Updated: Wednesday, July 31, 2013
Keywords: cw022, proverbs, สุภาษิต,
การบริหาร, division of labor, teamwork, นาค
หรือ พญานาค, Naga, Serpent, Great Serpent, พญางู
นาค หรือ พญานาค (Naga, Serpent,
Great Serpent) หรือพญางู เป็นความเชื่อในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเรียกชื่อต่าง
ๆ กัน แต่มีลักษณะร่วมกัน คือ เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่
ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, ตุลาคม 2553)
นาค หรือพญานาค
จึงเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ หากที่ใดมีนาคปรก หรือคุ้มครองอยู่
จะทำให้น้ำและผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งสังเกตดูก็มีความเป็นจริง
ที่ใดที่มีงูชุกชุม ที่นั้นมีน้ำ มีความชื้น และผืนดินจะมีความสมบูรณ์
ครั้งหนึ่งได้ยินศ.นพ. จรัส สุวรรณเวลา
ขณะดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวแนะนำคณะทำงานว่า “ระวัง นาคให้น้ำหลายตัว ฝนจะแล้ง”ซึ่งเป็นคำสุภาษิตของผู้ใหญ่ที่มีมานาน
โดยให้การสังเกตว่า การใดที่มีการนำคนมาทำงานร่วมกันมากๆ โดยไม่มีการวางแผนงาน
ไม่ได้แบ่งหน้าที่การงานกันอย่างชัดเจน คนแต่ละคนไม่รู้ว่าจะทำอะไร
และเขาไม่รู้ความคาดหวังว่าควรจะทำหน้าที่นั้นๆให้ถูกต้องอย่างไร ดังนี้
งานก็จะสับสน เกิดอาการคนเกี่ยงงานกัน หรือในทางตรงกันข้ามทำงานซ้ำซ้อนกัน
แย่งกันทำงาน แล้วเกิดความขัดแย้งจนงานเดินไม่ได้
งานบางอย่าง มีคนทำงานคนเดียวโดยไม่มีคนช่วย
ก็นับว่าน้อยไป หรือในบางลักษณะทำงานนั้นๆไม่ได้ แต่ถ้าให้มีคนทำงานสัก 2-3 คนช่วยกัน และแบ่งหน้าที่กันอย่างเหมาะสม ก็จะได้เนื้องานอย่างดี
มีประสิทธิภาพ แต่ลองใส่คนไปอีกเป็น 5-7 หรือ 10 คน งานกลับไม่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นตามจำนวนคนที่ได้รับ
ยิ่งในมหาวิทยาลัยด้วยแล้ว
การที่อาจารย์แต่ละคนเป็นคนมีความสามารถในสายงานของตนเอง
นับว่าเป็นที่หนึ่งของแต่ละวิทยาการ เชื่อมั่นในตนเองสูง เมื่อมีการจัดภาควิชา
มีคนเชี่ยวชาญในสายมาอยู่ร่วมกันสัก 7-10 คน
ต่างคนต่างมีหน้าที่อันเหมาะสม มีปริมาณงานที่พอเหมาะสม ไม่มากเกินไป
และไม่น้อยเกินไป (Proper Workload) ก็ทำงานไปได้ดี
แต่พอภาควิชามีคนทำงานเป็น30-40 คน แต่งานเท่าเดิม
ไมมีการจัดแบ่งหรือสร้างงานรองรับใหม่ กลับจะเกิดอาการแย่งกันทำงาน
ทำงานขัดแย้งกัน
ปัญหาดังนี้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย
และองค์การต่างๆทั้งในภาครัฐและเอกชน เมื่อคนต้องมาทำงานร่วมกันกับคนอื่นๆ ต่างภาค
ต่างความสามารถกัน มีคนทำงานมากเกินไป โดยไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน
อาจนำไปสู่การทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ จนเป็นผลเสียอย่างรุนแรงต่อมาได้
แต่ในอีกลักษณะหนึ่ง
การทำงานบางอย่างต้องใช้คนเก่งที่แตกต่างหลากหลายมาทำงานร่วมกัน
แต่มีเป้าหมายที่ชัดเจน (Clear Goals) ร่วมกัน
ที่ทุกคนทุกฝ่ายยอมรับ มีการออกแบบงาน (Job Design) ที่ดี มีการแบ่งสรรหน้าที่(Assignments) ให้แก่แต่ละคนเหมาะสมกับความสามารถและศักยภาพของเขา
มีการจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสมให้เพื่อการทำงาน มีการปฐมนิเทศคนก่อนเข้าสู่งาน
และระหว่างการทำงานมีการประสานงาน (Coordination) ปรึกษาหารือกันเป็นระยะ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน มีการสอนงานให้กับบางส่วนของทีมงาน
และปรับตัวปรับงานเพื่อเสริมซึ่งกันและกัน ดังนี้
งานที่ไม่เคยทำได้ด้วยวิธีการทำงานแบบเดิมๆ ก็จะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ดังนี้เขาเรียกว่า
Synergic team คือทีมที่เมื่อมาร่วมกัน จะได้ผลลัพธ์ที่ได้มากกว่านำงานแต่ละคนมารวมกัน
เกิดเป็นพลังทบทวีคูณ ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำได้ให้เกิดขึ้น
งานวิจัยและพัฒนา (Research
& Development – R&D) ที่มีความสำคัญมากๆ
มักจะต้องมีการสร้างทีมงานที่มีลักษณะแปลก แบบที่ไม่เคยทำมาก่อน แต่การสร้างทีมงาน
สร้างองค์การที่เหมาะสมรองรับ สิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่า ก็จะเกิดได้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง
คำที่ผู้ใหญ่เตือน ที่ต้องระวัง คือ ระวัง “นาคให้น้ำหลายตัว
ฝนจะแล้ง” หากจะทำงานใหญ่ ไม่ใช่หาคนมาช่วยงานมากๆแล้วจะดี
และต้องระลึกถึงคำเตือนผู้ใหญ่ไว้ตลอดเวลา
No comments:
Post a Comment