Monday, October 25, 2010

การควบคุมน้ำท่วมในเนเธอร์แลนด์

การควบคุมน้ำท่วมในเนเธอร์แลนด์

(Flood control in the Netherlands)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: cw092, การบริหารน้ำ, flood control, เนเธอร์แลนด์, การควบคุมน้ำท่วม

ผมประสานงานการศึกษา แปล และเรียบเรียงข้อมูลจาก Wikipedia, the free encyclopedia เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมน้ำท่วม (Flood Control) ในประเทศเนเธอร์แลนด์

บทความเรื่อง การควบคุมน้ำท่วมในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งแปลเป็นไทย โดยเรียบเรียงจากส่วนที่ค้นได้ใน Wikipedia ในหัวเรื่อง “Flood control in the Netherlands” ทำให้เป็นภาษาไทย เพื่อให้มีการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง

ความพยายามนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เกิดจากแรงจูงใจจากน้ำท่วมในประเทศไทยช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 แทนที่เราจะปล่อยให้เหตุการณ์น้ำท่วมผ่านมาแล้วก็ผ่านไป แล้วการแก้ปัญหาก็จะเป็นอย่างซ้ำเดิม ไม่มีแผนป้องกัน ป้องกันอย่างผิดๆ หรือป้องกันแบบปีต่อปี เช่นจัดงบประมาณซื้อกระสอบและกรอกทรายทำเป็นแนวป้องกัน หรือการทำงานกันแบบต่างคนต่างทำ ที่ไม่ได้ประสานงานกัน

ประเทศเนเธอร์แลนด์มีประสบการณ์การป้องกันน้ำท่วมมานานนับเป็นพันปี มีทั้งที่ได้เดินมาอย่างถูกทาง และมีทั้งที่ยังเป็นปัญหาหนักที่ต้องแก้ไขต่อไป

ในการนี้ ผมใคร่อาศัยเครือข่ายผู้รู้ผ่าน เครือข่ายสังคม (Social Network) โดยใช้ Twitter และ Web Blog http://pracob.blogspot.com ที่มีชื่อเรียกว่า “My Words”

ภาพ หากไม่มีเขื่อนและผนังกั้นน้ำ ส่วนที่เห็นนี้จะกลายเป็นบริเวณน้ำท่วม

Without dikes, this part of the Netherlands would be flooded

แผนที่ บริเวณที่เป็นสีน้ำเงินคือบริเวณที่อยู่ระดับต่ำกว่าน้ำทะเล และเสี่ยงต่อการมีน้ำท่วม

Blue: Areas vulnerable to flooding

ในประเทศเนเธอร์แลนด์ มีคำขวัญว่า พระเจ้าสร้างโลก แต่ดัชสร้างเนเธอร์แลนด์

การควบคุมน้ำท่วมจัดเป็นประเด็นใหญ่สุดในประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยพื้นที่ประมาณสองในสามของปัจจุบัน เป็นส่วนที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม แต่ขณะเดียวกันบริเวณดังกล่าวจัดได้ว่าเป็นที่ๆมีประชากรหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เป็นที่ๆมีแนวสันทราย (Sand dunes) และผนังกั้นน้ำ (dikes) เขื่อนและประตูป้องกันน้ำท่วม (Floodgates) ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อป้องกันคลื่นใหญ่ และน้ำทะเลหนุน เขื่อนกั้นแม่น้ำ (River dikes) มีไว้เพื่อป้องกันน้ำท่วมจากแม่น้ำสายใหญ่ คือ Rhine และ Meuse ทั้งนี้ในอดีตอาศัยกังหันลมปั้มน้ำออก เพื่อทำให้บริเวณเพาะปลูกแห้ง เพื่อให้สามารถทำการเกษตรได้ ประเทศมีคณะกรรมการป้องกันน้ำท่วม (Water control boards) ที่เป็นองค์กรรัฐบาลท้องถิ่นที่เป็นอิสระ รับผิดชอบต่อการดูแลรักษา และจัดการระบบน้ำ

ในปัจจุบัน อุทกภัย (flood disasters) และเทคโนโลยีในยุคใหม่ ได้ทำให้เกิดโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เพื่อลดอิทธิพลจากน้ำทะเลในการป้องกันน้ำท่วม

ประะวัติศาสตร์
History

สภาพภูมิประเทศเริ่มแรกและการสร้างแนวป้องกัน
Original geography of the Netherlands and terp building

Main article: Geography of the Netherlands

ธรรมชาติบริเวณปากแม่น้ำ ทำให้มีดินตะกอนสะสมตื้นเขิน

Peat = บริเวณที่มีต้นไม้มาสะสมกันในอดีต และนานเข้ากลายเป็นถ่านหิน

เมื่อ 2000 ปีก่อน ก่อนที่จะมีมนุษย์เข้ามาแทรกแซง ปรับปรุงที่ดินให้เปลี่ยนโฉมไป เนเธอร์แลนด์มีลักษณะเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงมีตะกอนที่เป็นต้นไม้ทับถมมานาน ในบริเวณปลายแผ่นดินเป็นสันทราย (Coast dunes) ทำให้ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งตกตะกอนปากแม่น้ำ โดยไม่ละลายไปในทะเล บริเวณที่มีคนอาศัยเพาะปลูกได้ คือบริเวณทางตะวันออกและตอนใต้ และเป็นครั้งคราวที่ทะเลได้รุกเกินแนวป้องกันตามธรรมชาติเข้ามาตามชายฝั่งทะเลและแม่น้ำ ทำให้เกิดผืนที่น้ำท่วมถึงที่กว้างขวาง ที่ๆมีมนุษย์อาศัยอยู่คือที่ๆมีดินตกตะกอนที่สมบูรณ์มากกว่าที่ๆเป็นพวกซากต้นไม้เน่าเปื่อยที่กำลังจะกลายเป็นถ่านหิน (Peat) หรือบริเวณที่มีลักษณะเป็นดินทรายที่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน และเพื่อให้มีที่ดินสำหรับอยู่อาศัยในเขตน้ำท่วม จึงได้เกิด terpen หรือ wierden คือบริเวณที่คนได้นำดินมาถมให้สูงขึ้นบริเวณที่ลุ่มน้ำ เพื่อทำให้สร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยและประกอบอาชีพได้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อราวๆ 500-700 ปีหลังคริสตกาล (AD) ช่วงดังกล่าว มีทั้งช่วงที่มาตั้งถิ่นฐาน แล้วก็ปล่อยร้างไป เนื่องด้วยน้ำทะเลขึ้นสูงเกิน แล้วก็กลับมาสร้างและพัฒนาต่อ สลับกันไป

การสร้างเขื่อนในบริเวณชายฝั่ง
Dike construction in coastal areas

Dike = แนวผนังกันคลื่น กันน้ำ หรือจะเรียกว่าเขื่อนก็ได้

ในระยะแรกๆ เนื่องจากต้องทำกินในที่ลุ่ม จึงมีการสร้างแนวดินสูง เพื่อล้อมรอบบริเวณเพาะปลูกจากน้ำท่วมเป็นระยะๆ ในราวศตวรรษที่ 9 น้ำทะเลได้เพิ่มสูงขึ้นอีก ทำให้ต้องยกระดับของเนินพักอาศัย (Terps) เพื่อให้ปลอดภัย และเมื่อมีเนินหลายๆเนินต่อกัน จึงกลายเป็นหมู่บ้าน และเชื่อมต่อกันกลายเป็นผนังกั้นน้ำแรกๆ (Dikes)

ประมาณ 1,000 ปีหลังคริสตกาล ประชาชนเพิ่มมากขึ้น จึงมีความพยายามที่จะหาที่ดินทำกินเพิ่มขึ้น เมื่อมีคนมากขึ้น ก็มีแรงงานที่จะมาระดมทำผนังกั้นน้ำกันอย่างจริงจัง และองค์การที่เป็นหัวแรงในการทำนี้คือวัดในคริสต์ศาสนา ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่ ในปี ค.ศ. 1250 เขื่อนทั้งหมด ได้ต่อแนวกันเป็นแนวป้องกันคลื่นลมจากทะเล

ในแต่ละช่วง แต่ละขั้นตอน ก็จะมีการเคลื่อนแนวเขื่อนลึกไปในทะเล กลายเป็นแนวป้องกันหน้า และแนวป้องกันหลัง (Secondary defense) หรือเรียกว่า “Sleeper dike” คือทำหน้าที่เป็นเขื่อนป้องกันแนวสำรอง

Sleeper dike จึงอาจมีความหมายได้ว่า เขื่อนหลับ หรือเขื่อนที่ไม่ได้ทำหน้าที่ หรืออีกความหมายหนึ่ง คือเชื่อนที่ทำให้คนนอนตาหลับได้ เพราะไม่ต้องกังวลเหมือนต้องอยู่กับเขื่อนแนวเดียวที่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมถึง

ภาพ หอคอย Plompe toren, ซึ่งเป็นส่วนที่ยังคงเหลืออยู่ของหมู่บ้าน ชื่อ Koudekerke



ภาพ กังหันลม (The windmills) ที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันที่ Kinderdijk, ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands)


ภาพ โรงสูบน้ำ De Cruquius หนึ่งใน 3 สถานีสูบน้ำที่รับผิดชอบทำให้ Haarlemmermeer แห้ง

No comments:

Post a Comment