Wednesday, October 20, 2010

หมอสุดยอดผ่าตัดลดน้ำหนัก

หมอสุดยอดผ่าตัดลดน้ำหนัก

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก ศัลยแพทย์ซุเปอร์แมนค่อสู้กับโรคอ้วน ใน “The Superman surgeon and his one-man fight against the flab” โดยเขียนโดย Barney Calman Last updated at 9:48 PM on 16th May 2009

Keywords: Cw801, obesity, Gastric band, Gastric bypass

นายแพทย์พอล ซูเปอร์ (Dr. Paul Super) นายแพทย์ผ่าตัดลดน้ำหนักด้วยวิธี Gastric band ที่มีงานมากที่สุดในอังกฤษ

ผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนักมากถึงสัปดาห์ละ 20 ราย แต่แพทย์โดยทั่วไปจะรับงานประมาณ 10 รายต่อสัปดาห์

หมอซุเปอร์แข็งแรงที่จะทำงานผ่าตัดกับคนไข้ 20 คน ที่รวมทั้งระบบประกันสุขภาพของรัฐบาลและในการแพทย์เอกชน ในขณะแพทย์ทั่วไปจะรับงานอย่างเดียวกันสัปดาห์ละ 10 ราย

คนไข้ที่รอเข้ารับการผ่าตัดแบบ Gastric band กับเขามีทั้งเด็กสาวอายุ 17 ปี จนถึงผู้ใหญ่ในวัย 50 ปี

ภาพ Paul Super ศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดด้วยวิธีการ Gastric band ที่มีงานมากที่สุดในอังกฤษ

นายแพทย์ซูเปอร์ได้ทำการผ่าตัดด้วยการใช้ยางรัดไปแล้วประมาณ 2,400 คนนับแต่ปี ค.ศ. 2001 ในแต่ละเดือนหมอซุเปอร์จะมีเวลาว่าง 1 วันที่จะใช้ชีวิตพักผ่อนเหมือนคนอื่นๆ

'I recently worked out that if each of my patients so far lost five stone - most of them will do and more - it would add up to about 75 tons,' says the 47-year-old Scotsman. 'That's the weight of seven double-decker buses.'

หากคิดน้ำหนักที่หมอซุเปอร์ได้ผ่าตัดโดยเอารายเฉลี่ยที่ลดน้ำหนักได้คนละ 5 สโตนหรือประมาณ 31.75 กิโลกรัม จะทำให้คนไข้ทั้งหมดได้ลดน้ำหนักลงแล้วถึง 75 ตัน น้ำหนักเทียบเท่ากับรถเมล์สองชั้นของอังกฤษ 7 คันรวมกัน

การผ่าตัดลดน้ำหนักแบบ Gastric band ได้คิดค้นโดยศัลยแพทย์ชาวสวีเดนในช่วงทศวรรษที่ 1980s ในแต่ละปี จะคนไข้ในประเทศสหราชอาณาจักร ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีการ Gastric band ประมาณ 5000 คน โดยเสียค่ารักษาด้วยการผ่าตัดคนละ 6,000-8,000 ปอนด์ หรือประมาณ 284,700 บาท – 379,600 บาท ที่คนไข้ต้องจ่ายในระบบสวัสดิการสุขภาพของอังกฤษ เพื่อรับการผ่าตัดแบบใช้ห่วงยางรัดกระเพาะ (Gastric band)

1 ปอนด์ = 47.45 บาท (ตุลาคม 2010)

ศัลยแพทย์ซุเปอร์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารส่วนบน (upper gastro-intestinal specialist) เป็นหนึ่งในศัลยแพทย์ 40 คนที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการผ่าตัดด้วยวิธีดังกล่าวได้ แต่ละปีคาดว่าเขาจะทำการผ่าตัดคนอ้วนประมาณ 1,000 คน หรือเฉลี่ยวันละ 4 คน

คนไข้มักจะเลือกหมดซูเปอร์ เมื่อต้องการแพทย์ผ่าตัดลดน้ำหนักแบบรัดกระเพาะส่วนบนด้วยห่วงแบบปรับได้ หรือ Gastric bands

Kim น้ำหนักตัว 127 กิโลกรัม สูงเพียง 5 ฟุต 4 นิ้ว จัดว่าเป็นคนอ้วนแบบมากๆ (Super-obese) เพราะมีน้ำหนักส่วนเกิน (Body Mass Index – BMI) ที่ 50 แต่ภายในอีกไม่กี่นาที เธอจะถูกเข็นเข้าห้องผ่าตัด โดยถูกวางยาสลบ และการผ่าตัดที่จะเปลี่ยนชีวิตของเธอ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที

1 stone = 6.35 Kg

Calculate BMI & Find Weight Status

Table: BMI Weight Status Categories

BMI

Weight Status

Below 18.5

Underweight

18.5 -24.9

Normal

25 - 29.9

Overweight

30 & Above

Obese

การผ่าตัดโดยมีเครื่องมือพิเศษ โดยสอดใสห่วงเข้าไปเพื่อรัดกระเพาะ ห่วงหรือ Band นั้นทำจากสารซิลิโคน (Silicon gastric band) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ 1 ½ นิ้ว และเมื่อใส่เข้าไปแล้ว จะอยู่ที่นั้นไปอย่างถาวร ทำให้เธอกินอาหารได้ครั้งละไม่กี่ช้อน

ผู้หญิงอย่าง Kim เป็นส่วนหนึ่งของสตรีที่เข้ารับการผ่าตัดในประเทศสหราชอาณาจักร ที่เพิ่มขึ้นถึง 500 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเวลา 2 ปี ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า Fern Effect เมื่อมีการนำ Fern Britton เข้ารับการผ่าตัดอย่างเงียบในปี ค.ศ. 2007 โดยไม่ได้บอกใคร และได้มาเปิดเผยในภายหลัง เกี่ยวกับวิธีการที่ทำให้เธอลดน้ำหนักลงได้อย่างมากด้วยการใช้ Gastric band

หมอซุเปอร์กล่าวว่า มันเป็นเรื่องที่สังคมยอมรับว่าผู้หญิงจะแสวงหาทางลดน้ำหนักมากกว่าผู้ชาย และผู้ชายจะได้รับการยอมรับที่จะเป็นพวกน้ำหนักเกิน

หมอซุเปอร์เป็นผู้มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับปัญหาด้านน้ำหนักเกินของประเทศ โดยเขากล่าวว่า อังกฤษเป็นชาติที่มีคนอ้วนมากที่สุดในยุโรป โดยที่คนหนึ่งในสี่ที่จัดว่าเป็นคนอ้วน

หมอซุเปอร์พักอาศัยอยู่ Hampton-in-Arden, Solihull กับภรรยา คือ Helen อายุ 47 ปีเช่นกัน เป็นครูประถม ทั้งสองมีบุตรธิดารวม 4 คน Jessica 21 ปี, Daniel 18 ปี, Rosie 16 ปี และ Jonathan 14 ปี

หมอซุเปอร์มีลักษณะตรงกันข้ามกับงานที่เขาทำ จากรายได้ที่เขาได้รับ เขายังใช้ชีวิตเรียบง่าย ขับรถมินิขนาดเล็กๆ บุตรสาวคงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบประสม (Comprehensive School) อันเป็นโรงเรียนสำหรับบุตรหลานคนธรรมดาทั่วไป แทนที่จะเป็นโรงเรียนแบบ Public Schools สำหรับคนมีฐานะ

ผมเคยคิดว่าน้ำหนัก 30 สโตน (190.5 กิโลกรัม) ก็นับว่าอ้วนมากแล้ว แต่เทียบไม่ได้กับปัจจุบัน ที่มีคนไข้คนหนึ่งที่อายุเพียง 23 ปี แต่มีน้ำหนัก 55 สโตน หรือเท่ากับ 349.25 กิโลกรัม ที่ต้องถูกนำมาโรงพยาบาลด้วยรถดับเพลิงที่ต้องนำคนอ้วนออกมาทางหน้าต่างจากห้องนอน เพราะเขาตัวใหญ่เกินกว่าที่จะนำลงมาทางบันได้ได้ตามปกติ

ภาพ ความสำเร็จ Teresa Perks เคยมีน้ำหนักตัว 152.4 กิโลกรัม ปัจจุบันหนัก 57.15 กิโลกรัม

แต่อย่างไรก็ตาม หลังผ่าตัดได้ 3 ปี ชายหนุ่มคนนั้นได้ลดน้ำหนักลง 23 สโตน หรือ 146 กิโลกรัม และขณะนี้เขาได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแล้ว

อย่างไรก็ตาม เขายังต้องลดน้ำหนักอย่างต่อเนื่องไปตลอด แต่ถ้าเขาไม่เข้ารับการผ่าตัด ป่านนี้เขาคงมีอายุไม่ถึง 30 ปี การผ่าตัดได้ช่วยชีวิตเขาไว้ และเขาก็พอใจกับการผ่าตัดนี้อย่างมาก

บางคนวิจารณ์ว่า การผ่าตัดแบบรัดกระเพาะนี้เป็นทางออกง่ายๆสำหรับคนที่ตะกละเกินกว่าที่จะควบคุมอาหาร และขึ้เกียจเกินกว่าจะออกกำลังกาย

คนไข้เป็นอันมากไม่บอกเพื่อนๆ หมอซุเปอร์กล่าว ผมเคยผ่าตัดผู้หญิงคนหนึ่งที่ไม่บอกแม้กระทั่งสามี

ในขณะที่คนสนใจและจ่ายเงินเพื่อผ่าตัดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความงาม และในปัจจุบันได้มีกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่ทำเรื่องศัลยกรรมตกแต่ง โดยมีลูกค้าประเภทรักความสวยความงาม แต่ประโยชน์โดยแท้จริงของ Gastric band คือการดูแลสุขภาพของคนที่ไม่สามารถควบคุมน้ำหนักได้ด้วยวิธีการอื่นๆแล้ว และเสี่ยงต่อสูขภาพและชีวิตในระยะยาว

สถาบันเพื่อสุขภาพและความเป็นเลิศด้านการแพทย์แห่งชาติ หรือ The National Institute for Health and Clinical Excellence (NICE) ได้ให้กรอบไว้ว่าคนที่ควรจะได้รับการผ่าตัด คือคนที่มีดรรชนีมวลกาย (BMI) ที่ 40 ขึ้นไป โดยคนที่มี BMI เกิน 25 ถือว่าน้ำหนักเกิน ส่วนคนที่ BMI เกิน 35 จัดอยู่ในพวกเป็นโรคอ้วน (Obese) ซึ่งหมายถึงมีน้ำหนักเกินอันก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ

ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนได้แก่ Osteoarthritis, ปัญหาการหายใจ (breathing problems), โรคเบาหวานประเภทสอง (type 2 diabetes), โรคหัวใจ (heart disease) และเนื้องอกในมดลูก (polycystic ovary syndrome)

คนที่น้ำหนักตัว มี BMI ระหว่าง 35-40 ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงด้านสุขภาพด้วยโรคที่เกี่ยวกับโรคอ้วนต่างๆ จะอยู่ในกรอบที่ได้รับการสนับสนุนด้วยแผนบริการสุขภาพแห่งชาติ หรือจะรับการรักษาพยาบาลแบบเอกชนก็ได้

ในปัจจุบันมีคนหนึ่งล้านคนในสหราชอาณาจักรที่มี BMI เกิน 40 และมีอีกหนึ่งล้านที่มี BMI เกิน 35 หากแนวโน้มไม่เปลี่ยน ภายในปี ค.ศ. 2050 จะมีผู้ชายกว่าร้อยละ 60 และผู้หญิงกว่าร้อยละ 50 ที่มี BMI เกินกว่า 30

แน่นอนว่าหากมีวิธีการรักษาพยาบาลอื่นๆ ตลอดจนการส่งเสริมด้านการออกกำลังกายและโภชนาการที่เหมาะสม ก็ควรได้ดำเนินการไป เพื่อเป็นการป้องกัน ก่อนที่ปัญหาจะเกิด และยากที่จะแก้ไข และโรคอ้วนเป็นปัญหาด้านสุขภาพต่อบุคคลและปัญหาเศรษฐกิจของชาติ

จากการประมาณการ โรคอ้วนจะเป็นปัญหาที่ต้องรักษาอันเป็นผลจากโรคแทรกซ้อน คิดเป็นเงิน £4,200 ล้าน ในขณะที่ค่ารักษาพยาบาลด้วย Gastric bands ในปีที่ผ่านมาเพียง £16.5 ล้าน

โรคอ้วนเป็นตัวทำลายสุขภาพ และเมื่อเป็นแล้ว ยากที่จะประสบความสำเร็จด้วยเพียงการควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียว ในกรณีเช่นนี้จึงเหมาะแก่การผ่าตัดด้วย Gastric band การผ่าตัดไม่ใช่เพียงเพื่อให้สาวๆได้ใส่กางเกงยีนคับๆได้อย่างสวยงามตามแฟชั่น แต่เพราะเด็กหนุ่มและสาวที่เป็นโรคอ้วน (Obese) ขั้นรุนแรงนั้นมักจะมีเสียชีวิตก่อนพ่อแม่ของเขา

จากการศึกษา คนไข้โดยเฉลี่ยที่เข้ารับการผ่าตัดด้วย Gastric band มีน้ำหนักตัวประมาณ 152.4 กิโลกรัม กว่าร้อยละ 90 น้ำหนักตัวเขาจะลดลงไประหว่างร้อยละ 40-50 ของน้ำหนักตัว ภายในเวลา 1 ปี

ซึ่งเป็นลักษณะตรงกันข้ามกับรายงานของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส (The University of California in Los Angeles – UCLA) พบว่า ร้อยละ 95 ของคนที่ลดน้ำหนักด้วยวิธีการควบคุมอาหารอย่างเดียว จะมีน้ำหนักกลับมาที่เดิมในเวลา 5 ปี

ดูกรณีตัวอย่างของ Teresa Perk สตรีที่มีน้ำหนักตัว 152.4 กิโลกรัม ได้เข้ารับการผ่าตัดแบบ Gastric band เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2006 เธอและสามีชื่อ Simon อายุ 34 ปี ทำงานอยู่ในโรงงานพลาสติก อาศัยอยู่ที่ Cheltenham, Gloucestershire มีบุตร 4 คน

ในระยะก่อนการผ่าตัด เธอจะดีใจมากแล้วที่หาเสื้อผ้ากางเกง เบอร์ 8 ใส่ได้ แต่ในปัจจุบัน รางวัลที่ใหญ่ที่สุด คือได้มีโอกาสมองไปในอนาคตที่จะอยู่กับครอบครัวพร้อมลูกๆ 4 คนอย่างภรรยาและแม่

ภาพ Teresa Perks ก่อนรับการผ่าตัด หนัก 152 กิโลกรัม

ปัญหาของ Teresa คือในการมีลูกแต่ละคน น้ำหนักตัวเธอเพิ่มขึ้นทั้งในช่วงตั้งท้อง และคลอดแล้วน้ำหนักตัวกลับเพิ่มแล้วไม่ลดลง โดยเมื่อแต่งงานในปี ค.ศ. 1999 ขนาดของเสื้อผ้าเธออยู่ที่ 24 แต่เมื่อแต่งงานแล้ว นิสัยการกินเริ่มเปลี่ยนไป เธอกล่าว ฉันกินของว่างทั้งวัน ทำอาหารเย็นให้กับลูกๆ ก็กินร่วมกับเขา และเมื่อ Simon สามีกลับจากงาน ก็กินเป็นเพื่อนอีก

การมีลูกแต่ละคนมีส่วนทำให้น้ำหนักเพิ่ม และเพิ่มไปเรื่อยๆ เมื่อน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นไปมากๆ ในช่วง 3 เดือนก่อนคลอดลูกคนสุดท้อง เธอได้พบว่าป่วยเป็นเบาหวาน (Diabetes) ซึ่งมักจะพบกับคนที่ตั้งท้อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เป็นโรคอ้วน ร่างกายเริ่มต่อต้านผลของอินซูลิน (Hormone insulin) ที่ทำหน้าที่เก็บซับน้ำตาลออกจากเลือดเพื่อเก็บในเซลของร่างกายไว้เป็นพลังงานสำรองใช้ คนปกติระดับน้ำตาลในเลือดจะสม่ำเสมอที่ 90-120

Teresa ต้องฉีดอินซูลินวันละ 4 ครั้งเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และแพทย์ได้เตือนเธอว่า หากไม่ลดน้ำหนัก หลังจากคลอดบุตร เธอจะเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 diabetes) และจะต้องฉีดอินซูลินไปตลอดชีวิต

Teresa ตกใจอย่างมาก และต้องเตรียมตัวเข้าโรงพยาบาล เพื่อผ่าตัดลดน้ำหนักแบบใช้ห่วงยาง (Gastric band operation) โดยหมอ Super ที่โรงพยาบาลเอกชนชื่อ Spire Parkway หลังจากได้เห็นสารคดีทางทีวี การผ่าตัดใช้เงินประมาณ £7,950 ซึ่งเธอต้องขอยืมเงินจากสมาชิกในครอบครัว ฉันรู้ว่าจะต้องทำอะไรสักอย่าง ฉันไม่ต้องการที่จะป่วยหนักไปกว่านี้

สองสัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เธอได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ คือหมอซูเปอร์ Teresa ได้มีกำหนดที่จะผ่าตัด หมอซูเปอร์ได้ชี้แจงชัดเจนว่า การผ่าตัดโดยใช้ห่วงรัดกระเพาะนั้น ไม่ใช่การแก้ปัญหาอย่างมหัศจรรย์ แต่มันจะทำงานได้อย่างที่ควรเป็นเมื่อเราต้องจริงจังที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำ ซึ่งรวมถึงการดูแลตนเองด้านโภชนาการ และการออกำลังกาย

เหมือนคนไข้รับการผ่าตัดโดยใช้ห่วงรัด (Gastric band) Teresa จะต้องดื่มแต่ของเหลว ดังเช่นนมปั่น (Milkshakes) และซุป และหลังจาก 1 สัปดาห์ไปแล้ว จึงจะได้กินอาหารแบบบดเหลว เหมือนมันฝรั่งบดหรือปลานึ่ง และอาทิตย์ต่อไปจะกินอาหารอะไรก็ตามที่ตัดได้ และใช้ส้อม

หลังจาก 4 สัปดาห์ไปแล้ว เธอจึงสามารถกินอาหารได้อย่างปกติ แต่จะรู้สึกอิ่มหลังจากกินได้เพียงไม่กี่ช้อน

หลังจากผ่านไป 6 สัปดาห์ ห่วงที่รัดกระเพาะก็จะถูกทำให้รัดเพิ่มขึ้น และก็ต้องเป็นเช่นนั้นต่ออีกหนึ่งเดือน ก็ต้องกินอาหารที่จัดเฉพาะเพื่อการลดน้ำหนัก

ทางแพทย์จะมีรายชื่ออาหารที่แนะนำให้หลีกเลี่ยง เช่น ข้าว และแผ่นแป้ง (Rice & Pasta) ที่จะสามารถขึ้นอืดในกระเพาะได้ และให้หลีกเลี่ยงเนื้อและไก่ ที่ย่อยยาก

Teresa กล่าวว่า หลังจากการผ่าตัด 6 สัปดาห์ น้ำหนักของเธอลดลง 19 กิโลกรัม ในช่วง 12 เดือนเธอลดน้ำหนักได้รวม 69.85 กิโลกรัม ปัจจุบันเธอหนักเพียง 57.15 กิโลกรัม

แต่ Teresa ก็ต้องเสียเพื่อนไปบางส่วน เธอได้รับข้อวิพากษ์ในทางลบว่าได้โกงที่ทำให้เธอลดน้ำหนักได้ขนาดนี้ แต่ใครๆที่คิดว่าการผ่าตัด Gastric band เป็นเรื่องง่ายนั้นคิดผิด เพราะการใช้ชีวิตหลังผ่าตัดเป็นเรื่องที่ต้องกระทำอย่างมีวินัยและยากลำบาก ดังเช่นการจะกินแซนวิชให้หมด จะต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมง หากจะกินอะไรอย่างรีบร้อนก็จะเกิดอาหารอืดแน่น ทำให้ป่วยได้

ผลจากการผ่าตัดและการกินอย่างอย่างจำกัด ทำให้ขาดสารอาหารบางอย่าง จนเธอเป็นโรคโลหิตจาง (Anaemia) เพราะเม็ดเลือดแดงไม่ได้รับธาตุเหล็กเพียงพอ ทำให้เธอรู้สึกเหนื่อยง่ายและง่วงเหงา เศร้าซึม ในปัจจุบันเธอได้กินสารเสริม (Supplement) ทำให้เธอรู้สึกดีขึ้นมาก

ภาพ ห่วงรัดกระเพาะอาหารช่วงบน (Gastric band) จะยังคงอยู่ในร่างกายตลอดไป

Sue Bridgewater ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร (Bariatric dietician) หลังผ่าตัดที่โรงพยาบาล Heartlands อธิบายว่า คนไข้ยังสามารถกินอาหารอย่างสมดุลได้ มีไม่มากคนนักที่จะมีลักษณะขาดสารอาหารหลังผ่าตัดด้วย Gastric band เพราะวิธีการผ่าตัดไม่ได้ทำให้กระเพาะไม่ดูดซับอาหาร แต่ทำให้กระเพาะมีขนาดเล็กลง กินน้อยลง ทำให้อาจขาดสารอาหารบางส่วน จึงทำให้ต้องกินวิตามินเสริม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคนไข้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน

หมอซุเปอร์ทำงานที่หนึ่งหรือสองศูนย์ที่ผ่าตัดลดน้ำหนักด้วย Gastric band ในเขต West Midlands ที่ๆมีคนป่วยด้วยโรคอ้วนมากเป็นพิเศษ ตามการวิเคราะห์โดย Dr. Foster หมอซุเปอร์ยังรับคนไข้เป็นงานพิเศษในที่ๆไกลออกไป ดังเช่นในเมือง Dublin ในไอร์แลนด์เหนือ, ฝรั่งเศส และไกลไปจนถึงประเทศบัลกาเรีย

ในปีแรกผมผ่าตัดแบบ Gastric เพียง 10 รายการ แต่ในปัจจุบัน ผมต้องผ่าตัดถึง 10 รายในบางวัน

สำหรับคนที่จะเข้าเกณฑ์ได้รับการสนับสนุนจากแผนสุขภาพดีถ้วนหน้าของอังกฤษ จะต้องเข้าคลินิกคนอ้วนก่อนเป็นเวลา 6 เดือน แพทย์จะแนะนำวิธีการออกกำลังกายและการกินอาหาร โดยแพทย์จะให้คำปรึกษาให้ใช้วิธีการอื่นๆ รวมถึงการใช้ยาลดน้ำหนัก แต่โอกาสที่จะลดน้ำหนักได้มีประมาณร้อยละ 10 และเมื่อไม่ได้ผล จึงจะใช้วิธีการผ่าตัด

แต่คนไข้ที่รับบริการคลินิกเอกชนไม่ต้องใช้เวลารอนาน แต่ทุกคนต้องแสดงให้เห็นว่าได้พยายามลดน้ำหนักแล้ว แต่ไม่ได้ผล

กลับมาที่การผ่าตัดของ Kim Beedie เธอกล่าวว่ารู้สึกดีใจและตื่นเต้น เธอเป็นสตรีแม่ลูกสองที่หย่าขาดกับสามี และเธอได้พิสูจน์แล้วว่าได้พยายามลดน้ำหนักในทุกวิถีทางแล้ว แต่ไม่ได้ผล

ในปัจจุบันเธอมีปัญหาจากโรคความดันโลหิตสูง ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นหัวใจวาย และตามมาด้วยโรคหืด Kim เสียบิดาไปด้วยโรคหัวใจวาย และมารดาเสียไปด้วยโรคมะเร็งในมดลูกด้วยวัยประมาณ 50 ปี เธอหวังว่าในโครงการการตัดโดยการสนับสนุนของสุขภาพดีถ้วนหน้า (NHS) เธอจะได้รับโอกาสที่สำคัญแห่งชีวิตนี้

Patients are usually anaesthetised before they enter the operating theatre. However, lifting obese patients from trolley to operating table represents a technical challenge.

ในการผ่าตัด คนไข้จะได้รับยาสลบ ก่อนเข้าห้องผ่าตัด การยกเอาคนไข้ขึ้นสู่เตียงผ่าตัดนับว่าเป็นเทคนิคพิเศษ เพราะต้องใช้รอกชักลากขึ้น เหมือนกับการยกสิงโตทะเล (Sea-lion) ในสวนสัตว์ การใช้รอกชักรากนั้นมีความเสี่ยงอยู่เหมือนกัน เพราะหากพลาดคนไข้ตกลงไปกองกับพื้น นั่นจะเป็นเรื่องใหญ่ หมอซุเปอร์กล่าว

แต่ในรายของ Kim เธอเดินเข้ามาในห้องผ่าตัด แล้วนอนลงบนเตียงผ่าตัดก่อนที่จะรับยาสลบ เธอนอนบนที่นอนพิเศษ (Special hover mattress) ที่สามารถสูบลมขยายได้ ทำให้ง่ายที่จะเคลื่อนเธอกลับไปย้งรถเข็น แต่กระนั้นก็ต้องใช้คนช่วยถึง 8 คน เพื่อเคลื่อนย้ายเธอไปไม่กี่ฟุต

Instead, Kim walks into theatre and lies on the operating table before being anaesthetised. She is on a special 'hover' mattress that can be inflated, allowing her to be easily moved back on to a trolley once surgery is complete (still, it takes eight members of staff to move her just a few feet).

เมื่อเวลาผ่าตัดประมาณ 1 ชั่วโมงเสร็จ หลังจากเข้าไปในห้องเมื่อเวลา 11 โมงเช้า เวลาบ่าย 3:30 น. เธอก็ได้แต่งตัวและพร้อมกลับบ้าน

เธอรอหมอซุเปอร์เพื่อมาตรวจอาการ และอนุญาตให้เธอกลับบ้านได้ เธอกล่าวว่า รู้สึกดีที่จะได้มีอนาคตที่เปลี่ยนไป

มันเป็นความรู้สึกที่ดี มีบางเวลาที่ฉันคิดว่าคงไม่ได้มีโอกาสฉลองอายุครบ 50 ปี แต่เดี๋ยวนี้ใครจะไปรู้ ฉันอาจได้ฉลองอายุ 70 ปี ก็เป็นได้

www.spirehealthcare.com

หลังผ่าตัดแล้ว คุณจะอิ่มภายในการกินไม่กี่คำ

Once fitted, you'll be full after a few mouthfuls

ห่วงรัดกระเพาะ เรียกเต็มๆว่า laparoscopic adjustable gastric band เป็นห่วงทำด้วยซิลิโคน แบ่งกระเพาะออกเป็นสองส่วน กระเพาะส่วนบนมีขนาดเท่ากับลูกกอล์ฟ อยู่ใต้ลงมาจากส่วนที่เรียกว่า Oesophagus หรือหลอดอาหารที่ลำเลียงอาหารจากปากที่หลังจากกลืนจะไหลไปสู่กระเพาะ

เมื่อใส่ห่วงแล้ว มันจะอยู่ในกระเพาะไปตลอด แต่ห่วงนี้สามารถฉีดน้ำเกลือเข้าไปปรับขนาดห่วงรัด (Tightening) หรือปล่อยน้ำเกลือออก (Deflated) เพื่อคลายห่วงรัด ช่วงกระเพาะส่วนบนถูกรัด ทำให้กระเพาะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน เรียกว่า Stoma โดยมีรูหรือช่องเล็กๆ ทำให้อาหารรอดลงสู่กระเพาะส่วนล่างได้อย่างช้าๆ

Upper stomach pouch = กระเพาะที่เมื่อผ่าตัดแล้วกลายเป็นกระเปาะเล็กๆส่วนบน รับอาหารได้อย่างจำกัด

Lower stomach pouch = กระเพาะอาหารส่วนล่าง ที่ยังทำหน้าที่ดูดซึมอาหารอย่างช้าๆ

Port stitched beneath skin = หัวฉีดที่สามารถปล่อยน้ำเกลือออก เพื่อคลายการรัด หรือฉีดน้ำเกลือเข้า เพื่อทำให้กระเพาะรัดขึ้น

ผลทำให้ช่วงพักอาหารเพื่อการดูดซึงลดลง จำกัดจำนวนอาหารที่จะกินได้ ขนาดของ Stoma มีผลทำให้อาหารเคลื่อนตัวได้เร็วหรือช้าไปยังกระเพาะอาหารจริง และในระหว่างนั้นจะทำให้คนไข้รู้สึกอิ่ม

หลังจากนั้น คนไข้จะรู้สึกอิ่มด้วยการกินไปได้เพียงไม่กี่คำ น้ำหนักจึงลดลงอย่างไม่มีทางเลือก

แต่การผ่าตัดนี้จะไม่ช่วยคนที่ยังแอบกินอาหารที่ให้พลังงานมาก เช่น ชอคโกแลต ไอศกรีม เครื่องดื่มให้พลังงาน และแอลกอฮอล ซึ่งสามารถผ่านช่องระหว่างสองส่วนของกระเพาะได้ และทำให้คนไข้ไม่รู้สึกอิ่ม

คนไข้ต้องตระหนักว่า หากยังกินอาหารได้เหมือนเดิม มากเท่าเดิม น้ำหนักไม่ลด แสดงว่าห่วงรัดยังมีขนาดรูกว้างไป หรือเรากินอาหารที่เหลวและไหลลงสู่กระเพาะส่วนล่างเร็วไป

กระบวนการผ่าตัดแบบนี้นับว่าไม่เสี่ยง แต่อาการแทรกซ้อนนับว่ามีเกิดขึ้นโดยทั่วไป เช่นรู้สึกระคายเคืองกระเพาะอาหาร คนไข้บางคนรู้สึกปรับตัวยากที่จะคุ้นเคยกับการกินในแบบใหม่ บางทีต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆหลังการผ่าตัด มีประมาณร้อยละ 15 ที่คนไข้ต้องรับการผ่าตัดเป็นครั้งที่สองอันเป็นผลจากห่วงรัด

สำหรับคนไข้ที่มี BMI ที่มากกว่า 40 ที่เป็นโรคอ้วนรุนแรง (Morbidly obese) หรือคนไข้ที่มีBMI มากกว่า 35 และมีปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ จึงมีคุณสมบัติควรรับการผ่าตัดแบบ Gastric band

อ่านเพิ่มเติมได้จาก : http://www.dailymail.co.uk/health/article-1183328/The-Superman-surgeon-man-fight-flab.html#ixzz12nP1qYeS

No comments:

Post a Comment