ICT กับการพัมนาการศึกษา เบื้องหลังความสำเร็จ
ในการพัฒนาประเทศเกาหลีใต้ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
ศึกษาและเรียบเรียง
จาก Wikipedia
Updated: Thursday, November 26, 2009
Keyword: ict for education, korea
ความนำ
ประเทศเกาหลีใต้ (South Korea) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สาธารณรัฐเกาหลี เขียนเป็นภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการว่า “the Republic of Korea - ROK) (Korean: 대한민국, pronounced [tɛːhanminɡuk̚] ( listen)) แม้เกาหลีจะมีสองส่วน แต่เนื่องด้วยอีกส่วนหนึ่งคือเกาหลีเหนือมีระบบการปกครองที่ปิดต่อภายนอก จึงเรียกส่วนเกาหลีใต้อย่างเหมารวมว่า Korea
ประเทศเกาหลีใต้มีประชากร (Population) 48,379,392 คน จัดเป็นประเทศที่มีขนาดประชากรเป็นอันดับที่ 26 ของโลก ซึ่งอยู่กันอย่างหนาแน่น (Density) ที่ประมาณ 493 คนต่อ 1 ตรกม. จัดว่าอยู่กันอย่างหนาแน่นเป็นอันดับที่ 12 ของโลก
ในด้านรายได้ประชาชาติ มีรวมที่ USD1,342 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ของโลก มีรายได้ประชาชาติ (Per capita) ที่ UDS 27,646 ต่อคน จัดเป็นอันดับที่ 32 ของโลก เมื่อเทียบกับไทย อยู่ที่ USD 8500 ชาวเกาหลีใต้จะมีรายได้ต่อคนมากกว่าไทยประมาณ 3 เท่า
ประเทศเกาหลีใต้ประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งเพราะการวางรากฐานการพัฒนาการศึกษาของเขาที่จริงจัง
ความสำเร็จด้านการศึกษา
การศึกษาของประเทศเกาหลีใต้ จัดเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในโลกของการแข่งขันที่ดุเดือด ในปี ค.ศ. 2006 จากผลการศึกษาของ OECD ในการประเมินนักศึกษานานาชาติ ประเทศเกาหลีใต้มาอันดับหนึ่งในเรื่องการอ่าน (Reading) เป้นอันดับสามในด้านคณิตศาสตร์ เป็นอันดับที่ 11 ในด้านวิทยาศาสตร์
ระบบการบริหารการศึกษาจริงๆก็ยังเป็นระบบรวมศูนย์อำนาจ ที่ทำให้รัฐบาลกลางสามารถดูแลติดตามการศึกษาของเด็กตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงจบชั้นมัธยมศึกษา ในระบบการศึกษาใหม่ เกาหลีใต้ให้ความสำคัญในการเพิ่มนักศึกษานานาชาติในประเทศของตน ทั้งนี้โดยการเพิ่มทุนสำหรับนักศึกษาต่างชาติเป็นอีกเท่าตัว และทำให้มีนักศึกษาต่างชาติในเกาหลีรวมกว่า 100,000 คน
ความสำเร็จในอุตสาหกรรม
ในช่วงวิกฤติปี ค.ศ. 1999 ไทยและเกาหลีต้องประสบวิกฤติที่หนักหน่วงมาด้วยกัน แต่ไทยที่ต้องเดินตามแนวทางของ IMP ที่ยึดวินัยทางการเงินการคลัง ทำให้เศรษฐกิจไทยต้องหดตัวอย่างรุนแรง แต่ประเทศเกาหลีเขาเป็นประเทศที่ส่งออก ในบางส่วนที่ประเทศเขาประสบปัญหาสินค้าขายไม่ออก เขากลับนำสินค้าเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ดังกรณีของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่ายความเร็วสูง เขาถือโอกาสพัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ
ในปัจจุบันเกาหลีใต้มีระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet Access) ที่ให้บริการแก่ประชาชนมากที่สุดในโลก และจัดเป็นหนึ่งในผู้นำนวตกรรมทางด้านนี้
ในปี ค.ศ. 2007 Economist Intelligence Unit จัดให้เกาหลีอยู่ในอันดับที่ 3 ของโลกในด้านความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในด้านความพร้อมด้านการใช้อินเตอร์เน็ต (e-Readiness)
ในปี ค.ศ. 2008 เกาหลีใต้จัดอยู่ในอันดับที่ 15 ในด้านความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบราชการ (e-Government Readiness) จัดอยู่ในอันดับที่ 6
ในด้านการผลิตสินค้าผู้บริโภคด้านอิเลคโทรนิกส์ เกาหลีใต้จัดเป็นผู้ผลิตจอ LCD, OLED และplasma ที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริษัท Samsung และ LG ของเกาหลีใต้ จัดเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโทรทัศน์ และโทรศัพท์มือถือ และเป็นผู้ผลิตกล้องถ่ายภาพดิจิตอลใหญ่เป็นอันดับสามของโลก
อีกด้านหนึ่งที่เกาหลีใจ้ได้เข้าแข่งขันอย่างจริงจัง คือเรื่องของระบบหุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ โดยหวังว่าในปี ค.ศ. 2025 จะกลายเป็นอันดับหนึ่งของโลก
อุตสาหกรรมรถยนต์
เกาหลีใต้จัดเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก และจัดเป็นอันดับที่ 6 ในการผลิตเพื่อส่งออก ในขณะที่เริ่มต้นนั้น เกาหลีใต้เป็นเพียงผู้ผลิตที่ใช้ชิ้นส่วนจากญี่ปุ่น หรือสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบัน เกาหลีใต้จัดเป็นประเทศที่ก้าวหน้าที่สุดในประเทศหนี่งของโลก โดยในปัจจุบัน ได้ก้าวหน้าไปในด้านการออกแบบ สมรรถนะ เทคโนโลยี ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ประกอบรถยนต์ดังในยุคเริ่มแรก
การพัฒนาการศึกษา
การนำเสนอโดย Lee Yangsook และ Byun Tae-Joon จาก Korean Education & Research information Service (KERIS)
การนำเสนอผลงานวิจัยใน The 4th World Teachers' Day in Thailand and 12th UNESCO APEID Interational Conference ในวันที่ 24-26 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2009 ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย
ภาพรวมการใช้ ICT เพื่อการศึกษาของเขา คือ
1. การมีเครื่องคอมพิวเตอร์ (PCs) และอินเตอร์เน็ตใช้ในทุกชั้นเรียน ซึ่งเขาสามารถทำได้ตามแผนร้อยละ 99
2. มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในระบบการศึกษาอย่างน้อย 1 เครื่องต่อนักเรียน 5.1 คน ซึ่งเขาทำได้ตามแผน
3. ครูแต่ละคนมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ 1 เครื่อง ซึ่งเขาทำได้ตามแผนร้อยละร้อย
4. ครูแต่ละคนได้รับการฝึกอบรมทุกคนได้รับการฝึกอบรมทุกปี
5. มีโปรแกรมให้ข้อมูลข่าวสารแก่ครู (EDUNET, Cyber home Learning Service, NEIS)
6. มีตำราเรียนในระบบ Digital, มีการดูแลระบบความปลอดภัยทางด้านการศึกษาออนไลน์ (Cyber Education Security Center)
พิจารณาจากทั้ง 6 ข้อ เป็นเรื่องไม่แปลกอะไร ในประเทศไทย นักคิดนักการศึกษาที่เข้าใจความสำคัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะนำมาใช้เพื่อการศึกษา ก็นำเสนอในลักษณะเดียวกัน แต่ในระดับที่อาจไม่มีทรัพยากรและความพร้อมเท่ากับเขา
เขาประสบความสำเร็จได้อย่างไร
สิ่งที่น่าติดตามศึกษาคือ เขาทำอย่างไรจึงประสบความสำเร็จในนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา สิ่งที่เขาเล่าให้ฟังมีอยู่ 6 ข้อที่น่าสนใจและติดตาม คือ
1. มีนโยบายที่เข้มแข็งจากฝ่ายกำหนดนโยบาย (Top Policy Maker) ความสำเร็จในด้านการปฏิบัติการใดๆก็ตาม ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งคือการมีฝ่ายบริหารที่ต้องจริงจังในการกำหนดนโยบาย การดำเนินการ และการติดตามงาน ข้อนี้ในประเทศฟิลิปปินส์ในยุคประธานาธิบดีฟิเดล รามอส (Fidel Ramos) ก็มีคนขมในเรื่องการดำเนินการอะไรแล้ว ก็เอาจริงเอาจังกับสิงที่ต้องผลักดัน รามอสเป็นทหารที่มีประสบการณ็ ความรู้ความเข้าใจในการจัดการอย่างทหาร ก็เป็นเรื่องที่จำเป็น ความจริงประเทศไทย ประชาชนก็ชื่นชอบต่อฝ่ายบริหารที่จะทำอะไรแล้วทำจริงจัง ดังในกรณีของรัฐบาลยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หรือในยุครัฐบาล พตท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ทำงานให้ได้ผลงาน
2. การเพิ่มขีดความสามารถให้กับสถานศึกษา คำว่า Empowerment เป็นคำที่องค์การในประเทศพัฒนาแล้วรู้จักกันอย่างดี และเขาก็ใช้วิธีการอย่างที่ปรับปรุงองค์การภาคธุรกิจมาใช้กับการจัดการองค์การทางการศึกษา เรื่องนี้เป็นประเด็นความต่างกันของระบบการศึกษาของไทย โรงเรียนไทยมีความเป็นนิติบุคคล (Legal Entity) แต่ในวัฒนธรรมการบริหารจริงๆกลับไม่สามารถจัดการบริหารงานให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในช่วงหลังนี้ที่ฝ่ายบริหารจะยิ่งเกร็งหนักขึ้น หากตัดสินใจอะไรผิดพลาด ก็จะถูกตรวจสอบในแบบที่เอากฎหมายและแบบแผนเป็นหลัก แต่ไม่ได้เน้นปริสิทธิผลและประสิทธิภาพของการจัดการ นอกจากนี้คือวัฒนธรรมของชุมชนแวดล้อมสถานศึกษา ที่ยังหวังว่าโรงเรียนต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง ยังไม่มีวัฒนธรรมในการเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนโรงเรียน
3. การเน้นการให้บริการที่คำนึงถึงผู้ใช้เป็นหลัก (User-oriented) นั้นหมายถึงอะไรที่สะดวก และเป็นประโยชน์ต่อผู่ใช้ โดยรวมถึงนักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ อะไรสะดวกสำหรับทำให้เขาเหล่านี้ได้ใช้ประโยชน์จากระบบ ก็ควรปรับปรุงระบบให้เป็นไปตามนั้น ดังเช่นในการที่มีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ผู้เรียนสามารถเรียนได้จากหลากหลายที่ เช่นทั้งที่โรงเรียน ศูนย์การเรียน หรือที่บ้าน
4. การมีกลไกการติดตามผลและประเมินผล (Monitoring & Evaluation) ทุกปี
5. ความร่วมมือกันในส่วนราชการ
6. การให้การสนับสนุนทางการเงินอย่างเพียงพอ
7. ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อการศึกษา (Public-private partnership)
8. การมีส่วนร่วมอย่างจริงจังโดยผู้มีส่วนร่วมได้ร่วมเสียกับการศึกษา
การฝึกอบรมครู
1. นโยบายเร่งขยายการใช้ ICT เพื่อการศึกษา
2. การเร่งสร้างเนื้อหา และกระจายความรู้
3. การฝึกอบรมครูที่สอดคล้องกับนโยบาย
4. การสนับสนุนให้ครูแต่ละคนได้ใช้ความพยายามในการเพิ่มขีดความสามารถด้วยตนเอง (Self-directed efforts)
No comments:
Post a Comment