ปรับปรุงครั้งที่ 1
Updated: Sunday, November 01, 2009
ความเป็นมา
(Preambles)
คลินิกภาษาอังกฤษ (English clinic)
คลินิก (Clinic) เป็นสถานรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก ไม่ใช่โรงพยาบาลที่ต้องมานอนพักรักษา เปรียบการดูแลรักษา และพัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ก็คล้ายกัน คือไม่ต้องเข้ามาอยู่โรงพยาบาล หรือศูนย์การเรียนแบบเข้มข้น หรือต้องเดินทางไปเก็บตัว เรียนในศูนย์การเรียนแบบเข้ม (Intensive English Center)
คนไทยเราต้องการมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษ เราเรียนภาษาอังกฤษในหลักสูตรปกติมากันคนละ 9-16 ปี ในระดับปริญญาตรี แต่กระนั้น บางส่วนก็ยังมีปัญหาด้านการศึกษา หรือการนำไปใช้ในชีวิตการทำงาน
สิ่งเหล่านี้ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป ปัญหาคืออะไร
ปัญหาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน มีความต้องการเฉพาะหน้าไม่เหมือนกัน มีระดับความต้องการพัฒนาที่แตกต่างกัน สำหรับผู้ต้องการพัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษในระดับสูง อาจได้แก่ตัวอย่างดังนี้
อำนาจ ได้รับทุนการศึกษาของรัฐบาล และต้องเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศในระดับปริญญาขั้นสูง แต่ต้องสอบภาษาอังกฤษให้ผ่านในระดับทีเขาต้องการ เช่น อย่างน้อยขั้นต่ำที่ IELTS 5.0-5.5 จึงจะได้รับใบตอบรับจากต่างประเทศได้
สมจิตต์ ศึกษาในระดับปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค ในหลักสูตรอันเป็นเงื่อนไขมาตรฐานการศึกษา ต้องผ่านความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่ CU-TEP 500 แต่ด้วยความที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานประจำ และทำงานในที่ๆไม่มีสถานที่เรียนแบบเข้มข้นอย่างเป็นระบบที่มีคุณภาพ แต่ต้องสอบให้ผ่านให้ได้ภายในเวลา 12 เดือน
สุมนต์ กำลังจะจบการศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กำลังทำงานวิจัยตามเงื่อนไขวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต และเมื่อทำเสร็จแล้ว นอกจากจะต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการของหลักสูตรที่เขาศึกษาแล้ว ยังต้องส่งงานที่เป็นภาษาอังกฤษ ไปตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับ และเขาจะต้องเขียนงานวิชาการที่มีความยาวประมาณ 12-15 หน้า ที่ต้องมีคุณภาพ ในระดับบรรณาธิการเขายอมรับเพื่อนำเสนอ
ความต้องการที่จะเรียนรู้และพัฒนาของแต่ละคนอาจมีต่างกัน มีความยากง่ายและใช้เวลาต่างกัน แต่ถ้ามีข้อมูลที่เป็นระบบ ก็จะพอบอกได้ว่า จะต้องใช้เวลากันสักเท่าใด และจะต้องทำอะไรบ้าง
วัตถุประสงค์
(Objectives)
เพื่อให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาโทและเอก ที่ต้องมีผลงานนำเสนอที่เป็นงานวิชาการ หรืองานวิชาชีพ เป็นบทเขียนภาษาอังกฤษ สามารถนำความรู้ภาษาอังกฤษนี้ไปใช้ในการเขียนรายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ์ที่เป็นภาษาอังกฤษ ตามมาตรฐานวิชาการของตน โดยใช้ศัพท์ทางเทคนิค ทางวิชาการ และวิชาชีพ ตามมาตรฐานการเขียนอย่างถูกต้อง
สอบ Password ผ่านในระดับ PASSWORD 5.0, CU-TEP 500 (TOEFL Equivalent 500, Paper-Based) ขึ้นไป
แนวคิดการดำเนินการ
(Concepts)
คุณภาพการรักษาพยาบาล เมื่อเราเจ็บป่วย หรือเมื่อต้องการบริการด้านสุขภาพ ความสำเร็จของมัน คิอการที่ต้องรักษาให้ถูกกับโรคหรือต้นเหตุของปัญหา ต้องได้แพทย์ หรือคนที่จะวิเคราะห์วินิจฉัยปัญหาและจุดอ่อน และมีแผนการดำเนินการในการรักษาอย่างตรงจุด แผนการรักษาจะต้องอยู่ในวิสัยที่ผู้รับบริการจะรับได้
1. ด้านผู้ต้องการรักษา จะต้องร่วมมือ (Teacher-Student Collaboration) เมื่อตกลงกันแล้ว ก็ต้องทำตามแผนอย่างจริงจัง ให้เคร่งครัด เพื่อบรรลุผลตามแผน หรือดีกว่า
2. คลินิกภาษาอังกฤษ ใช้สถานที่ๆ มีขนาดไม่ใหญ่ (ICT Support Center) ตั้งไม่ไกลจากกลุ่มผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมาพบได้ และเพื่อการบริหารกิจกรรม หรือเมื่อมีปัญหาด้านวิธีการใช้วิธีการและเครื่องมือด้านการเรียน (ICT Skills) ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน และผู้สอน ศูนย์การเรียนจะมี Help Desk หรือเจ้าหน้าที่ช่วยให้บริการที่จำเป็น
3. สถานที่นัดพบ อาจยืดหยุ่นได้ (Flexible Time/Places) ผู้เรียน หรือผู้รับบริการมาพบตามที่นัดหมาย ฝ่ายผู้สอน ก็ต้องเตรียมศึกษางานมาอย่างดี อาจนัดพบกัน 2-4 สัปดาห์ครั้ง แต่มีกระบวนการติดตามผล หรือสื่อสารได้ตลอดว่า ผู้เรียนได้พัฒนากันไปอย่างไร
4. ผู้เรียนมีเป้าหมายที่ชัดเจน (Clear Goals) หรือเหมือนกับกิจกรรมทำวิทยานิพนธ์ (Thesis Process) ที่สำคัญคือ ผู้เรียนต้องการจบการศึกษา ผ่านการสอบ การนำเสนองานที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาการที่กำหนด ผู้เรียนต้องไปนำเสนอสภาพความต้องการของตนเองกับผู้สอน หรือผู้ควบคุมการเรียน แล้วทำแผนการเรียน และเตรียมตัวเข้ารับการทดสอบ
5. ผู้เรียนต้องไปพบกับอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเขามีข้อมูลผลการเรียนอยู่แล้ว ต้องผ่านเงื่อนไขขีดความสามารถทางวิชาการ เรียนจบ Coursework มาแล้ว การนัดพบระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนนั้น ต้องมีความตรงต่อเวลา เหมือนที่เราต้องนัดพบแพทย์เฉพาะทาง หรือไปพบหมอฟัน ต้องช่วยกันบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
6. การไปศึกษาด้วยตนเองอย่างอิสระ (Independent Study) สามารถติดต่อกับผู้สอนได้อย่างยืดหยุ่น โดยใช้ E-mailing หรือ Webboard เพื่อการสื่อสารกัน เป็นการติดตามผู้เรียนไปในตัว และสามารถกระทำได้อย่างไม่ยาก
7. การนัดที่จะมาพบอย่างเห็นหน้ากัน (Face-to-face) อาจจะเป็นกลุ่มขนาดไม่โต เช่น 3-4 คนเป็นอย่างมาก และเข้าร่วมกิจกรรมกันในแบบที่ต่างเรียนรู้ร่วมกันไปด้วยได้
8. กิจกรรมเสริม (Enrichment Activities) เช่นเดียวกัน การให้มีกิจกรรมเสริม เป็นสิ่งที่จะช่วยผู้เรียนได้มาก ในกรณีที่ต้องมีกิจกรรมสอนเสริม
เวลาและสถานที่
(Time and Places)
ระยะเวลาเรียน 12 สัปดาห์ พบกันใน workshop 4 ครั้ง ในช่วงเวลา 12 สัปดาห์
พบกันใน 1 วัน 6 ชั่วโมง ณ สถานที่ๆกำหนด ที่ทำให้ผู้เรียนเดินทางมาร่วม workshop ได้สะดวก โดยต้องทำการบ้าน และส่งงานก่อนล่วงหน้า
สำหรับผู้เรียนที่อยู่ในบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล ใช้ศูนย์การเรียนที่ มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพฯ ใกล้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
กรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (SRRU) นัดพบ ณ สถานที่ๆกำหนด อ.ปากช่อง ประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาทีจากกรุงเทพฯ
เวลาเรียน
- 9.00 – 12.00 น.
- รับประทานอาหาร
- 13.30 – 16.30 น.
ครั้งที่ | สัปดาห์ที่ | กิจกรรม |
1. | 1 | รับการทดสอบที่ศูนย์ทดสอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ Pretest (Password) 1-2 สัปดาห์ล่วงหน้า |
2. | 3 | Workshop I ส่งการบ้านล่วงหน้า 2 ชิ้น |
3. | 6 | Workshop II ส่งการบ้านล่วงหน้า 2 ชิ้น |
4. | 9 | Workshop III ส่งการบ้านล่วงหน้า 2 ชิ้น |
5. | 12 | Workshop IV ส่งการบ้านล่วงหน้า 2 ชิ้น |
6. | 13-14 | รับการทดสอบที่ศูนย์ทดสอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ Posttest (Password) 1-2 หลังสัปดาห์ที่ 12 |
รวมส่งงาน 8 ชิ้น มีงาน 5 ชิ้นที่นำเสนอออนไลน์ได้
ผู้เรียน
(Students)
จำนวนผู้เรียน ไม่เกิน 10 คน ผ่านการทดสอบที่ Password 4.0 ขึ้นไป
ผู้เรียนนำ Laptop มาเอง แต่มีเครือข่ายออนไลน์รองรับ
มีกิจกรรม E-learning, และการเรียนด้วยตนเองกับ CD โดยมีผลการเรียนและพัฒนาให้ผู้สอนได้เห็น
พัฒนาพื้นฐานด้าน Grammar และพัฒนาฐาน Vocabulary
ต้องการความสามารถในการอ่านและเขียน (Reading and Writing Skills) และนำไปสู่การเขียนงานวิชาการ
คณะผู้สอน
(Resource Persons)
จำนวนครูผู้สอน 3 คน (ครูชาวอังกฤษ 1 คน)
คณะผู้ทำงานในนามูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย (SB4AF) ประกอบด้วย
1. คุณ วิไลลักษณ์ สงวนความดี
TEL 089-233-0478
ฝ่ายจัดการฝึกอบรม มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย
ประสานงานผู้เรียนในเขตกรุงเทพฯ
ภาคกลาง ส่วนไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ สระบุรี ลพบุรี
2. อ. ประภาพร บุญปลอด
TEL 084-038-2882
อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ประสานงานหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต ความเป็นผู้นำและการบริหารการศึกษา
และผู้เรียนในเขตอิสานใต้ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา
3. อ. ณัฐนิชา เอนกสมบูรณ์ผล
TEL 089-661-3377
วิทยากรและทีมงาน
ประสานงานจัดทำหลักสูตรฯ
ทีมวิทยากร
ตารางสอน (Schedule)
สำหรับกิจกรรมการเริ่มต้น
เวลา | วิชา |
0900-1000 | เปิดการสอน Pre-test ทดสอบภาษาอังกฤษ (Password) |
1000-1030 | พักรับประทานอาหารว่าง |
1030-1230 | แบ่งเรียนตามกลุ่มโดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่ม A – เรียนภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน กลุ่ม B – เรียนภาษาอังกฤษขั้น intermediate |
1230-1330 | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
1330-1530 | กลุ่ม A – เรียน Grammar เพิ่มเดิม กลุ่ม B – เรียน writing และ/หรือ conversation |
1530-1545 | พักตามอัธยาศัย |
1545-1645 | Post-test ทดสอบภาษาอังกฤษ |
1645-1700 | ปิดการสอน รับ feedback เพื่อนำไปปรับปรุงการจัด workshop ครั้งต่อไป |
ค่าเล่าเรียน
(Fees)
ปรึกษาเพิ่มเติมกับหน่วยงานร่วมจัด
ผู้สอน ทั้งในชั้นเรียน และกิจกรรมออนไลน์, สถานที่, อาหารและเครื่องดื่ม, ระบบทดสอบ, เอกสารสิ่งพิมพ์, ฯลฯ
สถานที่
(Venue)
ลักษณะสถานที่จัดกิจกรรม Workshop
1. สถานที่นัดพบ ณ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา - ครึ่งทางระหว่างจังหวดสุรินทร์ 430 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯ ส่วนจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆ ได้แก่ นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สระบุรี, ลพบุรี
2. หากเป็นกลุ่มลูกค้าภายในกรุงเทพฯ ก็นัดพบที่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพฯ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แต่อาจมีสถานที่นัดพบที่ทำให้ใกล้ผู้เรียน ในกรณีที่ต้องมีการนัดพบกันหลายคนขึ้นไป
3. เอกสารตำรา เพื่อการอ้างอิง และถ่ายเอกสารได้ รองรับผู้เรียนในขณะเดียวกันได้ 10-15 คน, ห้องปรับอากาศ (Air-conditioned)
4. ระบบทดสอบ Password ที่สามารถจัดสอบได้ ณ ที่ศูนย์การเรียน ให้ไปทดสอบได้ก่อนเวลาเรียน ทราบผลได้ทันที่
5. เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย (ADSL 2.0 Mpbs/256 Kbps) หรือดีกว่า
6. ผู้เรียนสามารถนำ Laptop มาได้ หรือให้นำ Thumb Drive เพื่อบันทักข้อมูลได้
หน่วยงานรับผิดชอบ
มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย (SpringBoard For Asia Foundation- SB4AF) บริหารโครงการฯ และ
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพฯ
- โครงการพัฒนาคณาจารย์ และหลักสูตระดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ หรือ
- หน่วยงานที่มีความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์ทดสอบความสามารถด้านคอมพิวเตอร์สากล (ICDL Accredited Test Centre - ICDL ATC) ที่มีความสนใจในลักษณะเดียวกัน
สนใจติดต่อ
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้จาก
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
อาคาร 2, ห้อง 2-106, เลขที่ 2/1 ถ.พญาไท
ทุ่งพญาไท, ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Building2, Room 2-106, 2/1 Phayathai Rd.,
Thung Phayathai, Ratchathewi,
Bangkok 10400, Thailand
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: info@sb4af.org , Website: www.sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com
ในทัศนะของผม หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรหวังผล โดยเชิญวิทยากรที่เข้าใจในหลักสูตร และมีความสามารถที่จะเป็น Mentor ผู้เรียนในด้านภาษาไปจนจบการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาโทและเอก ที่ต้องมีการนำเสนอ paper ที่ต้องเป็นภาษาอังกฤษในมาตรฐานทางวิชการ โดยต้องมี Peer Review และในด้านทักษะภาษาอังกฤษ ต้องให้สอบผ่าน CU-TEP ที่ 500, Password 5.0 หรือดีกว่าขึ้นไป
ReplyDeleteระหว่างเรียนควรนำงานวิชาการที่ต้องมีการนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษเข้ามานำเสนอ และรับการ Feedback และปรับปรุงแก้ไข - การเขียน Resume, แนะนำโรงเรียน, School/university profile, Homepage paper, แนะนำจังหวัด, อำเภอ, ตำบล, อบต, วัด, สถานทีท่องเที่ยวของจังหวัด, โดยนำสิ่งที่มีในภาษาไทย แต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ เพื่อนำเสนอ