Friday, November 27, 2009

มารู้จักรัฐดูไบ (Dubai)

ภาพ โครงการอาคารสูง รูปแบบสถาปัตยกรรมหรู

มารู้จักรัฐดูไบ (Dubai)

ประกอบ คุปรัตน์

Pracob Cooparat

ศึกษาและเรียบเรียง จาก Wikipeida

Updated: Saturday, November 28, 2009
Keywords:
การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ

ความนำ

รายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯธุรกิจ

รายงานข่าวเปิดเผยว่า ตลาดหุ้นในเอเชียร่วงลงถ้วนหน้าเช้านี้ (27 พ.ย. 2552) จากความวิตกกังวลเรื่องการขาดทุนหลังจากที่บริษัท ดูไบ เวิลด์ ของรัฐบาลดูไบขอเลื่อนการชำระหนี้จำนวน 3.5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งครบกำหนดในเดือนธ.ค.ที่จะถึงนี้ ออกไปเป็นเดือนพ.ค.ปีหน้า (ค.ศ. 2553) รวมทั้งปัจจัยจากเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 9,354.80 จุด ลดลง 28.44 จุด ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 21,623.92 จุด ลบ 586.49 จุด ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นโซลเปิดวันนี้ที่ 1,574.56 จุด ลดลง 24.96 จุด ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,674.10 จุด ลดลง 34.50 จุด ส่วน ตลาดหุ้นสิงคโปร์, มาเลเซีย ปิดทำการ

ตามธรรมชาติของธุรกิจที่ขึ้นอยู่กับความมั่นใจและการคาดเดา มีผู้กังวลไปถึงกิจการอสังหาริมทรัพย์ของ บริษัท ดูไบ เวิลด์ (Dubai World) ทีมีการลงทุนไปนับเป็น 80,000 ล้านเหรียญ ซึ่งมูลค่าของหนี้จะทำให้บริษัทมีมูลค่าในตลาดหลักทรัพย์ลดลงอย่างยังประมาณค่าไม่ได้ในปัจจุบัน คล้ายกับปรากฏการณ์ฟองสุบู่แตกที่ได้เกิดขึ้นในหลายๆที่ของโลก

ก่อนที่เราจะทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นในธุรกิจของโลก ควรต้องทำความเข้าใจและรู้จักรัฐดูไบให้มากขึ้น

ดูไบเป็นส่วนหนึ่งของ UAE

เขตประชากรหนาแน่น (Leading population centers)ของสหรัฐอาหรับอิมิเร็ต (UAE) มีอยู่ 9 จุด

Rank

Core city

Emirate

Population

Metro area rank

1

Dubai

Dubai

1,770,533

1

2

Abu Dhabi

Abu Dhabi

896,751

2

3

Sharjah

Sharjah

845,617

3

4

Al Ain

Abu Dhabi

651,904

2

5

Ajman

Ajman

372,923

5

6

Ras Al Khaimah

Ras al Khaimah

171,903

6

7

Fujairah

Fujairah

107,940

7

8

Um Al Quwain

Um Al Quwain

69,936

8

9

Khor Fakkan

Sharjah

49 635

7

10

Dibba

Fujairah

30,000

7

2008 Calculation

เขตชุมชนใหญ่ของสหรัฐอาหรับอิมิเร็ต (UAE) ดูไบมีขนาดเป็นชุมชนใหญ่สุดของประเทศ มีประชากรรวมทั้ง 7 รัฐ ประมาณ 5.6 ล้านคน

รัฐดูไบ

ภาพ เมืองดูไบ เขตที่เรียกว่า Downtown

รัฐดูไบ (Dubai) หรือบางทีเรียกในภาษาอังกฤษว่า Dubai state เป็นส่วนหนึ่งของประเทศ (Country) สหรัฐอาหรับอิมิเร็ต (United Arab Emirates) ซึ่งประกอบด้วย 7 รัฐ (the seven emirates) แต่เป็นรัฐส่วนที่มีประชากรมากที่สุดของสหรัฐอาหรับอิมิเร็ต (United Arab Emirates - UAE) อันเป็นประเทศตั้งอยู่ในบริเวณอ่างเปอร์เซีย (Persian Gulf) บนแหลมอาหรับ (Arabian Peninsula)

ในส่วนของประเทศสหรัฐอาหรับอิมิเร็ต (UAE) ประกอบด้วยรัฐที่เรียกว่า emirates, มี 2 รัฐใหญ่สุด ได้แก่ Abu Dhabi อันเป็นเมืองหลวง และเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ, และดูไบ (Dubai), อันจัดเป็นเมืองหรือรัฐใหญ่สุดของประเทศ และตามมาด้วยอีก 7 รัฐ อันได้แก่ Sharjah, Ajman, Umm al-Quwain, Ras al-Khaimah และ Fujairah

รัฐดูไบร่วมเป็นส่วนหนึ่ง (Incorporated (town) ของสหรัฐอาหรับอิมิเร็ต ในวันที่ 9 เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1833 โดยในประวัติศาสตร์ ผู้ก่อตั้งรัฐดูไบ (Founder) คือ Maktoum bin Bati bin Suhail (1833)

ในปัจจุบันรัฐดูไบมีเมืองและหมู่บ้าน (Towns and villages) ประกอบด้วย Jebel Ali, Hatta, Al Hunaiwah, Al Aweer, Al Hajarain, Al Lusayli, Al Marqab, Al Faq, Hail, Al Sufari, Ud al-Bayda, Al Malaiha, Al Madam, Margham, Urqub Juwayza, และ Al Qima

รัฐดูไบมีระบบการปกครอง (Government) แบบมีรัฐธรรมนูญอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Type - Constitutional monarchy) มีพื้นที่ (Area) ในส่วนที่เป็นรัฐ Emirate มีพื้นที่ 4,114 ตารางกิโลเมตร ส่วนที่เป็นเมือง (Metro) หรือมหานคร 1,287.4 ตารางกิโลเมตร มีประชากร (Population) สำรวจในปี ค.ศ. 2008 ของทั้งรัฐ (Emirate) 2,262,000 คน และทั้งหมดอาศัยอยู่ในส่วนของเมือง เฉลี่ยมีความหนาแน่น (Density) 408.18 ตารางกิโลเมตรม มีคนอาศัยอยู่ในเมือง (Metro) 2,262,000 คน

พิจารณาโดยเชื้อชาติ (Nationality) ในปี ค.ศ. 2005) ประกอบด้วย 26.1% เป็นชาวอาหรับ (Arab) และในจำนวนนี้ 17% เป็นชาวอิมิเร็ต (Emirati), 42.3% เป็นชาวอินเดีย (Indian), 13.3% เป็นชาวปากีสถาน (Pakistani), 7.5% เป็นชาวบังคลาเทศ (Bangladeshi) ที่เหลือเป็นส่วนน้อย ได้แก่ 2.5% เป็นชาวฟิลิปปินส์ (Filipino), 1.5% เป็นชาวศรีลังกา (Sri Lankan), 0.9% เป็นชาวยุโรป (European), 0.3% เป็นชาวอเมริกัน (American), และ 5.7% มาจากประเทศอื่นๆ (other countries)

รัฐดูไบอยู่ในเขตที่มีเวลาช้ากว่าประเทศไทยประมาณ 3 ชั่วโมง (Time zone, UAE standard time - UTC+4) หากใครจะเดินทางไปยุโรป แล้วเลือกใช้บริการสายการบินของกลุ่มอาหรับ ก็จะใช้ที่จอดพักกลางทางที่ Dubai หรือ Abu Dhabi นี้ แล้วก็แยกสายการบิน เพื่อเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางอื่นๆในยุโรป

รายได้ของรัฐดูไบในปัจจุบันมาจากการท่องเที่ยว (tourism), อสังหาริมทรัพย์ (real estate) และกิจการด้านการเงินการธนาคาร (financial services) ถึงแม้ในอดีตเศรษฐกิจของดูไบจะมาจากอุตสาหกรรมน้ำมัน (oil industry) รายได้หลักมาจากปิโตรเลียม (petroleum) และแก๊สธรรมชาติ (natural gas) แต่ปัจจุบันอุตสาหกรรมมีมูลค่าน้อยกว่าร้อยละ 6 ของกิจการรวมของรัฐดูไบ คือประมาณ 37,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (2005) กิจการอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าประมาณร้อยละ 22.6

ในปี ค.ศ. 2004 ได้มีการก่อตั้ง Dubai International Finance Centre ซึ่งหวังว่าจะเป็นศูนย์กลางทางการเงินสำคัญของโลก ขึ้นเทียบกับ เมืองนิวยอร์ค (New York) ประเทศสหรัฐอเมริกา, เมืองลอนดอน (London) ประเทศสหราชอาณาจักร, และเกาะฮ่องกง (Hong Kong) อันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน

บทส่งท้าย

หากจะถามว่าแล้ววิกฤติการเงินของรัฐดูไบจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยเพียงใด ก็คงมองได้ว่า มีไม่มากนัก เพราะรัฐดูไบ หรือสหรัฐอาหรับอิมิเร็ตอยู่ไกลออกไปจากประเทศไทยมาก แต่สิ่งที่เราควรได้เรียนรู้ ก็คือเรื่องของเศรษฐกิจฟองสบู่ (Bubble Economy) ที่ได้เกิดขึ้นในรัฐนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประเทศไทย และก็มีโอกาสเกิดขึ้นอีก หากเราไม่ระวังในการลงทุนในกิจการใดอย่างเกินตัว กระทำไปอย่างไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานที่มั่นคง

ย้อนมามองประเทศไทย เมืองมี่อยากจะให้เทียบเคียงได้ คือ เมืองเชียงใหม่ (Chiangmai City) และเมืองพัทยา (Pattaya City) และความจริงอาจรวมไปถึงเมืองอื่นๆที่หวังพึ่งธุรกิจการท่องเที่ยวมากจนเกินไป เกินความต้องการของตลาด ซึ่งมักจะเกิดจากพวกทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่พยายามสร้างภาพ และปั่นราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่สูงเกินความเป็นจริง นำไปสู่การลงทุนที่เกินความต้องการ ยามเศรษฐกิจชะลอตัว ผลกระทบก็จะตามมาและกระทบอย่างแรง

ยังดีที่ประเทศไทยมีความสมดุลในด้านฐานเศรษฐกิจ ที่มีทั้งด้านอุตสาหกรรมหนักและเบา การเกษตร ธุรกิจบริการ การท่องเที่ยว และอื่นๆ เราได้รับผลกระทบน้อยลง ประกอบกับคนไทยโดยรวมมีภูมิต้านทาน มีประสบการณ์จากเศรษฐกิจฟองสบู่แตกมาก่อนหน้านี้แล้ว สำหรับคนที่คิดจะลงทุนทำอะไร ขอให้คิดในแบบเดินทางสายกลาง ทำอะไรขอให้คิดเผื่อความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ต้องรู้จักบริหารความเสี่ยง (Risk Management) และการศึกษาสิ่งต่างๆอย่างมองหลายๆมิติ และทำความเข้าใจกับองค์ประกอบหลายๆด้าน

การทำธุรกิจต้องมีความฝัน ต้องมีการมองภาพในสิ่งที่เราอยากให้เกิด แต่ในอีกด้านหนึ่ง เราต้องคิดบนโลกของความเป็นจริง ทำอะไรอย่างคิดถึงประโยชน์กับผู้คนตั้งแต่ระดับฐานราก ทำอะไีีรแล้วคนส่วนใหญ่ได้ประโยขน์ เราได้ประโยชน์ แม้ต้องสะดุดบ้าง เราก็ยังพอเิดินไปได้

ขออำนวยพรให้นักธุรกิจ นักลงทุน ผมเชื่อว่าประเทศไทยกำล้ังจะผ่านวิกฤติต่างๆไปได้แล้ว หากท่านได้ดำเนินธุรกิจด้วยความยากลำบากในช่วงที่ผ่านมา แล้วท่่านได้ดูแลคนของท่านอย่างใส่ใจ อดทน เสียสละ ถึงเวลาต่อไปนี้ ก้ขอให้ท่านได้ดำเนินธุรกิจต่อไปสู่ความสำเร็จ สำหรับลูกจ้าง ยามนี้ หากมีเจ้านายที่รับผิดชอบดูแลเรายามยาก เราพึ่งขอบคุณเขา ช่วยกันทำงานไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน

No comments:

Post a Comment