สม รังสีกล่าวหาเวียดนามรุกล้ำดินแดนกัมพูขา
Sam Rainsy accuses VN of violating ’91 accords
จาก The Phnom Penh Post, Friday, 06 November 2009 15:05
ในขณะที่ไทยกำลังมีปัญหาความขัดแย้งกับประเทศกัมพูชาในประเด็นพื้นที่ไม่ชัดเจนของบริเวณเขาพระวิหาร
ปราสาทพระวิหาร ในภาษาเขมร เรียกว่า ปราสาทเปรี๊ยะวิเฮียร์ – สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Temple of Preah Vihear หรือ Temple of Phra Viharn ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Temple de Preah Vihear เป็นปราสาทหินที่อยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก หรือเทือกเขาพนมดงเร็กในภาษาเขมร (ซึ่งแปลว่า ภูเขาไม้คาน[4]) ที่ตั้งของศาสนสถานแห่งนี้รู้จักกันในนาม พนมพระวิหาร อันหมายถึง บรรพตแห่งศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์[2] ในพื้นที่ทับซ้อนชายแดนไทย-กัมพูชา ระหว่างอำเภอจอมกระสานต์ จังหวัดพระวิหาร ของกัมพูชา และอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ใกล้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
จังหวัดสเว เรียง (Svay Rieng) เป็นจังหวัดทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของกัมพูชา โดยมีเมืองหลวงของจังหวัดชื่อ สเว เรียง เช่นกัน จังหวัดสเว เรียง มีพรมแดนติดกับเวียดนาม (Vietnam) มีทางหลวงหมายเลข 1 อันเป็นเส้นทางนำไปสู่เวียดนาม
ตามแผนที่ จะมีบริเวณของจังหวัดที่ยื่นเข้าไปในเวียดนามเป็นแหลมเรียกว่า “ปากนกแก้ว” (Parrot’s Beak) ในภาษาเวียดนามเรียกว่า Mỏ Vẹt
ประเทศเวียดนามก็มีประเด็นความขัดแย้งกับกัมพูชาในประเด็นพื้นที่เขตแดนของจังหวัดสเวเรียง (Svay Rieng Province) เช่นกัน โดยลองติดตามอ่านรายละเอียดที่แปลมาจากรายงานโดย Meas Sokchea หนังสือพิมพ์ภาคภาษาอังกฤษ The Phnom Penh Post ฉบับวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009
ข่าวจากผู้นำพรรคฝ่ายค้าน สม รังสี (Sam Rainsy) ได้ประกาศว่า เขาจะยื่นคำร้องต่อสถาบันนานาชาติกล่าวหาประเทศเพื่อนบ้านว่าได้ทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศ โดยรุกล้ำดินแดนของประเทศกัมพูชา
สม รังสีได้รับการกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลกัมพูชาและเวียดนามว่า ได้ถอนหลักเขตประเทศ (Border Posts) ในเขตจังหวัด สเวเรียง (Svay Rieng Province) ในช่วงฉลองพิธีทางพุทธศาสนาในช่วงวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2009 ที่ผ่านมา แต่ชาวบ้านได้กล่าวว่าทางเวียดนามได้ย้ายเขตแดนเข้ามาในประเทศกัมพูชา
ในการให้สัมภาษณ์จากทางกรุงปารีส สม รังสีได้แสดงความไม่พอใจและได้พยายามนำประเด็นนี้สู่ความสนใจของประชาคมโลก
Speaking from Paris, he said his personal act of defiance was meant to bring the alleged Vietnamese incursions to light.
“เราได้รวบรวมหลักฐานและพยานที่แสดงว่าประเทศเพื่อนบ้านได้รุกล้ำดินแดนของกัมพูชา “นายสม รังสีกล่าว และที่เขากล่าวถึงประเทศเพื่อนบ้าน ในที่นี้หมายถึงเวียดนาม
เขาไม่ได้กล่าวว่าองค์กรระหว่างประเทศที่เขาจะนำความขึ้นร้องเรียนนั้น คือองค์กรอะไร แต่เข่าได้ระบุว่าเวียดนามได้ฝ่าฝืนข้อตกลงสนธิสัญญาสันติภาพที่ลงนามที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1991 ที่ตัวแทนของทั้งสองประเทศได้ลงนาม
ในสื่อท้องถิ่นที่รายงาน รองนายกรัฐมนตรีของเวียดนาม เหงียน ตันดุง ได้นำความเข้าสู่การพูดคุยกับรองนายกรัฐมนตรีของเวียดนาม นาย เมน สมอัน ในคราวที่พบกันในเวียดนาม และบรรยายว่าการกระทำของนายสม รังสีนี้เป็นการล้มล้างความสัมพันธ์อันดีของท้องสองประเทศ
ทางสถานฑูตเวียดนาม โฆษกตริน บาคัม ได้กล่าวในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า นายสม รังสีสามารถยื่นคำร้องต่อองค์การระหว่างประเทศได้อย่างอิสระ แต่นั่นก็ไม่ได้พิสูจน์ว่าเวียดนามได้ปฏิบัติผิดข้อตกลงแต่อย่างใด
“สิ่งที่นายสม รังสีได้ร้องเรียนนี้ เราไม่ได้ให้ความสนใจ” โฆษกของสถานฑุตเวียดนามกล่าว “ทุกคนรู้ดีอยู่แล้ว “เราไม่มีอะไรจะกล่าวมากนัก”
ทัศนะต่อข่าว -
ในแต่ละประเทศที่มีพรมแดนติดกัน มักจะมีปัญหาที่ต้องสะสางเกี่ยวกับเขตพรมแดน ยิ่งมีประชากรมากขึ้น ต้องการพื้นที่ดินเพื่อทำการเกษตร หรือไม่ก็แสวงหาคุณค่าจากทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ในกรณีของประเทศไทย ความชัดแย้งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกรณีของมรดกทางวัฒนธรรม สถานที่ทางประวัติศาสตร์ดังกรณีเขาพระวิหาร และบริเวณชายฝั่งทะเลของทั้งสองประเทศที่มีการอ้างสิทธิทับซ้อนกัน แต่ประเด็นจะอยู่ที่ว่า เราจะหาทางแก้ปัญหาความขัดแย้งเหล่านี้ได้อย่างไร
ในทางเทคนิค การกำหนดพรมแดนไม่ใช่เรื่องยาก หากมีหลักการที่ฝ่ายเทคนิคของทั้งสองประเทศที่ขัดแย้งได้ไปศึกษา และให้ข้อเสนอแนะ พร้อมทั้งรับข้อตกลงไปจัดทำรายละเอียด ในพื้นที่สมัยใหม่ การกำหนดหลักเขตกันโดยทางข้อมูลการกำหนดจุดทางภูมิศาสตร์ (GPS) เป็นสิ่งที่กระทำได้อย่างละเอียด ชนิดผิดพลาดไม่เกิน 1 เมตร ก็สามารถกระทำได้แล้ว การจะลงทุนหาหลักเขตที่มาปักทับในบริเวณดังกล่าวแบบห่างกันสัก 100 เมตร ก็สามารถกระทำได้โดยไมยาก หรือจะมีรั้วกั้นพรมแดน ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีก แม้จริงๆแล้วไม่จำเป็นต้องกระทำกัน
นอกจากนี้คือการกำหนดพื้นที่ๆไม่ใช่ของใคร (Nobody’s land) คือพื้นที่ระหว่างสองประเทศที่ถือเป็นพื้นที่กลาง ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ใช้สอยของทั้งสองประเทศ ในกรณีที่เป็นที่ราบ และต้องไม่ปล่อยให้แต่ละฝ่ายเข้าไปทำประโยชน์ และถ้าเป็นสันเขา หรือแม่น้ำ ร่องน้ำ ก็มีหลักที่จะยึดปฏิบัติได้อยู่แล้ว
ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า แต่ละประเทศที่จะมีความขัดแย้งกัน ต้องแสวงหาทางออกร่วมกันในแบบที่แต่ละฝ่ายจะได้ประโยชน์อย่างยุติธรรม หากมีอะไรที่ยังไม่ชัดเจน ก็นำสู่โต๊ะเจรจา โดยยึดหลักความเป็นธรรมและเป็นกลาง ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน สำหรับบุคคล หรือคณะที่ไปนั่งเจรจา ก็ต้องเป็นคนหรือบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ ที่จะสามารถตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่ายได้อย่างไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) ในประเทศไทยเราเอง มักจะมีเรื่องคอรัปชั่น (Corruption) ของผลประโยชน์ทับซ้อน และการอยู่ใต้อิทธิพลจากฝ่ายการเมืองที่มีผลประโยชน์เบื้องหลัง
ในกรณีความขัดแย้งระหว่างเวียดนามกับกัมพูชา เราก็รับฟังไว้ได้ แต่ต้องไม่ไปยุ่งเรื่องภายในของเขา และในทางตรงกันข้าม เรื่องภายในของกัมพูชา เราก็ต้องไม่ไปยุ่งกับเขา หากมีความขัดแย้งภายในประเทศ ก็เป็นเรื่องที่เขาจะแก้ไขกันเอง และในทางกลับกัน เรื่องที่เป็นเรื่องภายในของไทยเรา เขาก็จะต้องเคารพในความเป็นไปของไทยเรา และไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องภายในเหล่านั้น การเข้ายุ่ง เข้าแทรกแซงจะนำมาซึ่งเรื่องที่ขยายวง และขัดแย้งต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
No comments:
Post a Comment