ประกอบ คุปรัตน์
ศึกษาและเรียบเรียง
ความนำ
ในทางการรบ ซูนวู นักยุทธศาสตร์สมัยหลายพันปีของจีนกล่าวว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” นี่เป็นการให้แง่คิดในการทำสงคราม แต่ในยุคใหม่ การเอาชนะกันนั้น ไม่เท่ากับการทำให้เศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชนของประเทศได้รับการแก้ไข คนมีกินมีใช้ได้อย่างพอเพียง ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสันติสุข
ในกรณีความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชานั้นเกิดขึ้นเป็นระยะ และอันที่จริงมันมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน
การเอาชนะกันแบบแพ้ชนะกันไปข้างหนึ่ง (Win/Lose Approach) นั้น ไม่ใช่คำตอบ แต่หากจะทำให้ได้ดีกว่านั้น คือต้องทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ไปด้วยกัน (Win/Win) ดังความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านนั้น ทางออกคือการทำอย่างไรที่จะแก้ไขปัญหา และทำให้ประชาชนทั้งไทย และกัมพูชาได้รับประโยชน์ ได้กินดีอยู่ดีไปด้วยกัน
เราต้องไม่ลืมว่าประชาชนคนไทยที่อยู่ตามขายแดนกัมพูชา อันได้แก่บุรีรัมย์ (Buriram) สุรินทร์ (Surin) และศรีษะเกษ (Srisaket) นั้น เขามีความเป็นพี่เป็นน้องกัน คนไทยในแถบนี้พูดภาษาเขมรได้ เขามีการค้าขาย ไปมาหาสู่กัน
ผมต้องนั่งรถทัวร์ไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (Surindra Rajabhat University – SRRU) เสียงพูดคุยของคนในรถที่โทรศัพท์ถึงบ้าน เป็นอันมาก เขาพูดภาษาบ้านเขา คือภาษาเขมร และหากเราย้อนหลังกลับไปดูประเทศของเขาในช่วงอดีตที่ผ่านมา เราอาจจะเข้าใจเขา และเห็นใจกันมากขึ้น
ในบทความต่อไปนี้ ผมได้ใช้ข้อมูลจาก Wikipedia เป็นอันมาก สำหรับนักเรียน นิสิตนักศึกษาที่สนใจต้องการศึกษารายละเอียด อาจเข้าไปติดตามหาอ่านได้จากบทความที่เป็นภาษาอังกฤษ แล้วเจาะลึกเข้าไปในประวัติศาสตร์ของกัมพูชาจากแหล่งอื่นๆที่เป็นลักษณะข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) แล้วเข้ามาเขียน นำเสนอข้อมูล และความคิดเห็นแก่กัน
ผมเอง เป็นเพียงผู้สนใจศึกษาคนหนึ่งเท่านั้น
มารู้จักกัมพูชากันสักนิด
จากการศึกษา กัมพูชามีอารยธรรมมายาวนานกว่า 2000 ปี โดยในปัจจุบันเราจะยังได้เห็นโบราณสถานที่ได้มีการสร้างขึ้น
ย้อนไปในอดีต กัมพูชา (Cambodia) ก็คล้ายกับไทย คือดูดซับอิทธิพลจากทั้งจีนและอินเดีย ผ่านลงไปยังประเทศอื่นๆในเอเซีย อันได้แก่ ไทย (Thailand), เวียดนาม (Vietnam), และลาว (Laos) กัมพูชาเองเขามีความภูมิใจในประวัติศาสตร์ ในช่วงศตวรรษที่ 9 – 13 พุทธศาสนาสายเถรวาท (Theravada Buddhism) ได้เผยแพร่เข้ามาในเอเชียใต้นี้ โดยผ่านทางพระจากศรีลังกา และจากนั้นพุทธศาสนาจึงได้เฟื่องฟูเป็นศาสนาหลักของภูมิภาคนี้ ตราบจนศตวรรษที่ 15 ขอมหรือเขมรโบราณ (Angkor) จัดว่ามีอารยธรรมที่โดดเด่นของภูมิภาค และขอมนี้ก็จัดเป็นศูนย์อำนาจที่สำคัญ
แต่หลังจากการเคลื่อนเข้ามาของไทย และการมีสงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน ในปี ค.ศ. 1432 ราชวงศ์ของเขมรก็ต้องล่มสลายลง ด้วยทั้งการพ่ายสงครามกับไทยและเวียดนาม และเพราะสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยในการตั้งถิ่นฐาน ก็เคลื่อนย้ายราชฐานและเมืองหลวงไปที่ Lovek โดยหวังว่าจะฟื้นคืนสู่ความยิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง โดยอาศัยการค้าขายทางทะเล แต่ความพยายามนั้นก็ไม่เป็นผลเมื่อเขมรต้องสู้รบกับทั้งไทยและเวียดนาม และทำให้เสียดินแดน จน Lovek ได้ถูกครอบครองไปในปี ค.ศ. 1594 ในช่วง 3 ศตวรรษต่อมา กัมพูชาหรือเขมรก็ตกเป็นเมืองขึ้นสลับกันระหว่างไทยกับเวียดนาม จะมีบ้างเป็นช่วงสั้นๆที่ได้เป็นอิสระ
เมือง Lovek เป็นเมืองโบราณของกัมพูชาในสมัยเก่า เป็นเมืองหลักของประเทศ หลังการล่มสลายของอาณาจักรขอม (Angkor) โดยกองทัพจองกษัตริยืไทย พระนามว่า “บรมราชาที่สอง (Boromaracha II) ในปี ค.ศ. 1431
กัมพูชาภายใต้อาณานิคม
ในช่วงของการล่าเมืองขึ้น กัมพูชาได้ตกอยู่ภายใต้การปกครอง หรือคุ้มครองจากประเทศฝรั่งเศส เช่นเดียวกับประเทศเวียดนามที่ต้องเสียเอกราชให้กับฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดครองในช่วงปี ค.ศ. 1859 ถึง 1885 ทั้งประเทศและรวมถึงกัมพูชา ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ “อินโดจีนของฝรั่งเศส” (French Indochina) ในขณะที่พม่าและดินแดนมาเลเซียตกเป็นเมืองขั้นของประเทศอังกฤษ
ในช่วงก่อนการล่าเมืองขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดินแดนส่วนใหญ่ของกัมพูชาอยู่ภายใต้การปกครองของไทย
ในปี ค.ศ. 1863 กษัตริย์นโรดม (King Norodom) ผู้ได้รับการสถาปนาจากประเทศไทย แต่ได้เลือกที่จะอยู่ภายใต้การคุ้มครองของฝรั่งเศส เป็นอิสระจากทั้งไทยและเวียดนาม ในปี ค.ศ. 1867 กษัตริย์ไทยได้ลงนามสนธิสัญญากับฝรั่งเศสละอำนาจที่มีเหนือกัมพูชา เพื่อแลกกับการได้มีสิทธิการปกครองในดินแดนจังหวัดพะตะบอง (Battambang) และเสียมเรียบ (Siem Reap) แต่ในที่สุดฝรั่งเศสก็ได้มีสนธิสัญญาใหม่ และไทยก็ต้องสละสองจังหวัดดังกล่าวไปให้ฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1906
ภายใต้ญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง
ในข่วงปี ค.ศ. 1863 – จนถึง 1963 กัมพูชาอยู่ภายใต้อาณานิคมของฝรั่งเศส แต่ในช่วงปี ค.ศ. 1941-1945 กัมพูชาก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิญี่ปุ่น ตราบจนสิ้นสงคราม ในช่วงหลังกษัตริย์นโรคมเสียชีวิต ฝรั่งเศสได้จัดการเลือกกษัตริย์ที่ตอบสนองต่อประสงค์ของตน โดยได้ องค์ศรีสวัสดิ์ (Sisowath) น้องชายของกษัตริย์นโรดมเป็นกษัตริย์แทน ในปี ค.ศ. 1841 บัลลังค์ต้องว่างลงเมื่อกษัตริย์มุนีวงศ์ (Monivong) ซึ่งเป็นโอรสของกษัตริย์ศรีสวัสดิ์ ได้สวรรคต ฝรั่งเศสไม่ได้เลือกโอรสของกษัตริย์ที่มีพระนามว่า “มุนีเรศ” (Monireth) โดยเห็นว่า องค์มุนีเรศมีความคิดเป็นอิสระเกินไป แต่เลือกเจ้า นโรดม สีหนุ (Norodom Sihanouk) ผู้มีพระชนม์เพียง 18 พรรษาในขณะนั้นให้ครองราชย์ต่อมา แต่ก็เป็นการคิดผิด เพราะกษัตริย์นโรคม สีหนุในที่สุดก็ได้เป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่การเป็นเอกราชในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1953
อิทธิพลของเวียดนาม
ตลอดช่วงเวลายาวนานในประวัติศาสตร์ เวียดนามได้เข้าไปมีอิทธิพลในกัมพูชา โดยมีการอพยพผู้คนเข้าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศกัมพูชา คล้ายกับที่คนจีนได้อพยพข้ามน้ำข้ามทะเลมาทำมาหากินในประเทศไทย
ในสมัยต่อมา กัมพูชาได้มีระบบการปกครองแบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่แผ่นดินของกัมพูชาบริเวณปากแม่น้ำโขง (Mekong Delta) ก็ถูกยกให้แก่เวียดนาม ซึ่งหากย้อนไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1698 กษัตริย์ชัยเชษฐาที่สอง (Chey Chettha II) ได้เคยอนุญาตให้ให้ชาวเวียดนามเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณดังกล่าวหลายทศวรรษก่อนหน้านั้น
[edit] Independence and Cold War
Independence Monument, Phnom Penh, a memorial of true independence from french colonialism given to Cambodia.
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง กษัตริย์สีหนุได้สละราชสมบัติให้แก่พระบิดา เพื่อที่ตนจะได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อันเป็นตำแหน่งทางการเมือง จนกระทั่งพระบิดาสวรรคตในปึ ค.ศ. 1960 องค์สีหนุจึงได้กลับมารับตำแหน่งเป็นกษัตริย์และเป็นประมุขของประเทศ มีตำแหน่งนำหน้าที่เรียกว่า “เจ้าชาย” (Prince) และในขณะที่สงครามเวียดนามทวีความรุนแรงขึ้น เจ้าชายสีหนุได้ยึดนโยบายไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใด และเป็นกลางท่ามกลางสงครามเย็นนั้น
สงครามเวียดนาม
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นลำดับมา ได้เกิดสงครามที่มีฐานความขัดแย้งมาจากลัทธิการเมือง กษัตริย์สีหนุได้ใช้นโยบายเป็นกลาง ไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใดในช่วงสงครามเย็นนั้น แต่กระนั้นก็ไม่เพียงพอ ศูนย์อำนาจใหม่ คือสหรัฐอเมริกาที่เข้ามามีบทบาทในสงครามเวียตนามอย่างเต็มตัว โดยได้เกิดการรัฐประหารโดยนายพลลอน นอล (General Lon Nol) ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เจ้าชาย ศรีสวัสดิ์ สิริมาตัก (Prince Sisowath Sirik Matak) โยการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา กษัตริย์สีหนุจึงต้องไปลี้ภัยอยู่ในประเทศจีน เป็นพันธมิตรกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน สีหนุได้ถูกใช้โดยเขมรแดง (Khmer Rouge) ให้สื่อไปยังผู้สวามิภักดิ์ที่จะโค่นล้มอำนาจอเมริกัน และนายกรัฐมนตรีลอน นอล ที่ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกัน ซึ่งทำให้เกิดสงครามกลางเมือง
อเมริกันพยายามสร้างกองกำล้งฝ่ายขวา เพื่อเป็นฐานในการต่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ ที่มีทั้งอิทธิพลมาจากจีน และเวียดนาม แทนที่กัมพูชาจะยืนอยู่อย่างเป็นประเทศอิสระเป็นกลาง แต่ก็ต้องถูกดึงเข้าสู่ความขัดแย้ง
ในช่วงของสงครามเวียดนามปี ค.ศ 1969 ถึง ค.ศ. 1973 กองทัพเวียดนาม (Republic of Vietnam forces ) อันเป็นกองกำลังฝ่ายขวา และกำลังของสหรัฐได้ทิ้งระเบิดและบุกเข้ามาในกัมพูชาที่เป็นแหล่งหลบซ่อนของพวกเวียดกง (Viet Cong) อันเป็นทหารฝ่ายคอมมิวนิสต์ และเขมรแดง (Khmer Rouge) มีชาวกัมพูชากว่า 2 ล้านคนที่ต้องอพยพหนีสงคราม และออกจากเมืองหลวงอย่างพนมเปญ (Phnom Penh) จำนวนชาวกัมพูชาที่ต้องเสียชีวิตในช่วงทหารอเมริกันโดยกองทัพอากาศที่ 7 ทิ้งระเบิด เพื่อป้องกันการล่มสลายของเมืองพนมเปญในช่วงปี ค.ศ. 1973 ทหารเขมรแดงประมาณ 16,000 จากจำนวน 25,500 คนที่เข้ายึดกรุงพนมเปญเสียชีวิต
อย่างไรก็ตาม สื่อมวลชนอย่าง William Shawcross และผู้เชี่ยวชาญด้านกัมพูชาอย่าง Milton Osborne, David P. Chandler และ Ben Kiernan ต่างโต้แย้งว่า เพราะการทิ้งระเบิดอย่างไม่เลือกนี้ ทำให้ชาวนาเป็นอันมาก หันไปร่วมกับเขมรแดง แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านกัมพูชาอีกคน Craig Etcheson ก็โต้แย้งว่าเขมรแดงก็จะชนะสงครามอยู่ดี ไม่ว่าจะมีอเมริกันเข้าแทรกแซงหรือไม่
ในช่วงหลังสงคราม รายงานจากหน่วยงานสหรัฐ US AID ได้สังเกตว่าประเทศได้เข้าสู่ยุคการขาดแคลนอาหารในปี ค.ศ. 1975 สัตว์เลี้ยงร้อยละ 75 ถูกทำลาย จำเป็นต้องมีการเร่งเพาะปลูกสำหรับฤดูกาลใหม่โดยเร็ว โดยในการนี้จึงได้มีการบังคับแรงงานแม้กับคนที่มีอาการขาดสารอาหาร
จากรายงานกล่าวว่า หากไม่มีการนำอาหารและเครื่องมือเข้าช่วยเหลือแล้ว จะมีการขาดสารอาหาร การอดอยาก จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้นมีคนให้ความเห็นว่า การบังคับใช้แรงงานเพื่อการเพาะปลูกจึงเป็นความโหดร้ายที่จำเป็น และจะต้องเป็นเช่นนั้นต่อไปอีก 2 ถึง 3 ปี ก่อนที่ประเทศจะกลับมามีข้าวปลาอาหารอย่างเพียงพอ
Stupa which houses the skulls of those killed at Choeung Ek
ในส่งครามเวียดนาม เขมรแดงได้เติบใหญ่ในขณะที่อเมริกันประสบความพ่ายแพ้และสูญเสียทหารไปมากมาย จนในปี ค.ศ. 1975 เขมรแดงภายใต้การนำโดย Pol Pot จึงได้ครองอำนาจ เปลี่ยนชื่อของประเทศเป็น Democratic Kampuchea หรือประเทศประชาชนประชาธิปไตยกัมพูชา (Democratic Kampuchea) ซึ่งประเทศนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากประเทศจีน ในช่วงเวลาที่พรรคเขมรแดงได้ครองอำนาจ ได้ใช้มาตรการที่รุนแรง มีการอพยพย้ายคนเมืองไปทำงานในชนบท นำประเทศกลับไปฐานการผลิตในแบบศตวรรษที่ 11 เลิกการแพทย์แบบตะวันตก สมัยใหม่ ยกเลิกบทบาทของศาสนา เมื่อเขมรแดงครองอำนาจ มีเหตุการณ์ความรุนแรง ทำลายล้างคนเขมรด้วยกันเอง มีคนอย่างน้อย 1 ล้านคนที่เสียชีวิต จากประชากรของทั้งประเทศ 8 ล้านคน ซึ่งอาจตายจากการส้งหาร (executions), การทำงานหนัก (overwork), การขาดอาหาร (starvation) และจาดโรคภัยไข้เจ็บ (disease) บางส่วนว่าอาจมีเสียชีวิตถึง 2-3 ล้านคนในช่วงที่เขมรแดงครองอำนาจ
แต่การสังหารล้างเผ่าพันธุ์ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นจริง จนเป็นคำที่เรียกท้องทุ่งในกัมพูชาว่า “ทุ่งสังหาร” (Killing Fields) และคุกที่ชื่อว่า “ตน สเลง” (Tuol Sleng) ได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ของการสังหารหมู่ คนนับแสนๆคน ต้องอพยพข้ามฝั่งมายังชายแดนไทย และการสังหารนี้ได้พุ่งเป้าไปที่ชนกลุ่มน้อย (ethnic minority groups)
ดังเช่นขนมุสลิมเผ่าจาม (Cham Muslims) ได้ถูกกำจัดไปเสียกว่าครึ่ง ในช่วงปี ค.ศ. 1960 มีชาวจีนในกัมพูชาประมาณ 425,000 คน แต่จากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยพวกเขมรแดง และการอพยพหนีภัย มีคนจีนชนกลุ่มน้อยเหลือในประเทศเพียงประมาณ 61,400 คน
พวกนักวิชาชีพ อย่างแพทย์ (doctors), ทนายความ (lawyers), และครู (teachers) เป็นกลุ่มเป้าหมายของการต้องสังหาร ตามการนำเสนอของ Robert D. Kaplan “แว่นตากลายเป็นสัญลักษณ์ที่ต้องห้าม ไม่ต่างอะไรกับดาวเหลือง” เพราะมันเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของปัญญาชน (Intellectualism) และดาวเหลืองก็เป็นสัญลักษณ์ของพวกเวียดนาม
Cambodia-Vietnam friendship in Phnom Penh.
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1978 เวียดนามได้บุกกัมพูชา หยุดอิทธิพลของเขมรแดง และหยุดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) ในประเทศกัมพูชา สงครามระหว่างเวียดนามและเขมรแดงก็ได้เกิดขึ้นและต่อเนื่องมาจนถึงทศวรรษที่ 1980s
ในปี ค.ศ. 1989 ได้มีความพยายามที่จะนำมาซึ่งสันติภาพที่เริ่มที่กรุงปารีส และต้องใช้เวลา 2 ปี กว่าที่จะบรรลุข้อตกลงสันติภาพได้ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1991 จึงได้มีแผนสันติภาพพร้อมรายละเอียด และสหประชาชาติได้เข้ามีบทบาทในการรักษาความสงบ การดูแลผู้อพยพ และการปลดอาวุธ
ยุคฟื้นฟูและกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
Reconstruction and constitutional monarchy
ในช่วงหลายปีหลังนี้ ได้มีความพยายามฟื้นฟูชาติกันพูชา การสร้างเสถียรภาพทางการเมืองในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy), การมีระบบหลายพรรคในแบบประชาธิปไตย (multiparty, and democratic) แต่อย่างไรก็ตาม ทรัพยากรธรรมชาติของกัมพูชาก็ถูกต่างชาติเข้าแสวงหาประโยชน์ และกลุ่มผลประโยชน์ที่เข้ามามีทั้ง ประเทศไทย (Thailand), เวียดนาม (Vietnam), มาเลเซีย (Malaysia) และออสเตรเลีย (Australia) และในการนี้ผู้นำของพรรคที่ครองประเทศได้เข้าไปมีส่วนรับประโยชน์ในการค้าที่ผิดกฎหมาย ในขณะที่เขมรแดงก็ยังมีอิทธิพลอยู่ในบางเขต และสนับสนุนการตัดไม้ทำลายป่า จนกระทั้งในปี ค.ศ. 1999
ความมั่นคงทางการเมืองของชาติเริ่มกลับมา หลังจากความพยายามรัฐประหารในปี ค.ศ. 1997 ทุกอย่างก็กลับสู่สภาพเดิม ในปัจจุบัน กัมพูชาได้รับความช่วยเหลือจากนานาประเทศ เช่น ญี่ปุ่น (Japan), ฝรั่งเศส (France), เยอรมัน (Germany), แคนาดา (Canada), ออสเตรเลีย (Australia), สหรัฐอเมริกา (United States), และสหราชอาณาจักร (United Kingdom)
No comments:
Post a Comment