คณะกรรมการควบคุมน้ำท่วม ประเทศเนเธอร์แลนด์
(Water control boards)
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
Main article: Water board (The Netherlands) จาก Wikipedia, the free encyclopedia
Keywords: cw092, การบริหารน้ำ, flood control, เนเธอร์แลนด์, การควบคุมน้ำท่วม
มีสุภาษิตชาวดัชหนึ่งกล่าวว่า "Necessity is the mother of invention." Dutch Proverb แปลเป็นไทยได้ว่า "ความจำเป็นเป็นมารดาของการประดิษฐ์ทั้งหลาย"
การเกิดเขื่อนขึ้นมามากๆในประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็ต้องมีระบบการจัดการด้านการสร้าง การดูแลรักษา และระบบดังกล่าวก็มีวิวัฒนาการไปตามยุคสมัย และสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
เมื่อเกิดเขื่อนแรกๆเพื่อควบคุมน้ำ จึงเกิดโครงสร้างในการดูแลระบบ โดยเป็นการรวมตัวของชาวนาที่ได้รับประโยชน์จากเขื่อน แต่เมื่อเขื่อนมีการขยายตัวกว้างขวางออกไป โครงสร้างระบบจัดการก็มีความซับซ้อนตามไปด้วย เพื่อทำหน้าที่ควบคุมน้ำ และการใช้น้ำ จึงได้เกิดคณะกรรมการน้ำ (Water boards) ทำหน้าที่ดูแลบริเวณเล็กๆที่เป็นผลจากเขื่อนหรือผนังกั้นน้ำที่สร้างขึ้น
และเมื่อมีเขื่อนหลายๆเขื่อน ก็มีคณะกรรมการหลายๆคณะตามมา และเมื่อมีหลายๆคณะกรรมการน้ำ ก็เกิดผลประโยชน์ที่ซับซ้อน และมีผลประโยชน์ขัดแย้งกัน เพราะแต่ละเขื่อนมีวัตถุประสงค์และผลประโยชน์ต่างกัน มีพื้นที่รับผิดชอบของตนแตกต่างกัน ในกลางศตวรรษที่ 20 มีคณะกรรมการน้ำอยู่ทั้งสิ้น 2,700 คณะฯ หลังจากนั้นจึงได้รวมเป็นคณะกรรมการที่น้อยลง และรับผิดชอบกว้างขวางขึ้น จึงเหลือเพียง 27 คณะกรรมการ คณะกรรมการเหล่านี้เป็นผลมาจากการเลือกตั้ง มีการจัดเก็บภาษี และมีหน้าที่ๆเป็นอิสระจากองค์กรรัฐบาลอื่นๆ
กฏเกณฑ์การใช้น้ำในแบบเดิมตั้งแต่เริ่มแรก คือ "Who the water hurts, who the water stops" ใครมีชีวิตอยู่ได้เพราะเขื่อนนั้น คนนั้นต้องรับผิดชอบจ่ายและดูแลระบบนั้นๆ และด้วยเหตุดังกล่าว จึงมีความเชื่อว่าน้ำท่วมที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่รุนแรง หากมีการดูแลรักษาเขื่อนให้ดี และด้วยเหตุดังกล่าว พวกที่อยู่ในแผ่นดินลึกเข้าไปมักจะปฏิเสธการจ่าย หรือช่วยบำรุงรักษาเขื่อน เพราะเห็นว่าตนเองไม่ได้ประโยชน์จากเขื่อน ในขณะที่พวกที่อยู่ใกล้เขื่อนใต้เขื่อนก็จะล้มละลาย เพราะการต้องดูแลรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเขื่อนที่มากมายเกินรับ
ในปี ค.ศ. 1798 จึงได้เกิดหน่วยงานชื่อ Rijkswaterstaat หรือเรียกในภาษาอังกฤษว่า “Directorate General for Public Works and Water Management” หรือ ”คณะกรรมการกลางเพื่อน้ำสาธารณะและการจัดการน้ำ” ระบบเป็นการจัดตั้งภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสที่เข้าปกครองเนเธอร์แลนด์ไว้ด้วยการจัดให้มีรัฐบาลกลางบริหาร
แม้ในระยะหลังไม่มีอิทธิพลของผู้ปกครองอย่างฝรั่งเศสแล้ว แต่การมีองค์การกลางอย่าง Rijkswaterstaat ก็ดำรงอยู่ควบคู่ไปกับระบบคณะกรรมการน้ำระดับท้องถิ่น คณะกรรมการดังกล่าวนี้ ได้มีความรับผิดชอบรวมไปถึงการสร้างทางรถไฟ ถนน และทางหลวงขนาดใหญ่ ซึ่งสร้างบนสันเขื่อน ไปในตัว
กล่าวโดยสรุป การบริหารน้ำของเนเธอร์แลนด์นั้นเกิดแบบกระจายอำนาจ ต่างคนต่างทำ แต่เมื่อสภาพแวดล้อมและปัญหาซับซ้อนขึ้น ระบบบริหารก็ต้องใช้ทั้งรวมศูนย์ และกระจายศูนย์ แต่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย
สอบถามได้ไมคะ ถ้าในเรื่องboardในไทยเคยมีจัดตั้งไมคะหรือมีหน่อยงานรัฐที่รับผิดชอบตรงนี้ชัดเจนไมคะ แล้วส่วนของสมุทรปราการสามารถนำแนวคิดด้าน delta work ไปใช้ได้ไมคะ แล้วที่ทำเขื่อนกั้นน้ำต้องปากน้ำนะคะแต่น้ำยังท่วมอยู่ปัญหาต้องนี้ทำการแก้ยังไงได้บ้างอะคะ รบกวนตอบหนูด้วยคะ หาคนปรึกษาด้านนี้ยากมากคะ
ReplyDelete