซิฟิก และแนวทางความร่วมมือกับต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น และศัตรูที่ลดน้อยลง  สำหรับภายในประเทศสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจที่กำลังเติบโต การว่างงานลดลง และราคาบ้านสูงขึ้น

ปัจจุบัน..ประธานาธิบดีบารัค โอบามากำลังทำงานเกี่ยวกับการสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศและเพิ่มการแข่งขันด้วยสกระตุ้นการลงทุนภายในประเทศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย สร้างอนาคตใหม่ของพลังงานและความท้าทายต่อการจัดการด้านการเงินในระยะยาว ทั้งหมดนั้นคือสิ่งที่ดีกว่า...ในอนาคตของอเมริกา......Obama Yes We Can

ประกอบ คุปรัตน์ – บรรณาธิการ

ที่เขียนมานี้ เป็นคำนิยมของฮิลลารี คลินตัน อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศในสมัยโอบาม่าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก ผู้ที่เคยเป็นทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา และคู่แข่งทางการเมือง เมื่อสมัยชิงตำแหน่งเป็นตัวแทนพรรคดีโมแครตในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ

ประวัติบุคคล

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

แปลและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

บารัค ฮุสเซน โอบามาที่สอง (Barack Hussein Obama II) เกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1961 เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 44 และเป็นคนปัจจุบัน เป็นประธานาธิบดีจากคนสีผิวเชื้อสายอัฟริกัน (African American) เป็นคนแรกที่ดำรงตำแหน่ง เขาเกิดที่เมืองฮอโนลูลู รัฐฮาวาย (Honolulu, Hawaii)


ภาพ บารัค โอบามในวัยรุ่น ที่เขาได้รับประสบการณ์ที่สับสน ทั้งเรื่องสีผิว วัฒนธรรมที่เคยอยู่ทั้งในอินโดนีเซีย ฮาวาย และในสหรัฐอเมริกา

โอบามาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) ในเมืองนิวยอร์ค และจบปริญญาทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard Law School) และเคยเป็นประธานจัดทำนิตยสารทางวิชากาด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard Law Review)

เขาเคยทำงานพัฒนาชุมชน (community organizer) ในขณะที่อยู่ในเมืองชิคาโก เพื่อศึกษาและทำปริญญาด้านกฎหมาย เขาทำงานกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนในเมืองชิคาโก และสอนกฎหมายรัฐธรรมนูญ (constitutional law) ในขณะเดียวกันที่คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago Law School) ในช่วงปีค.ศ. 1992 ถึง 2004 เขาได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สภาของรัฐอิลลินอยส์ (Illinois Senate) โดยเป็นตัวแทนจากเขตที่ 13 และดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 3 สมัย เคยสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนของสหรัฐ (United States House of Representatives) ในปี ค.ศ. 2000 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
ในปี ค.ศ. 2004 โอบาม่าได้รับความสนใจในระดับชาติ เมื่อเขาหาเสียงที่จะเป็นตัวแทนจากรัฐอิลลินอยส์ในสภาผู้แทนสหรัฐ แม้จะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ได้รับความสนใจมากเมื่อเขาได้กล่าวสุนทรพจน์หลัก (Keynote address) ในการประชุมใหญ่ของพรรคดีโมแครต  (Democratic National Convention) ในเดือนกรกฏาคม เขาหาเสียงที่จะเป็นวุฒิสมาชิก และคราวนี้ เขาประสบผลสำเร็จ ในปี ค.ศ. 2007 

และในปี ค.ศ.2008 เขารณรงค์หาเสียงเป็นตัวแทนพรรคดีโมแครตที่จะชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ และในที่สุด เขาชนะการเลือกตั้งเบื้องต้น ได้เป็นตัวแทนพรรค โดยชนะนางฮิลลารี คลินตัน (Hillary Rodham Clinton) อย่างหวุดหวิด แต่ก็ได้รับคะแนนเสียงตัวแทนเพียงพอที่จะเป็นตัวแทนพรรคดีโมแครตเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ



ภาพ จอห์น แมคแคน (John McCain)

เขาชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ โดยมีชัยเหนือนายจอห์น แมคเคน (John McCain) จากพรรครีพับลิกันในการเลือกตั้งใหญ่ และได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี โดยเข้าพิธีสาบานตนวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2009 ในอีก 9 เดือนต่อมา เขาได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (2009 Nobel Peace Prize



ภาพ มิท รอมนีย์ (Mitt Romney)


เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในสมัยที่สอง โดยมีชัยเหนือนายมิท รอมนีย์ (Mitt Romney) และเข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2013

โอบามาเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองในยุคที่อเมริกันประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก สถาบันการเงินกำลังล่มสลาย ธนาคารและบัตรเครดิตมีปัญหาต้องรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล กิจการอสังหาริมทรัพย์เข้าข่ายเศรษฐกิจฟองสบู่ ล้มละลาย บ้านที่สร้างไว้เกินความต้องการมากมาย ขายไม่ออก บริษัทผู้ผลิตรถยนต์หลักของอเมริกา General Motors และ Chryslers มีปัญหาระดับต้องปิดตัวเอง หากไม่ได้รับความช่วยเหลือด้านเงินกู้จากรัฐ ทีมเศรษฐกิจของโอบาม่าต้องเข้าทำงานสานต่องานด้านเศรษฐกิจ ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่ง



ภาพ ปัญหาเศรษฐกิจที่กระทบต่อยุโรป ดังในประเทศกรีก ที่ประเทศเจ้าหนี้ต้องการให้รัฐบาลของประเทศลูกหนี้ต้องประหยัด และรัดเข็มขัด แต่จะมีผลประชาชนตกงาน และขาดการช่วยเหลือจากรัฐ



ภาพ ผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรปกระจายไปทั่่วและกินลึกยาวนาน แต่ในสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่สามารถแก้ไขได้ดีกว่า แม้จะต้องมีผลต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง

เมื่อเข้ารับตำแหน่ง มีหลายสิ่งที่เขาต้องทำทันที เช่น การออกกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจ (Economic stimulus legislation) และแก้ปัญหาเศรษฐกิจถดถอย (Great Recession) ทั้งนี้โดยเร่งออกกฎหมายเพื่อการฟื้นฟูและกระตุ้นการลงทุนในปี ค.ศ. 2009 (American Recovery and Reinvestment Act of 2009) และด้วยการลดหย่อนภาษี การประกันการตกงาน และการสร้างงานในปี ค.ศ. 2010 (Tax Relief, Unemployment Insurance Reauthorization, and Job Creation Act of 2010)

ในด้านสาธารณสุขในฐานะประธานาธิบดี เขาผลักดันกฎหมายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Patient Protection and Affordable Care Act) ควบคุมค่าประกันสุขภาพ และปฏิเสธการประกันสุขภาพไม่ได้ ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า Obamacare

ในด้านการปฏิรูปสภาบันการเงิน เขาได้ส่งเสริมให้เกิดนิติบัญญัติ เพื่อปฏิรูปสถาบันการเงิน และปกป้องผู้มีเงินฝาก (Dodd–Frank Wall Street Reform and Consumer Protection Act)

ในด้านสิทธิของคนรักร่วมเพศ เขาสนับสนุนกฎหมายให้ปรับปรุงจากวิธีการปฏิบัติ “แบบไม่ถาม ก็ไม่ต้องบอก” (Don't Ask, Don't Tell Repeal Act of 2010) ดังในการปฏิบัติในราชการทหาร หากทหารเป็นเกย์ เพื่อนๆรู้ แต่เขาไม่ประกาศตนเอง เจ้านายก็ไม่ไปถาม แต่การปรับปรุงใหม่คือให้ยอมรับเกย์และเลสเบียนอย่าที่เขาเป็น และอย่างเปิดเผยได้

ในช่วงเศรษฐกิจซบเซา โอบามาต้องการให้มีการผ่อนคลายทางเศรษฐกิจ (Budget Control Act of 2011) และยังยอมรับการขาดดุลการค้าไปอีกสักระยะ (American Taxpayer Relief Act of 2012) แต่ขณะเดียวกัน ก็เริ่มปรับเศรษฐกิจประเทศเข้าสู่การต้องมีวินัยทางการเงิน แต่โอบามาต้องประสบกับการต่อต้านไม่ร่วมมือโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาของสหรัฐที่มาจากพรรคริพับลิกัน เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่ของวุฒิสภาเป็นของพรรครีพับลิกัน

โอบามานับเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนแรกที่สนับสนุนการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน (Same-sex marriage) ในปี ค.ศ. 2013 ฝ่ายบริหารของเขาได้ส่งจดหมายสั้นถึงศาลสูงสหรัฐ (Supreme Court) เพื่อให้สิทธิและเสรีภาพในการแต่งงานดังกล่าว

ในด้านนโยบายต่างประเทศ โอบามาหยุดเข้าเกี่ยวข้องในสงครามอิรัค และมีแผนถอนทหารออกจากอิรัคจนหมด (Ended U.S. military involvement in the Iraq War) แต่ในขณะเดียวกัน กลับส่งทหารไปเพิ่มในอัฟกานิสถาน เพื่อปราบปรามผู้ก่อการร้ายหัวรุนแรง แต่ในที่สุดก็จะถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานจนหมดเช่นกัน


ภาพ การลงนามความร่วมมือของสหรัฐกับ รัสเซีย ใน New START

โอบามา ลงนามในสัญญาลดการสะสมอาวุธกับรัสเซีย New START หมายถึงการลดกำลังอาวุธโดยเฉพาะหัวรบนิวเคลียร์ของทั้งสหรัฐและรัสเซียอย่างมียุทธศาสตร์ เรียกว่า Strategic Arms Reduction Treaty เพราะทั้งสองประเทศได้ผ่านเลยยุคสงครามเย็น (Cold War) มาแล้ว สนธิสัญญานี้จะมีผลไปจนถึงปี ค.ศ. 2021

ในช่วงที่สงครามกลางเมืองในลิเบียกำลังอยู่ในช่วงฝ่ายเผด็จการกัดดาฟี (Gaddafi) กำลังบดขยี้ฝ่ายกบถ และท่ามกลางการเรียกร้องของ NATO พันธมิตรในยุโรป อเมริกาได้เข้าร่วมในการบังคับใช้ No Fly Zone ห้ามการนำเครื่องบินฝ่ายรัฐบาลกัดดาฟีขึ้นบินทิ้งระเบิด อาวุธร้ายแรงของรัฐบาลกัดดาฟีถูกทำลายด้วยกำลังทางอากาศของสหรัฐ แล้วสหรัฐก็หยุดการดำเนินการ และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ NATO และกองกำลังประชาชนในลิเบียดำเนินการต่อ

กัดดาฟีครองอำนาจอยู่ในช่วง 1 กันยายน ค.ศ. 1969 และเสียชีวิตในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2011 ด้วยถูกสังหารโดยฝ่ายกบถ นับเป็นการครองอำนาจนานถึง 42 ปี



ภาพ โอซามา บินลาเดน (Osama bin Laden)

ในอีกการตัดสินใจของโอบามาในฐานะผู้นำสหรัฐ เขาสั่งหน่วย SEAL ปฏิบัติการพิเศษ ใช้เฮลิคอปเตอร์จัดการสังหารโอซามา บินลาเด็น (Death of Osama bin Laden) ซึ่งซ่อนตัวอยู่เป็นเวลานานในเมืองแอบบอตตาบัด ประเทศปากีสถาน (Abbottabad, Pakistan) ปฏิบัติการเริ่มต้นและจบลงในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2012

ในยุคการนำโดยโอบามา ยากที่จะบอกว่าเขาเป็น “เหยี่ยว” หรือ “พิลาป” เพราะเขาเปลี่ยนรูปแบบการทำสงคราม ลดความเสี่ยงในการใช้กำลังทหารภาคสนาม แต่ใช้เครื่องบินและเครื่องมือสงครามไร้คนขับที่เรียกว่า Drones มากขึ้น การใช้อาวุธในลักษณะดังกล่าว ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยรัฐบาล George W. Bush แล้ว และยังคงใช้ในปัจจุบัน

กลุ่มเป้าหมายโจมตีโดย Drones คือพวก Taliban, Tehrik-i-Taliban ในปากีสถาน (Pakistan), TNSM, Haqqani network, al-Qaeda, Lashkar-e-Islam, กลุ่ม Mujahideen จากต่างชาติ, และ กลุ่มเคลื่อนไหวอิสลามใน Uzbekistan

ในปฏิบัติการใช้ Drones นี้ คาดว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 1,969 ถึง 3,461 คน ในจำนวนนี้รวมถึงผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บที่เป็นพลเรือนจำนวนมาก (สำรวจเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2013) รัฐบาลโอบามา ยังคงยืนยันการใช้ Drones ในปฏิบัติการ แต่บอกว่าใช้เฉพาะกับกลุ่มก่อการร้าย

No comments:

Post a Comment