Wednesday, June 5, 2013

10 สิ่งที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับอินเดีย (India)


10 สิ่งที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับอินเดีย (India)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “10 things you might not know about India.” โดย Rajini Vaidyanathan, BBC News, 5 June 2013 Last updated at 00:34 GMT

Keywords: สังคม, society, วัฒนธรรม, culture, เศรษฐกิจ, economics, BRIC, อินเดีย, India, รัสเซีย, จีน, China, บราซิล, Brazil

For many people writing about India, the common cliches of Delhi belly, lengthy traffic jams, bureaucracy, corruption and yoga retreats are the subjects that fill the column inches.
Here are 10 other observations.

10 สิ่งที่คนจะสังเกตเห็นลักษณะของประเทศอินเดีย – หากจะก้าวสู่เวทีโลก ท่านต้องเรียนรู้เศรษฐกิจใหม่ของโลก ไม่ใช่เพียง อเมริกา ยุโรป หรือฝรั่งทั้งหลาย แต่ต้องรวมถึงเอเชีย และประเทศเศรษฐกิจใหม่ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว BRIC หมายถึง บราซิล (Brazil), รัสเซีย (Russia), อินเดีย (India), และจีน (China)

วันนี้ ผมขอนำเสนอหนึ่งในประเทศ BRIC คือ อินเดีย

ประเทศอินเดีย (India) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ประเทศสาธารณรัฐอินเดีย” (Republic of India) เป็นประเทศทางเอเชียใต้ มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก มีประชากร 1,200 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดของโลก

ข้อมูลพื้นฐาน



ภาพ แผนที่ประเทศอินเดีย


ภาพ อินเดียที่เราอาจไม่รู้จัก

เมืองหลวง (Capital): นิวเดลฮี (New Delhi)

ประชากร (Population) : 1,241 ล้านคน (2011) World Bank

รายได้ประชาชาติ (Gross domestic product): 1,873,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (2011) World Bank

เพลงชาติ (National anthem): จาน่า กาน่า มานา (Jana Gana Mana)

ระบบการปกครอง (Government): ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary system), สาธารณรัฐ

ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional republic) , สาธารณรัฐที่มีรัฐบาลกลาง (Federal republic)

จากบทความ “10 things you might not know about India.” เขียนโดย Rajini Vaidyanathan, BBC News, 5 June 2013 Last updated at 00:34 GMT มีความจริงบางอย่างเกี่ยวกับอินเดียที่น่าสนใจ และทำให้คนที่จะคิดทำธุรกิจร่วมกับเพื่อนนักธุรกิจชาวอินเดีย ได้เข้าใจในข้อมูลบางประการ เพราะก่อนที่จะทำอะไร ขอให้รู้เขา รู้เรา แล้วกิจการนั้นจึงจะประสบความสำเร็จ ...

10 สิ่งที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับอินเดีย (India)

1. ไม่มีใครจ่ายภาษีรายได้ส่วนบุคคลกันนัก

Hardly anyone pays income tax


ภาพ ประเทศที่มีคนจำนวนมาก และมีเพียงร้อยละ 3 ที่จ่ายภาษีรายได้ส่วนบุคคล

ในประเทศอินเดีย มีประชากร 1,200 ล้านคน มีเพียงร้อยละ 3 ที่เสียภาษี คำอธิบายคือ กิจการเกี่ยวกับการเกษตรได้รับการยกเว้นภาษี แล้วคนสองในสามของประเทศมีอาชีพด้านการเกษตรและอยู่ในเขตชนบท เงินรายได้ของรัฐบาลเกิดจากภาษีทางอ้อม มีคนกล่าวว่า ปัญหาของประเทศจะแก้ไขได้ง่ายที่สุด โดยต้องอุดช่องว่างด้านภาษีนี้ คือเก็บภาษีเพิ่มขึ้นสำหรับคนที่ร่ำรวยมีเงินมาก ก็จ่ายมาก คนที่มีฐานะเข้าสู่การเป็นคนชั้นกลาง มีรายได้พอเสียภาษี ก็ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น

What can be done about India's tax black hole?

2. กิจการนักสืบภูมิหลังการแต่งงาน

The rise of the 'wedding detective'

ในอินเดีย ก่อนที่จะแต่งงาน ฝ่ายชายจะถูกตรวจสอบว่า ได้เคยมีแฟน (Girlfriend) มาก่อนหรือไม่ เพราะฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายต้องจ่ายสินสอดทองหมั้นแก่ฝ่ายชาย และเมื่อแต่งงานไปแล้ว สิทธิของสตรีจะยิ่งถูกจำกัดลงไปอีก ดังนั้นในชนชั้นกลาง และพ่อแม่ของคนรุ่นใหม่ จึงเป็นห่วงอนาคตของลูกหลานของตน โดยเฉพาะลูกสาว จึงจ้างนักสืบเพื่อสืบหาภูมิหลังของคนที่จะมาเป็นเขยเป็นสะใภ้ ในประเทศอินเดียมีบริษัทนักสืบเรื่องนี้อยู่ 15,000 องค์การ สิ่งเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็น “จารกรรม” (Spying) บางทีไม่ใช่พ่อแม่ของฝ่ายที่จะแต่งงานโดยตรง แต่เป็นบรรดาญาติที่หวังดี ความจริงเขาอาจรู้ว่า อนาคตคนที่จะแต่งงานด้วยนั้นเป็นคนมีครอบครัวที่ดี แต่กระนั้นก็ต้องการรู้ว่าอนาคตของคนที่จะมาเกี่ยวดองกันนี้ได้พูดความจริงหรือไม่

3. อ่านทุกหน้า อย่าให้เหลือ

Read all about it


ภาพ ธุรกิจหนังสือพิมพ์ที่ไม่ได้ซบเซา

ธุรกิจหนังสือพิมพ์ในโลกตะวันตกกำลังประสบปัญหาล้มละลาย เพราะคนเลิกอ่านหนังสือกระดาษ แต่ในประเทศอินเดีย หนังสือพิมพ์ยังเป็นธุรกิจที่เจริญเติบโต มันเติบโตไปตามอัตราคนรู้หนังสือ (Literacy rate) ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้คืออินเดียเมื่อเทียบกับจีน มีโครงข่ายอินเตอร์เน็ตอย่างจำกัด และมีหลายภาษาที่ใช้ภายในประเทศ หมายความว่าคนจะเลือกหยิบหนังสือพิมพ์ที่แม้จะเก่าขึ้นมาอ่าน และหนังสือพิมพ์ก็มีราคาถูก เพราะรายได้หนังสือพิมพ์มาจากการโฆษณา การอ่านหนังสือพิมพ์จึงมีกว้างขวางในทุกชนชั้น

ในอีกด้านที่ทำให้หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก หนังสือพิมพ์ของชุมชนจึงเติบโตขึ้น เป็นเพราะเศรษฐกิจของอินเดียกำลังเติบโต มีคนมากขึ้นที่มาลงโฆษณา ซึ่งเป็นรายได้หลักของหนังสือพิมพ์ ในประเทศนี้มีธุรกิจขายหนังสือพิมพ์มือสอง (Second-hand newspapers & magazines) ท่านอาจขายนิตยสารดังเช่น The Economist ที่อ่านแล้วไปกับชายข้างถนน แล้วเขาจะนำไปขายต่อ มีคนเป็นจำนวนมากที่จะอ่านวารสารที่มีอายุ 1 ปี หากราคามันถูกกว่าฉบับที่เพิ่งออกในปัจจุบัน

4. โปรดบีบแตรครับ

Horn noise = pneumatic drill


ภาพ โปสเตอร์หลังรถบรรทุก "โปรดบีบแตรครับ"

ในประเทศไทย การบีบแตรอาจเป็นสาเหตุของการวิวาทกันกลางถนน หรือมีผลทำให้เอาปืนลงไปยิงกันถึงตาย แต่ในอินเดีย “โปรดบีบแตรครับ”

ที่ท้ายรถบรรทุกเกือบทั้งหมดมีป้ายที่เขียนเป็นตัวอักษรว่า “Horn OK, please” หรือโปรดบีบแตรได้ครับ ในประเทศอินเดีย คนขับรถด้วยกันส่งเสริมให้คนขับใช้แตรเมื่อต้องขับมาจากด้านหลัง ปัญหาคือว่า เขาใช้มันบ่อยมาก คนลากรถเขาก็ติดแตรด้วยเหมือนกัน และเขาบอกว่าในวันหนึ่งๆ บีบแตรประมาณ 150 ครั้ง ซึ่งนับเป็นการประเมินขั้นต่ำ หากการจราจรติดขัดกว่านี้ ก็จะกดแตรมากกว่านี้ เช่นกดทุก 30 วินาที เสียงแตรจากรถคนลากรับจ้าง (Rickshaw) ให้เสียงที่ระดับ 93 เดซิเบล (Decibels) ใกล้เคียงกับแตรที่ใช้ลม (Pneumatic drill) ในการเดินทางไปตามถนน จึงมีเสียงในระดับเครื่องบินยักษ์กำลังขึ้นจากสนามบิน เป็นเสียงระดับแก้วหูแทบแตก

5. อินเดียเป็นประเทศคนหนุ่มสาว อายุน้อย

It's a young country


ภาพ เยาวชนรุ่นใหม่ของอินเดีย

Young people in India are using music as a way to express self-confidence


ภาพ งานแสดงคอนเสิร์ทในกลุ่มคนรุ่นใหม่ในอินเดีย


ภาพ งานคอนเสิร์ทดนตรี ในอินเดีย

อินเดียเป็นชาติของคนหนุ่มสาว จากประชากร 1,200 ล้านคน ครึ่งหนึ่งมีอายุต่ำกว่า 25 ปี สองในสามมีอายุต่ำกว่า 35 ปี คนหนุ่มสาวในอินเดียมีความมั่นใจในอนาคตของประเทศตน ไม่ได้มองไปที่ตะวันตกเหมือนแต่ก่อน เมืองมุมไบ (Mumbai) ธุรกิจศิลปินพัฒนาเพลงฮิบสเตอร์ (Hipster) แบบน้องๆของย่านบรูคลินส์ในนิวยอร์ค (Brooklyn, NYC) สหรัฐอเมริกา ในอินเดียมีคนเป็นอันมากที่เข้ามามีอาชีพเป็นศิลปินและทำงานด้านศิลปะ อินเดียมีงานทัวร์ด้านดนตรีที่แสดงตามทุ่งนาและทะเลทราย ในขณะที่ในเมืองใหญ่อย่างบังกาลอร์ (Bangalore), เดลฮี (Delhi), มุมไบ (Mumbai) และเชนไน (Chennai) ก็จะมีการจัดคอนเสิร์ทอย่างเป็นงานเป็นการ

6. ไปในที่ไหนๆ จะพบแต่เก้าอี้พลาสติก

Everywhere you go, you see plastic chairs


ภาพ เก้าอี้พลาสติก ไปที่ไหนๆ ก็จะเห็นแต่คนใช้เก้าอี้พลาสติก อาจคล้ายในชนบทของเมืองไทย

ผมเป็นคนตัวใหญ่ เวลานั่งเก้าอี้พลาสติก มักนั่งอย่างไม่มั่นใจ กลัวว่ามันจะหักสร้างความอับอาย แต่ถ้าเดินทางไปอินเดีย จะหนีไม่พ้น หากต้องการหาที่นั่งที่ใดที่หนึ่ง

7. คนอินเดียกำลังอ้วนขึ้น

They're piling on the pounds

ในประเทศไทย เมื่อผมเดินทางไป แล้วมักจะมีคนทักว่า “อาจารย์ดูผอมลงนะ” นั่นเป็นคำชมในแบบคนชั้นกลางของไทย หรือเวลาพบสาวๆ แล้วทักเขาว่าดูซูบลงไปนะ ส่วนใหญ่จะพอใจที่มีคนทักว่าผอม แต่ไม่ใช่ในอินเดีย

“รู้สึกคุณจะอ้วนขึ้นนะ” นายธนาคารได้รับข้อสังเกตจากลูกค้า แล้วเขาจะยิ้มด้วยความพอใจ ในประเทศอินเดีย คนมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นไปตามวัย ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ดี การมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นลักษณะของคนกำลังมีฐานะดีขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ปัญหาโรคอ้วน (Obesity epidemic) กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ ในประเทศอินเดีย ร้านอาหารจานด่วนจากตะวันตก ดังเช่น McDonalds มีคนมาเข้าคิวรอสั่งอาหารเป็นแถว ในอินเดีย คนสูงวัยไว้พุง หรืออ้วนขึ้น ถือเป็นเรื่องปกติ และขณะเดียวกัน หากเห็นคนยากจนที่ขาดอาหารมีอยู่ทั่วไป ก็เป็นเรื่องปกติเช่นกัน มีคนหลายล้านคนที่ขาดสารอาหาร ช่องว่างด้านเศรษฐกิจและขนาดของพุงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในเมืองต่างๆของอินเดีย

8. การถ่มน้ำลายนำความฉิบหายมาให้

 The scourge of spit

 Start Quote “We cannot believe that people don't spit. It (spitting) is an inherent character of our people. ”

Justice PB MajmudarHigh Court judge, Mumbai


ภาพ ป้ายห้ามถ่มน้ำลายในที่สาธารณะ ในอินเดีย

ในเมืองมุมไบ Mumbai) มีการรณรงค์ห้ามถ่มน้ำลายในที่สาธารณะ คนเป็นอันมากที่กินหมาก (Betel and areca) หรือเคี้ยวยาสูบ แล้วถ่มน้ำหมากลงบนพื้นทางเดิน ทำให้เกิดรอยด่างสีแดงไปทั่ว

ดังนั้นในเมืองใหญ่ของอินเดีย จึงมีการติดป้าย “ห้ามถ่มน้ำลาย” (Do not spit) ติดที่ด้านหลังของแท๊กซี่ หรือรถคนลาก หรือตามหน้าอาคาร การถ่มน้ำลายหรือปล่อยเสมหะ (Phlegm) ออกมา เป็นเหตุให้เกิดการแพร่กระจายของวัณโรค ดังนั้น การรณรงค์ “ต่อต้านการถ่มน้ำลาย” ในที่สาธารณะ (Anti spit campaign) จึงเกิดขึ้นในหลายที่ของประเทศ

9. อาชีพคนแคะหูข้างถนน

Roadside ear cleaners


ภาพ อาชีพแคะหูข้างถนน

Close-up: India's unusual street-side services

คนที่อยู่ในอินเดีย หรือเดินทางไปสักช่วงเวลาหนึ่ง จะคุ้นเคยกับธุรกิจข้างถนน ซึ่งนับเป็นเศรษฐกิจและวิถีชีวิตหลักส่วนหนึ่งของอินเดีย ชีวิตข้างถนนกลายเป็นความริเริ่มและการมีหลายสิ่งหลายบริการตอบสนอง ไม่เหมือนที่ใดในโลก มีคนเสนอบริการ ตั้งแต่ซ่อมร่มที่หัก มีคนบริการซ่อมให้ รองเท้าส้นหัก ก็มีคนซ่อมให้ แถมส่งให้ถึงหน้าบ้าน มีการตัดผมที่ข้างทางนะครับ ไม่ใช่ร้านห้องแถวข้างทาง มีเรื่องจริงจัง เช่น การบริหารจัดกระดูก (bone setters) ที่จะดูแลกระดูกที่อาจร้าวหรือแตก หรือเคลื่อน มีการกำจัดหูดหรือตาปลาที่นิ้วเท้า งานอาชีพอย่างที่ได้สูญหายไปแล้วในตะวันตก แต่ในอินเดีย อาชีพข้างถนนเหล่านี้ยังคงมีอยู่ แต่ก็มีผู้เป็นห่วงว่าประเพณีและวัฒนธรรมเหล่านี้จะสูญหายไป เมื่อคนรุ่นใหม่มีการศึกษามากขึ้น แล้วเขาเหล่านี้ก็จะไม่สืบทอดอาชีพเหล่านี้ของบรรพบุรุษ ที่ต้องทำงานข้างถนน

10. อย่าใส่เสื้อผ้าใหม่ในวันเสาร์

Don't wear new clothes on a Saturday


ภาพ วัฒนธรรมเชื่อในโชคลางของขลัง ยังคงมีอยู่ทั่วไปในอินเดีย

แม้ในปัจจุบัน อินเดียเป็นบ้านของเหล่านักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชั้นเยี่ยมระดับโลก แต่ในเรื่องความเชื่อถือโชคลางและไสยศาสตร์ (Superstitions) ก็ยังคงมีอยู่อย่างกว้างขวาง ข้อนี้ไม่ต่างจากสังคมไทยนัก

ความเชื่อที่แตกต่างกันนี้ ดังเช่น – อย่าใส่เสื้อผ้าใหม่ในวันเสาร์ อย่าทำความสะอาดบ้านในยามวิกาล เพราะจะไปทำให้เจ้าแม่ลักษมี (Goddess Lakshmi) ตกใจ หรือความเชื่อว่า การรับของด้วยมือซ้ายถือว่าเป็นโชคร้าย คนเป็นอันมากในอินเดีย ไม่ว่ายากดีหรือมีจน ล้วนประพฤติปฏิบัติตามความเชื่อ เช่น เมื่อได้รถใหม่มาขับ ต้องมีพวงมาลัยดอกไม้สวยงามมาคล้องที่รถเพื่อนำพรมาให้ก่อนที่จะขับ ที่บริเวณด้านหน้าของรถจะมีการแขวนพริกและมะนาว (Chilli & limes) เพื่อขับภูตผีปีศาจไม่ให้อยู่ในรถ บนเครื่องบิน เขาจะเว้นไม่มีแถวที่ 13 เพื่อหลีกเลี่ยงการนำโชคร้ายมาสู่


















No comments:

Post a Comment