Wednesday, November 18, 2009

หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (Lèse majesté)

หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (Lèse majesté)
ประกอบ คุปรัตน์
แปลและเรียบเรียง
จาก
Wikipedia, the free encyclopedia

Lèse majesté อ่านว่า เลเซ มาเจสเต เป็นคำที่มีในกฎหมายฝรั่งเศส (Law French) อันมีพื้นฐานมาจากคำลาติน (Latin) ว่า laesa maiestas, หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า "injured majesty"; หรือการทำร้ายพระมหากษัตริย์ ซึ่งอาจจะพบในการเขียนอื่นๆบ้างว่า lese majesty หรือ leze majesty ในปัจจุบัน คำที่ใช้ในภาษาไทยคือคำว่า หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งเป็นอาชญากรรม (crime) ในการดูหมิ่น หรือทำร้ายกษัตริย์ (violating majesty) อันเป็นการกระทำโดยประสงค์ร้ายต่อศักดิ์ศรีของผู้มีอำนาจสูงสุด (reigning sovereign) หรือต่อรัฐ (against a state)

การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือ Lèse majesté ได้มีการบันทึกไว้ว่าเป็นอาชญากรรมต่อศักดิศรีของอาณาจักรโรมัน หรือสาธารณรัฐโรมัน (Roman republic) ในยุคโรมันโบราณ (Ancient Rome) ในยุคนั้น พระจักรพรรดิ (Emperor) มีความหมายเป้นตัวแทนของรัฐโรมัน (Roman State) ซึ่งในยุคนั้น อาณาจักร (Empire) ก็มิได้กลายเป็นสถาบันกษัตริย์อย่างเป็นทางการ เพราะโรมัน ก็ยังเป็นการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ถึงแม้ผู้ปกครองโรมจะมีสถานะเท่ากับ princeps civitatis อันมีความหมายว่า ประชากรคนแรก ของประเทศ ซึ่งก็ยังไม่ถือว่าเป็นสถาบันกษัตริย์ ความเป็นสาธาณรัฐ หรือ Republic ก็ยังไม่ได้มีการยกเลิกอย่างเป็นทางการ

เมื่อคริสต์ศาสนาได้เข้ามามีอิทธิพลในอาณาจักรโรมัน และในยุคที่โรมันได้เสื่อมลง มีระบบรัฐเกิดขึ้นในยุโรป มีการยอมรับในการปกครองด้วยระบบกษัตริย์ (Monarchical Tradition)

ในความหมายแคบๆ การกระทำที่ประสงค์ร้ายต่อกษัตริย์หรือสถาบ้นพระมหากษัตริย์ได้เกิดขึ้นในระยะแรกๆของยุคกลาง (Medieval period) ที่ได้มีการกลับมาปกครองด้วยระบบกษัตริย์ ในยุคที่ยุโรปยังปกครองโดยระบบเจ้าครองนคร (feudal Europe) ได้มีการกล่าวอ้างว่าเป็นอาชญากรรมต่อสถาบัน เช่น การทำเหรียญหรือเงินปลอม ซึ่งเหรียญที่ใช้เป็นสื่อแลกเปลี่ยนแทนเงินนี้ มีตราหรือโล่อันแสดงถึงสัญญลักษณ์ของกษัตริย์อยู่ด้วย จึงถือว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชาภาพ

อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังภายใต้ระบบการปกครองแบบสมบูรณายาสิทธิราช หรือ absolute monarchy การกระทำด้วยประสงค์ร้ายต่อกษัตริย์ จะด้วยกาย หรือวาจาจัดเป็นอาชญากรรม ก็ได้เปลี่ยนไป กลายเป็นการกระทำเลวร้าย (malicious acts) ที่จัดเป็นการทรยศต่อชาติ (treason) ในระยะหลัง ขณะที่โลกโดยทั่วไปเป็นการปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐเกิดขึ้นมาแทนที่มากขึ้นเรื่อยๆ อาชญากรรมที่เคยจัดว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็เปลี่ยนไป กลายเป็นความผิดต่อตัวแทนสูงสุดของรัฐ เช่น ประธานาธิบดี ศาล หรือฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น

ในประเทศไทย มีเรื่องที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนที่ได้มีการนำเป็นเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเกิดขึ้นหลายกรณี ซึ่งนักวิชาการและนักศึกษาด้านการปกครองควรได้เข้าไปศึกษาข้อความที่มี่การสื่อในระบบอินเตอร์เน็ตที่เปิดกว้าง เพราะถ้าหากปล่อยให้เกิดขึ้นมาก และกลายเป็นการท้าทายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ก็จะนำความเสื่อมมาสู่สถาบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

กรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี้ไม่ใช่จะเกิดเพียงในประเทศไทย ในที่นี้จะได้ยกตัวอย่างของประเทศอื่นๆหลายประเทศมากล่าว

ในปัจจุบันที่โลกยุคข้อมูลข่าวสารที่ยากจะปิด ได้มีเรื่องที่เขียนและสื่อสารกันในระบบออนไลน์อย่างกว้างขวาง และอะไรที่คนเห็นเป็นเรื่องต้องห้ามในสังคมหนึ่ง ก็จะมีคนนำไปเผยแพร่ และพูดคุยกันในที่อื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ และต้องทำความเข้าใจ

ในปัจจุบัน ประเทศที่ยังมีการปกครองในระบอบกษัตริย์ที่ได้มีการกล่าวถึงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี้ มีในประเทศไทย สหราชอาณาจักร (United Kingdom - UK) มอรอคโค (Morocco) และอื่นๆ

ในประเทศเนเธอร์แลนด์ และประเทศสเปน เคยมีการลงโทษด้วยการปรับ

ในเยอรมัน และสวิสเซอร์แลนด์ และโปแลนด์ นับเป็นการผิดกฎหมายที่จะดูหมิ่นต่อพระประมุขของรัฐของตนหรือรัฐอื่นๆอย่างเปิดเผย และในการดูหมิ่นนี้รวมถึงสิ่งที่กระทำต่อพระสันตปาปา ดังกรณีที่ได้เสด็จเยี่ยมประเทศโปแลนด์ โดยมีการลงโทษกักตัวผู้กระทำผิด ปรับเป็นเงิน แล้วก็ปล่อยตัวไป

ในประเทศตูรกี (Turkey) คนที่กระทำการดูหมิ่นต่อ Ataturk วีรบุรุษของเขา หากพบว่ากระทำผิดจริง อาจมีโทษจำคุก 1 ปี ถึง 3 ปี

ในประเทศสหราชอาณาจักร มีกฎหมายในลักษณะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเช่นกัน แต่ก็ได้มีการเสวนาในการดูแลกฎหมายดังกล่าว และโดยรวมแล้ว ถือเป็นมารยาทที่จะให้ความคารวะต่อประมุขของประเทศ

ในประเทศมอรอคโคมีโทษหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี 3 ปี จนถึง 5 ปี

การกระทำผิดในลักษณะใกล้เคียงกัน มีเกิดขึ้น ในประเทศบรูไน (Brunei) เคยมีกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อมีกรณีพิพาทระหว่างออสเตรเลีย (Australia) และคูเวต (Kuwait) โดยมีสตรีชาวออสเตรเลียแสดงความดูหมิ่นต่อผู้ปกครองของประเทศที่สาม คือคูเวต ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของคูเวต

การกระทำผิดในลักษณะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือคล้ายกัน มีพบในหลายลักษณะ เช่น

การดูหมิ่นหรือดูแคลนในศาสนา หยาบคาย กระทำสิ่งที่เป็นอัปมงคล (Blasphemy) ต่อวัฒนธรรมของประเทศ ดังการขึ้นไปนั่งบนอนุสาวรีย์หรือรูปเคารพทางศาสนา ซึ่งในบางสังคมเขามีวัฒนธรรมไม่พึงกระทำ

การกระทำต่อธงชาติของประเทศหนึ่ง (Flag desecration) เช่นด้วยการเผา การฉีก การเหยียบด้วยเท้า หรือแสดงออกซึ่งความไม่เคารพ

การแสดงความกระด้างกระเดื่อง ไม่เคารพเชื่อฟัง (Insubordination) ดังในกรณีอยู่ในศาล แต่ไม่เคารพศาล ศาลสั่งให้หยุดพูด แต่ก็ไม่หยุด ก็อาจถูกลงโทษให้ต้องจองจำได้

การขัดขืนคำสั่ง ดังในกรณีอยู่บนเรือแล้วไม่เชื่อฟังผู้บังคับการเรือเดินทะเล หรือเครื่องบินนั้นๆ (Mutiny) ไม่ว่าจะอยู่ในบริเวณของน่านน้ำ หรือน่านฟ้าของประเทศใด แต่ผู้ดูแลรับผิดชอบต่อยานนั้น ย่อมมีสิทธิที่จะควบคุมให้ยานนั้นๆได้เดินทางได้อย่างสงบและปลอดภัย

กล่าวโดยรวม การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นไม่ได้หมายความว่าอยากทำอะไร ก็ทำได้ตามใจ คนเราจะมีเสรีภาพ ตราบที่เสรีภาพนั้นไม่ไปกระทบต่อผู้อื่น ในกรณีของโทษหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี้ ประเทศไทยอาจถูกกล่าวขานกันมากที่สุด โดยสื่อต่างประเทศได้ใช้คำว่า Draconian Law หรือกฎหมายที่รุนแรงเกินความเหมาะสม

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นมีในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศที่เป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทั้งนี้โดยบ้านเมือง ฝ่ายปกครองทำหน้าที่ดูและรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีขององค์กษัตริย์และสถาบัน ประเด็นจึงขึ้นอยู่กับว่า ในฐานะรัฐบาลผู้ดูแลกฎหมาย เขาจะเลือกใช้อย่างมีวิจารณญาณ ใช้อย่างเหมาะสมแก่เหตุหรือไม่ กรอบอันพอสมควรนั้นอยู่ที่ไหน การกระทำบางอย่างไม่น่าจะผิดกฎหมาย แต่เป็นการกระทำผิดมารยาท ที่ควรได้รับการตำหนิในทางสังคม บางเรื่อง ใครทำอะไร ก็จะได้รับผลเสียตามมาด้วยตนเอง ไม่ต้องไปทำอะไรมาก สังคมก็ลงโทษเขาอยู่แล้ว เช่นด้วยการยอมรับ หรือไม่ยอมรับ จะคบค้าด้วย หรือไม่คบค้า

สิ่งที่สำคัญ คือประชาชนคนทั่วไป นักการเมือง ต้องหลีกเลี่ยงไม่ไปแตะต้อง ไม่ไปใช้สถาบันอ้างอิง เพื่อทำร้ายกัน ไม่ไปกระทำการอย่างไม่มีศีลธรรม นินทา ปล่อยข่าวลือที่ไม่เป็นความจริง เป็นอัปมงคล และในขณะเดียวกัน สังคมยุคใหม่ ก็ต้องค้อยๆเปิดเพื่อการได้รับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีมารยาทได้ ซึ่งย่อมดีกว่าการบังคับใช้กฎหมายอย่างรุนแรงเกินเหตุ อันจะทำให้คนบางส่วนหลบใต้ดิน แล้วใช้วิธีการปล่อยข่าวลือ ติฉินนินทาในที่ลับ ด้วยความอาฆาตมาดร้าย ซึ่งย่อมไม่เป็นผลดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และต่อความสงบสุขในสังคมโดยรวม

1 comment:

  1. Thank you for the info. It sounds pretty user friendly. I guess I’ll pick one up for fun. thank u
    ------------------------------------------------------------------------------------

    Australiano de Inmigración

    ReplyDelete