Sunday, October 31, 2010

บทเรียนที่ 3 การศึกษาอิสระของผู้เรียน (Independent Study)

บทเรียนที่ 3 การศึกษาอิสระของผู้เรียน (Independent Study)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Updated: Sunday, October 31, 2010

Keywords: cw154, การเรียนการสอน, การศึกษาอิสระ, Independent Study

ความนำ

บทความนี้ผู้เขียนใคร่ประมวลข้อคิดเห็นและเสนอแนะบางประการสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดด้านเวลา และสถานที่ ไม่สะดวกที่จะมาเรียนกับผู้สอนหรือผู้บรรยายในที่ๆกำหนด ตามวันเวลาที่กำหนด แต่การได้ใช้วิธีการศึกษาอิสระ จะเป็นการช่วยลดความยุ่งยากของกิจกรรมการเรียนการสอน

ผู้สอนไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปสอน ณ ที่ๆอาจอยู่ห่างไกลบ่อยๆ อาจใช้วิธีการมอบหมายให้ผู้เรียนได้ศึกษาเองอย่างอิสระบ้าง

ผู้เรียนเองก็จะได้มีเวลาศึกษาได้ด้วยตนเองมากขึ้น ไม่ต้องมีข้อจำกัดที่จะต้องไปเรียนกับผู้สอนตามวันเวลาและสถานที่ๆกำหนด เวลาที่จะใช้เพื่อเดินทางนั้น ก็จะได้เปลี่ยน

วิธีการศึกษาอิสระของผู้เรียน

การเรียนรู้ไม่ใช่การรับการป้อนจากผู้สอน (Find your own motives) ผู้เรียนเลือกเรียนในสิ่งที่สนใจได้เองมากเท่าใดก็ยิ่งเป็นประโยชน์ จากประสบการณ์ของผู้สอนในระดับบัณฑิตศึกษาที่ต้องมีการทำวิจัยและภาคนิพนธ์ นิสิตมักจะต้องการได้หัวเรื่อง และถามครูอาจารย์ว่าเขาควรทำเรื่องใด แต่ประสบการณ์คือ นิสิตคนใดที่ได้เลือกเรื่องที่จะทำได้ด้วยตนเอง มักจะมีแรงจูงใจที่จะศึกษาค้นคว้าไปจนจบมากกว่าที่รอให้อาจารย์มาชี้แนะ เพราะในที่สุดเขาอาจพบว่า เขาไม่ได้สนใจในสิ่งเหล่านั้น

การเรียนรู้เหมือนกับการรับประทานอาหาร เราบริโภคหรือกินได้เท่าที่เราต้องการ แต่การพยายามจะกินให้มากในเวลาจำกัด เราจะย่อยไม่ได้ หรือไม่ก็ต้องอาเจียนออกมา การรับรู้ของคนเราก็เช่นกัน Pace

ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน (Individual Differences) ในการเรียนเป็นของผู้เรียน คนบางคนเรียนได้ช้า แต่เขาอาจเรียนไปได้เรื่อยๆ ใช้เวลาในการเรียน บางคนเรียนได้เร็ว เขาก็ใช้เวลาน้อย และอาจใช้เวลาไปศึกษาในเรื่องที่เขาสนใจเป็นพิเศษ เพราะความอยากรู้หรือจุดมุ่งหมายในการเรียนของเขา

การเรียนรู้ยุคใหม่สามารถกระทำได้เป็นเครือข่าย (Network of Learners) การเรียนรู้แบบอิสระไม่ได้หมายความว่าผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ไปอย่างหัวเดียวกระเทียมลีบ ผู้เรียนสามารถใช้ประโยชน์จากเพื่อนๆ และเครือข่ายในการเรียนรู้ร่วมกัน

ระยะทางตายแล้วจริงหรือ
The Distance is Dead?

- ระยะทางได้ตายแล้ว จริงหรือ

- เรากำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของศตวรรษที่ 21 มันเป็นโลกที่เขาเรียกว่า Information Age เป็นโลกของการสื่อสารที่ก้าวหน้าตลอดเวลาดุจดังไม่มีข้อจำกัด มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้ทั่วโลกอย่างเกือบไม่มีข้อจำกัด ทั้งที่เป็นด้วยระบบสาย หรือไร้สาย (Wired & Wireless)

- Tom Peter ได้เขียนบทความโดยใช้ประโยคว่า The Distance is Dead? ซึ่งหมายความว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งอินเตอร์เน็ต ระบบสื่อสารผ่านวิทยุ โทรทัศน์ และระบบสื่อสารที่ใช้สองทางได้ด้วยนั้นจะทำให้ความจำเป็นของมนุษย์ในการเดินทางไปพบปะกันนั้นลดลง จนระดับหมดความสำคัญ

- ในทางการศึกษาจากอดีตที่คนทุกคนมุ่งสู่เมืองใหญ่เพื่อมาเรียนรู้ เพราะอยู่ในชนบทไม่มีโอกาสเรียนรู้ และคนที่ต้องการเรียนในระดับสูง ก็ต้องเดินทางไปเรียนหรือศึกษาต่อในประเทศพัฒนาแล้ว เช่นประเทศในอเมริกาเหนือและยุโรป แต่ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารและการศึกษาถึงกันหมด คนสามารถเรียนรู้ได้จากทุกที่ และทุกเวลา (Anyone, Anywhere, and Anytime)

- จริงหรือ และจริงมากน้อยเพียงใดสำหรับประเทศไทย

การศึกษาอิสระของผู้เรียน

สำหรับวิชานี้ ผู้สอนมีเจตนาทดสอบความเป็นไปได้ของการเรียนที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้โดยอิสระ และแบบประสานไปกับระบบเรียนในชั้นเรียนตามศูนย์การเรียนต่างๆ

ดังในกรณีการสอนที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ถือเป็น Distributed Center หรือ DC เพื่อการเรียนการสอนที่หนึ่ง และถ้าหากวิชานี้มีการจัดการเรียนการสอนในที่อื่นๆ ก็จะต้องศึกษาความเป็นไปได้ที่จะให้มีระบบการเรียนที่มี DC เพื่อรองรับระบบการเรียนนั้นๆ

การศึกษาอิสระของผู้เรียนกระทำได้โดยต่อไปนี้

- การศึกษาจากเอกสาร หนังสือ

- การศึกษาจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

- การใช้ Dynamic Homepage (PHP-Nuke)

- การใช้ E-learning ด้วย LMS

- การศึกษาจากการพูดคุย สัมภาษณ์

การศึกษาจากเอกสาร หนังสือ

แม้เราอยู่ในโลกที่อินเตอร์เน็ตทำให้เราสามารถมีข้อมูล ความรู้เพื่อการใช้สอยได้กว้างขวางอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน แต่กระนั้นไม่ใช่ว่าเราจะศึกษาทุกเรื่องได้ด้วยระบบออนไลน์ หนังสือและสื่อในแบบดั่งเดิมยังเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ แต่เราจะเลือกใช้อย่างไรจึงจะทำให้เรียนรู้ได้ โดยมีต้นทุนไม่มากจนเกินไป

หนังสือบางส่วนเราสามารถหามาได้ด้วยการเลือกใช้จากห้องสมุดของสถาบันการศึกษา บางส่วนอาจเป็นห้องสมุดในชุมชน เช่น

หนังสือหลักจากห้องสมุดของมหาวิทยาลัย
Academic Resource Center, Chulalongkorn University
http://www.car.chula.ac.th/

มหาวิทยาลัยทั่วไปยากที่จะสามารถสะสมหนังสือเพื่อการเรียนการสอนได้อย่างครบครัน แม้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีความพร้อมทางด้านทรัพยากรมากที่สุด แต่ก็ไม่สามารถมี Collection ได้อย่างกว้างขวาง เมื่อต้องมีการศึกษาลงไปในแนวลึก

ความเป็นไปได้คือ ในอนาคต ต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่คล้ายงานส่วนกลางที่ประสานการจัดหา และจัดส่งหนังสือเพื่อการใช้งานได้อย่างกว้างขวาง

Inter Library Loans

การสั่งซื้อหรือแลกเปลี่ยนหนังสือกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

หนังสือที่อาจจัดซื้อเอง สำหรับการศึกษาในเรื่องที่เราสนใจพิเศษ นั้นควรจะเป็นเมื่อได้รับคำแนะนำจากผู้สอน หรือเมื่อศึกษาลึกๆ ไปแล้ว เราพบว่าต้องมีการอ่านหนังสือจากต้นฉบับนั้นๆ จึงควรจะเกิดการสั่งซื้อเป็นสมบัติส่วนตัว

การสั่งซื้อผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

การสั่งซื้อหนังสือให้กับสถาบันการศึกษา หน่วยงาน หรือตัวเองนั้น สามารถกระทำได้โดยผ่านทางบริการตลาดนัดซื้อขายผ่านออนไลน์ มีทั้งหนังสือใหม่ และเก่าใช้แล้ว

- www.amazon.comบริการซื้อหนังสือผ่านระบบออนไลน์ Amazon

- http://www.half.ebay.com/ - บริการสั่งหนังสือผ่าน E-Bay

ในประเทศไทย

ในประเทศไทยมีร้านหนังสืออยู่มากมาย แต่เมื่อต้องการหนังสือจากต่างประเทศ บริการเหล่านี้ก็จะเหลือน้อยลง และมีบางส่วนที่มีบริการสั่งหนังสือจากต่างประเทศให้

- www.chulabook.comศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- www.asiabooks.com Asia Books ประเทศไทย ร้านหนังสือเครือข่าย เชี่ยวชาญด้านการสั่งหนังสือต่างประเทศ

- Main Office : Asia Books Co.,Ltd.
5 Sukhumvit Road Soi 61, Bangkok, Thailand
Tel 66-2715-9000

- 221 (Near Robinson Department Store), Sukhumvit Rd. (Between Sois 15-17)
Tel. 66-2252-7277, 66-2651-0428-9 Fax: 66-2251-6042
(Hours: 9.00 am - 9.00 pm)

- 1st & 3rd Floor, Landmark Hotel, Sukhumvit Rd. (Between Sois 4-6)
Tel. 66-2252-5839, 66-2252-5655 Fax: 66-2251-5993
(Hours: 10.00 am - 9.00 pm)

- 2nd Floor, Times Square Building, Sukhumvit Rd. (Between Sois 12-14)
Tel. 66-2250-0162-3, 66-2229-4720 Fax: 66-2250-0164
(Hours: 10.00 am - 9.00 pm)

- 2nd Floor, Peninsula Plaza, (Adjacent to the Regent Hotel), Rajdamri Rd.
Tel. 66-2253-9786-8 Fax: 66-2254-0737
(Hours: 10.00 am - 8.00 pm)

- 3rd Floor, Next to the main entrance to Emporium Dept.Store, Emporium Shopping Complex, Sukhumvit Rd.
(Between Sois 22-24)
Tel. 66-2664-8545-6 Fax: 66-2664-8548
(Hours: 10.30 am - 9.30 pm)

- 3rd Floor, Thaniya Plaza Building, (Next to Soi Patpong 2), Silom Rd.
Tel. 66-2231-2106-7 Fax: 66-2231-2108
(Hours: 10.00 am - 9.00 pm)

- 3rd Floor, Central City Bangna, Bangna-Trad Rd.
Tel. 66-2361-0743-4 Fax: 66-2361-0745
(Hours: 10.30 am - 9.00 pm)

- 2nd Floor, Seacon Square (From The Main Atrium, Towards Lotus), Srinakarin Rd.
Tel. 66-2721-8867-8 Fax: 66-2721-8869
(Hours: 10.30 am - 9.00 pm)

- 4th Floor, Siam Discovery Center (Near the connecting walkway to Siam Center), Rama1 Rd.
Tel. 66-2658-0418-20 Fax: 66-2685-0421
(Hours: 10.00 am - 9.00 pm)

- 3rd Floor, World Trade Center (Skydome Zone C), Rajdamri Rd.
Tel. 66-2255-6209-10 Fax: 66-2255-6211
(Hours: 10.00 am - 9.00 pm)

- Level 2, Siam Paragon (North Zone), Rama Rd
Tel. 66-2610-9609-14 Fax: 66-2610-9615
(Hours: 10.00 am - 10.00 pm)

- For more information please call our
Customer Service Department on
Tel 66-2715-9000 (100 running numbers)
ext. 3202 to 3205 Fax 66-2714-2799
Email : information@asiabooks.com

การศึกษาจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ในปัจจุบันนี้ การศึกษาหาความรู้จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นระบบที่

- ง่ายที่สุด

- รวดเร็วที่สุด

- มีขอบข่ายความรู้กว้างขวางที่สุด

เงื่อนไข

การต้องมีคอมพิวเตอร์ อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือ Laptop และ

ระบบอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งหาไม่ยากแล้ว

การใช้ Dynamic Homepage (PHP-Nuke)

ในวิชานี้ได้เลือกใช้บริการจาก

www.itie.org/eqi/ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รับผิดชอบโดยสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ที่ได้เปิด Homepage อย่างง่ายที่เป็นเวทีกลางสำหรับผู้เรียนที่ต้องการใช้เวทีออนไลน์ในระบบเปิดเพื่อนำเสนองานผ่านเครือข่าย

หน้าโฮมเพ็จนี้พัฒนาโดยใช้ PHP-Nuke version 7.0 ขึ้นไป และตกแต่งให้ใช้งานง่ายขึ้น แม้จะยังไม่สมบูรณ์แต่ก็เพียงพอสำหรับการเป็นเวทีกลางเพื่อการสื่อสารระหว่างผู้เรียน

การใช้ E-learning ด้วย LMS

ในการเรียนการสอนขั้นต่อไปของวิชานี้จะได้พัฒนาเนื้อหาให้ปรากฏในรูป Courseware สมบูรณ์แบบ โดยใช้ CWTools version 2.1 อันเป็นซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานพัฒนาชุดการเรียนและการนำเสนอบทเรียน และเป็นเครื่องมือในการเรียนได้โดยตรง

รายละเอียดดูได้จาก

http://learning.eduspheres.com/

ซึ่งเป็นหน้า Homepage สำหรับการเรียนออนไลน์ ซึ่งผู้สอนสามารถเข้าไปใช้พัฒนาชุดการเรียนได้โดยอิสระในระยะนี้ และก็สามารถใช้เป็นตัวทดสอบระบบการเรียนออนไลน์ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เขาจัดทำขึ้นอย่างที่เรียกว่า Testbed คือเป็นที่สำหรับทดลองใช้

การศึกษาจากการพูดคุย สัมภาษณ์

การใช้โปรแกรมอย่าง MSN ของไมโครซอฟต์จัดการพูดคุยและโทรศัพท์ระหว่างประเทศ การใช้ Skype เพื่อเป็นการทดแทนการสื่อสารด้วยโทรศัพท์ทางไกล ลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก หากเรามีระบบ Broadband รองรับอยู่แล้ว

ความมีวินัยและการจัดแบ่งเวลา

ในการเรียนด้วยตนเองนั้นสามารถกระทำได้ โดยผู้เรียนจะต้องได้รับการฝึกฝนมาในแบบที่เรียนได้ด้วยตนเอง ดังสุภาษิตจีนที่ว่า ให้ปลาเขาหนึ่งตัว เขาก็กินหมดไปภายใน 1 วัน แต่สอนให้เขาตกปลา เขาก็จะสามารถมีวิชาชีพหาปลากินไปได้ตลอดชีวิต

การเรียนรู้แบบอิสระได้ด้วยตนเองนั้นจำเป็นต้องสร้างวินัยในการเรียน โดยต้องเน้นให้เกิดในสิ่งเหล่านี้

- ความมีวินัยขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียน

- การฝึกฝนทำบ่อยๆ ใช้บ่อยๆ ทำจนเป็นนิสัย

- การสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็น (Learning Skills)

- การนำเสนอและการเขียนเป็นการฝึกให้ต้องคิด เพราะเขียนโดยไม่คิด ไม่เข้าใจไม่ได้ และไม่เป็นประโยชน์ การเขียนคือการต้องฝึกคิด คิดให้ดี รอบคอบแล้วจึงเขียน

วิธีการเรียนรู้

สิ่งที่จะเรียนรู้มีกว้างขวาง มีประเด็นที่น่าสนใจนับเป็นร้อย และแต่ละเรื่องมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการศึกษาที่นานพอสมควร เวลาที่จะเรียนภายใน 16 สัปดาห์จะไม่เพียงพอที่จะศึกษาได้ทั้งหมด และประเด็นสำคัญ ไม่จำเป็นต้องไปศึกษาทั้งหมด

ประเด็นสำคัญที่สุด คือผู้เรียนต้องหาคำตอบให้ได้ว่า อะไรที่เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาเพื่อนำไปใช้งานก่อนอื่นๆ (Must) และเรื่องอะไรที่ควรรู้ (Should) แต่สามารถไปเรียนรู้ได้เองในภายหลัง

สิ่งสำคัญที่ผู้สอนประสงค์อยากให้เกิดขึ้นคือทักษะในการค้นคว้า (Enquiry Skills) และความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้อง เพราะสักวันหนึ่งเมื่ออยู่ในสถานะต้องทำงานจริงนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการศึกษา การวิเคราะห์ การเลือกตัดสินใจ และการนำไปปฏิบัติอย่างมีทักษะ สิ่งเหล่านี้ไม่มีใครช่วยท่านได้ นอกจากการฝึกฝน อย่างที่ Dr. Covey กล่าวว่า ท่านจำเป็นต้องฝึกฝน ทำใบเลื่อยของท่านให้มีฟันคมอยู่ตลอดเวลา (Sharpen Your Saws)

ณ จุดนี้ของการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้ร่วมกัน และการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

No comments:

Post a Comment